Responsive image

Wednesday, 16 Jul 2025

หน้าแรก > INSURANCE / ประกันภัย - ประกันชีวิต


“ไทยประกันชีวิต Health Care Solutions” มุ่งบริการด้านสุขภาพที่ดีแบบครบวงจรรอบด้าน ตอบรับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุค New Normal

Mon 17/05/2564


ไทยประกันชีวิตพัฒนาบริการด้านสุขภาพ ชูแนวคิดส่งมอบสุขภาพที่ดีแบบครบวงจร หรือ Eco-Health System เปิดตัว “ไทยประกันชีวิต Health Care Solutions” ครบรอบด้าน ทุกคำตอบบริการด้านสุขภาพ สร้างประสบการณ์การดูแลสุขภาพที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า ตอบรับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุค New Normal

นายไชย  ไชยวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ไทยประกันชีวิตดำเนินนโยบายมุ่งสู่การเป็นทุกคำตอบของชีวิต หรือ Life Solutions ผ่านการส่งมอบสุขภาพที่ดี ชีวิตที่มั่งคั่ง และชีวิตที่ดีมีคุณค่า ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคทุกกลุ่ม ในทุกช่วงวัยและทุกช่วงของชีวิต ผสานการพัฒนาบริการที่มากกว่าการประกันชีวิต โดยเฉพาะการส่งมอบสุขภาพที่ดีแบบครบวงจร หรือ Eco-Health System สอดรับกับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในยุค New Normal ในปัจจุบันที่ตระหนักและใส่ใจกับการดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น รวมถึงต้องการความสะดวกรวดเร็วในการรับบริการ

ดังนั้น เพื่อมอบประสบการณ์ด้านสุขภาพที่ดีที่สุดให้แก่ผู้เอาประกันภัย บริษัทฯ จึงได้พัฒนาบริการด้านสุขภาพพิเศษเฉพาะลูกค้าไทยประกันชีวิต “ไทยประกันชีวิต Health Care Solutions” ซึ่งเป็นบริการเกี่ยวกับสุขภาพแบบครบรอบด้าน ที่จะช่วยอำนวยความสะดวก และเพิ่มความอุ่นใจให้ผู้เอาประกันภัยในทุกสถานการณ์ พร้อมเชื่อมต่อทุกโมเมนต์สุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นยามปกติ หรือยามเจ็บป่วยที่ต้องการที่ปรึกษา  หรือกรณีฉุกเฉิน

สำหรับบริการพิเศษ “ไทยประกันชีวิต Health Care Solutions” ครบรอบด้าน ทุกคำตอบบริการสุขภาพ ประกอบด้วยหลากหลายบริการด้านสุขภาพ (Health Services) ได้แก่ ไทยประกันชีวิต Hotline บริการช่วยเหลือฉุกเฉินทางการแพทย์และการเดินทาง ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกที่ทั่วโลก โดยไม่เสียค่าใช่จ่ายสำหรับผู้เอาประกันภัยที่ถือกรมธรรม์ประเภทรายบุคคล ซึ่งมีบริการเด่นคือการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง, ไทยประกันชีวิต Medical Second Opinion บริการให้คำปรึกษาความเห็นที่สองทางการแพทย์ (MSO) โดยทีมแพทย์ระดับโลกและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อช่วยเพิ่มความมั่นใจในการรักษา ทั้งนี้     ผู้เอาประกันภัยสามารถใช้บริการผ่านแอปพลิเคชัน ไทยประกันชีวิต, ไทยประกันชีวิต International Fax Claims บริการพิเศษสำหรับผู้เอาประกันภัยที่ซื้อแบบประกันกลุ่ม Health Fit Ultra สามารถเข้ารับการรักษาในต่างประเทศได้ กรณีเจ็บป่วยระหว่างการเดินทาง โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่ายภายใต้ความคุ้มครองของกรมธรรม์ และ ไทยประกันชีวิต Medicare บริการพิเศษเพื่ออำนวยความสะดวกในการสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับผู้เอาประกันภัย เมื่อเข้ารับการรักษาโนโรงพยาบาลเครือข่ายกว่า 280 แห่งทั่วประเทศ

“บริษัทฯ ได้เปิดตัวแคมเปญไทยประกันชีวิต Health Care Solutions โดยประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อทั้ง Offline และ Online เพื่อสร้างการรับรู้ไปยังผู้บริโภคว่าซื้อประกันสุขภาพทั้งทีต้องมองหาที่มีบริการ Health Care Solutions ซึ่งจะตอบโจทย์ความต้องการด้านการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคอย่างครบรอบด้าน ด้วยบริการที่ครอบคลุมและเป็นทุกคำตอบของการบริการด้านสุขภาพอย่างแท้จริง”

นายไชยกล่าวเพิ่มเติมว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 บริษัทฯ มีความห่วงใยและตระหนักถึงสุขภาพและความปลอดภัยของผู้เอาประกันภัยที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก และลดความเสี่ยงจากการเดินทางให้แก่ผู้เอาประกันภัย บริษัทฯ จึงได้เพิ่มบริการ ไทยประกันชีวิต Telemedicine โดยร่วมมือกับโรงพยาบาลคู่สัญญากว่า 30 แห่ง อนุมัติสินไหมสำหรับการรักษาผ่าน Video Call และโทรศัพท์ รวมถึงการใช้บริการตรวจรักษานอกสถานที่กรณีมีความจำเป็นเร่งด่วน

บริการดังกล่าวสำหรับผู้เอาประกันภัยที่มีประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยนอก (OPD) ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม และเป็นผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง อาทิ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ที่มีประวัติการรักษากับโรงพยาบาล หรือเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด หรือเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลและต้องติดตามอาการหรือทำแผลต่อเนื่อง ซึ่งเคยได้รับการอนุมัติสินไหมค่ารักษาจากบริษัทฯ แล้ว

นอกจากนี้ ยังร่วมกับพันธมิตรด้านสุขภาพให้บริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์ 24 ชั่วโมง ปรึกษาปัญหาสุขภาพได้ทุกที่ทุกเวลาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลสมิติเวช ซึ่งผู้เอาประกันภัยรายบุคคลที่มีประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยนอก หรือ OPD สามารถใช้บริการได้ผ่านแอปพลิเคชัน ไทยประกันชีวิต ทั้งนี้  ผู้เอาประกันภัยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการต่างๆ ของบริษัทฯ ได้ที่เว็บไซต์ https://www.thailife.com หรือโทร. 1124


Tags : ไทยประกันชีวิต ไชย ไชยวรรณ ไทยประกันชีวิต Health Care Solutions New Normal ไทยประกันชีวิตพัฒนาบริการด้านสุขภาพ


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อเร็ว ๆ นี้      

14 Jul 2025

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner