Responsive image

Saturday, 12 Jul 2025

หน้าแรก > BUSINESS-MARKETING-SME /ธุรกิจ-การตลาด-ขายตรง-เอสเอ็มอี


เอสซีจีเผยผลประกอบการไตรมาส 1/2564 กำไรเพิ่ม รุกตลาดเคมีภัณฑ์-โซลูชันบ้าน-บรรจุภัณฑ์ครบวงจร มุ่งเป็นต้นแบบธุรกิจ ESG เติบโตระยะยาว

Sun 09/05/2564


เอสซีจีเผยผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2564 กำไรเพิ่มขึ้น จากนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มรับตลาดโลกฟื้น การเริ่มผลิตของโรงงานมาบตาพุดโอเลฟินส์ เฟส 2 และการส่งมอบโซลูชันที่อยู่อาศัย ตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการปรับปรุงบ้านในช่วง Work from Home ขณะที่บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร-เครื่องดื่ม และอีคอมเมิร์ซเติบโตต่อเนื่อง ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีบริหารจัดการกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุน พร้อมมุ่งขับเคลื่อนองค์กรสู่ต้นแบบธุรกิจ ESG ด้วยการลงนามในสัญญาซื้อหุ้นในบริษัทรีไซเคิลพลาสติก ในโปรตุเกส พัฒนาโซลูชัน Medical & Healthcare และ EV รับเทรนด์โลก เพื่อสร้างการเติบโตระยะยาว

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปิดเผยว่า “งบการเงินรวมก่อนสอบทานของเอสซีจีไตรมาสที่ 1 ประจำปี 2564 มีรายได้จากการขาย 122,066 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 จากไตรมาสก่อน จากผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นของทุกกลุ่มธุรกิจ และมีกำไรสำหรับงวด 14,914 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 85 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนจากทุกกลุ่มธุรกิจ โดยธุรกิจเคมิคอลส์มีปริมาณขายเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการหยุดซ่อมบำรุงของโรงงานมาบตาพุดโอเลฟินส์
(MOC) ในไตรมาสก่อน การเริ่มผลิตของโรงงานมาบตาพุดโอเลฟินส์ เฟส 2 (MOC Debottleneck) และอุปสงค์ทั่วโลกปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น ขณะที่ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างดีขึ้นจากปัจจัยตามฤดูกาล ด้านธุรกิจแพคเกจจิ้งมีการขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์ปลายน้ำ (Downstream) ในภูมิภาคอาเซียนให้เติบโตยิ่งขึ้น และกระจายฐานลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรมเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รายได้จากการขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 และกำไรสำหรับงวดเพิ่มขึ้นร้อยละ 114 สาเหตุหลักจากธุรกิจเคมิคอลส์มีส่วนต่างราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ประกอบกับส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 เอสซีจีมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม (High Value Added Products & Services – HVA) 41,475 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34 ของรายได้จากการขายรวม ทั้งนี้ ยังมีสัดส่วนของการพัฒนาสินค้าใหม่ (New Products Development – NPD) และ Service Solution เช่น โซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy Solution) โซลูชันบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ (Smart and Functional Solutions) คิดเป็นร้อยละ 13 และ 5 ของรายได้จากการขายรวม

นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ รวมการส่งออกจากประเทศไทย ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ทั้งสิ้น 51,104 ล้านบาท โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 42 ของรายได้จากการขายรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

สินทรัพย์รวมของเอสซีจี ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564 มีมูลค่า 800,932 ล้านบาท โดยร้อยละ 38 เป็นสินทรัพย์ในอาเซียน ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1 ปี 2564 แยกตามรายธุรกิจ ดังนี้

ธุรกิจเคมิคอลส์ มีรายได้จากการขาย 51,607 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 43 จากไตรมาสก่อน จากปริมาณขายที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการหยุดซ่อมบำรุงของโรงงาน MOC ในไตรมาสก่อน และการเริ่มผลิตของโครงการ MOC Debottleneck ในไตรมาสนี้ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีกำไรสำหรับงวด 8,829 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 51 จากไตรมาสก่อน จากปริมาณขายและส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้นร้อยละ 397 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากส่วนต่างราคาสินค้าและส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากบริษัทกรุงเทพ ซินธิติกส์ จำกัด หรือ BST ที่เป็นผู้ผลิตน้ำยางสังเคราะห์ไนไตรล์รายเดียวในประเทศไทย เพื่อการผลิตถุงมือยางไนไตรล์สำหรับแพทย์

ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง มีรายได้จากการขาย 46,185 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการสินค้าและบริการในภูมิภาคที่ลดลง และการซ่อมบำรุงตามแผนของโรงงานปูนซีเมนต์ในประเทศกัมพูชา โดยมีกำไรสำหรับงวด 2,809 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการบริหารจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน จากปัจจัยตามฤดูกาล

ธุรกิจแพคเกจจิ้ง มีรายได้จากการขาย 27,253 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีกำไรสำหรับงวด 2,135 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 44 จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการเติบโตของความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในอาเซียน ราคากระดาษบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคปรับตัวสูงขึ้น การรุกขยายพอร์ตสินค้าบรรจุภัณฑ์ปลายน้ำ และบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารและเครื่องดื่ม และสินค้าเพื่อสุขอนามัย ฯลฯ การปรับตัวอย่างรวดเร็วด้วยการกระจายฐานลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม รวมถึงกลยุทธ์ Merger & Partnership หรือ M&P ได้แก่ การเข้าลงทุนใน Bien Hoa Packaging Joint Stock Company (SOVI) ประเทศเวียดนาม และการเข้าลงทุนใน Go-Pak UK Limited เพื่อขยายฐานตลาดบรรจุภัณฑ์อาหารในภูมิภาคต่าง ๆ รองรับเมกะเทรนด์

นายรุ่งโรจน์ กล่าวว่า “ผลประกอบการของไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลัง เอสซีจีจึงเตรียมความพร้อมด้วยการปรับตัวให้มีความยืดหยุ่น (Resiliency) เช่น เพิ่มสัดส่วนการขายนวัตกรรมสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (HVA) ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการต้นทุน โดยยังคงรักษาความปลอดภัยด้วยการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 อย่างเคร่งครัด ทั้งกับพนักงาน ลูกค้า และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตลอดกระบวนการทำงาน เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจ ส่งมอบสินค้า บริการ และโซลูชันครบวงจรต่าง ๆ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Management หรือ BCM)

ขณะเดียวกัน เอสซีจีได้มุ่งดำเนินทุกธุรกิจให้สอดคล้องกับแนวคิด ESG (Environmental, Social and Governance - ESG) โดยเร่งพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการ พร้อมโซลูชันครบวงจรด้าน Circular Economy, Medical & Healthcare และยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle หรือ EV) ที่กำลังเติบโตสูง โดยล่าสุดได้ลงนามในสัญญาซื้อหุ้นในบริษัท Recycled Plastic ในประเทศโปรตุเกส เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจและการเติบโตในระยะยาว

ปัจจุบัน เอสซีจีมีสินค้าในกลุ่ม SCG Green Choice ที่ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดการใช้พลังงาน และยืดอายุ การใช้งานสินค้า เพื่อเป็นทางเลือกในการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมให้กับผู้บริโภค จำนวนสินค้า 103 รายการ และมุ่งขยายเป็น 135 รายการ ภายในปีนี้ โดยในไตรมาสที่ 1 มีรายได้จากการขายสินค้า SCG Green Choice เท่ากับ 45,635 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 37 ของรายได้จากการขายรวม

นอกจากนี้ เอสซีจีได้เพิ่มการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) สำหรับกระบวนการผลิต โดยในปี 2563 มีสัดส่วนการใช้เท่ากับ 88,125 เมกะวัตต์-ชั่วโมง และในช่วงสองเดือนแรกของไตรมาสที่ 1 ปี 2564 เท่ากับ 14,769 เมกะวัตต์–ชั่วโมง เช่นเดียวกับพลังงานทางเลือก (Alternative Fuel) ที่มีสัดส่วนการใช้เพิ่มขึ้น เพื่อให้บรรลุนโยบายลดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล (Zero Coal Initiative) โดยในปี 2563 มีสัดส่วนการใช้เท่ากับร้อยละ 14.3 ในขณะที่ในช่วงสองเดือนแรกของไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีสัดส่วนการใช้เท่ากับร้อยละ 16.0

สำหรับธุรกิจเคมิคอลส์ ดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยขับเคลื่อนธุรกิจตามแนวคิด ESG เพื่อมุ่งสู่การเป็น “ธุรกิจปิโตรเคมีเพื่อความยั่งยืน” ซึ่งนอกจากจะเน้นการขายสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (HVA) อาทิ  SMX™ HDPE และ HDPE Pipe PE112 แล้ว ยังเร่งการเข้าสู่ธุรกิจที่ตลาดมีการเติบโตสูง เช่น ธุรกิจด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ล่าสุด ได้เข้าสู่ธุรกิจด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนในยุโรป ด้วยการลงนามในสัญญาซื้อหุ้นบริษัท ซีพลาสต์ (Sirplaste) ผู้ประกอบธุรกิจและผู้นำด้านพลาสติกรีไซเคิลในประเทศโปรตุเกส ซึ่งนอกจากจะส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนแล้ว ยังสามารถนำความได้เปรียบนี้ไปพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีรีไซเคิลในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งขยายช่องทางการขายในตลาดยุโรปได้

นอกจากนี้ โครงการขยายกำลังการผลิตของโรงงาน MOC Debottleneck ซึ่งธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี และ DOW ได้ร่วมมือกันดำเนินโครงการ ก่อสร้างแล้วเสร็จเร็วกว่าแผนและเริ่มทดลองดำเนินการผลิตแล้ว คาดว่าจะผลิตได้เต็มกำลังภายในเดือนพฤษภาคม 2564 จะทำให้มีกำลังการผลิตโอเลฟินส์เพิ่มขึ้น 350,000 ตันต่อปี ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย ทำให้กระบวนการผลิตมีต้นทุนการลงทุนที่ต่ำลง และยังทำให้ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Process)

ในส่วนของโครงการปิโตรเคมีครบวงจร Long Son Petrochemicals Company Limited (LSP) ที่เวียดนามคืบหน้าตามแผนร้อยละ 76 โดยจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในครึ่งปีแรกของปี 2566

นอกจากนี้ เอสซีจีอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับโครงสร้างธุรกิจเคมิคอลส์ รวมถึงการเสนอขายหุ้น SCG Chemicals ต่อประชาชนทั่วไป เพื่อรองรับโอกาสในการขยายธุรกิจเคมิคอลส์ในอนาคต เช่น ความเป็นไปได้ในการขยายกำลังการผลิตในภูมิภาคอาเซียน และการลงทุนอื่น ๆ ซึ่งคาดว่าการศึกษาและการปรับโครงสร้างดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2565

ส่วนธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ยังคงเติบโตอย่างมีคุณภาพ ผ่านการนำเสนอสินค้า บริการ และโซลูชันครบวงจร ตอบโจทย์การก่อสร้างและการอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน ตามแนวทาง ESG อาทิ โซลูชัน Green Construction ของ CPAC ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยยกระดับมาตรฐานงานก่อสร้างของไทยให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการด้วย CPAC Construction Solution เช่น CPAC BIM, CPAC Drone, CPAC 3D Printing และ CPAC Smart Structure ตั้งเป้าเปลี่ยนของเสียจากงานก่อสร้างให้เกิดประโยชน์คืนกลับสู่สังคม (Waste to Wealth) ในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ประมาณร้อยละ 10-20

นอกจากนี้ ธุรกิจได้ขยายตลาด SCG Solar Roof Solution ทั้งลูกค้ากลุ่มเจ้าของบ้าน (Residential) และกลุ่มผู้ประกอบการ (Non- Residential) ที่ใช้ไฟในตอนกลางวันต่อเนื่อง ตอบโจทย์ความต้องการลดรายจ่ายค่าไฟฟ้า และเพิ่มการใช้พลังงานสะอาดในภาคประชาชนให้สูงขึ้น โดยตั้งเป้ายอดขายรวม 600 ล้านบาท ในปี 2564 และล่าสุดได้เปิดตัว EV Solution Platform โซลูชันที่ให้บริการด้านยานยนต์ไฟฟ้าและพลังงานสะอาดครบวงจร เพื่อรองรับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม

ขณะเดียวกัน ธุรกิจได้เปิดตัว SCG D’COR (เอสซีจี เดคคอร์) วัสดุตกแต่งทางเลือกใหม่ พร้อมบริการ SCG D’COR Facade Solution ตอบรับการก่อสร้างที่ต้องการทั้งความสวยงามและประสิทธิภาพการใช้งาน และจะขยายสาขา SCG HOME เพิ่มอีก 33 สาขา รวมเป็น 50 สาขา ภายในปีนี้ ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนา SCGHOME.com ให้เป็น Super Platform ของการทำบ้านที่ครบวงจรที่สุด เชื่อมต่อระหว่างหน้าร้านและระบบออนไลน์ ตามแนวคิด Active Omni-channel เป็นเพื่อนคู่คิดให้ลูกค้าตั้งแต่การวางแผน การปรับปรุงบ้าน จนถึงการเข้าอยู่อาศัย

ขณะที่ ธุรกิจแพคเกจจิ้ง ยังคงเติบโตได้ดี ด้วยการนำเสนอโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน โดยดำเนินงานตามโมเดลธุรกิจที่มุ่งขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์ปลายน้ำ (Downstream) สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคในภูมิภาคอาเซียนรุกขยายกำลังการผลิตและผนึกกำลังระหว่างฐานการผลิตต่าง ๆ ซึ่งได้เปิดดำเนินการโรงงานผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์กำลังผลิตส่วนเพิ่ม 400,000 ตันต่อปี ของ Fajar ในประเทศอินโดนีเซีย และการขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์อีกกว่า 347 ล้านชิ้นต่อปี ในบริษัทวีซี่ แพ็คเกจิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด อีกทั้งในช่วงที่ผ่านมาธุรกิจยังสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงด้านต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งสินค้าทางเรือได้ดี ทำให้สามารถรองรับความต้องการของตลาดที่ฟื้นตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขณะเดียวกัน ธุรกิจได้พัฒนานวัตกรรมโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ล่าสุดได้พัฒนา OptiBreath® บรรจุภัณฑ์ที่ช่วยคงความสดของผักผลไม้ให้นานขึ้น ลดการเน่าเสียและข้อจำกัดทางการขนส่ง ด้วยเทคโนโลยีของฟิล์มที่ช่วยควบคุมการผ่านเข้าออกของก๊าซและไอน้ำ และ Odor LockTM บรรจุภัณฑ์ที่ช่วยเก็บกลิ่นอาหาร สะดวกต่อการขนส่งและวางจำหน่ายร่วมกับสินค้าอื่น โดยวางจำหน่ายแล้วในร้านค้าออนไลน์ เพื่อรองรับความต้องการของผู้ประกอบการและผู้บริโภคในฤดูกาลผลไม้นี้

สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ระลอกสามนี้ ค่อนข้างรุนแรง และส่งผลกระทบด้านสุขภาพและเศรษฐกิจในวงกว้าง ที่ผ่านมารัฐบาลได้พยายามเต็มที่ในการดูแลสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสัปดาห์นี้ ที่ภาครัฐได้ยกระดับมาตรการให้เข้มงวดยิ่งขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ดี และเชื่อว่า หากพวกเราทุกคนร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของกระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาลอย่างเคร่งครัด เช่น ช่วยกัน Work from Home ให้มากที่สุด สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือให้สะอาด และเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ฯลฯ ก็จะช่วยให้เราผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ 

สำหรับการผลิตวัคซีนป้องกันโควิค 19 “แอสตราเซเนก้า” โดยบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด มีความคืบหน้าด้วยดี ล่าสุด อย. ได้อนุมัติให้บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด เป็นฐานการผลิตวัคซีนที่มีมาตรฐานสูง ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตและกระจายวัคซีนไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้สามารถเข้าถึงวัคซีนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยจะเริ่มทยอยฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้ 

ขณะเดียวกัน มูลนิธิเอสซีจี เอสซีจี และเอสซีจีพี ได้กระจายความช่วยเหลือไปยัง 270 หน่วยงานใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในระยะเร่งด่วนให้กับผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ด้วยนวัตกรรม “เตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี (SCGP Paper Field Hospital Bed)” จำนวน 22,000 ชุด ที่ผลิตจากกระดาษรีไซเคิล ออกแบบตามหลักการยศาสตร์ รองรับการใช้งานตามสรีระของคนเอเชีย รับน้ำหนักได้ 100 กิโลกรัม ขนส่งและประกอบได้ง่าย รวมถึงนวัตกรรม “ห้องน้ำสำเร็จรูป (Bathroom Mobile Unit)” นวัตกรรม “ห้องความดันอากาศบวก (Positive Pressure Room)” และอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่น ๆ

นอกจากนี้ เอสซีจี หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และบริษัทชั้นนำ จะช่วยสนับสนุนภาครัฐในการกระจายวัคซีนให้รวดเร็ว เกิดประสิทธิภาพ และทั่วถึงมากที่สุด ทั้งด้านอุปกรณ์ บุคลากร งบประมาณ และสถานที่ โดยเอสซีจีได้จัดเตรียมพื้นที่บริเวณสำนักงานใหญ่เอสซีจี บางซื่อ ให้เป็น “สถานีฉีดวัคซีน” สำหรับประชาชน โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในเดือนมิถุนายนนี้ ผมหวังว่า ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และการดูแลตนเองของเราทุกคน จะช่วยให้เราผ่านพ้นสถานการณ์นี้ไปได้ด้วยกัน ขณะเดียวกัน ก็จะนำไปสู่การฟื้นเศรษฐกิจไทยให้กลับมาคึกคักได้โดยเร็ว”


Tags : เอสซีจี รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส เอสซีจีเผยผลประกอบการไตรมาส1/2564


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารประสบความสำเร็จได้รับรางวัลระดับเอเชีย Asia Responsible Enterprise Awards (AREA) 2025 สาขา Social Empowerment จาก MyMo Secure Plus นวัตกรรมความปลอดภัยบน Mobile Banking ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ให้ลูกค้า บูรณาการร่วมกับ แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้และเสริมภูมิคุ้มกันภัยทางการเงิน พร้อมกันนี้ ธนาคารออมสินยังได้รับรางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability ในฐานะองค์กรที่มีความโดดเด่นและมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนในทุกมิติจนได้รับรางวัล AREA มาแล้ว 5 ปี จาก Enterprise Asia องค์กรพัฒนาเอกชนชั้นนำที่ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบในเอเชีย เพื่อเชิดชูและให้เกียรติองค์กรธุรกิจที่มีการดำเนินงานตามแนวทาง ESG และเป็นต้นแบบองค์กรชั้นนำในภูมิภาคเอเชียที่ขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ     ธนาคารออมสินถือเป็นธนาคารแรกที่พัฒนาโหมดปลอดมิจฉาชีพ ภายใต้ชื่อ MyMo Secure Plus เพื่อช่วยดูแลเงินฝากขั้นสูงสุดให้กับลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ไม่รู้เท่าทันมิจฉาชีพที่เปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงตลอดเวลา ออกแบบโดยเน้นการทำธุรกรรมทางการเงินแบบจำกัดเฉพาะรายการที่จำเป็น อาทิ การโอนเงินไปยังบัญชีตนเองภายในธนาคารและต่างธนาคารที่ลงทะเบียนไว้ และการจำกัดวงเงินในการทำธุรกรรมต่อวัน ทั้งนี้ ธนาคารออมสินไม่เพียงพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นธนาคารแรกที่ดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ผ่าน แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ ดำเนินการอย่างเข้มข้นผ่านช่องทางการสื่อสารที่ครบวงจร ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ สื่อนอกบ้าน หรืออินฟลูเอนเซอร์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากที่สุด เนื่องจากธนาคารตระหนักดีถึงความสูญเสียของประชาชนและวิกฤตของอาชญากรรมออนไลน์ที่นับวันจะทวีความรุนแรงจนกลายเป็นภัยคุกคามระดับประเทศ จึงเป็นความพยายามของธนาคารในการที่จะกระตุ้นเตือนให้ประชาชนรู้เท่าทันกลลวงและไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพทางการเงิน     รางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability และ Social Empowerment ถือเป็นบทพิสูจน์ถึงบทบาทของธนาคารออมสินในฐานะ Social Bank ที่ไม่เพียงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับการให้บริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังขับเคลื่อนการสร้าง Social Impact เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ธนาคารยังคงยึดมั่นในหลักการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบตามแนวทาง ESG เพื่อก้าวสู่เป้าหมายความยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม ตลอดจนเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว  

01 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner