Responsive image

Wednesday, 09 Jul 2025

หน้าแรก > BUSINESS-MARKETING-SME /ธุรกิจ-การตลาด-ขายตรง-เอสเอ็มอี


เอสซีจี เปิด 3 เกมรุกสู่ “ธุรกิจปิโตรเคมีเพื่อความยั่งยืน” ตอบโจทย์ความต้องการตลาดโลก ขับเคลื่อน HVA พร้อมใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ

Fri 05/03/2564


      ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี แถลงทิศทางธุรกิจปี 2564 มุ่งสู่ “ธุรกิจปิโตรเคมีเพื่อความยั่งยืน” (Chemical Business for Sustainability) ตามแนวทาง SDGs (Sustainable Development Goals) และ ESG (Environmental, Social, Governance) ตั้งเป้าเพิ่มการขายผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง หรือ Green Polymer 2 แสนตัน ภายในปี 2568  และขยายการขายสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง (High Value-Added HVA) เป็น 50% ภายในปี 2573  พร้อมใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ เร่งเดินหน้า 3 กลยุทธ์เชิงรุก ได้แก่ 1. เร่งการขยายเข้าสู่ธุรกิจเศรษฐกิจหมุนเวียน (Accelerate Circularity) 2. เร่งการขับเคลื่อนธุรกิจมูลค่าเพิ่มสูง หรือ HVA (Accelerate Innovation)  และ 3. เร่งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ (Accelerate Digital Technology) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดโลก และสร้างการเติบโตระยะยาว พร้อมกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน    

 

นายธนวงษ์ อารีรัชชกุล กรรมการผู้จัดใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี แถลงทิศทางการดำเนินธุรกิจปี 2564 ว่า “ในปีที่ผ่านมา ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี มีการปรับตัวในหลาย ๆ ด้าน เพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19  ซึ่งธุรกิจสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมาย โดยโครงการสำคัญ ๆ  อย่างเช่น โครงการขยายกำลังการผลิตของโรงงานมาบตาพุดโอเลฟินส์ หรือ MOCD มีความคืบหน้าตามแผนที่วางไว้ และพร้อมดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ภายในต้นไตรมาสที่ 2 นี้ โดยจะมีกำลังการผลิตโอเลฟินส์เพิ่มอีก 350,000 ตันต่อปี”

 “สำหรับปี 2564 นี้ ธุรกิจปิโตรเคมี มีความท้าทายใหม่ ๆ ทางธุรกิจ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยมีความท้าทาย 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่ หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy for Plastics) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการพลาสติกใช้แล้วที่เจ้าของแบรนด์สินค้าและผู้บริโภคให้ความสำคัญ เกิดเป็นพฤติกรรม Sustainable Consumption รวมถึงมีกฎระเบียบและเป้าหมายของประเทศต่าง ๆ  อีกหนึ่งความท้าทาย คือ การเปลี่ยนแปลงของตลาดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 (Shifting demand) ทำให้เกิดปัจจัยบวกต่อตลาดบางประเภท เช่น บรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่ง พลาสติกสำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น ซึ่งคาดว่าในช่วงฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 ตลาดที่อุปสงค์เคยลดลงไป เช่น กลุ่มสินค้าคงทน ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้า น่าจะกลับมาดีขึ้น ในขณะที่สินค้ากลุ่ม Medical and Healthcare จะเป็นกลุ่มที่มีการใช้งานสูงขึ้นในระยะยาว ในขณะที่การแข่งขันในภูมิภาคสูงขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการ Supply Chain (Competition & Supply Chain Realignment) ซึ่งบางส่วนเป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลง Trade Flow จาก Trade War”  

 “เพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ ทางธุรกิจ รวมทั้งตอบโจทย์ความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs (Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติ และแนวทาง ESG  (Environmental, Social, Governance) ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี จึงเดินหน้าสู่การเป็น “ธุรกิจปิโตรเคมีเพื่อความยั่งยืน” (Chemical Business for Sustainability) โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ  เพิ่มการขายผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง หรือ Green Polymer 2 แสนตัน ภายในปี 2568 ขยายการขายสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง (HVA) เป็น 50% ภายในปี 2573 และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ขับเคลื่อนด้วย 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่

1. เร่งการขยายเข้าสู่ธุรกิจ Circular Economy (Accelerate Circularity) เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดภาวะโลกร้อน พร้อมตอบโจทย์ลูกค้า เจ้าของแบรนด์สินค้า และผู้บริโภคที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีโรดแมปขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน 4 ด้าน ครอบคลุมตลอดทั้ง Supply Chain  ได้แก่  

1)    การพัฒนานวัตกรรมเม็ดพลาสติกและโซลูชัน โดยออกแบบให้รีไซเคิลได้ง่าย (Design for Recyclability) และคงคุณสมบัติด้านอื่น ๆ ไว้อย่างครบถ้วน เป็นขั้นตอนตั้งแต่การออกแบบเพื่อให้พลาสติกสามารถรีไซเคิลได้ 100% เช่น การพัฒนาโซลูชันสำหรับบรรจุภัณฑ์แบบ Mono-material ออกแบบให้ชั้นแผ่นฟิล์มในการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกเป็นวัสดุชนิดเดียวกันทั้งหมด จึงนำกลับมารีไซเคิลได้ง่าย โดยเบื้องต้น  เอสซีจีได้คิดค้นโซลูชันสำหรับบรรจุภัณฑ์ที่ป้องกันการซึมผ่านระดับปานกลาง หรือ Medium Barrier Packaging สามารถใช้ทดแทนวัสดุไนลอนชั้นกลางในบรรจุภัณฑ์จำพวก ถุงน้ำยาล้างจาน สบู่เหลว ถุงข้าวสาร หรือบรรจุภัณฑ์แบบสุญญากาศ เช่น ถุงไส้กรอก ซึ่งโซลูชันนี้ช่วยให้บรรจุภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลได้ 100% ส่งผลให้การจัดการหลังการใช้งานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ร่วมกับเจ้าของแบรนด์สินค้าหลายราย

2)    การนำพลาสติกใช้แล้วมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง หรือ PCR (Post-Consumer Recycled Resin) โดยขณะนี้ เอสซีจี ได้วิจัยพัฒนาสูตรการผลิต เม็ดพลาสติกรีไซเคิล PCR ชนิด HDPE ภายใต้แบรนด์ SCG Green PolymerTM สำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าที่ใช้ภายในบ้าน ช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาต้นแบบ PCR Booster สารปรับแต่งเพื่อยกระดับคุณภาพบรรจุภัณฑ์ให้สามารถมีส่วนผสมของเม็ดพลาสติกชนิด PCR เพิ่มขึ้นได้ โดยยังคงประสิทธิภาพของบรรจุภัณฑ์ไว้เช่นเดิม

3)    การนำพลาสติกใช้แล้วมาผลิตเป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับธุรกิจปิโตรเคมี (Chemical Recycling) โดยพัฒนาเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตที่ทันสมัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเปลี่ยนพลาสติกใช้แล้วกลับมาเป็นวัตถุดิบตั้งต้น หรือ Recycled Feedstock สำหรับโรงงานปิโตรเคมีเพื่อนำกลับมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติกใหม่ รวมถึงสามารถผลิตเป็น food grade ได้ด้วย โดยได้ก่อสร้างโรงงานทดสอบการผลิต หรือ Demonstration Plant แห่งแรกในประเทศไทย ในพื้นที่บริเวณโรงงาน จังหวัดระยอง ด้วยกำลังการผลิต Recycled Feedstock ประมาณ 4,000 ตันต่อปี และพร้อมที่จะขยายกำลังผลิตในอนาคต เมื่อเทียบกับการนำขยะไปเผาหรือฝังกลบ กระบวนการรีไซเคิลในรูปแบบนี้ มี Carbon Footprint น้อยกว่ามาก

4)    การพัฒนานวัตกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาและเจรจาความร่วมมือกับ partners

 

2.   เร่งการขับเคลื่อนธุรกิจ HVA (Accelerate Innovation) ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้พัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการมูลค่าเพิ่มสูง หรือ HVA มาอย่างต่อเนื่อง โดยเน้น 4 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ บรรจุภัณฑ์  สุขภาพ ยานยนต์ และการก่อสร้าง ทั้งนี้ได้วิจัยพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบ In-house และ Open Innovation โดยร่วมมือกับเครือข่ายด้านวิจัยพัฒนา  สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัยต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งในประเทศไทย เอเชียและยุโรป  ซึ่งในปีนี้ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้ตั้งงบประมาณด้าน R&D เป็นเงินกว่า 1,600 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังได้ก่อตั้งศูนย์นวัตกรรมและพัฒนาต้นแบบสินค้า หรือ “i2P Center” (Ideas to Products) แห่งแรกและแห่งเดียวในภูมิภาคอาเซียนตั้งแต่ปี 2562 เพื่อเป็นโซลูชันด้าน Material Selection, Design และ Process  นอกจากนี้ยังมีศูนย์พัฒนาต้นแบบสินค้า จึงช่วยจุดประกายความคิดให้กับลูกค้าและเจ้าของแบรนด์สินค้า รวมทั้งมีกระบวนการเร่งให้เกิดนวัตกรรมและการพัฒนาสินค้าต้นแบบได้รวดเร็วขึ้นเป็น 3 เท่าจากที่ผ่านมา  

 

 3. เร่งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ (Accelerate Digital Technology) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจ ทั้งด้านความเร็วและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยเอสซีจีได้เสริมความแข็งแกร่งภายในองค์กรด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน  สร้าง Single Data Platform ทำให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดเห็นข้อมูลชุดเดียวกันแบบ Real-time เช่น การใช้ดิจิทัลในการขั้นตอนการจัดหาวัตถุดิบ ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมตามสถานการณ์ตลาดมากขึ้น การใช้ดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและป้องกันปัญหาในกระบวนการผลิต (Reliability) ใช้ Predictive Model เพื่อแจ้งเตือนความผิดปกติของเครื่องจักรล่วงหน้าก่อนเกิดความเสียหาย และการนำ AI Simulation เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต นอกจากนี้ ยังได้จัดทำ Digital Commerce Platform หรือ DCP เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลจากคำสั่งซื้อของลูกค้าเข้ากับข้อมูลการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ทำให้ลูกค้าสามารถติดตามสถานะคำสั่งซื้อได้ทุกที่ทุกเวลา และสามารถลดเวลาได้ถึง 70%”

ทั้งนี้ กลยุทธ์เชิงรุกทั้ง 3 ด้านของธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี  ได้แก่ 1. เร่งการขยายเข้าสู่ธุรกิจ Circular Economy  2. เร่งการขับเคลื่อนธุรกิจ HVA และ 3. เร่งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้  นอกจากจะส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนแล้ว ยังตอบโจทย์ SDGs และ ESG ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คน ชุมชน สังคม และดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ผ่านนวัตกรรมและโซลูชันที่เอสซีจีมุ่งมั่นพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง และพร้อมที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อสร้างความยั่งยืนไปด้วยกัน

 


Tags : เอสซีจี ธุรกิจเคมิคอลส์ ธุรกิจปิโตรเคมีเพื่อความยั่งยืน ขับเคลื่อนHVA ธนวงษ์อารีรัชชกุลกรรมการผู้จัดใหญ่ธุรกิจเคมิคอลส์เอสซีจี


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารประสบความสำเร็จได้รับรางวัลระดับเอเชีย Asia Responsible Enterprise Awards (AREA) 2025 สาขา Social Empowerment จาก MyMo Secure Plus นวัตกรรมความปลอดภัยบน Mobile Banking ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ให้ลูกค้า บูรณาการร่วมกับ แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้และเสริมภูมิคุ้มกันภัยทางการเงิน พร้อมกันนี้ ธนาคารออมสินยังได้รับรางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability ในฐานะองค์กรที่มีความโดดเด่นและมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนในทุกมิติจนได้รับรางวัล AREA มาแล้ว 5 ปี จาก Enterprise Asia องค์กรพัฒนาเอกชนชั้นนำที่ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบในเอเชีย เพื่อเชิดชูและให้เกียรติองค์กรธุรกิจที่มีการดำเนินงานตามแนวทาง ESG และเป็นต้นแบบองค์กรชั้นนำในภูมิภาคเอเชียที่ขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ     ธนาคารออมสินถือเป็นธนาคารแรกที่พัฒนาโหมดปลอดมิจฉาชีพ ภายใต้ชื่อ MyMo Secure Plus เพื่อช่วยดูแลเงินฝากขั้นสูงสุดให้กับลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ไม่รู้เท่าทันมิจฉาชีพที่เปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงตลอดเวลา ออกแบบโดยเน้นการทำธุรกรรมทางการเงินแบบจำกัดเฉพาะรายการที่จำเป็น อาทิ การโอนเงินไปยังบัญชีตนเองภายในธนาคารและต่างธนาคารที่ลงทะเบียนไว้ และการจำกัดวงเงินในการทำธุรกรรมต่อวัน ทั้งนี้ ธนาคารออมสินไม่เพียงพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นธนาคารแรกที่ดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ผ่าน แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ ดำเนินการอย่างเข้มข้นผ่านช่องทางการสื่อสารที่ครบวงจร ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ สื่อนอกบ้าน หรืออินฟลูเอนเซอร์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากที่สุด เนื่องจากธนาคารตระหนักดีถึงความสูญเสียของประชาชนและวิกฤตของอาชญากรรมออนไลน์ที่นับวันจะทวีความรุนแรงจนกลายเป็นภัยคุกคามระดับประเทศ จึงเป็นความพยายามของธนาคารในการที่จะกระตุ้นเตือนให้ประชาชนรู้เท่าทันกลลวงและไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพทางการเงิน     รางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability และ Social Empowerment ถือเป็นบทพิสูจน์ถึงบทบาทของธนาคารออมสินในฐานะ Social Bank ที่ไม่เพียงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับการให้บริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังขับเคลื่อนการสร้าง Social Impact เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ธนาคารยังคงยึดมั่นในหลักการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบตามแนวทาง ESG เพื่อก้าวสู่เป้าหมายความยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม ตลอดจนเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว  

01 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner