Responsive image

Saturday, 12 Jul 2025

หน้าแรก > INSURANCE / ประกันภัย - ประกันชีวิต


คปภ. เปิดตัว หลักสูตร “สุดยอดผู้นำวิทยาการประกันภัยระดับสูง (Super วปส.) รุ่นที่ 1” ผนึกกำลังสุดยอด CEO ขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ - ประกันภัย

Sun 27/09/2563


ดร. สุทธิพล  ทวีชัยการ  เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย  (เลขาธิการ คปภ.)  เป็นประธานในพิธีเปิดการศึกษาอบรมหลักสูตรสุดยอดผู้นำวิทยาการประกันภัยระดับสูง (Thailand Insurance Super Leadership Program) หรือ Super วปส. รุ่นที่ 1 ณ ห้องประชุม สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง ชั้น 2  เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดสร้างสรรค์เชิงวิเคราะห์  การบริหารความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการประกันชีวิต การประกันวินาศภัย เทคโนโลยี การเงิน การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ การนำเสนอแนวทางและการประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเสริมสร้างการเป็นผู้นำที่มีคุณธรรมจริยธรรม และการบริหารจัดการเชิงสร้างสรรค์ นำองค์กรไปสู่ความสำเร็จโดยสอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของโลก ตลอดจนบูรณาการร่วมกับสำนักงาน คปภ. ในการปฏิรูปอุตสาหกรรมและเพิ่มบทบาทของระบบประกันภัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนในยุควิถีชีวิตใหม่ New Normal ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป

ในโอกาสนี้ เลขาธิการ คปภ. ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนของประเทศกับบทบาทของประกันภัยในยุค New Normal” โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า ปัจจุบันโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ซึ่งส่งผลให้แต่ละประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับผลกระทบในหลายมิติ ในขณะที่วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น รัฐบาลจึงมีนโยบายในการออกมาตรการช่วยเหลือเยียวยาเพื่อลดผลกระทบ โดยมุ่งเน้นไปยังผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ได้แก่ กลุ่ม SMEs และกลุ่มอุตสาหกรรมท่องเที่ยว รวมถึงการเตรียมความพร้อมโดยการผลักดันการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและเร่งสร้าง Digital Infrastructure ให้เป็นกลไกสำคัญในการปรับเปลี่ยนประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนที่มุ่งไปสู่ความต้องการบริการดิจิทัลและ e-Commerce อย่างก้าวกระโดด 

 สำหรับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย นอกจากจะสามารถใช้ประโยชน์จาก Digital Infrastructure ที่ทันสมัยสำหรับการดำเนินธุรกิจแล้ว ยังเป็นส่วนที่สำคัญในการร่วมสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้กับประเทศ ทั้งการสร้างระบบฐานข้อมูลด้านการประกันภัยที่เป็น Open Data การเชื่อมโยงข้อมูลกับ Platform ต่าง ๆ และนำข้อมูลและเทคโนโลยีไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการบริการให้ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน อาทิ การประกันภัยโควิด-19 ตลอดจนการสร้างช่องทางและนำเสนอการประกันภัยสู่ประชาชนรากหญ้า อาทิ การประกันภัยพืชผลทางการเกษตรและปศุสัตว์ เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย นอกจากนี้ ยังเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศที่ถือได้ว่าเป็น financial backup ให้กับภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยผ่านทางผลิตภัณฑ์ประกันภัยในหลายรูปแบบ อาทิ การประกันภัยสินค้า การประกันภัยขนส่ง การประกันภัยธุรกิจหยุดชงัก อีกทั้งเป็นกลไกในการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสำหรับสังคมผู้สูงอายุ (Aging society) โดยสนับสนุนให้ประชาชนมีการวางแผนการออมเพื่อรองรับวัยเกษียณอายุ รวมถึงมีบทบาทในการเป็นผู้ลงทุนสถาบันรายใหญ่ในตลาดตราสารหนี้และตลาดตราสารทุนของประเทศ

 เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า ในทุกวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ แม้เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกยังติดกับดักของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 แต่ธุรกิจประกันภัยจะยังคงมีบทบาทสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น สำนักงาน คปภ. โดยสถาบัน วปส.จึงได้จัดอบรมหลักสูตรสุดยอดผู้นำวิทยาการประกันภัยระดับสูง (Thailand Insurance Super Leadership Program) หรือ หลักสูตร Super วปส. รุ่นที่ 1 ซึ่งเป็นรุ่น Limited edition โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่เข้ารับการศึกษาอบรมเป็นผู้บริหารระดับสูง ผู้นำองค์กรจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และเป็นศิษย์เก่าหลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง รุ่นที่ 1-9 ที่มีประวัติการเรียนดีเด่น เข้าร่วมกิจกรรมหลักสูตร วปส. อย่างสม่ำเสมอ หรือทำคุณประโยชน์ต่อสำนักงานคปภ. โดยมีเลขาธิการ คปภ.เข้าร่วมศึกษาอบรมในหลักสูตรนี้ด้วย รวมทั้งสิ้น 49 คน

หลักสูตร Super วปส.รุ่น 1 ได้กำหนดหมวดวิชา 6 หมวดที่สำคัญ ได้แก่ 1) มุมมองเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจที่จะเปลี่ยนแปลงไปภายใต้เศรษฐกิจใหม่ของโลก 2) รูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงหลัง COVID-19  3) ดิจิทัลเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีต่อธุรกิจในรูปแบบต่างๆ 4) พฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปหลัง COVID-19 5) สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG – Environmental , Social , Governance กับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และ 6) ทิศทางและอนาคตของอุตสาหกรรมประกันภัย โดยได้จัดปฐมนิเทศนักศึกษา Super วปส. รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 18-19 กันยายน 2563 ณ โรงแรมอวานี อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี พร้อมทั้งจัดกิจกรรม Workshop Design Thinking เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และเพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมฯ มีส่วนร่วมในการออกแบบธุรกิจและร่วมกันสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการปฏิรูปอุตสาหกรรม เพิ่มบทบาทของระบบประกันภัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และการมองอนาคตเชิงกลยุทธ์ภายใต้วิธีการเรียนรู้ Strategic Foresight โดยเน้นการเข้าถึงความต้องการและตอบโจทย์ประชาชนอย่างแท้จริง ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิเคราะห์เชิงวิพากษ์ ผนึกกำลังบูรณาการความคิด และร่วมสรุปแนวความคิดเห็นในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ เพื่อนำมาสู่ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ โดยกำหนดระยะเวลาการศึกษาอบรมตามหลักสูตร ระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม 2563

 “ความสำเร็จของการศึกษาอบรมตามหลักสูตร Super วปส. นี้ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การทำความรู้จักกันหรือสร้างคอนเนคชั่นของนักศึกษา แต่อยู่ที่ผลของการหลอมรวมความรู้และประสบการณ์ที่ตกผลึกของศิษย์เก่า วปส.ทุกรุ่นที่เป็นสุดยอดผู้นำองค์กรจากภาคส่วนต่าง ๆ อันเกิดจากการสังเคราะห์ภายใต้การเรียนการสอนแบบใหม่การวิเคราะห์เชิงสร้างสรรค์ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ต่าง ๆ จากมุมมองในแต่ละมิติ ส่งผลให้เกิดข้อเสนอแนะที่ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนในยุควิถีชีวิตใหม่ (New Normal) และเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและระบบประกันภัยของประเทศได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย


Tags : คปภ.เปิดตัวหลักสูตร ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เปิดตัว หลักสูตร “สุดยอดผู้นำวิทยาการประกันภัยระดับสูง (Super วปส.) รุ่นที่ 1


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารประสบความสำเร็จได้รับรางวัลระดับเอเชีย Asia Responsible Enterprise Awards (AREA) 2025 สาขา Social Empowerment จาก MyMo Secure Plus นวัตกรรมความปลอดภัยบน Mobile Banking ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ให้ลูกค้า บูรณาการร่วมกับ แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้และเสริมภูมิคุ้มกันภัยทางการเงิน พร้อมกันนี้ ธนาคารออมสินยังได้รับรางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability ในฐานะองค์กรที่มีความโดดเด่นและมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนในทุกมิติจนได้รับรางวัล AREA มาแล้ว 5 ปี จาก Enterprise Asia องค์กรพัฒนาเอกชนชั้นนำที่ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบในเอเชีย เพื่อเชิดชูและให้เกียรติองค์กรธุรกิจที่มีการดำเนินงานตามแนวทาง ESG และเป็นต้นแบบองค์กรชั้นนำในภูมิภาคเอเชียที่ขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ     ธนาคารออมสินถือเป็นธนาคารแรกที่พัฒนาโหมดปลอดมิจฉาชีพ ภายใต้ชื่อ MyMo Secure Plus เพื่อช่วยดูแลเงินฝากขั้นสูงสุดให้กับลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ไม่รู้เท่าทันมิจฉาชีพที่เปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงตลอดเวลา ออกแบบโดยเน้นการทำธุรกรรมทางการเงินแบบจำกัดเฉพาะรายการที่จำเป็น อาทิ การโอนเงินไปยังบัญชีตนเองภายในธนาคารและต่างธนาคารที่ลงทะเบียนไว้ และการจำกัดวงเงินในการทำธุรกรรมต่อวัน ทั้งนี้ ธนาคารออมสินไม่เพียงพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นธนาคารแรกที่ดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ผ่าน แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ ดำเนินการอย่างเข้มข้นผ่านช่องทางการสื่อสารที่ครบวงจร ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ สื่อนอกบ้าน หรืออินฟลูเอนเซอร์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากที่สุด เนื่องจากธนาคารตระหนักดีถึงความสูญเสียของประชาชนและวิกฤตของอาชญากรรมออนไลน์ที่นับวันจะทวีความรุนแรงจนกลายเป็นภัยคุกคามระดับประเทศ จึงเป็นความพยายามของธนาคารในการที่จะกระตุ้นเตือนให้ประชาชนรู้เท่าทันกลลวงและไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพทางการเงิน     รางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability และ Social Empowerment ถือเป็นบทพิสูจน์ถึงบทบาทของธนาคารออมสินในฐานะ Social Bank ที่ไม่เพียงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับการให้บริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังขับเคลื่อนการสร้าง Social Impact เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ธนาคารยังคงยึดมั่นในหลักการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบตามแนวทาง ESG เพื่อก้าวสู่เป้าหมายความยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม ตลอดจนเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว  

01 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner