Responsive image

Wednesday, 16 Jul 2025

หน้าแรก > INSURANCE / ประกันภัย - ประกันชีวิต


บอร์ด TQM เคาะจ่ายปันผลระหว่างกาล 1 บาท/หุ้น หลังผลงาน 1H/63 สุดแกร่งกำไรนิวไฮ

Tue 11/08/2563


บอร์ด TQM เคาะจ่ายปันผลระหว่างกาลเป็นเงินสด 1 บาท/หุ้น สวนกระแสเศรษฐกิจ หลังผลประกอบการครึ่งแรกปี 2563 เติบโตโดดเด่น กำไรรวม 2 ไตรมาสสูงสุดเป็นประวัติการณ์แตะ 342 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 50% ตามยอดขายประกันพุ่ง ผู้บริหารชี้เร่งเดินหน้าเจรจาร่วมทุนประกันภัย กัมพูชา-สปป.ลาว คาดปิดดีลภายในปีนี้ และ M&A ในประเทศ 2 บริษัท พร้อมเตรียมตั้งบริษัทรับเคลม รองรับตลาดประกัน A&H ในประเทศพุ่ง-เสริมความแข็งแกร่งงานด้านบริการแบบครบวงจร ควบคู่การเดินหน้าออกผลิตภัณฑ์ใหม่ “ประกันสุขภาพ” ต่อยอดความสำเร็จประกันเฉพาะกลุ่ม และ “Unemployment” เพิ่มโอกาสการเข้าถึงประกันของกลุ่มคนว่างงาน พร้อมผนึกบาเนียนำ Big Data วิเคราะห์ข้อมูลการนำเสนอประกันภัยบ้านเชิงลึก ต่อยอดการเติบโตครึ่งปีหลังอย่างโดดเด่นและแข็งแกร่ง

 ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธานกรรมการ บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TQM ผู้นำด้านที่ปรึกษาประกันภัยและการเงิน เปิดเผยว่า ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ (บอร์ด) เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ได้มีมติอนุมัติจ่ายปันผลระหว่างกาลเป็นเงินสด (งวด 1 ม.ค.- 30 มิ.ย. 63) จำนวน 1 บาท/หุ้น คิดเป็นอัตราการจ่ายเงินปันผล 99% ของกำไรสุทธิของงบการเงินเฉพาะกิจการ กำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นได้รับสิทธิ (Record date) วันที่ 24 สิงหาคม 2563 และจ่ายเงินปันผลในวันที่ 8 กันยายน 2563 หลังภาพรวมผลประกอบการครึ่งแรกปี 2563 เติบโตโดดเด่น

โดยบริษัทฯ มีกำไรสุทธิรวม 2 ไตรมาส 342 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 49.5 % เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ทำสถิติสูงสุดครั้งใหม่ (นิวไฮ) ตามการเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าบริการ 16.7 % แตะ 1,543 ล้านบาท ซึ่งมาจากยอดขายประกันภัยเกือบทุกประเภทเติบโตขึ้นในทุกช่องทาง ขณะเดียวกันบริษัทฯ ยังสามารถบริหารจัดการต้นทุนและควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยต้นทุนและค่าใช้จ่ายการให้บริการครึ่งปีแรกอยู่ที่ 769 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.5% เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนตามยอดขายที่เพิ่มขึ้น แต่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในการให้บริการ บริษัทฯ จึงสามารถรักษาอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ไว้ได้ในระดับสูงที่ 50.2% ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการบริหารอยู่ที่ 375 ล้านบาท ส่งผลให้อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) อยู่ในระดับ 21.8%  

ดร.อัญชลิน บอกเพิ่มเติมถึงแนวโน้มครึ่งปีหลังว่า มั่นใจเติบโตโดดเด่นและแข็งแกร่งมากขึ้นจากครึ่งปีแรก จากแผนงานที่เตรียมไว้ทั้ง Organic Growth และ Inorganic Growth โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาร่วมทุน (M&A) กับประกันภัยในประเทศกัมพูชาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เบื้องต้นคาดจะสามารถปิดดีลได้ภายในปีนี้ พร้อมเดินหน้าเจรจา M&A ภายในประเทศ 2 บริษัท รวมไปถึงการเตรียมตั้งบริษัทรับเคลมประกันอุบัติเหตุและสุขภาพ (A&H) รองรับตลาดประกันสุขภาพภายในประเทศที่กำลังเติบโตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากแนวโน้มอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นทุกปี  และการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) รวมถึงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส     COVID-19 ทำให้ผู้บริโภคมีความตระหนักรู้ถึงความสำคัญในการซื้อประกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งนับเป็นการต่อยอดความแข็งแกร่งงานด้านบริการแบบครบวงจร

 นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ผนึกความร่วมมือพันธมิตรคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆต่อเนื่อง โดยล่าสุดเตรียมออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ทั้ง “ประกันสุขภาพ” ต่อยอดความสำเร็จจากประกันสุขภาพเฉพาะกลุ่ม และประกันUnemployment” เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงประกันให้กับกลุ่มคนว่างงาน รวมไปถึงการผนึกความร่วมมือบริษัท บาเนีย (ประเทศไทย) จำกัด นำ Big Data มาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เพื่อนำเสนอประกันภัยบ้านรูปแบบใหม่ได้ตรงความต้องการของลูกค้าอย่างแม่นยำ ต่อยอดการเติบโตช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ให้โดดเด่นและแข็งแกร่งขึ้นจากครึ่งปีแรก


Tags : TQMเคาะจ่ายปันผล ดร.อัญชลินพรรณนิภา


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อเร็ว ๆ นี้      

14 Jul 2025

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner