Responsive image

Sunday, 06 Jul 2025

หน้าแรก > INSURANCE / ประกันภัย - ประกันชีวิต


คปภ. ติวเข้มอนุญาโตตุลาการ เตรียมนำระบบ E-Arbitration มาใช้เพิ่มความแข็งแกร่ง รองรับการระงับข้อพิพาทด้านประกันภัย ยุค New Normal

Tue 15/09/2563


ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.)เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาอนุญาโตตุลาการ สำนักงาน คปภ. ประจำปี 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและสนับสนุนความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับกฎหมายด้านการประกันภัยที่มีการแก้ไขปรับปรุง ตลอดจนเงื่อนไข กรมธรรม์ประกันภัยรูปแบบใหม่ ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินกระบวนพิจารณา สามารถนำไปปรับใช้ในการพิจารณาและทำคำวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทด้านประกันภัยของอนุญาโตตุลาการ และเป็นการให้ความรู้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ คปภ. ตลอดจนเปิดโอกาสให้อนุญาโตตุลาการได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน โดยมีอนุญาโตตุลาการ และพนักงาน คปภ.ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค เข้าร่วมรวมทั้งสิ้น 80 คน เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2563 ณ โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร

            ในโอกาสนี้ เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า กระบวนการระงับข้อพิพาททางเลือกด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการนั้นจะแตกต่างจากการพิจารณาเรื่องร้องเรียนโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยผู้ชำนาญการ เนื่องจากอนุญาโตตุลาการจะมีอำนาจชี้ขาดข้อพิพาทซึ่งจะคล้ายกับการพิพากษาคดีของศาล ที่มีการกำหนดประเด็นข้อพิพาท มีการสืบพยานฝ่ายผู้เสนอข้อพิพาท และฝ่ายผู้คัดค้าน ซึ่งผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งอนุญาโตตุลาการ ผู้เสนอข้อพิพาท ผู้คัดค้าน และพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน คปภ. จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนพิจารณา ดังนั้น จึงได้จัดสัมมนาอนุญาโตตุลาการสำนักงาน คปภ. ประจำปี 2563 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสนับสนุนความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับกฎหมายประกันภัยที่มีการแก้ไขปรับปรุง ตลอดจนเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรูปแบบใหม่ ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินกระบวนการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ทั้งยังเป็นการทบทวนและให้ความรู้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ คปภ. ที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ จากสมาคมประกันวินาศภัย ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ และสำนักงาน คปภ. ในการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายประกันภัย รวมถึงจัดเสวนาในหัวข้อ “การระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการอนุญาโตตุลาการ และข้อขัดข้องที่พบในกระบวนการพิจารณา” เพื่อนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดสัมฤทธิ์ผลยิ่งขึ้นต่อไป 

            เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า จากข้อมูลสถิติข้อพิพาทที่เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการของสำนักงาน คปภ. ปี 2563 พบว่า มีจำนวนข้อพิพาทเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่จำนวนพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานมีอยู่อย่างจำกัด ประกอบกับกรณีที่มีผู้ร้องเรียนเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาในการจัดทำคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ปัญหาการร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ดังนั้น สำนักงาน คปภ.จึงจำเป็นต้องปรับตัวและทบทวนกระบวนการทำงาน รวมทั้งต้องหาเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการ เพื่อให้ประชาชนตลอดจนผู้เอาประกันภัยได้รับการแก้ไขปัญหาที่รวดเร็วและเป็นธรรมยิ่งขึ้น สำนักงาน คปภ. จึงได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของอนุญาโตตุลาการ รวมถึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ เพื่อแก้ปัญหากรณีมีประเด็นปัญหาข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อกฎหมายต่าง ๆ และเพื่อความรอบคอบในการทำคำชี้ขาด ช่วยให้คำเสนอแนะหรือให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ

            นอกจากนี้ เพื่อให้การดำเนินงานตามกระบวนพิจารณาเป็นไปด้วยความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ประกอบกับสำนักงาน คปภ. มีการปรับตัวเข้าสู่การเป็น SMART OIC จึงได้มีการนำเทคโนโลยีมาเข้ามาใช้ในกระบวนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ โดยจัดทำโครงการ นำระบบ E-Arbitration มาใช้เป็นเครื่องมือในการรับคำเสนอข้อพิพาท คำคัดค้าน การวางเงินเป็นหลักประกัน (E-Payment) และการส่งร่างคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ซึ่งเป็นการดำเนินการผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด

            “จากสถานการณ์ปัจจุบัน ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงกฎกิตกาเกี่ยวกับการประกันภัยต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมากมาย อาทิ การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย ที่มีการเพิ่มบทลงโทษเรื่องของการฉ้อฉลประกันภัย การออกประกาศเสนอขายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ Digital face-to-face ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน ตลอดจนรูปแบบการดำเนินธุรกิจประกันภัยที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น อนุญาโตตุลาการ ของสำนักงาน คปภ. จึงต้องเตรียมรับมือให้พร้อม โดยต้องมีความรู้ความเข้าใจในระบบประกันภัย และกฎกติกาต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งต้องเติมเต็มองค์ความรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และทรงไว้ซึ่งความเป็นธรรม อันจะส่งผลให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นต่อระบบประกันภัยไทย” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

 

 


Tags : คปภ. ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ คปภ. ติวเข้มอนุญาโตตุลาการ เตรียมนำระบบ E-Arbitration มาใช้


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารประสบความสำเร็จได้รับรางวัลระดับเอเชีย Asia Responsible Enterprise Awards (AREA) 2025 สาขา Social Empowerment จาก MyMo Secure Plus นวัตกรรมความปลอดภัยบน Mobile Banking ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ให้ลูกค้า บูรณาการร่วมกับ แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้และเสริมภูมิคุ้มกันภัยทางการเงิน พร้อมกันนี้ ธนาคารออมสินยังได้รับรางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability ในฐานะองค์กรที่มีความโดดเด่นและมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนในทุกมิติจนได้รับรางวัล AREA มาแล้ว 5 ปี จาก Enterprise Asia องค์กรพัฒนาเอกชนชั้นนำที่ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบในเอเชีย เพื่อเชิดชูและให้เกียรติองค์กรธุรกิจที่มีการดำเนินงานตามแนวทาง ESG และเป็นต้นแบบองค์กรชั้นนำในภูมิภาคเอเชียที่ขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ     ธนาคารออมสินถือเป็นธนาคารแรกที่พัฒนาโหมดปลอดมิจฉาชีพ ภายใต้ชื่อ MyMo Secure Plus เพื่อช่วยดูแลเงินฝากขั้นสูงสุดให้กับลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ไม่รู้เท่าทันมิจฉาชีพที่เปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงตลอดเวลา ออกแบบโดยเน้นการทำธุรกรรมทางการเงินแบบจำกัดเฉพาะรายการที่จำเป็น อาทิ การโอนเงินไปยังบัญชีตนเองภายในธนาคารและต่างธนาคารที่ลงทะเบียนไว้ และการจำกัดวงเงินในการทำธุรกรรมต่อวัน ทั้งนี้ ธนาคารออมสินไม่เพียงพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นธนาคารแรกที่ดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ผ่าน แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ ดำเนินการอย่างเข้มข้นผ่านช่องทางการสื่อสารที่ครบวงจร ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ สื่อนอกบ้าน หรืออินฟลูเอนเซอร์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากที่สุด เนื่องจากธนาคารตระหนักดีถึงความสูญเสียของประชาชนและวิกฤตของอาชญากรรมออนไลน์ที่นับวันจะทวีความรุนแรงจนกลายเป็นภัยคุกคามระดับประเทศ จึงเป็นความพยายามของธนาคารในการที่จะกระตุ้นเตือนให้ประชาชนรู้เท่าทันกลลวงและไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพทางการเงิน     รางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability และ Social Empowerment ถือเป็นบทพิสูจน์ถึงบทบาทของธนาคารออมสินในฐานะ Social Bank ที่ไม่เพียงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับการให้บริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังขับเคลื่อนการสร้าง Social Impact เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ธนาคารยังคงยึดมั่นในหลักการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบตามแนวทาง ESG เพื่อก้าวสู่เป้าหมายความยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม ตลอดจนเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว  

01 Jul 2025

...

นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2568  

29 Jun 2025

...

  บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ร่วมออกบูทในงานมหกรรมจำหน่ายรถยนต์ครบวงจร FAST Auto Show Thailand 2025   ระหว่างวันที่ 2 – 6 กรกฎาคม 2568 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ฮอลล์ EH 102 - 103  ในงานนี้ บริษัทฯ ได้จัดเต็มโปรโมชันสุดพิเศษ โดยมอบส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยสูงสุด 23% สำหรับผู้ที่ซื้อกรมธรรม์ใหม่ภายในงาน โดยมีทีมงานรับประกันภัยพร้อมบริการให้คำปรึกษา และคำแนะนำเกี่ยวกับแผนประกันภัยที่เหมาะสมกับความคุ้มครองที่หลากหลาย โดยนอกจากประกันภัยรถยนต์แล้วยังมีประกันอัคคีภัย ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ประกันภัยการเดินทาง ประกันภัยสุขภาพ ประกันภัยโรคมะเร็ง และประกันภัยอื่นๆ ที่ให้ความคุ้มครองรองรับไลฟ์สไตล์ของลูกค้า นอกจากนี้ ยังสามารถผ่อนชำระเบี้ยประกันภัย ดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน หรือ 10 เดือนผ่านบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ พร้อมรับของที่ระลึกที่เตรียมไว้สำหรับงานนี้โดยเฉพาะ  พบกับกรุงเทพประกันภัยได้ที่บูท B11 ณ ศูนย์ประชุมนิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา ฮอลล์ EH 102 - 103 ในวันที่ 2 - 6 กรกฎาคม 2568    

29 Jun 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner