Responsive image

Saturday, 12 Jul 2025

หน้าแรก > INSURANCE / ประกันภัย - ประกันชีวิต


"ทิพยประกันภัย" เผยกำไรครึ่งปีแรกกว่า 1,052 ล้านบาท ยกฐานะเป็นโฮลดิ้งส์ขยายการลงทุน-รุกต่างประเทศ

Fri 21/08/2563


บมจ.ทิพยประกันภัย โชว์ผลงาน 6 เดือนแรก ปี 63 สวนกระแสเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำกำไรสุทธิทะลุ 1,052.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% โดยเบี้ยประกันภัยรับรวม 11,615.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.86 % “ดร.สมพร” เผยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ผลักดันให้เบี้ยประกันภัยโตทุกประเภท พร้อมปรับยุทธศาสตร์ครั้งใหญ่ ยกฐานะเป็นบริษัทโฮลดิ้งส์เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน รุกขยายธุรกิจต่างประเทศ หวังก้าวสู่บริษัทประกันภัยชั้นนำในภูมิภาค

 ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ TIP เปิดเผยถึง ผลการดำเนินงานประจำงวด 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน 2563 ว่า บริษัทฯมีอัตราการขยายตัวของกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สวนกระแสกับภาพรวมเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างชัดเจนหลังจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมีกำไรสุทธิรวมกว่า 1,052.57 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 1.75 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 953.33 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 1.59 บาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 99.24 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้น 10.41%

สำหรับครึ่งปีแรกของปี 2563 บมจ.ทิพยประกันภัย สามารถทำเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งสิ้น 11,615.54 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 9,302.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 2,312.97 ล้านบาท หรือคิดเป็น 24.86%

ดร.สมพร กล่าวเพิ่มเติมว่า เบี้ยประกันภัยรับรวมที่เพิ่มขึ้นเกือบ 25% สืบเนื่องจากบริษัทฯ ได้พัฒนาศักยภาพการให้บริการและนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าออกมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เบี้ยประกันภัยรับทุกประเภทขยายตัวเพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน โดยเบี้ยประกันอัคคีภัย เพิ่มขึ้น 7.23% เบี้ยประกันภัยทางทะเลและขนส่ง เพิ่มขึ้น 34.07% เบี้ยประกันภัยรถยนต์ เพิ่มขึ้น 35.32% และเบี้ยประกันภัยเบ็ดเตล็ด เพิ่มขึ้น 24.45%

ขณะที่ฐานะการดำเนินงานของบริษัทฯ ยังคงแข็งแกร่ง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 บมจ.ทิพยประกันภัย มีสินทรัพย์รวม 42,503.89 ล้านบาท หนี้สินรวม 34,695.70 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 7,808.19 ล้านบาท

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 ที่ลุกลามและขยายวงกว้างไปทั่วโลกนั้น ดร.สมพร กล่าวว่า บมจ.ทิพยประกันภัย ได้ตระหนักถึงความวิตกกังวลของประชาชนคนไทย จึงได้นำเสนอกรมธรรม์ประกันภัยความคุ้มครองการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด - 19 ที่ครอบคลุมทั้งการดูแลค่ารักษาพยาบาล รวมถึงจะได้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อโรคโควิด - 19 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนทั่วไป

ขณะเดียวกันยังได้นำนวัตกรรมใหม่มาให้บริการแก่ลูกค้าของบริษัทฯ ด้วยการจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจเปิดตัวแอปพลิเคชัน Doctor Anywhere เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถรับการตรวจหาเชื้อ หรือรับคำปรึกษาผ่านระบบออนไลน์ โดยจะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา วินิจฉัยอาการในเบื้องต้น รวมถึงบริการนำส่งยาถึงบ้านอีกด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) โดยลูกค้าไม่ต้องออกจากบ้าน สามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ลูกค้าอีกทางหนึ่งด้วย

นอกจากนี้ บมจ.ทิพยประกันภัย ได้ยึดนโยบายการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สอดรับกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ออกมารองรับหลังวิกฤตโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ด้วยการเปิดตัว โครงการ “TIP ปันสุข” รวมทั้งสิ้น 4 ซีรี่ส์หลัก คือ เที่ยวปันสุข , TIP อิ่มสุข , เกษตรเป็นสุข และTIP เติมสุข โดยเปิดตัวด้วยซีรี่ส์แรก เที่ยวปันสุข ที่จะรองรับโครงการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ “เราเที่ยวด้วยกัน” ประชาชนสามารถเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันภัยราคาประหยัดที่สามารถสร้างหลักประกันและความมั่นใจในการเดินทางท่องเที่ยว ขณะที่อีก 3 ซีรี่ส์จะทยอยออกมาอย่างต่อเนื่องเร็วๆ นี้

“ทุกโครงการที่ออกแบบขึ้น ทิพยประกันภัยตั้งใจเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือให้พี่น้องคนไทยที่ได้รับผลกระทบให้มีความสุข ความมั่นใจ ความอุ่นใจ มีโอกาสที่ดี ให้สามารถก้าวข้ามผ่านและผ่านพ้นภาวะวิกฤตในครั้งนี้ไปด้วยกันอย่างรวดเร็ว” ดร.สมพร กล่าว

สำหรับแผนการดำเนินงานในอนาคตนั้น ดร.สมพร กล่าวว่า ปัจจุบัน บมจ.ทิพยประกันภัย กำลังอยู่ในขั้นตอนของการดำเนินการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ เป็นบริษัทโฮลดิ้งส์ ภายใต้ชื่อบริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นในการจัดการองค์กร ให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม และตอบสนองต่อความต้องการของตลาดประกันภัยในยุคดิจิทัล (Digital Insurance) โดยบริษัทโฮลดิ้งส์จะเพิ่มโอกาสในการลงทุนในธุรกิจที่สามารถสนับสนุนธุรกิจประกันภัยที่เป็นธุรกิจหลักของบริษัทฯ เพื่อสร้าง Ecosystem การให้บริการผู้บริโภคอย่างครบวงจร นอกจากนั้น บริษัทโฮลดิ้งส์จะเน้นการขยายธุรกิจไปที่กลุ่มประเทศในอาเซียน และจะลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัย (Insurance Related) เพื่อสนับสนุนธุรกิจหลักของบริษัทฯให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น สำหรับขั้นตอนการดำเนินการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปลายปี 2563 หรือประมาณต้นปี 2564 ซึ่งภายหลังการปรับโครงสร้าง หุ้นสามัญของบริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) จะเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แทนที่หุ้นสามัญของ บมจ. ทิพยประกันภัย

“การปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการของ บมจ. ทิพยประกันภัย เป็นบริษัทโฮลดิ้งส์ ภายใต้ชื่อ บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) จะทำให้มีความยืดหยุ่นในการลงทุนขยายธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับแผนการดำเนินงานในอนาคตที่ตั้งเป้าจะก้าวสู่บริษัทประกันภัยชั้นนำในภูมิภาค” ดร.สมพร กล่าว

 


Tags : ทิพยประกันภัย ดร.สมพรสืบถวิลกุล "ทิพยประกันภัย"เผยกำไรครึ่งปีแรกกว่า1052ล้านบาท


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารประสบความสำเร็จได้รับรางวัลระดับเอเชีย Asia Responsible Enterprise Awards (AREA) 2025 สาขา Social Empowerment จาก MyMo Secure Plus นวัตกรรมความปลอดภัยบน Mobile Banking ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ให้ลูกค้า บูรณาการร่วมกับ แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้และเสริมภูมิคุ้มกันภัยทางการเงิน พร้อมกันนี้ ธนาคารออมสินยังได้รับรางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability ในฐานะองค์กรที่มีความโดดเด่นและมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนในทุกมิติจนได้รับรางวัล AREA มาแล้ว 5 ปี จาก Enterprise Asia องค์กรพัฒนาเอกชนชั้นนำที่ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบในเอเชีย เพื่อเชิดชูและให้เกียรติองค์กรธุรกิจที่มีการดำเนินงานตามแนวทาง ESG และเป็นต้นแบบองค์กรชั้นนำในภูมิภาคเอเชียที่ขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ     ธนาคารออมสินถือเป็นธนาคารแรกที่พัฒนาโหมดปลอดมิจฉาชีพ ภายใต้ชื่อ MyMo Secure Plus เพื่อช่วยดูแลเงินฝากขั้นสูงสุดให้กับลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ไม่รู้เท่าทันมิจฉาชีพที่เปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงตลอดเวลา ออกแบบโดยเน้นการทำธุรกรรมทางการเงินแบบจำกัดเฉพาะรายการที่จำเป็น อาทิ การโอนเงินไปยังบัญชีตนเองภายในธนาคารและต่างธนาคารที่ลงทะเบียนไว้ และการจำกัดวงเงินในการทำธุรกรรมต่อวัน ทั้งนี้ ธนาคารออมสินไม่เพียงพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นธนาคารแรกที่ดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ผ่าน แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ ดำเนินการอย่างเข้มข้นผ่านช่องทางการสื่อสารที่ครบวงจร ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ สื่อนอกบ้าน หรืออินฟลูเอนเซอร์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากที่สุด เนื่องจากธนาคารตระหนักดีถึงความสูญเสียของประชาชนและวิกฤตของอาชญากรรมออนไลน์ที่นับวันจะทวีความรุนแรงจนกลายเป็นภัยคุกคามระดับประเทศ จึงเป็นความพยายามของธนาคารในการที่จะกระตุ้นเตือนให้ประชาชนรู้เท่าทันกลลวงและไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพทางการเงิน     รางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability และ Social Empowerment ถือเป็นบทพิสูจน์ถึงบทบาทของธนาคารออมสินในฐานะ Social Bank ที่ไม่เพียงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับการให้บริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังขับเคลื่อนการสร้าง Social Impact เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ธนาคารยังคงยึดมั่นในหลักการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบตามแนวทาง ESG เพื่อก้าวสู่เป้าหมายความยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม ตลอดจนเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว  

01 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner