Responsive image

Tuesday, 15 Jul 2025

หน้าแรก > BUSINESS-MARKETING-SME /ธุรกิจ-การตลาด-ขายตรง-เอสเอ็มอี


ฟูจิตสึ ประกาศวิสัยทัศน์ชัดเจน “บริษัทที่มุ่งเน้น Digital Transformation” ผนึกเครือข่ายพันธมิตรก้าวสู่ผู้ให้บริการโซลูชันดิจิทัลเต็มรูปแบบในปี 2563

Fri 28/08/2563


ฟูจิตสึ ประกาศวิสัยทัศน์องค์กรด้านเทคโนโลยีและบริการอย่างชัดเจน ยกระดับสู่บริษัทที่มุ่งเน้นงานบริการครบวงจร  พร้อมผนึกเครือข่ายพันธมิตรบริษัทไอทีชั้นแนวหน้า กำหนดเป้าหมายปี 2563 เดินหน้าสู่การเป็นผู้ให้บริการโซลูชันดิจิทัลเต็มรูปแบบ มุ่งขยายบริการ 2 ส่วนหลัก DX Data-Driven  และ  DX- Modernize

นายโทชิโร มิอุระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึง ทิศทางธุรกิจ กลยุทธ์การบริการด้านเทคโนโลยีในปี 2563 ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของหลากหลายอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนถ่ายและเดินหน้าสู่องค์กรดิจิทัล (Digital Transformation) อย่างต่อเนื่องและชัดเจน เพื่อสนองตอบความต้องการของตลาด ฟูจิตสีจึงกำหนดพันธกิจ 4 แนวทางหลักในการขับเคลื่อนองค์กรประกอบด้วย ประกอบด้วย 1) เปลี่ยนแปลงสู่บริษัทที่มุ่งเน้นการบริการครบวงจร (Service Oriented Company) ภายในปี 2565  2)  ผสานพันธมิตรเครือข่ายเพื่อสร้างมูลค่าธุรกิจให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายที่ดีที่สุด 3) ขยายบริการดิจิทัลควบคู่การแนะนำให้คำปรึกษา มุ่งเน้นกลุ่มบริการ  DX-Data Driven และ DX- Modernize และ 4) เพิ่มขีดความสามารถในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าให้ได้มากยิ่งขึ้น

“ผลประกอบการปี  2562  สิ้นสุดเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ฟูจิตสึ ประเทศไทย มียอดขายทั้งสิ้น 3.8 พันล้านบาท และในสถานการณ์ที่ยากและท้าทายท่ามกลางการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 เราต้องใช้มาตรการที่รอบคอบเพื่อให้บรรลุพันธกิจที่ตั้งไว้พร้อมเดินตามเจตนารมณ์ของฟูจิตสึ ที่ประกาศชัดเจนว่า  ฟูจิตสึต้องเป็นพาร์ทเนอร์ที่แข็งแกร่ง สนองตอบความต้องการของลูกค้าเพื่อนำเสนอและส่งต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรสู่ธุรกิจดิจิทัล  ตลอดจนมุ่งมั่นในการสร้างอนาคตธุรกิจที่เชื่อถือได้ร่วมกัน นั่นคือคำตอบที่ทำให้การขยายบริการดิจิทัลเป็นเป้าหมายหลักของฟูจิตสึประเทศไทย ด้วยการผสานรวมเทคโนโลยีและบริการที่หลากหลายของฟูจิตสึกับเครือข่ายพาร์ทเนอร์ที่เติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง จะทำให้เราสามารถนำเสนอโซลูชั่นที่ตอบทุกโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างลงตัว” นายมิอุระ กล่าว

 

ทั้งนี้การขยายบริการธุรกิจดิจิทัลควบคู่การแนะนำให้คำปรึกษา โดยเฉพาะกลุ่มบริการ  DX-Data Driven และ DX-Modernize ภายในปีนี้ นายพรชัย พงศ์เอนกกุล หัวหน้ากลุ่มธุรกิจดิจิทัลโซลูชั่น บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด ให้ข้อมูลกลุ่มบริการ DX-Data Driven ไว้ว่า ฟูจิตสึจะใช้ข้อมูลเป็นพื้นฐานสำหรับการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) โดยช่วยปลดล็อคให้ลูกค้าสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ได้อย่างเต็มศักยภาพ อาศัยการจัดการและปกป้องสินทรัพย์ข้อมูลบนโครงสร้างพื้นฐานไอทีขนาดใหญ่ ครอบคลุมตั้งแต่ส่วนขอบไปจนถึงส่วนแกนหลักของเครือข่ายรวมถึงระบบคลาวด์

ด้วยการนำเสนอ 4 โซลูชันดิจิทัล 1) Smart Factory การขับเคลื่อน กระบวนการของโรงงานผลิตเข้าสู่ดิจิทัลโพรเซส เพื่อสร้างความคล่องตัวให้การผลิตมากยิ่งขึ้น  2) Data Analytics การวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่รองรับธุรกิจจำเป็นที่จะต้องมีการสำรวจ ประมวลผล ปกป้อง และสร้างรายได้จากข้อมูล 3) RPA -Robotic Process Automation การใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วย สร้างความถูกต้องแม่นยำ ลดต้นทุนการทำงาน เพิ่มอัตราผลผลิตได้ดี และ 4) Smart Workplace ที่เข้ามาตอบสนองความต้องการในยุคเว้นระยะห่างทางสังคม (Distancing) เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานระยะไกลผ่านโซลูชันดิจิทัล การรีโมทเครือข่ายเพื่อทำงานร่วมกันของทีมงาน  

 

นายพรชัยกล่าวต่อถึงกลุ่มบริการ DX-Modernizeว่า“ฟูจิตสึมีพาร์ทเนอร์เครือข่ายที่เข้มแข็งอย่างมากที่มาทำงานร่วมกันเพื่อสร้างมูลค่าธุรกิจเพิ่มให้ลูกค้าและบริการส่วนนี้มีอัตราการขยายตัวสูงมากในปีที่ผ่านมา ประกอบด้วย SAP Solution,  Modern Managed Services,  Security Services  และ  Hybrid Cloud Services ขณะเดียวกันยังได้พัฒนาแอพพลิเคชันขึ้นในประเทศไทยเพื่อสนองตอบให้ลูกค้าได้ดำเนินธุรกิจได้อย่างคล่องตัวในภาวการณ์โรคระบาด ในชื่อ COVID Respond Campaign อาทิ 1) Health Screening Solution การสแกนใบหน้า ตรวจวัดอุณหภูมิ ตรวจสอบการใส่หน้ากาก 2)Tracker Application การเช็คไทม์ไลน์ของกลุ่มคนเป้าหมายเพื่อควบคุมความปลอดภัยได้ครบทุกจุด 3) Van Sales Business for new normal Application สนับสนุนงานขายการจัดระบบรับ-ส่งสินค้า การสร้างออเดอร์ผ่านระบบออนไลน์ วางแผนเส้นทางการจัดส่งเช็คสินค้าคงคลัง  4) Cloud Kitchen for New Normal แอพพลิเคชั่นที่สนับสนุนสังคมไร้เงินสด ที่จะเข้ามาตอบโจทย์ธุรกิจอาหาร สอดรับออเดอร์การจัดส่งในหลายรูปแบบแอพพลิเคชั่นนี้ จะมาเชื่อมต่อผู้ผลิตหรือเจ้าของร้านในการสื่อสารกับลูกค้าให้ง่ายขึ้น”

ฟูจิตสึมีเป้าหมายจะช่วยให้ลูกค้าปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจด้วยการผลักดันโครงการ Digital Transformation (DX) นำเสนอกระบวนการที่เป็นขั้นเป็นตอนสำหรับการให้คำปรึกษาและการติดตั้งระบบ โดยอาศัยข้อมูลเริ่มต้นจากการกำหนดค่ามาตรฐานสำหรับการปรับปรุงข้อมูลภายในองค์กร จากนั้นก็กำหนดสถาปัตยกรรมเป้าหมาย และสร้างสภาพแวดล้อมด้านข้อมูลเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการสร้างมูลค่าทางธุรกิจครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร มุ่งสร้างสรรค์และขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อร่วมสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน


Tags : ฟูจิตสึ โทชิโร มิอุระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด พรชัย พงศ์เอนกกุล หัวหน้ากลุ่มธุรกิจดิจิทัลโซลูชั่น ฟูจิตสึ


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อเร็ว ๆ นี้      

14 Jul 2025

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner