Responsive image

Saturday, 03 Jun 2023

เกี่ยวกับเรา


Profile CEO THAILAND Magazine online

www.ceothailand.net

 

เจ้าของ  :  บริษัท เอก-วรา พับลิค รีเรชันส์ จำกัด

ความเป็นมาของสื่อ CEO THAILAND

          เริ่มก่อตั้ง... เมื่อปี 2547 ในนามสื่อรายเดือน “นิตยสาร CEO THAILAND” ซึ่งเป็นสื่อนิตยสารแนวธุรกิจที่เน้นนำเสนอข่าวสาร วิสัยทัศน์ผู้บริหาร และการบริหารองค์กรธุรกิจ ข่าวสารทางด้านธุรกิจ-เศรษฐกิจ การประกันภัย-การเงิน สัดส่วนเนื้อหา 70% , ข่าวราชการ-รัฐวิสาหกิจ-องค์กรอิสระ สัดส่วนเนื้อหา 15%  , เครือข่ายและธุรกิจอื่น ๆ 15%

          “นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์” ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เอก-วรา พับลิค รีเรชันส์ จำกัด และสื่อ “CEO THAILAND” พร้อมทีมงาน ที่เชี่ยวกรากและมีประสบการณ์ในแวดวงการสื่อสิ่งพิมพ์ และวงการน้ำหมึกมาตั้งแต่ ปี 2533  ได้ร่วมกันจัดทำหนังสือนิตยสาร CEO THAILAND หนังสือแนวธุรกิจ “รายเดือน” ที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารโดยเน้นนำเสนอแนวทางการทำงาน การบริหารงาน และวิสัยทัศน์ในภาคธุรกิจ-เศรษฐกิจ  การประกันภัย-การเงิน  เครือข่ายและธุรกิจอื่น ๆ ทั้งนี้ ในช่วง 6 ปีแรกนั้น  ได้มีการจัดงานสัมมนาครบรอบ 2 ปี ของสื่อ CEO THAILAND   และได้มีการผลิตผลงานหนังสือฉบับพิเศษขึ้น 3 เล่มด้วยกัน   คือ 1) หนังสือ “สุดยอดผู้บริหารประกันภัย - ขายตรง 2004” ,   2) หนังสือ  “สุดยอดนักบริหารแห่งปี 2005”   และ  3) หนังสือ “ฅนแห่งทศวรรษ 2010”    ที่ล้วนเป็นงานเขียนของ   นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ บรรณาธิการบริหาร  กลุ่มสื่อ CEO THAILAND

          ตลอดระยะเวลามากกว่า 18 ปี ของสื่อ CEO THAILAND ได้ทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ในการนำเสนอข่าวสาร เป็นสื่อกลางนำข่าวสารดี ๆ มีคุณประโยชน์ มาเผยแพร่ถ่ายทอดผ่านกลุ่มสื่อ CEO THAILAND ไปสู่กลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มมวลชน สาธารณชน ให้ได้รับประโยชน์จากข่าวสารสาระดี ๆ มากมาย

          ที่ผ่านมาของสื่อ CEO THAILAND   นอกจากสร้างสรรค์สื่อสิ่งพิมพ์แล้ว   ทางบริษัท เอก-วรา พับลิค รีเรชันส์ จำกัด   ผู้ผลิตสื่อ CEO THAILAND ยังได้สร้างสรรค์สื่อทีวีอีกด้วย  ได้มีการเผยแพร่บทสัมภาษณ์ของผู้บริหารองค์กรต่าง ๆ มากมาย ผ่านสื่อทีวีรายการ “CEO THAILAND”  

          อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ปัจจุบันที่สื่อต่าง ๆ ได้มีการปรับเปลี่ยนแผนงาน เพื่อให้ตอบรับกับยุคที่เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทกับการรับข่าวสารของผู้บริโภคมากขึ้น หรือเรียกได้ว่าเป็นยุคของสื่อดิจิทัล ดังนั้น สื่อ “CEO THAILAND” จึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ก็ต้องถึงยุคการเปลี่ยนผ่านจากสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่อออฟไลน์ มาเป็นสื่อออนไลน์ หรือสื่อดิจิทัล เช่นเดียวกัน 

          ดังนั้น ในปี 2563 เป็นต้นมา สื่อ “CEO THAILAND”    จึงได้มีการปรับเปลี่ยนจากสื่อออฟไลน์  มาเป็นสื่อออนไลน์   ในชื่อว่า   CEO THAILAND Magazine Online  โดยนำเสนอผ่านทางเว็บไซต์ www.ceothailand.net  ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ครอบคลุมทุกกลุ่มมากขึ้น สามารถรับข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและกระจายข่าวสารได้อย่างฉับไวมากยิ่งขึ้น

          กลุ่มผู้บริโภค สามารถรับข่าวสารดี ๆ  จากกลุ่มผู้ประกอบการได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการรับข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ของบริษัทฯ และองค์กร หรือการเผยแพร่โฆษณาแบนเนอร์ต่าง ๆ ที่ยังสามารถคลิกลิ้งค์เข้าไปดูสาระดี ๆ ยังเว็บไซต์หลักของผู้ประกอบการได้อีกด้วย ซึ่งนับได้ว่าเป็นประโยชน์ที่ดี ที่ได้ทั้งผู้รับข่าวสาร และผู้ถ่ายทอดข่าวสาร คุณประโยชน์ต่าง ๆ มากมาย ในการเผยแพร่ผ่านช่องทางของสื่อดิจิทัล CEO THAILAND  (www.ceothailand.net)

          นอกจากนี้แล้ว กลุ่มสื่อ “CEO THAILAND” จะมีรายการทีวี “CEO THAILAND” ซึ่งเป็นรายการทีวี ที่นำเสนอสาระข่าวสาร ทั้งด้านธุรกิจ-เศรษฐกิจ-ประกันภัย-การเงิน-SME ฯลฯ มานำเสนอให้กับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง โดยจะเป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อระหว่างผู้ประกอบการไปยังผู้บริโภคให้ได้รับข่าวสารอย่างสร้างสรรค์สังคมต่อไป

          ขอขอบพระคุณทุกท่าน ที่ได้ติดตามข่าวสารสาระดี ๆ จากกลุ่มสื่อ “CEO THAILAND” เสียงตอบรับของพวกท่าน คือส่วนหนึ่งในกำลังใจที่ทำให้พวกเราทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่เข้มแข็งต่อไป

 

ขอคารวะด้วยใจ

กองบรรณาธิการสื่อ CEO THAILAND

 

Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK ร่วมมือกับ อเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง ประเทศไทย (Amazon Global Selling Thailand) และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดโครงการอบรม “ติดปีกสินค้าไทย ขายออนไลน์ข้ามพรมแดนกับ Amazon” ระหว่างวันที่ 23 พฤษภาคม-18 กรกฎาคม 2566 ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ และอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาศักยภาพ SMEs ไทยให้มีความพร้อมในการพัฒนาธุรกิจสู่ตลาดการค้าออนไลน์อย่างมั่นใจ ผ่านการฝึกอบรม จับคู่ทางธุรกิจ ให้คำปรึกษาด้านการเงิน แนะนำเครื่องมือบริหารความเสี่ยง และ Workshop การค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน (Cross Border E-commerce: CBEC) ไปยังตลาดสหรัฐฯ ยุโรป และเอเชีย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์ในการเข้าถึงเครือข่ายลูกค้าของ Amazon.com กว่า 300 ล้านคนทั่วโลก โดยเนื้อหาการอบรม อาทิ การเปิดบัญชีกับ Amazon การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและใบรับรององค์การอาหารและยาสหรัฐฯ การสร้างการบริหารจัดการคลังสินค้าและจัดส่งโดย Amazon (Fulfilment by Amazon : FBA) การเปิดหน้าร้านค้าบน Amazon.com ผู้ประกอบการที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการได้ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ในปี 2566 เศรษฐกิจและการค้าโลกต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ทั้งภาวะเงินเฟ้อ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ความยืดเยื้อของสงครามรัสเซีย-ยูเครน ประกอบกับวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐฯ และยุโรปส่งผลกดดันเศรษฐกิจโลก ทำให้ล่าสุดกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกลงเหลือ 2.8% และการค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัวเพียง 1.7%     อย่างไรก็ตาม พบว่าภาพรวมตลาดการค้าออนไลน์ (E-commerce) ของโลกยังมีแนวโน้มสดใส โดยคาดว่าจะขยายตัวกว่า 10% จาก 5.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2565 เป็น 6.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2566 และมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเป็น 6.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567 และ 7.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568 นอกจากนี้ ผลสำรวจผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs ที่ดำเนินธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนในปี 2565 พบว่า 90% มีความสนใจค้าขายข้ามพรมแดนผ่าน E-commerce แต่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ประสบปัญหาขาดความเข้าใจวิธีการ ขาดความรู้เกี่ยวกับตลาดต่างประเทศ มีข้อจำกัดด้านศักยภาพ ทรัพยากร และความสามารถในการแข่งขันในตลาด E-commerce ดังนั้น การจัดโครงการดังกล่าวนี้จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสนับสนุนผู้ประกอบการ  

24 May 2023

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ขอแจ้งเตือนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เนื่องจากขณะนี้ มีผู้เปิด Facebook Fanpage ใช้ชื่อว่า "สินเชื่อ COD ไปรษณีย์ไทย (smebank)" (https://www.facebook.com/Ssmedevelopmentbank) โดยใช้รูป profile เป็นโลโก้ของ "SME D Bank " และใช้ภาพ cover เป็นภาพโฆษณาสินเชื่อของธนาคาร รวมถึง Inbox ข้อความเชิญชวนใช้บริการสินเชื่อไปยังบุคคลต่างๆ ซึ่งอาจสร้างความสับสน เข้าใจผิดให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ทาง SME D Bank ขอเรียนแจ้งเตือนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทุกท่านว่า Facebook Fanpage ดังกล่าว ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับธนาคารทั้งสิ้น และธนาคารไม่มีนโยบายให้บุคคลภายนอกเปิด Facebook Fanpage หรือผลิตสื่อใดๆ เพื่อแอบอ้างชื่อธนาคารไปหาผลประโยชน์ โดยขณะนี้ ธนาคารกำลังดำเนินการเอาผิดทางกฎหมายเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง ดังนั้น ขอความกรุณาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่าหลงเชื่อข้อมูลจาก Facebook Fanpage ดังกล่าว ทั้งนี้ สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นทางการของธนาคารได้ที่ Facebook Fanpage "ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย” (https://web.facebook.com/SMEDevelopmentBank) หรือเว็บไซต์ www.smebank.co.th เท่านั้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ Call Center 1357                 

20 May 2023

...

นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริจาคเงินจำนวน 200,000 บาท และสนับสนุนกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุกลุ่ม แก่มูลนิธิ พล.ต.อ.เภา สารสิน (สถานสงเคราะห์เด็กบ้านตะวันใหม่) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในทุกๆ ด้านของมูลนิธิ พล.ต.อ.เภา สารสิน (สถานสงเคราะห์เด็กบ้านตะวันใหม่) โดยเฉพาะการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการใช้ยาเสพติด ให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ พร้อมที่จะเติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อสังคมไทยในอนาคต โดยมี ม.ล. อารยา สิโรดม กรรมการเหรัญญิก มูลนิธิ พล.ต.อ.เภา สารสิน (สถานสงเคราะห์เด็กบ้านตะวันใหม่) เป็นผู้แทนรับมอบ ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นายสันติ วิริยะรังสฤษฎ์ ประธานจัดงานมหกรรมการเงินกรุงเทพ นางพิตราภรณ์ บุณยรัตพันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส นายปราโมทย์ ศักดิ์กำจร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส และนายศรายุธ ทินกร ณ อยุธยา รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ร่วมในพิธีดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความแข็งแกร่ง มั่นคง และตั้งอยู่บนหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด ควบคู่ไปกับพันธกิจในการส่งมอบความสุขและรอยยิ้มให้แก่สังคม ผ่านกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา รวมถึงสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นหนึ่งในพันธกิจสำคัญที่มุ่งมั่นถึงการเป็นองค์กรที่รับผิดชอบด้าน ESG อย่างจริงจัง

16 May 2023

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า จากสภาวการณ์ที่ปัญหาโลกร้อนทวีความรุนแรงก่อเกิดผลกระทบต่อผู้คนและระบบนิเวศ จึงเป็นเป้าหมายระดับโลกที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันผลักดันแนวคิดเรื่องการใช้พลังงานหมุนเวียนไปสู่การปฏิบัติจริง โดยส่งเสริมการใช้พลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ดังนั้น เพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นการทดแทนดังกล่าว และยังเกิดประโยชน์ต่อระดับครัวเรือนในการช่วยลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าได้ในระยะยาว ธนาคารออมสินจึงได้ออกผลิตภัณฑ์ล่าสุด สินเชื่อ GSB Go Green เพื่อสนับสนุนเงินทุนในการติดตั้งและซื้ออุปกรณ์สำหรับบุคคลธรรมดา ในภาวะที่ต้องเผชิญปัญหาค่าไฟฟ้าครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นอยู่ขณะนี้ และสินเชื่อ GSB for BCG Economy เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการในการลงทุนด้านพลังงานทดแทน ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถติดต่อขอใช้บริการสินเชื่อได้ที่ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป            สินเชื่อ GSB Go Green สำหรับผู้กู้ที่เป็นบุคคลธรรมดา อายุ 20 ปี และเมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 70 ปี วัตถุประสงค์เพื่อติดตั้งหรือซื้ออุปกรณ์ที่ช่วยลดมลภาวะ เช่น Solar cell, Solar rooftop ติดตั้ง EV Charger สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (EV) รถยนต์ไฮบริด รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 ที่ช่วยประหยัดพลังงาน รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง กรณีไม่มีหลักประกัน (Clean Loan) ให้กู้ไม่เกิน 10 เท่าของรายได้รวมสูงสุดไม่เกินรายละ 500,000 บาท ชำระเงินกู้ไม่เกิน 7 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ต่ำสุด 7.99% และเงินงวดผ่อนต่ำแสนละ 799 บาทต่อเดือน นาน 3 เดือนแรก หากใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ได้แก่ บ้านพร้อมที่ดิน คอนโดฯ ที่ดินเปล่า ให้กู้สูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท ผ่อนชำระไม่เกิน 30 ปี ดอกเบี้ยคงที่ต่ำสุด 1.99% และเงินงวดผ่อนต่ำแสนละ 199 บาทต่อเดือน นาน 3 เดือนแรก โดยธนาคารจัดอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขพิเศษนี้ไปจนถึงวันที่ 30 ธ.ค. 2566 นี้เท่านั้น สินเชื่อ GSB for BCG Economy สำหรับธุรกิจที่มีการบริหารจัดการตอบโจทย์โมเดลเศรษฐกิจใหม่ หรือ BCG Model (Bio Economy, Circular Economy และ Green Economy) เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน ลงทุนในทรัพย์สิน ลงทุนด้านพลังงานทดแทน พลังงานจากก๊าซชีวภาพชีวมวล หรือรีไฟแนนซ์จากสถาบันการเงินอื่น คุณสมบัติผู้กู้เป็นนิติบุคคลไม่จำกัดวงเงินกู้ และบุคคลธรรมดาให้วงเงินกู้ตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป โดยใช้สมุดเงินฝากออมสิน สลากออมสินพิเศษ พันธบัตร ที่ดินและอาคาร โฉนดที่ดิน หรือคอนโดฯ เป็นหลักประกัน หรือให้ บสย. (บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม) ร่วมค้ำประกันก็ได้ ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 10 ปี โดยสามารถกู้เป็นสินเชื่อระยะสั้น (O/D) , (P/N) และ/หรือ สินเชื่อระยะยาว (L/T) อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น MOR/MLR -1.50% ต่อปี (ปัจจุบัน MOR = 6.495 และ MLR = 6.650)  ติดตามรายละเอียดที่ www.gsb.or.th หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ GSB Contact Center โทร. 1115.  

07 May 2023

Banner Banner Banner Banner Banner

Banner
    ปี 2566 “ประกันภัย-การเงิน-สินเชื่อ” ยังคงมาแรง ธุรกิจที่ยังต้องรอรัฐบาลฟื้นฟู “ขายตรง-อสังหาฯ-SME”    หลังจากที่ประเทศไทยเริ่มผ่อนคลายจากไวรัสโควิด-19 ในปี 2566 ธุรกิจประกันภัย-การเงิน-สินเชื่อ ยังคงเป็นธุรกิจที่เติบโตต่อเนื่องในปี 2566 เพราะในช่วงวิกฤตโควิด ธุรกิจทั้ง 3 สาขาแม้จะได้รับผลกระทบ แต่ก็ยังยืนยงอยู่รอดปลอดภัย และเป็นธุรกิจที่ยังน่าสนใจลงทุนเป็นอันดับต้น ๆ ของธุรกิจในประเทศไทย และในต่างประเทศ ตราบใดที่ระบบสาธารณสุข และรัฐสวัสดิการของประเทศไทย ยังเป็นอยู่อย่างทุกวันนี้  ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในสองสิ่งนี้ การประกันชีวิตและการประกันภัยจึงยังเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมากสำหรับคนไทย ที่อยากซื้อความคุ้มครองซื้ออนาคต และอยากมีสวัสดิการที่ขาดหายไปจากภาครัฐ ส่วนธุรกิจการเงินและธุรกิจสินเชื่อนั้น นับวันจะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ตราบใดที่ประเทศไทยยังอยู่กับคำว่า “รวยเป็นกระจุก จนเป็นกระจาย” คนไทยยังต้องหวังพึ่งพาเงินในอนาคต เพื่อมาอุปโภคบริโภค ตราบนั้นทั้งธุรกิจการเงิน และสินเชื่อ ก็ยิ่งจะมีความสำคัญ เป็นธุรกิจที่เล็งเห็นกำไรและการเติบโต และน่าลงทุนมากขึ้นตามไปด้วย นี่คือธุรกิจยอดเยี่ยมในปี 2566 ที่ผมขอยกให้เป็นธุรกิจที่น่าลงทุน และน่าเข้าไปเกี่ยวข้อง สำหรับธุรกิจที่ยังต้องเร่งฟื้นฟู คือ ธุรกิจขายตรง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจSME ที่ยังคงสะบักสะบอมมาตั้งแต่ก่อนยุคโควิด-19 มาถึงวันนี้ก็ยังนิ่ง ๆ อยู่ ก็คงต้องรอให้รัฐบาลชุดใหม่มาบูรณะ คงต้องรอดูฝีมือของทีมงานเศรษฐกิจชุดใหม่ ที่ต้องทำงานได้ดีกว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันหลายเท่าตัวในการกอบกู้ธุรกิจไทย  และ 3 สาขาธุรกิจที่ยังคงรอให้รัฐบาลชุดใหม่มาเร่งฟื้นฟูในปี 2566 นี้  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner