Responsive image

Sunday, 27 Apr 2025

หน้าแรก > INSURANCE/ประกันภัย-ประกันชีวิต


คปภ. ปรับปรุงหลักเกณฑ์การคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย เสริมความมั่นคงธุรกิจประกันภัยไทย

Thu 17/04/2568


นายไพบูลย์ เปี่ยมเมตตา ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) มุ่งมั่นพัฒนาระบบกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยของประเทศให้มีความมั่นคง โปร่งใส และสามารถรองรับความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงดำเนินมาตรการเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัย โดยการปรับปรุงหลักเกณฑ์การคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยของสัญญาประกันภัยระยะสั้น ซึ่งจะช่วยให้บริษัทประกันภัยสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น โดยปัจจุบันการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยของสัญญาประกันภัยระยะสั้นจะพิจารณาจากค่าที่มากกว่า ระหว่างสำรองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ (Unearned Premium Reserve : UPR) และสำรองประกันภัยสำหรับความเสี่ยงภัยที่ยังไม่สิ้นสุด (Unexpired Risk Reserve : URR) ในภาพรวมของทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ของบริษัทประกันภัย

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การคำนวณสะท้อนความเสี่ยงของแต่ละประเภทการรับประกันภัยได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น จึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้มีการคำนวณโดยใช้ผลรวมของค่าที่มากกว่าระหว่าง UPR และ URR ในระดับประเภทการรับประกันภัย ซึ่งการปรับปรุงดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินให้กับบริษัทประกันภัย และช่วยลดความเสี่ยงจากการตั้งสำรองประกันภัยที่ไม่เพียงพอ

อีกทั้งยังเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลในการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจประกันภัย โดยการพัฒนาแนวทางนี้ ไม่เพียงช่วยเพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงานของบริษัทประกันภัยเท่านั้น แต่ยังช่วยให้หน่วยงานกำกับดูแลสามารถติดตามสถานะทางการเงินของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบในหลักการปรับปรุงดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างรอบคอบและครอบคลุมทุกมิติ สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยได้จัดการประชุมชี้แจงเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 และเปิดให้แสดงความคิดเห็นระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568

“สำนักงาน คปภ. เชื่อมั่นว่าการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญในการเสริมสร้างเสถียรภาพของธุรกิจประกันภัยในประเทศไทย พร้อมทั้งสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้เอาประกันภัย และสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมประกันภัยอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ การพัฒนาแนวทางดังกล่าวยังช่วยให้บริษัทประกันภัยสามารถวางแผนเชิงกลยุทธ์ได้ดียิ่งขึ้น เพิ่มความสามารถในการบริหารจัดการความเสี่ยง และส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรมในตลาดประกันภัย โดยสำนักงาน คปภ. พร้อมเดินหน้าพัฒนามาตรฐานด้านการกำกับดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ธุรกิจประกันภัยไทยมีความมั่นคง โปร่งใส และสามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้เอาประกันภัยและสังคมโดยรวม” ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย กล่าวในตอนท้าย

 


Tags : คปภ. สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย สำนักงาน คปภ. การคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย ธุรกิจประกันภัยไทย


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

นายสมใจนึก เองตระกูล ประธานกรรมการ พร้อมด้วย ดร.สมพร สืบถวิลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะผู้บริหารระดับสูงของ บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TIPH ร่วมแถลงผลการดำเนินงาน พร้อมตอบข้อซักถามจากผู้ถือหุ้น ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบ Hybrid Meeting ณ ห้องเลอ คองคอร์ด บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมสวิสโซเทล กรุงเทพ รัชดา และผ่านระบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2568 การประชุมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย  โดยที่ประชุมมีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานในอัตราหุ้นละ 2.60 บาท โดยบริษัทฯ ได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลไปแล้วในปี 2567 ในอัตราหุ้นละ 1.60 บาท  และจะจ่ายส่วนที่เหลืออีกในอัตราหุ้นละ 1.00 บาท ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2568  โดยกำหนดวันปิดสมุดทะเบียนในวันที่ 11 มีนาคม 2568 นอกจากนี้ คณะผู้บริหารได้เผยถึงกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่เน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้หลักธรรมาภิบาล โดยครอบคลุมทั้งธุรกิจประกันภัยซึ่งเป็นแกนหลัก กลุ่มธุรกิจสนับสนุน และกลุ่มธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงและต่อเนื่องให้กับผู้ถือหุ้น พร้อมเดินหน้านำพาองค์กรสู่การเป็น Sustainable Company อย่างแท้จริงในระยะยาว  

26 Apr 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  เดินหน้าสร้างโอกาสเพิ่มรายได้ขยายตลาดให้แก่ลูกค้าธนาคาร โดยเฉพาะกลุ่มลูกหนี้ต้องจับตามองเป็นพิเศษ (Special Mention : SM) และผู้ประกอบการกลุ่มเปราะบางจากหน่วยงานพันธมิตร   รวมถึง ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดจับจ่ายใช้สอย ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง  โดยจัดโครงการ  “SME D Market” เปิดพื้นที่บริเวณชั้น 1  สำนักงานใหญ่ SME D Bank อาคาร SME Bank Tower ให้ผู้ประกอบการมาออกบูธจำหน่ายสินค้าเป็นประจำทุก 2 เดือน ครั้งละ 2 วัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น โดยครั้งนี้ กำหนดจัดในวันที่ 24-25 เมษายน 2568  นี้  เวลา 8.00-16.00 น.  ยกทัพผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกว่า 50 ราย   มาออกบูธพร้อมมอบโปรโมชันรับหน้าร้อนให้ช้อป ชิมอย่างจุใจ  ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องใช้ และเครื่องประดับ  เช่น “ดองบัง” แซลมอนดองซีอิ๊วเกาหลี  , ข้าวมันไก่  “โกป๊อก , โคขุน “จ้าวอาม” เจ้าดังบางขุนนนท์ , น้ำมะพร้าวปั่นนมสด “Coco Layer”  และ ยาสีฟัน “DentaMate” เป็นต้น  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357   

23 Apr 2025

...

  กรุงเทพประกันชีวิต เตรียมจัดงานสัมมนาครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในปี 2568 Bangkok Life Grand Open House นำโดย คุณจักรพงศ์ แสงแก้ว ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายงานตัวแทนและที่ปรึกษาการเงิน ที่จะเปิดบ้านต้อนรับผู้บริหารตัวแทน ตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน ตลอดจนผู้มุ่งหวังที่จะเข้าสู่อาชีพนักขายรุ่นใหม่เพื่อร่วมเส้นทางกับงานที่จะทำให้เปลี่ยนชีวิตสู่อิสรภาพทางการเงิน พิเศษ ช่วง Special Talk กับ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ผู้ดำเนินรายการชื่อดังของไทยจาก The Standard ในรายการ Morning Wealth และ 8 Minute ที่จะมาร่วมแชร์แนวคิดของ “งานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ: Live a Life Beyond Imagination” ในวันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2568 ระหว่าง 9.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม ชิน โสภณพนิช ชั้น 11 อาคารสำนักงานใหญ่ กรุงเทพประกันชีวิต (วงศ์สว่าง) พร้อมรับฟังความรู้อีกมากมายจากตัวแทนและที่ปรึกษาการเงินระดับท็อปของกรุงเทพประกันชีวิต ที่จะมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์บนเส้นทางแห่งความสำเร็จ พร้อมเปิดมุมมองใหม่กับอาชีพที่สามารถก้าวข้ามทุกข้อจำกัดสู่ชีวิตดี  ๆ แบบที่เคยฝันทั้งรายได้และอิสรภาพในการบริหารเวลา สามารถเติบโตก้าวหน้าได้ตามความสามารถ โดยผู้ร่วมงานคนใหม่ที่ยังไม่มีรหัสตัวแทน รับทันที เสื้อ T- Shirt “งานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ” พร้อมลุ้นของรางวัลมากมายในงาน สำหรับผู้บริหารที่ชวนผู้มุ่งหวังร่วมงาน รับทันทีกระเป๋าชอปปิง 1 ใบ

22 Apr 2025

...

  สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ประชุมร่วมกับเอกชนภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Microsoft Teams Meeting เพื่อหารือแนวทางการเร่งตรวจสอบและออกหลักฐานรับผิดชอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย โดย นายอดิศร พิพัฒน์วรพงศ์ รองเลขาธิการ ด้านกฎหมายและตรวจสอบ สำนักงาน คปภ. ประธานที่ประชุม ได้ให้ความสำคัญของการให้บริการตรวจสอบความเสียหายและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเรียกร้องให้บริษัทประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในเหตุแผ่นดินไหว ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นพ้องกันว่าจะเร่งดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยเร็วที่สุด ซึ่ง สำนักงาน คปภ. ขอให้ภาคเอกชนรายงานข้อมูลการพิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ประชาชน ให้สำนักงาน คปภ. ทราบ เพื่อติดตาม ตรวจสอบความถูกต้อง สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการใช้ระบบประกันภัยบริหารความเสี่ยง และได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัย ขณะนี้ สำนักงาน คปภ. โดยสายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ได้ปฏิบัติงานร่วมกับทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง โดยได้ตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนด้านการประกันภัย ณ ที่ทำการของสำนักงาน คปภ. ทั่วประเทศ พร้อมให้บริการสายด่วน คปภ. 1186 เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้ข้อมูล ให้คำปรึกษาเบื้องต้น หรือตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยจากผู้มีสิทธิขอรับข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ รองเลขาธิการ ด้านกฎหมายและตรวจสอบ ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า “การประชุมในครั้งนี้ เป็นไปตามภารกิจสำคัญของ สำนักงาน คปภ. ที่จะต้องให้ความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัยอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดูแลประชาชนในยามวิกฤตภัยพิบัติที่รุนแรง จำเป็นต้องมีการติดตามเร่งรัดให้มีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเยียวยาความเสียหายแก่ประชาชนโดยเร็วที่สุด”  

21 Apr 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner