Responsive image

Saturday, 12 Jul 2025

หน้าแรก > BUSINESS-MARKETING-SME /ธุรกิจ-การตลาด-ขายตรง-เอสเอ็มอี


ถกประเด็นสำคัญเกี่ยวกับความท้าทายที่แบรนด์ต้องเผชิญในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ขององค์กรต่างประเทศในตลาดประเทศไทย

Thu 15/10/2563


คาริณ โลหิตนาวี ซีอีโอ มิดัส คอมมิวนิเคชั่น ในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยมีความก้าวหน้าอย่างมาก ในด้านการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ โดยเปลี่ยนจากประเทศที่มีรายได้ต่ำไปสู่ประเทศที่มีรายได้ปานกลางจนถึงระดับบน โดยใช้เวลาไม่ถึงชั่วอายุคนการเติบโตทางเศรษฐกิจและโอกาสทั่วประเทศมีให้เห็นมากมาย จากข้อมูลของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของไทยจะเติบโต 3.0% ในปี 2020 รายได้ที่เพิ่มขึ้นในประเทศทำให้ประชากรมีความเชื่อมั่นแง่ดี และความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย จากการเพิ่มขึ้นของผู้บริโภคที่มีรายได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีฐานะร่ำรวยได้ใช้จ่ายมากขึ้นเพื่อซื้อประสบการณ์ต่างๆ อาทิ การรับประทานอาหารนอกบ้านและการเดินทางท่องเที่ยว

สถิติข้างต้นพิสูจน์ให้เห็นว่ามีโอกาสมากมายสำหรับแบรนด์ต่างประเทศในประเทศไทย แบรนด์จากต่างประเทศหลายแบรนด์ได้เข้าสู่ตลาดในประเทศไทยแล้ว หรือบางส่วนกำลังพิจารณาที่จะขยายมาสู่ประเทศไทย อาทิ foodpanda Grab Tim Hortons และ Lazada เป็นเพียงชื่อไม่กี่แห่งที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทย อย่างไรก็ตามการมีอยู่ของโอกาสที่หลากหลายไม่ได้หมายความว่าการเข้าสู่ตลาดในประเทศไทยนั้นเป็นเรื่องง่ายเสมอไป ตลาดส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนาโดยมีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีอุปสรรคทางวัฒนธรรม การเมือง เทคโนโลยี และภาษา ที่ผู้มาใหม่ทุกคนจะต้องรับมือ

มาดูความท้าทายบางประการที่แบรนด์ต่างประเทศต้องเผชิญกับการขยายตัวในประเทศไทย ดังนี้

1. หากคนไทยไม่รู้จักแบรนด์ ก็ไม่ต้องการแบรนด์นั้นเช่นกัน : จากรายงานของ Santander Trade Report 2019 พบว่าผู้บริโภคชาวไทยเป็นกลุ่มที่ใส่ใจในแบรนด์และภักดีต่อแบรนด์มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพวกเขายินดีที่จ่ายมากขึ้นสำหรับแบรนด์โปรด แม้ว่าจะมีทางเลือกอื่นที่ถูกกว่ารวมถึงหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงแบรนด์ด้วย พวกเขาภักดีต่อแบรนด์ในประเภทต่างๆ ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ สบู่ เครื่องสำอาง ไปจนถึงอาหาร เบียร์ ของว่าง และ อื่นๆ บริษัทที่ตระหนักถึงคุณลักษณะเหล่านี้ สามารถสร้างและใช้ประโยชน์จากตราสินค้าเพื่อสร้างแรงดึงดูดและความภักดีของผู้บริโภคให้มีความแข็งแกร่งได้ แต่ในขณะเดียวกันแบรนด์ก็ต้องครองอันดับหนึ่งหรือสองในหมวดหมู่ของตนเอง เพื่อให้ได้มาซึ่งความภักดีที่แข็งแกร่ง ทัศนคติของผู้บริโภคชาวไทยมักสร้างความท้าทายในการสื่อสารสำหรับแบรนด์ต่างประเทศใหม่ ๆ ที่มีการยอมรับในตลาดไทยต่ำ เนื่องจากผู้ชมชาวไทยจะลังเลที่จะลองแบรนด์ใหม่หากพวกเขาไม่ทราบรายละเอียด หรือมีรายละเอียดที่น่าสนใจมากพอ นอกจากนี้ยังเป็นความท้าทายด้านการประชาสัมพันธ์ ด้วยสื่อมีโอกาสน้อยที่จะครอบคลุมหัวข้อที่พวกเขาไม่เห็นว่าโดดเด่นหรือน่าสนใจสำหรับผู้ชม

2. หากคุณไม่รู้จักคนที่ใช่ คุณจะไปไม่ถึงไหน : สิ่งนี้สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการทำการประชาสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้านประชาสัมพันธ์ และผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเน้นย้ำเพื่อสร้างความผูกพันระหว่างทั้งสองฝ่าย ความสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงานกับสื่อไทยนั้นมีความใกล้ชิดและเป็นปฏิปักษ์น้อยกว่าในประเทศแถบตะวันตก โดยสื่อมีความกังขาน้อยกว่า เนื้อหาที่ดียังคงผลักดันการรายงานข่าว แต่โดยรวมแล้วสื่อในประเทศไทยดูเหมือนจะเปิดกว้างมากขึ้นสำหรับกิจกรรมทางการประชาสัมพันธ์ในทุกประเภท และพวกเขาไม่โจมตีแบรนด์มากนัก โดยภาพรวมประเทศไทยให้ค่ากับวัฒนธรรมสำหรับผู้หญิง และด้วยเหตุนี้จึงมีแนวโน้มที่จะให้คุณค่ากับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้วย ซึ่งล้วนแล้วแต่มีบทบาทสำคัญในความสัมพันธ์กับสื่อในประเทศไทยมากกว่าในประเทศแถบตะวันตก ในความเป็นจริงเรียกว่าแตกต่างกันอย่างมาก ในประเทศไทยการประชาสัมพันธ์ส่วนใหญ่นั้นขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ส่วนบุคคลกับสื่อและต้องทำให้แน่ใจว่านักข่าวเหล่านี้มีความสุขและได้สิ่งที่ร้องขอ หมายความว่าหากไม่มีความสัมพันธ์ที่มีอยู่เหล่านี้ การเชื่อมต่อกับแบรนด์ใหม่ ๆ จะพบว่าเป็นการยากมากที่จะสร้างการประชาสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นได้

3. หากคุณไม่ได้รับการยอมรับบน Facebook ของไทยก็ถือว่าคุณก็ไม่มีตัวตนอยู่จริง : การศึกษาของ Statcounter 2019 พบว่าคนไทยมีใช้โซเชียลมีเดียมาก คนไทยมากกว่า 63% ใช้ Facebook การบริโภคโซเชียลมีเดียที่เพิ่มขึ้นนี้ ทำให้เกิดกระแสใหม่ในประเทศ นั่นคือ micro-influencers ขณะนี้ผู้ชมชาวไทยให้ความไว้วางใจ influencers เหล่านี้ เนื่องจากดูเป็นเรื่องราวส่วนตัวที่พวกเขาเหล่านั้นต้องการแบ่งปันเกี่ยวกับแบรนด์ พวกเขาไว้วางใจและมองหาคำแนะนำรวมถึงบทวิจารณ์ต่างๆ จากคนเหล่านี้ อุตสาหกรรมปัจจุบันได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันประเทศไทยมี influencers เกิดขึ้นในหลากหลายหัวข้อต่างๆ เช่น อาหาร ไลฟ์สไตล์ การเดินทาง แฟชั่นการเลี้ยงดู แต่การทำงานร่วมกับ influencers เหล่านี้ จำเป็นต้องมีความรู้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับตลาดและความสามารถในการจัดการแคมเปญในหลากหลายช่องทางเป็นภาษาไทย การรุกเข้าสู่โลกของ influencers และการสร้างสถานะที่มั่นคงไม่ใช่เรื่องง่าย

4. หากคุณได้รับการรับรองจากดาราฮอลลีวูด หรือผู้คนระดับแนวหน้า ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณพร้อมแล้ว : Micro-influencers อาจมีอิทธิพล แต่คนดังรายใหญ่ก็ยังถือว่าครองใจผู้บริโภคชาวไทยอยู่ แบรนด์ต่างประเทศที่ต้องการวางรากฐานในประเทศไทย ควรพิจารณาการรับรองของคนดังเป็นเครื่องหมายของการยอมรับในประเทศท้องถิ่น แต่มีสิ่งที่น่าสนใจคือผู้ชมชาวไทยมีแนวโน้มที่จะเกี่ยวข้องกับ influencers ในท้องถิ่นมากกว่าคนดังระดับโลก นี่คือเหตุผลที่แบรนด์ระดับโลกที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติที่ได้รับการรับรองอยู่แล้ว อาจต้องคิดถึงกลยุทธ์และข้อความที่จะสื่อสารในระดับท้องถิ่น ดาราท้องถิ่นมีอิทธิพลมากกว่าดาราฮอลลีวูด อาทิ ในเมืองไทย ญาญ่า (อุรัสยาสเปอร์บันด์) ยิ่งใหญ่และมีอิทธิพลมากกว่าเลดี้กาก้า เป็นต้น

นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนของความท้าทายที่แบรนด์ต่างประเทศต้องเผชิญในตลาดไทย มีรายการอื่น ๆ อีกมากมายนอกจากนี้ในเรื่องของความท้าทายโดยบางอย่างยังเป็นเรื่องเฉพาะ อุตสาหกรรมบริษัทขายขนมขบเคี้ยวจะประสบปัญหาที่แตกต่างจากบริษัทหรือร้านค้าปลีกแฟชั่น แต่ความจริงที่ว่ามีความท้าทายอยู่ ไม่ได้หมายความว่าการเข้าสู่ตลาดไทยจะเป็นไปไม่ได้ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ความท้าทายใด ๆ สามารถแปรเปลี่ยนเป็นโอกาสได้ สิ่งที่คุณต้องมีคือพันธมิตรในท้องถื่นที่เหมาะสมนั่นเอง

 


Tags : MidasPR คาริณโลหิตนาวีซีอีโอมิดัสคอมมิวนิเคชั่น


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารประสบความสำเร็จได้รับรางวัลระดับเอเชีย Asia Responsible Enterprise Awards (AREA) 2025 สาขา Social Empowerment จาก MyMo Secure Plus นวัตกรรมความปลอดภัยบน Mobile Banking ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ให้ลูกค้า บูรณาการร่วมกับ แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้และเสริมภูมิคุ้มกันภัยทางการเงิน พร้อมกันนี้ ธนาคารออมสินยังได้รับรางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability ในฐานะองค์กรที่มีความโดดเด่นและมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนในทุกมิติจนได้รับรางวัล AREA มาแล้ว 5 ปี จาก Enterprise Asia องค์กรพัฒนาเอกชนชั้นนำที่ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบในเอเชีย เพื่อเชิดชูและให้เกียรติองค์กรธุรกิจที่มีการดำเนินงานตามแนวทาง ESG และเป็นต้นแบบองค์กรชั้นนำในภูมิภาคเอเชียที่ขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ     ธนาคารออมสินถือเป็นธนาคารแรกที่พัฒนาโหมดปลอดมิจฉาชีพ ภายใต้ชื่อ MyMo Secure Plus เพื่อช่วยดูแลเงินฝากขั้นสูงสุดให้กับลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ไม่รู้เท่าทันมิจฉาชีพที่เปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงตลอดเวลา ออกแบบโดยเน้นการทำธุรกรรมทางการเงินแบบจำกัดเฉพาะรายการที่จำเป็น อาทิ การโอนเงินไปยังบัญชีตนเองภายในธนาคารและต่างธนาคารที่ลงทะเบียนไว้ และการจำกัดวงเงินในการทำธุรกรรมต่อวัน ทั้งนี้ ธนาคารออมสินไม่เพียงพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นธนาคารแรกที่ดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ผ่าน แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ ดำเนินการอย่างเข้มข้นผ่านช่องทางการสื่อสารที่ครบวงจร ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ สื่อนอกบ้าน หรืออินฟลูเอนเซอร์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากที่สุด เนื่องจากธนาคารตระหนักดีถึงความสูญเสียของประชาชนและวิกฤตของอาชญากรรมออนไลน์ที่นับวันจะทวีความรุนแรงจนกลายเป็นภัยคุกคามระดับประเทศ จึงเป็นความพยายามของธนาคารในการที่จะกระตุ้นเตือนให้ประชาชนรู้เท่าทันกลลวงและไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพทางการเงิน     รางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability และ Social Empowerment ถือเป็นบทพิสูจน์ถึงบทบาทของธนาคารออมสินในฐานะ Social Bank ที่ไม่เพียงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับการให้บริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังขับเคลื่อนการสร้าง Social Impact เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ธนาคารยังคงยึดมั่นในหลักการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบตามแนวทาง ESG เพื่อก้าวสู่เป้าหมายความยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม ตลอดจนเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว  

01 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner