Responsive image

Wednesday, 16 Jul 2025

หน้าแรก > ECONOMY- FINANCE / เศรษฐกิจ - การเงิน


KBTG ชูวิสัยทัศน์ Beyond The Future Day 2020 ย้ำผู้นำไฟแนนเชียล เทคฯ ตั้งเป้าปี'68 เป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในไทย

Sun 11/10/2563


เคบีทีจี (KBTG) ผู้นำด้านไฟแนนเชียล เทคโนโลยี ประกาศเป้าหมายใน 5 ปีข้างหน้า ก้าวสู่การเป็นผู้นำทางด้านแบงกิ้งในกลุ่มประเทศเออีซี โชว์ยอดใช้บริการผลงานเด่นที่เปิดใช้ไปก่อนหน้า พร้อมสร้าง Development Hub ใน 3 ประเทศ ทั้งไทย เวียดนาม และจีน ภายใต้กรอบวัฒนธรรมองค์กร “One KBTG” ที่หลอมรวมกันเป็นหนึ่ง สู่เป้าหมาย “Think Thailand Think KBTG” 

นายเรืองโรจน์ พูนผล ประธาน  กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป  (KBTG) เปิดเผยว่า จากวิกฤติโควิด-19 ที่ส่งผลให้รูปแบบการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ที่แตกต่างจากอดีตอย่างรวดเร็ว ทาง KBTG ทำทรานส์ฟอร์เมชั่นครั้งสำคัญที่สุดภายใต้แนวคิด “วัน เคบีทีจี” (One KBTG) โดยมีแกนสำคัญในการปฏิรูปวัฒนธรรมองค์กร การปฏิรูปกระบวนการทำงาน (Agile Transformation) และการให้พนักงานมีส่วนร่วม (Transformation Community) เพื่อผลักดันให้ KBTG เป็นบริษัทเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาให้ประเทศรอดจากวิกฤต 

จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป มีความคุ้นเคยกับดิจิทัลมากขึ้น สะท้อนจากธุรกรรมซื้อสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซที่เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า ผู้ใช้โมบายแบงกิ้งก็มีอายุมากขึ้นเฉลี่ย 40-50 ปี จากเดิม 25-39 ปี ทำให้ปัจจุบันมียอดผู้ใช้งาน K+ ราว 14 ล้านคน คาดว่าจะมียอดทำธุรกรรมทำสถิติกว่า 20,000 ล้านรายการในปีนี้ รวมถึงการร่วมเป็นพันธมิตรกับองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้ครอบคลุมธุรกรรมทางการเงินในทุกอุตสาหกรรม 

สำหรับ แอปพลิเคชันขุนทองมีลูกค้าดาวน์โหลดแล้ว 500,000 ราย แอป Make ดาวน์โหลดแล้ว 20,000 ราย Eatable 10,000 ราย และมีพันธมิตรใช้ Contactless Technology 20 ราย โดยล่าสุดได้ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพัฒนาแพลตฟอร์มสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อเปิดตลาดทุนแบบใหม่ในประเทศไทย ที่จะช่วยเพิ่มช่องทางการระดมทุนและลงทุนในผลิตภัณฑ์บนแพลตฟอร์มใหม่ 

ยุทธศาสตร์การดำเนินงานของ KBTG ซึ่งจะสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรผ่าน 3 แกนหลัก คือ 1. เพื่อให้ลูกค้าทุกรายสามารถทำธุรกิจต่อได้ ทำให้คนรู้จักออมเงิน ลงทุน และซื้อประกัน ซึ่งเป็นเสาหลัก 2.ทำให้เกิดสมดุลทางการเงินของชีวิต และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของลูกค้าให้มากที่สุดเพราะเมื่อเกิดวิกฤติยังมีเงินสะสม นำเงินส่วนที่เหลือไปลงทุนเพื่อที่จะเกษียณได้ 3. เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจธนาคารแบบเดิมเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่จะนำนวัตกรรมออกไปให้กับทุก ๆ คนได้ใช้ ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ที่ไหน หรือทำธุรกรรมรูปแบบใด 

ทั้งนี้ KBTG ได้ตั้ง Development Hub ขึ้นใน 3 ประเทศ คือ ไทย เวียดนาม และจีน เพื่อให้การพัฒนาเทคโนโลยีได้ทันกับโครงสร้างการให้บริการของธนาคารกสิกรไทยและพันธมิตรที่มุ่งสู่ดิจิทัล แบงกิ้งมากขึ้น 

ปัจจุบัน ธนาคารกสิกรไทย ประสบความสำเร็จในการให้บริการ QR KBank ใน สปป.ลาว และได้ขยายบริการจากนครหลวงเวียงจันทน์ไปที่สะหวัดนะเขตเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าใช้บริการแล้ว 70,000 ราย คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะเพิ่มเป็น 200,000 ราย 

สำหรับในเมียนมา ได้ร่วมกับเอยาวดี ฟาร์มเมอร์ ดีเวลลอปเม้นท์แบงก์ หรือเอแบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารที่ธนาคารกสิกรไทยร่วมลงทุน เตรียมนำแอปพลิเคชัน K+ ไปพัฒนาใช้ในเมียนมาในชื่อ A+ ซึ่งมั่นใจว่าจะได้รับความนิยมเช่นเดียวกับที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย จนเป็นแอปฯ การเงินอันดับหนึ่งในขณะนี้   

ส่วนในประเทศจีน KBTG เปิด K-TECH ที่เมืองเชินเจิ้น ประเทศจีน โดยมีทุนจดทะเบียน 300 ล้านหยวนเรียบร้อยแล้ว ตั้งเป้าจะรับพนักงานประมาณ 300 คน โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาเทคโนโลยีการทางเงินสำหรับธนาคารกสิกรไทยในประเทศจีนและประเทศอื่น และพันธมิตร โดยธนาคารกสิกรไทยในจีนมีเป้าหมายที่จะขยายตลาดไปสู่ลูกค้ารายย่อยในการปล่อยสินเชื่อบุคคล ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่ยังมีช่องว่าง ในลักษณะที่เป็น Digital Lending   


Tags : เรืองโรจน์ พูนผล KBTG ชูวิสัยทัศน์ Beyond The Future Day 2020


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อเร็ว ๆ นี้      

14 Jul 2025

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner