Responsive image

Saturday, 19 Jul 2025

หน้าแรก > BUSINESS-MARKETING-SME /ธุรกิจ-การตลาด-ขายตรง-เอสเอ็มอี


W9 Wellness Center ศูนย์ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ครบรอบ 1 ปี เผย 4 เทรนด์ กระตุ้นตลาด Wellness ไทย เปิด 6 ปัญหาสุขภาพฮิตคนไทย

Tue 08/09/2563


W9 Wellness Center ศูนย์ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic)ในโรงพยาบาลพระรามเก้า มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันก่อนการเกิดโรค โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกัน ครบรอบ 1 ปี เผย 4 เทรนด์กระตุ้น Wellness ในประเทศไทย จากสถิติผู้เข้ารับการปรึกษาส่วนใหญ่กว่า 80-90% มาใช้บริการเมื่อมีปัญหาสุขภาพแล้ว เปิด 6 ปัญหาสุขภาพฮิต พบหลังเกิดภาวะวิกฤตโควิด-19 ระบาดมีจำนวนผู้มาปรึกษาปัญหาเรื่องการเร่งสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ชูแนวคิด “Healthitude” มีสุขภาพดีได้ง่าย ๆ เมื่อรู้จักตัวเอง พร้อมสร้างทัศนคติในการดูแลสุขภาพ เปิดกลยุทธ์รุกตลาดสุขภาพครึ่งปีหลัง มุ่งสื่อสารสร้างความตระหนักรู้และให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมเชิงป้องกัน เพื่อขานรับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุค New normal คาดตลาดรวมเติบโต 6.30% ทั้งนี้ W9 ตั้งเป้าเติบโตเพิ่มขึ้นเท่าตัวในปีนี้

นายแพทย์พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม W9 Wellness Center เปิดเผยเกี่ยวกับ 4 เทรนด์ Wellness หรือ เทรนด์การสร้างสมดุลความสุขชีวิตทุกด้าน ประกอบด้วย เทรนด์สังคมสูงวัย ปัจจุบันประเทศไทยกำลังจะก้าวสู่สังคมสูงวัยเต็มรูปแบบ โดยคาดว่าในปี 2564 จะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเป็นจำนวนถึง 20% ของจำนวนประชากรในประเทศ ในขณะที่ประชากรวัยทำงานมีอัตราลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับอัตราการเกิดใหม่  เทรนด์อายุยืนด้วยคุณภาพชีวิตที่ดี  ผู้คนสุขภาพดีอายุยืน สามารถใช้ร่างกายได้ดีตามวัย สามารถทำงาน และช่วยเหลือตัวเองได้ โดยได้หันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ ความเป็นอยู่ และจิตใจของตัวเอง เนื่องจากตระหนักว่า การมีอายุยืนแต่อุดมไปด้วยโรคเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนา  เพราะจะเป็นภาระต่อครอบครัวและสังคม  เทรนด์โภชนาการเฉพาะบุคคล คนสมัยนี้สนใจหาความรู้และให้ความสำคัญกับการดูแลโภชนาการเพิ่มมากขึ้น เลือกรับประทานอาหาร สร้างความสมดุลเฉพาะบุคคลมากขึ้น และ ผู้บริโภคสนใจและใส่ใจสุขภาพเชิงรุก โดยเฉพาะคนยุคใหม่กลุ่มยุคมิลเลนเนียล และเจเนอเรชั่นวาย มีการหาข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเชิงลึก ทั้งในเรื่องการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนัก ฯลฯ มากขึ้น ประกอบกับปัญหามลภาวะฝุ่น PM 2.5 และการเกิดโรคอุบัติใหม่เชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นอีกตัวแปรสำคัญที่เข้ามากระตุ้นผู้คนให้หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวมากยิ่งขึ้น

“จากเทรนด์ข้างต้น W9 Wellness มองเห็นว่าการสร้างชีวิตที่สุขสมดุล เพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีจำเป็นต้องมีการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับทางเลือกของการมีสุขภาพที่ดี เพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตที่หลายหลาย การมุ่งเน้นดูแลสุขภาพในภาพรวมของแต่ละบุคคล โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีทางการแพทย์มาประยุกต์ใช้กับการป้องกันสุขภาพเชิงรุก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลสุขภาพ รวมไปถึงการรักษาและฟื้นฟูสุขภาพที่ได้ผลดียิ่งขึ้น เพื่อลดโอกาสเจ็บป่วยและลดการใช้ยา รวมทั้งการดูแลที่ออกแบบเฉพาะบุคคลตามความจำเป็น ทั้งนี้ ในช่วง 1 ปีที่ W9 Wellness Center ได้ใกล้ชิดสุขภาพผู้บริโภค พบว่าผู้ที่มาใช้บริการกว่า 80% มาใช้บริการเนื่องจากมีปัญหาสุขภาพ โดยเบื้องต้นพบสาเหตุจากการใช้ชีวิตที่ไม่สมดุล ทั้งจากการรับประทานอาหาร การทำงานหนัก การพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียดสะสม ฯลฯ ซึ่งล้วนส่งผลต่อการทำงานที่ผิดปกติของระบบการทำงานพื้นฐานต่าง ๆ ของร่างกาย จนอาจเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร ในทางการแพทย์มีการดูแลสุขภาพ 2 รูปแบบ คือ การดูแลสุขภาพเชิงรับ คือเมื่อมีอาการป่วยแล้วจึงเข้ามาปรึกษาและทำการรักษา และการดูแลสุขภาพเชิงรุก หรือเชิงป้องกันโรค ด้วยการดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ และก่อนที่ร่างกายจะส่งสัญญาณหรือก่อนที่จะเริ่มมีปัญหาสุขภาพ”  นายแพทย์พิจักษณ์ กล่าว

ทั้งนี้ จากสถิติของศูนย์ฯ ช่วงก่อนเกิดโควิด-19 พบผู้มีปัญหาสุขภาพที่มาใช้บริการศูนย์ฯ W9 ด้วย 6 ปัญหาสุขภาพ ได้แก่ 1. ปัญหานอนไม่หลับและมีความเครียด 19.34% 2. ปัญหาผิวและริ้วรอย 19.34% 3. ปัญหาน้ำหนักตัว 18.4% 4. การเสริมภูมิคุ้มกัน 15.57% 5. ปัญหาฮอร์โมน 14.62% และ 6. ความกังวลเกี่ยวกับมะเร็ง 12.73%  นอกจากนี้ ในช่วงที่ไวรัสโควิด–19 แพร่ระบาด พบสถิติคนไทยมาปรึกษาเกี่ยวกับการเสริมภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นเป็น 20.65% แสดงให้เห็นว่าคนไทยตระหนักถึงการดูแลสุขภาพมากขึ้น และมาปรึกษาด้วยปัญหานอนไม่หลับและมีความเครียดเพิ่มขึ้นเป็น20.05% สองปัญหาสุขภาพขยับขึ้นมาเป็น 2 อันดับแรกที่ผู้มาใช้บริการเข้ามารับคำปรึกษาในช่วงนี้ ทั้งนี้จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้พฤติกรรมด้านสุขภาพของคนไทยเปลี่ยนไป และเป็นปัจจัยเร่งให้ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันมากขึ้น จากข้อมูลจีไอเอสคาดว่าตลาด Health and Wellness จะโตถึง 6.30% ทั้งนี้ W9 ตั้งเป้าเติบโตเพิ่มขึ้นเท่าตัวในปี 2563 นี้

อย่างไรก็ดี W9 มุ่งสร้างความสมดุลให้สุขภาพของผู้มาใช้บริการ ภายใต้แนวคิด “Healthitude” ยกระดับ “การป้องกัน” และดูแลสุขภาพผ่านการตรวจสุขภาพเชิงลึก ให้ทราบถึงความสมดุลระบบพื้นฐานที่สำคัญของร่างกาย และจัดโปรแกรมการดูแลสุขภาพองค์รวมแบบเฉพาะบุคคลเพื่อร่วมรักษาโรค ลดความเสี่ยงของการเกิดโรค ชะลอวัย และเพื่อการมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน

 

นายขันธ์พลร์ ซื่อภาคย์ กรรมการบริหาร ศูนย์ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม W9 Wellness Center กล่าวว่า ในปีนี้ทิศทางธุรกิจ Wellness โตไปพร้อมกับกระแสสังคมผู้สูงอายุ สอดรับกับการใช้ชีวิตแบบ New normal ที่ต้องดูแลรักษาสุขภาพ นอกจากการดูแลลูกค้ากลุ่มเดิมแล้ว ยังมุ่งขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย และเน้นการเข้าถึงคนในสังคมมากขึ้นด้วยราคาสมเหตุสมผล จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบโปรแกรมดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคล ผ่านการตรวจสุขภาพเชิงลึก ทั้งด้านพันธุกรรม ฮอร์โมน วิตามิน และสารพิษ พร้อมให้คำแนะนำในการช่วยหาสมดุลการใช้ชีวิตเฉพาะบุคคล ปรับเปลี่ยนทัศนคติว่าการดูแลสุขภาพก่อนเกิดโรคเป็นเรื่องที่ทำได้เอง ทำได้ง่าย และทำได้จริง เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนทั้งร่างกายและจิตใจ

“จากผลสำรวจสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ชี้ว่าคนไทย 45.39% หันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ เพื่อดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงและปรึกษาแพทย์อยู่เสมอ ทำให้เห็นถึงโอกาสการเติบโตในตลาด โดยในช่วงครึ่งปีหลังจะมุ่งเน้นแนวทางของการบริหารงานด้านสุขภาพในแง่สร้างการรับรู้ให้คนไทยได้ตระหนักถึงเรื่องของแนวคิดการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันเพิ่มมากขึ้น ด้วยกลยุทธ์การตลาดเชิงรุก การให้ความรู้ เสริมสร้างความเข้าใจด้านสุขภาพเชิงลึกที่เข้าใจง่าย นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ และคิดค้นนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกมาเพื่อขานรับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุค New normal ในปัจจุบันและอนาคต ควบคู่กับการให้บริการ Wellness ที่ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic) ที่ประกอบด้วย 4 Ps คือ Preventive มุ่งเน้นที่การป้องกันก่อนการเกิดโรค Predictive ใช้การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการที่แม่นยำในระดับเซลล์ โดยคำนึงถึงปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน นำมาวิเคราะห์หาต้นตอปัญหาที่แท้จริง Personalized ออกแบบสุขภาพเฉพาะบุคคล โดยใช้ข้อมูลเชิงลึก และ Participatory ประกอบกับการให้คำปรึกษาโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกัน ที่เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างแพทย์กับคนไข้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการดูแลรักษาสูงสุด”  นายขันธ์พลร์ กล่าวทิ้งท้าย


Tags : W9WellnessCenter นายแพทย์พิจักษณ์วงศ์วิศิษฎ์ นายขันธ์พลร์ซื่อภาคย์ ศูนย์ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม(Holistic)ในโรงพยาบาลพระรามเก้า


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อเร็ว ๆ นี้      

14 Jul 2025

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner