Responsive image

Friday, 03 Jan 2025

หน้าแรก > ECONOMY-FINANCE/เศรษฐกิจ-การเงิน


เคทีซีไปต่อ เขย่าแผนธุรกิจสู้โควิด-19 ดันกำไรครึ่งปี 3,352 ล้านบาท เดินหน้าขยายขอบเขตธุรกิจสินเชื่อ รักษาฐานสมาชิกและช่วยเหลือผู้เดือดร้อน

Sun 18/07/2564


เคทีซีแจ้งกำไรสุทธิครึ่งปีแรกโต 20.1% เท่ากับ 3,352 ล้านบาท ส่วนของกำไรสุทธิไตรมาส 2 เท่ากับ 1,703 ล้านบาท แม้จะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ต่อเนื่องมาถึงระลอก 3 โดยใช้ประสบการณ์ปรับกลยุทธ์ในการทำธุรกิจเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้การดำเนินงานโดยรวมยังผ่านไปได้ดี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวมเพิ่มขึ้น ในขณะที่ NPL อยู่ในระดับใกล้เคียงเดิม พร้อมเดินหน้าครึ่งปีหลังขยายธุรกิจสินเชื่อมีหลักประกันให้ครบวงจร รักษาฐานสมาชิกและบริหารคุณภาพพอร์ตลูกหนี้ ช่วยเหลือผู้เดือดร้อนจากโควิด-19 ร่วมกับองค์กรการกุศลต่างๆ และขยายเวลาช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ตามมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย

นายระเฑียร  ศรีมงคล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ภาพรวมของอุตสาหกรรมสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในช่วง 6 เดือนของปีนี้ยังคงเติบโต ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนจากการระบาดระลอกใหม่ของไวรัสโควิด-19 สำหรับภาพรวมการดำเนินงานธุรกิจของเคทีซียังผ่านไปได้ดี โดยเรียนรู้จากประสบการณ์มาเป็นเข็มทิศในการปรับแผนกลยุทธ์เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยสิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 บริษัทฯ มีการขยายตัวของลูกหนี้บัตรเครดิตเท่ากับ 10.4% (อุตสาหกรรมโต 8.6%) ทำให้เคทีซีมีสัดส่วนของลูกหนี้บัตรเครดิตเทียบกับอุตสาหกรรมเท่ากับ 13.7% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีสัดส่วน 13.5% ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 5.4% (อุตสาหกรรมโต 2.2%) และสัดส่วนลูกหนี้สินเชื่อบุคคลเทียบกับอุตสาหกรรมเท่ากับ 4.7%”

“อย่างไรก็ดีสถานการณ์แพร่รระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่องถึงระลอก 3 ได้ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและการจัดหาสมาชิกใหม่ทำได้ยากขึ้น รวมถึงการเติบโตของพอร์ตลูกหนี้รวมและปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรขยายตัวได้ไม่มาก เคทีซีจึงมีแผนสร้างโมเดลธุรกิจขยายตัวไปยังสินเชื่อมีหลักประกันมากขึ้น โดยได้เข้าซื้อหุ้น 75.05% ของบริษัท กรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง จำกัด (KTBL) เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2564 และภายหลังการตรวจสอบตามเงื่อนไขเสร็จสิ้นในเดือนพฤศจิกายน 2564 KTBL จะเป็นหนึ่งในบริษัทย่อยของเคทีซี”

“สำหรับผลการดำเนินงานสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 เคทีซีมีกำไรสุทธิในช่วงครึ่งปีแรก 3,352 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.1% และมีกำไรสุทธิในไตรมาส 2 เท่ากับ 1,703 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48.2% ซึ่งแม้ว่าบริษัทฯ จะมีรายได้รวมลดลง แต่ยังสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายรวมให้ต่ำลง จากการลดค่าใช้จ่ายทางการเงินและผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลงไปได้ อีกทั้งมีรายได้หนี้สูญได้รับคืนอยู่ในระดับที่ดีขึ้น และรักษาอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (NPL) อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงเดิม ท่ามกลางสถานการณ์ที่มีหลายปัจจัยผันแปร จึงเป็นผลให้ไตรมาส 2 ที่ผ่านมา เคทีซีมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานรวมต่อรายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย มีกำไรก่อนผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลงที่ -5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการมีพอร์ตลูกหนี้คุณภาพดี ทำให้ความจำเป็นในการตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นน้อยลงไปด้วย ส่งผลให้กำไรสุทธิของบริษัทฯ เติบโตตามสัดส่วนข้างต้น”

“โดยที่เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวม 89,444 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ฐานสมาชิกรวม 3.3 ล้านบัญชี  แบ่งเป็นพอร์ตสมาชิกบัตรเครดิต 2,544,573 บัตร เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรเครดิตและดอกเบี้ยค้างรับรวม 55,708 ล้านบาท  ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรครึ่งปีแรกเท่ากับ 94,160 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.9% (ไตรมาส 2 มูลค่า 45,739 ล้านบาท ขยายตัว 13.1%) NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้รวมอยู่ที่ 4.4% เพิ่มขึ้นจาก 1.9% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2564 จากสาเหตุหลักของการนับรวมพอร์ตลูกหนี้สัญญาเช่าซื้อจาก KTBL ประกอบกับการ      แพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลให้ความสามารถในการชำระของลูกหนี้ลดลง และ NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้บัตรเครดิตเท่ากับ 1.5% พอร์ตสมาชิกสินเชื่อบุคคลเคทีซี 802,971 บัญชี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้สินเชื่อบุคคลและดอกเบี้ยค้างรับรวม 29,480 ล้านบาท NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้บุคคลอยู่ที่ 3.0% พอร์ตลูกหนี้ตามสัญญาเช่า 4,255 ล้านบาท NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้ตามสัญญาเช่าเท่ากับ 51.7%”

“เคทีซียังสามารถทำรายได้รวมในไตรมาส 2/2564 ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ 5,406 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้ดอกเบี้ยรวม (รวมรายได้ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน) 3,430 ล้านบาท (ธุรกิจบัตรเครดิต 1,639 ล้านบาท สินเชื่อบุคคล 1,766 ล้านบาท และรายได้ดอกเบี้ยจากลูกหนี้ตามสัญญาเช่าของ KTBL 25 ล้านบาท) ลดลง -5.6% จากการปรับลดเพดานดอกเบี้ยในธุรกิจบัตรเครดิตเป็น 16% รายได้ค่าธรรมเนียม (ไม่รวมค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน) 1,042 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.6% จากรายได้ค่าธรรรมเนียม Interchange และรายได้ค่าธรรมเนียมส่วนลดจากร้านค้าผู้รับชำระบัตรที่เป็นสมาชิกของเคทีซีเพิ่มขึ้นเป็น 42,625 ร้านค้า และรายได้ค่าธรรมเนียมในการเบิกเงินสดล่วงหน้าเพิ่มขึ้น แต่ค่าธรรมเนียมในการติดตามหนี้ลดลง รายได้หนี้สูญได้รับคืน 833 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 19.3%) และรายได้อื่นๆ 100 ล้านบาท ในขณะที่รายได้รวมครึ่งแรกของปี 2564 อยู่ที่ 10,798 ล้านบาท ลดลง -2.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และมีค่าใช้จ่ายรวมในไตรมาส 2/2564 เท่ากับ 3,278 ล้านบาท ลดลง -17.3% แบ่งเป็นผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 1,144 ล้านบาท (ลดลง -45.1%) ต้นทุนทางการเงิน 359 ล้านบาท (ลดลง -5.3%) และค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานรวม 1,775 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 18.3%) โดยมีวงเงินสินเชื่อคงเหลือ (Available Credit Line) จำนวน 22,330 ล้านบาท ต้นทุนการเงิน 2.62% และอัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 2.45 เท่า ต่ำกว่าภาระผูกพันที่กำหนดไว้ที่ 10 เท่า”

“เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ยังมีความไม่แน่นอน และเกิดคลัสเตอร์ใหม่ๆ กระจายไปในวงกว้าง เพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว บริษัทฯ ได้ขยายเวลาให้ลูกหนี้สมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19สมัครรับความช่วยเหลือด้านสินเชื่อจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 เพื่อสนับสนุนมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีกลุ่มลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือรวม 21,564 บัญชี ด้วยยอดหนี้คงเหลือที่ 1,545 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ร่วมกับองค์กรการกุศลดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้เดือดร้อน เช่น ร่วมกับสมาชิกบัตรเครดิตบริจาคคะแนนสะสม KTC FOREVER เปลี่ยนเป็นเงินสมทบทุนชุดธารน้ำใจส่งต่อให้ผู้ที่ต้องกักตน 14 วัน ผ่านสภากาชาดไทย และสนับสนุนการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์และรักษาผู้ป่วยผ่านมูลนิธิรามาธิบดี ศิริราชมูลนิธิ โรงพยาบาลราชวิถี และกิจกรรมเปลี่ยนใจเป็นบุญ ชวนแฟนเพจ KTC Journey (เคทีซี เจอนี่) ส่งสติ๊กเกอร์เพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตลอดจนดูแลสุขภาวะอนามัยของพนักงานเพื่อป้องการการแพร่ระบาด”

“สำหรับทิศทางธุรกิจครึ่งปีหลัง เคทีซีจะขยายขอบเขตธุรกิจสินเชื่อให้หลากหลายและครอบคลุมทั้งเคทีซี พี่เบิ้ม และธุรกิจลีสซิ่ง เพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้นำธุรกิจสินเชื่อเบ็ดเสร็จครบวงจร ที่เน้นความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญเพื่อสร้างความประทับใจให้กับสมาชิก และจะดูแลรักษาฐานสมาชิกที่มีอยู่เดิมให้ได้รับความพึงพอใจ โดยมีเป้าหมายหลักในการทำธุรกิจดังนี้ ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในปี 2564 จะมีมูลค่า 200,000 ล้านบาท หรือขยายตัวที่ 5% ปรับลดลงจากประมาณการเดิมที่คาดว่าขยายตัว 8% บริหารมูลค่ายอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลให้ใกล้เคียงกับปี 2563 สำหรับสินเชื่อมีหลักประกัน “เคทีซี พี่เบิ้ม” รวมสินเชื่อจากบริษัท กรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง จำกัด ตั้งเป้าหมายสินเชื่อที่ 1,000 ล้านบาท ด้านร้านค้ารับบัตรจะเน้นช่องทางออนไลน์ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตร”

 


Tags : เคทีซี KTC ระเฑียร ศรีมงคล โควิด-19 COVID-19 เคทีซีกำไรครึ่งปี2564 ธุรกิจสินเชื่อ บัตรกรุงไทย


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

  บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคล แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ช่วยสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยให้ความคุ้มครองกรณีเข้ารักษาตัวแบบผู้ป่วยใน (IPD) สูงสุด 150,000 บาท และผู้ป่วยนอก (OPD) คุ้มครองสูงสุด 1,000 บาทต่อครั้ง และกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ คุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท (เบี้ยรักษาเท่ากันทุกช่วงอายุ) (ความคุ้มครองนี้เป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์) สำหรับรายละเอียดผลิตภัณฑ์หรือสนใจทำประกันภัยสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคล สำหรับแรงงานต่างด้าว สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ทิพยประกันภัย โทร. 1736 หรือ บริษัท ทีเคอาร์โบรกเกอร์เรจ จำกัด โทร. 093-036-2459

03 Jan 2025

...

บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) หรือ SAM เปิดเผยว่า SAM ได้คัดสรรทรัพย์มือสองหรือทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ในส่วนของทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยบนทำเลดีทั่วประเทศ พร้อมปรับลดราคาพิเศษ จำนวน 18 รายการ มูลค่ารวม 60 ลบ.ไม่ว่าจะเป็น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ห้องชุดพักอาศัย อาคารพาณิชย์ และที่ดินเปล่า เพื่อให้ผู้สนใจเข้าร่วมประมูลได้ในวันที่ 7 ม.ค. 2568 ทั้งนี้ ยังได้จัดโปรโมชัน “SAM ทรัพย์มือสองต้องบอกต่อ” เพียงแนะนำทรัพย์ SAM ให้กับเพื่อนหรือคนรู้จัก รับค่าแนะนำสูงสุดถึง 3 ล้านบาทต่อ 1 รายการ (เฉพาะทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไข) และ SAM ยังร่วมกับธนาคารชั้นนำ ทั้งธนาคารกรุงเทพ ธนาคารยูโอบี ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต (ttb) ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด ตัวอย่างทรัพย์เด่นราคาพิเศษ 1.ทาวน์เฮ้าส์ 3 ชั้น 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ เนื้อที่ 27.7 ตร.ว. โครงการบ้านธรรมชาติ ถ.เพชรเกษม (ทล.4) แขวงบางแค เขตบางแค กรุงเทพฯ ทรัพย์ตั้งอยู่ในย่านที่อยู่อาศัย ใกล้โรงเรียนอนุบาลเด่นหล้า โรงพยาบาลบุญญาเวช ห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ เพชรเกษม 1 ห้างเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เพชรเกษม และห้างโฮมโปร เพชรเกษม ราคาเริ่มต้น 3 ลบ. 2.อาคารพาณิชย์ 4 ชั้น มีชั้นลอย เนื้อที่ 25.3 ตร.ว. ถ.ติวานนท์ ต.บ้านใหม่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ทรัพย์ตั้งอยู่ในย่านที่อยู่อาศัย และพาณิชยกรรม การคมนาคมสะดวก สาธารณูปโภคครบครัน ใกล้โรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรี โรงเรียนอนุบาลปาลินา ติวานนท์ และห้างโรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ศรีสมาน จากราคา 6.3 ลบ.  ปรับลดลงมาประมาณ 6.7% เหลือราคาพิเศษเริ่มต้น 5.9 ลบ. 3.อาคารพาณิชย์ 2 ชั้น 3 ห้องนอน 2 นอน เนื้อที่ 39.6 ตร.ว. ถ.เทศบาลบำรุง ต.ท้ายช้าง อ.เมืองพังงา จ.พังงา ทรัพย์ตั้งอยู่ในย่านที่อยู่อาศัย และพาณิชยกรรม ใกล้สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาพังงา สหกรณ์ออมทรัพย์ครูพังงา สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดพังงา จากราคา 4.78 ลบ. ปรับลดลงมาประมาณ 12% เหลือราคาพิเศษเริ่มต้น 4.23 ลบ. 4.อาคารพาณิชย์ 4 ชั้น เนื้อที่ 24.3 ตร.ว. จากราคา 8.33 ลบ. ปรับลดลงมาประมาณ  9% เหลือราคาพิเศษเริ่มต้น 7.64 ลบ. และอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น เนื้อที่ 20 ตร.ว.  จากราคา 8.5 ลบ. ปรับลดลงมาประมาณ 7.8% เหลือราคาพิเศษเริ่มต้น 7.88 ลบ. ทั้งสองทรัพย์ตั้งอยู่ในโครงการทรัพย์แสนล้าน ถ.ราชปาทานุสรณ์ ต.ป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต  ใกล้สำนักงานเทศบาลเมืองป่าตอง โรงเรียนเทศบาลเมืองป่าตอง โรงพยาบาลป่าตอง สถานีตำรวจภูธรกระทู้  ห่างจากชายหาดป่าตองเพียง 2 กม. เท่านั้น การจัดประมูลครั้งนี้มีทรัพย์เด่นที่น่าสนใจในทำเลทั่วประเทศอีกหลายรายการ ผู้สนใจเข้าร่วมประมูล ลงทะเบียนและยื่นซองประมูล พร้อมเอกสารประกอบการประมูล ครั้งที่ 14 ภายในวันที่ 30 ธ.ค. 2567 และ กำหนดเปิดซองประมูลวันที่ 7 ม.ค. 2568 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป ที่สำนักงานใหญ่ SAM อาคารซันทาวเวอร์ส ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ  หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1443 / 02-686-1888 และดูรายละเอียดทรัพย์สินได้ทางเว็บไซต์ที่ www.sam.or.th  รวมทั้งช่องทางออนไลน์ที่หลากหลายและสะดวกรวดเร็ว โดยแอด ID Line @Samline ติดตาม Facebook Fanpage ทรัพย์มือสองต้อง SAM หรือ SAM NPA Channel บน YouTube เพื่อติดตามข้อมูลข่าวสารดี ๆ จาก SAM

26 Dec 2024

...

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) แจ้งเตือนกรณีที่มีลูกค้าได้รับเอกสารปลอมแอบอ้างชื่อและตราสัญลักษณ์ธนาคาร รวมถึงชื่อผู้จัดการ ธ.ก.ส. ส่งไปหลอกลวงลูกค้าประชาชนว่า ไม่สามารถโอนเงินเข้าบัญชีของลูกค้าได้ เนื่องจากกรอกเลขบัญชีธนาคารไม่ถูกต้อง ทำให้บัญชีถูกอายัด พร้อมกับหลอกให้แก้ไขด้วยการโอนเงินล่วงหน้าไว้ในบัญชีตามจำนวนที่มิจฉาชีพกำหนด หรือให้สแกน QR CODE เพื่อทำการปลดล็อคระบบ จึงจะสามารถเบิกถอนเงินกู้ได้ หากไม่ทำตามจะมีโทษ อาทิ ติดแบล็คลิสต์ ถูกยึดทรัพย์ ปรับเงิน และจำคุกด้วยนั้น ธ.ก.ส. ขอเรียนว่า เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม ซึ่ง ธ.ก.ส. ไม่ใช่ผู้จัดทำ และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าว จึงขอให้เกษตรกรลูกค้า ประชาชนทั่วไปอย่าหลงเชื่อ และอย่าให้ข้อมูลหรือทำตามที่มิจฉาชีพแจ้งโดยเด็ดขาด และยืนยันว่าธนาคารไม่มีนโยบายในการส่งเอกสารให้ลูกค้าดำเนินธุรกรรมในลักษณะนี้ ซึ่งธนาคารจะรวบรวมข้อมูลและดำเนินการเอาผิดตามขั้นตอนทางกฎหมายกับมิจฉาชีพที่แอบอ้างธนาคารหลอกลวงลูกค้าต่อไป ทั้งนี้ หากลูกค้าได้รับเอกสารในลักษณะเดียวกันนี้ สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่ BAAC ศูนย์รับแจ้งเหตุภัยทางการเงินจากมิจฉาชีพ Call Center : 02 555 0555 กด 111 ได้ตลอด 24 ชม. หรือ สามารถใช้บริการทางการเงินที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยกับ ธ.ก.ส. ได้ที่แอปพลิเคชัน BAAC Mobile และติดตามข้อมูลและข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์และบริการผ่านช่องทางการสื่อสารหลักของธนาคาร ได้แก่ เว็บไซต์ www.baac.or.th Facebook Page “ธกส BAAC Thailand” LINE Official: @baacfamily และ TikTok: @baacthailand     

25 Dec 2024

...

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3% ด้วยแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐ การลงทุน และการบริโภค ควบคู่กับความต้องการจากต่างประเทศในภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกซึ่งมีแนวโน้มขยายตัว เป็นผลจากเศรษฐกิจโลกขยายตัวต่อเนื่อง  โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกปี 2568 จะขยายตัว 3.2% (เท่ากับปี 2567) และการค้าโลกปี 2568 จะขยายตัว 3.4% (สูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีที่ราว 2.8%) ตลาดที่มีศักยภาพ ได้แก่ ตลาดเกิดใหม่ อาทิ อินเดีย CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) อาเซียน 5 ประเทศ และตะวันออกกลาง ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2568 สูงถึง 6.5%, 5.3%, 4.5% และ 3.8% ตามลำดับ ทำให้คาดว่าการส่งออกไทยปี 2568 จะขยายตัว 3% สินค้าไทยที่ได้รับความนิยมในตลาดโลก ได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเกษตรและอาหาร และสินค้าไลฟ์สไตล์ เช่น เครื่องสำอาง อาหารสัตว์เลี้ยง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ต้องจับตา ได้แก่ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะในตะวันออกกลางที่อาจส่งผลให้ค่าระวางและราคาน้ำมันผันผวน ความผันผวนของค่าเงิน และสงครามการค้ารอบใหม่ (Trade War 2.0) เป็นผลจากนโยบายการขึ้นภาษีนำเข้าจากประเทศต่าง ๆ ของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า ในปี 2568 EXIM BANK ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง จะเป็นผู้นำผู้ประกอบการไทยรุกตลาดการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ  โดยส่งเสริมการส่งออกและการลงทุนในธุรกิจที่ไทยมีศักยภาพ สอดรับกับเทรนด์ผู้บริโภคในโลกการค้ายุคใหม่ ได้แก่ 1.สินค้าตอบโจทย์ความมั่นคงด้านอาหาร (Food for Security) ซึ่งประเทศไทยอยู่ในอันดับ 10 ของประเทศผู้ผลิตอาหารต่อคนมากที่สุดในโลก สินค้าไทยที่ได้รับความนิยมในตลาดโลก ได้แก่ ทูน่ากระป๋องและไก่แปรรูป น้ำตาลทราย และซาร์ดีนกระป๋อง 2.สินค้ารักษ์โลก (Good for Planet) สินค้าไทยที่ได้รับความนิยมในตลาดโลก ได้แก่ เม็ดพลาสติกชีวภาพ (Polylactic Acid : PLA) และแผงโซลาร์เซลล์ 3.สินค้าและบริการที่สร้างความสุขหรือประสบการณ์ใหม่ (Mood for Joy) สินค้าไทยที่ได้รับความนิยมในตลาดโลก ได้แก่ อาหารสัตว์เลี้ยง เครื่องประดับเงิน เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ นอกจากนี้ สินค้าที่มีโอกาสเติบโตในปี 2568 ได้แก่ สินค้าที่ได้รับผลดีจากนโยบายของว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์ได้แก่ สินค้าเครื่องปรับอากาศและหม้อแปลงไฟฟ้าที่ไทยอาจสามารถกลับมาช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้น หากสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้าจากจีนและประเทศอื่นๆเพิ่มขึ้นตามที่ได้เคยประกาศนโยบายไว้   ดร.รักษ์ กล่าวว่า ในปี 2568 EXIM BANK จะเดินหน้าบทบาท Green Development Bank นำทัพผู้ประกอบการไทยขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำและสร้างโลกที่ยั่งยืน มุ่งสู่เป้าหมายเพิ่มสัดส่วนสินเชื่อสนับสนุนธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Environmental, Social, and Governance : ESG) เป็น 40% ภายในปี 2568 พร้อมเปิดตัวบริการใหม่ด้านวาณิชธนกิจ เป็นที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ จัดหาเงินทุนสำหรับโครงการ รวมถึงค้ำประกันหุ้นกู้ (Bond Guarantee) แก่ผู้ประกอบธุรกิจที่คำนึงถึง ESG ขณะเดียวกัน EXIM BANK สนับสนุนธุรกิจส่งออกและการลงทุนที่ขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน นำพาธุรกิจไทยทุกขนาดเข้าสู่ Green Export Supply Chain และมุ่งสู่เป้าหมายธนาคารด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2570 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2593 โดยสอดคล้องกับความต้องการของโลกในการสนับสนุนทางการเงินเพื่อจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Finance) ซึ่งประเมินว่าสูงถึง 8.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี แต่ตัวเลข Climate Finance ปี 2565 มีอยู่เพียง 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี เท่ากับว่ายังขาดเม็ดเงินอีกมูลค่ามหาศาลในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว   ในการดำเนินบทบาท Green Development Bank ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2567 EXIM BANK มียอดสินเชื่อคงค้างและภาระผูกพัน 179,316 ล้านบาท และคาดว่าจะสูงกว่า 190,000 ล้านบาทภายในสิ้นปี 2567 เพิ่มขึ้น 6.8% จาก 177,932 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2566 ขณะที่สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม (NPL Ratio) คาดว่าจะอยู่ที่ 3.49% ลดลงถึง 1.2% เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อน เป็นผลจากการติดตามคุณภาพสินเชื่ออย่างใกล้ชิดของธนาคาร ทำให้คาดว่า ณ สิ้นปี 2567 EXIM BANK จะสามารถทำกำไรสุทธิได้สูงกว่า 1,000 ล้านบาท “ปี 2568 เป็นปีที่เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เทอร์โบคู่ที่ทำงานพร้อมกันทั้งจากอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศ ขณะที่โอกาสของธุรกิจไทยยังมีอยู่อีกมากในตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะธุรกิจที่สามารถพัฒนาสินค้าหรือบริการตอบโจทย์เทรนด์ของตลาดโลกได้ EXIM BANK จึงเร่งเดินหน้าขับเคลื่อนการส่งออก ด้วยนวัตกรรมทางการเงินที่จะช่วยเสริมหรือติดอาวุธให้ผู้ประกอบการแข่งขันได้มากขึ้นในเวทีโลก นำพาธุรกิจไทยสู่ความยั่งยืน ท่ามกลางความไม่แน่นอนในตลาดการค้าโลกปัจจุบัน”  ดร.รักษ์ กล่าว  

20 Dec 2024

Banner
เอไอเอ ประเทศไทย ส่งแคมเปญ “เจอโรคร้าย ตกใจแค่แป๊ปเดียว” ให้คนไทยอุ่นใจหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด ด้วยความคุ้มครองโรคร้ายแรงที่ทุกคนเลือกได้ เอไอเอ ประเทศไทย ผู้นำในตลาดประกันชีวิต สุขภาพ และโรคร้ายแรง ส่งแคมเปญ “เจอโรคร้าย ตกใจแค่แป๊บเดียว” โดยมาจากความเข้าใจในความต้องการและความรู้สึกของลูกค้าในเวลาที่ตรวจพบว่าเป็นโรคร้ายแบบไม่คาดคิด  ซึ่งมาพร้อมกับความ “ตกใจ” และ “กังวลใจ” ถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และภาระต่าง ๆ ที่ตามมา รวมถึงอนาคตของคนในครอบครัว เพราะปัจจุบันการรักษาพยาบาลโรคร้ายแรงมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เนื่องมาจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ และความซับซ้อนของโรค เอไอเอ จึงมุ่งสนับสนุนให้ทุกคนตระหนักถึงความจำเป็นของการมีความคุ้มครองโรคร้ายแรงที่เพียงพอและเหมาะสม เพื่อให้ชีวิตของทุกคนยังคงดำเนินต่อไปได้แบบไม่สะดุด พร้อมส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ตามคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives’ นอกจากนี้ เอไอเอ ยังได้เปิดตัวหนังโฆษณา “เจอโรคร้าย ตกใจแค่แป๊บเดียว” ผ่านสตอรี่สุดฉีก จับโมเมนต์ร้อง ห๊ะ!!! ในวินาทีแรกเมื่อเจอโรคร้าย เผยความกังวลสุดฮิตให้พรั่งพรู ก่อนรีบคัทฟีลให้คุณสบายใจ…เพื่อบอกคนไทยว่า ความ “ตกใจ” เหล่านั้นจะอยู่กับคุณแค่ “แป๊บเดียว” หากมีประกันโรคร้ายแรงเอไอเอไว้ก่อน โดยสามารถรับชมหนังโฆษณาได้แล้ววันนี้ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งทีวี โรงภาพยนต์ และออนไลน์ของเอไอเอ ประเทศไทย ทั้ง AIA Official Facebook Page, AIA Thailand YouTube Channel และ Line Official Account สามารถคลิกลิงก์ https://youtu.be/mhxIKdZ5ECY เพื่อรับชม พิเศษยิ่งกว่าสำหรับแคมเปญ “เจอโรคร้าย ตกใจแค่แป๊บเดียว” ยังมีโปรโมชันและสิทธิพิเศษให้กับลูกค้าที่สนใจซื้อประกันโรคร้ายแรงตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ธันวาคม 2567  โดยเอไอเอ ได้รวมแพ็กประกันโรคร้ายแรงตัวท็อป ถึง 10 แผนมาให้ลูกค้าได้เลือกให้ตรงกับความต้องการและเหมาะสมกับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น อาทิ ‘AIA CI Plus ประกันโรคร้ายแรง เจอ-จ่าย-จบ’ ที่ให้เงินก้อนไว้ใช้รักษา ‘AIA Multi-Pay CI Plus ประกันโรคร้ายแรง เจอ-จาย-หลายจบ’ ที่ให้เคลมได้รวมสูงสุดถึง 11 ครั้ง และ ‘AIA Care For Cancer ประกันชดเชยรายได้’ สำหรับการรักษาตัวในโรงพยาบาล เนื่องจากป่วยเป็นโรคมะเร็ง ทั้งนี้ ลูกค้ายังมีสิทธิพิเศษมากมาย เมื่อเข้าร่วมแคมเปญ ต่อที่หนึ่ง รับฟรีกระเป๋า AIA X ARTSTORY By Autistic Thai มูลค่า 250 บาท เมื่อมีเบี้ยประกันภัยรวมต่อปีขั้นต่ำ 25,000 บาท* และต่อที่สอง รับเพิ่มบัตรของขวัญ Lotus’s มูลค่า 1,000 บาท เมื่อมีเบี้ยประกันภัยรวมต่อปีขั้นต่ำ 55,000 บาท* และพิเศษถ้าซื้อประกันสุขภาพที่ร่วมโครงการฯ รับเพิ่มบัตรของขวัญ Lotus’s มูลค่าสูงสุด 1,000 บาทอีกด้วย เมื่อมีเบี้ยประกันภัยรวมขั้นต่ำ 25,000 บาท* ซึ่งทุกคนสามารถเข้าร่วมแคมเปญได้ง่าย ๆ เพียงลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ และซื้อประกันโรคร้ายแรงที่เข้าร่วมแคมเปญ** ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ธันวาคม 2567 โดยสามารถศึกษารายละเอียดแคมเปญได้ที่เว็บไซต์ https://www.aia.co.th/th/events-promotions/promotions-rewards/dmtquarterly สนใจสามารถติดต่อตัวแทนเอไอเอ หรือ AIA Call Center 1581
อ่านต่อ...
Banner Banner Banner Banner Banner Banner

Banner
  ทิศทาง ceothailand.net ในปี 2567  “สื่อออนไลน์ CEO THAILAND”   ในปี 2567 จะเป็นปีที่ผม “นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์” จะมาทำหน้าที่บรรณาธิการบริหารสื่อ CEO THAILAND และผู้บริหารสื่อออนไลน์ ceothailand.net อย่างเต็มที่ หลังจากที่ผ่านมาได้ไปเดินแผนงานทางด้านการเมือง แต่หลังจากผ่านพ้นช่วงการเลือกตั้งไปแล้วที่ผ่านมา จึงทำให้ช่วงเวลานี้มีเวลาที่จะมาวางแผนในการเดินหน้าธุรกิจสื่อได้มากขึ้น และในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนับจากนี้ จึงขอเข้ามารับหน้าที่สื่อมวลชน ในการเขียนบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ เรื่องราวในแวดวงเศรษฐกิจ-การเงิน และการประกันภัย ในฐานะของคอลัมนิสต์ ตลอดเวลาที่ผมเข้าไปทำงานทางการเมือง ต้องยอมรับว่าวงการข่าวและสื่อสารมวลชนเปลี่ยนไปเร็ว ตลอดเวลา 5 ปี  สื่อออนไลน์ที่รวดเร็วเข้ามาแทนที่สื่อหลักอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ (ออฟไลน์)  เราต้องยอมรับในเรื่องความรวดเร็ว แต่ต้องไม่ลืมจุดด้อยของสื่อออนไลน์ คือข้อผิดพลาดในการกลั่นกรองข่าวสาร รวมทั้งบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ที่หายไป และข่าวที่ออกมามีความเหมือนกัน  ไม่แตกต่าง และเป็นเชิงภาพข่าว และกิจกรรมเท่านั้น ดังนั้นในปี 2567 นี้  ในหน้าสื่อออนไลน์ CEO THAILAND ท่านผู้อ่านจะได้สัมผัสกับข่าวสารเชิงวิเคราะห์ เจาะลึกแบบออนไลน์ต่อเนื่องในสื่อ CEO THAILAND รวมทั้งการจัดทำเป็น E-Magazine ใน www.ceothailand.net รวมทั้งการจัดทำเป็นรูปเล่มฉบับพิเศษสลับไปบ้างในเรื่องที่สำคัญๆ น่าสนใจ และเป็นประโยชน์กับประชาชนและสังคม ขอขอบพระคุณท่านลูกค้าและผู้สนับสนุนสื่อด้วยดีเสมอมา ตลอดระยะเวลา 19 ปีที่ผ่านมา และขอขอบพระคุณทุกท่าน รวมทั้งผู้อ่านที่ติดตามสื่อ CEO THAILAND ด้วยดีเสมอมาใน www.ceothailand.net   นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา) บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner