Responsive image

Monday, 11 Nov 2024

หน้าแรก > BUSINESS-MARKETING/ธุรกิจ-การตลาด-ขายตรง-SME


เอสซีจี แถลงผลประกอบการไตรมาส 2 และครึ่งแรกของปี 2564 ยังโตต่อเนื่อง คุมเข้มความปลอดภัยสูงสุด มุ่งปรับตัวเร็ว คว้าโอกาสตลาดโลกฟื้น

Fri 06/08/2564


ผลประกอบการเอสซีจีไตรมาส 2 ปี 2564 มีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จากไตรมาสก่อน จากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกส่งผลให้ราคาสินค้าเคมีภัณฑ์ปรับตัวเพิ่มขึ้น และการกระจายสินค้าไปยังตลาดทั้งในและต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยกระดับมาตรการ “Bubble & Seal” สู้โควิดสายพันธุ์เดลต้า คุมเข้มความปลอดภัยของพนักงาน-กระบวนการผลิตขั้นสูงสุด พร้อมเตรียมการ Hospitel และ Home Isolation ให้พนักงาน เพื่อลดภาระสาธารณสุข ขณะที่ธุรกิจมุ่งปรับตัวเร็วให้ทันตลาดเปลี่ยนแปลง ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ออนไลน์ จับเทรนด์ปรับปรุงบ้าน พัฒนานวัตกรรมเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง รุกตลาดเศรษฐกิจหมุนเวียน และเร่งเครื่องขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์ สร้างการเติบโตระยะยาว พร้อมช่วยเหลือคู่ค้าขยายเวลาชำระเงิน ส่งมอบนวัตกรรมป้องกันโควิด เสริมทัพทีมแพทย์ ช่วยชีวิตผู้ป่วย และหนุน SMEs ชุมชน พัฒนาสินค้า-ขายออนไลน์ เพื่อให้รอดวิกฤตไปด้วยกัน   


นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปิดเผยว่า “งบการเงินรวมก่อนสอบทานของเอสซีจี ในไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2564 มีรายได้จากการขาย 133,555 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 39 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักจากราคาขายของสินค้าเคมีภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ตามการปรับตัวของราคาน้ำมันโลก และเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จากไตรมาสก่อน จากผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นของทุกกลุ่มธุรกิจ โดยมีปัจจัยหลักมาจากราคาขายของสินค้าเคมีภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับมีกำลังการผลิตส่วนเพิ่ม ทำให้ปริมาณขายยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งช่วยลดผลกระทบจากปัญหาเรื่องการขนส่ง โดยมีกำไรสำหรับงวด 17,136 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 83 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักจากส่วนต่างราคาสินค้าเคมีภัณฑ์และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมที่เพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จากไตรมาสก่อน จากส่วนต่างราคาสินค้าเคมีภัณฑ์เพิ่มขึ้น

สำหรับผลประกอบการครึ่งปีแรกของปี 2564 เอสซีจีมีรายได้จากการขาย 255,621 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากราคาขายของสินค้าเคมีภัณฑ์ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมีกำไรสำหรับงวด 32,050 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 96 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากส่วนต่างราคาสินค้าเคมีภัณฑ์และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น

ครึ่งปีแรกของปี 2564 เอสซีจีมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม (High Value Added Products & Services – HVA) 86,861 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34 ของรายได้จากการขายรวม ทั้งนี้ ยังมีสัดส่วนของการพัฒนาสินค้าใหม่ (New Products Development – NPD) และ Service Solution เช่น โซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy Solution) โซลูชันบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ (Smart and Functional Solutions) คิดเป็นร้อยละ 15 และ 5 ของรายได้จากการขายรวม ตามลำดับ

นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ รวมการส่งออกจากประเทศไทย ในครึ่งปีแรกของปี 2564 ทั้งสิ้น 112,272 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44 ของยอดขายรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

สินทรัพย์รวมของเอสซีจี ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 มีมูลค่า 812,051 ล้านบาท โดยร้อยละ 39 เป็นสินทรัพย์ในอาเซียน

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 2 และครึ่งปีแรกของปี 2564 แยกตามรายธุรกิจ ดังนี้

ธุรกิจเคมิคอลส์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 มีรายได้จากการขาย 60,740 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 75 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 จากไตรมาสก่อน เนื่องจากราคาขายสินค้าที่เพิ่มขึ้น โดยมีกำไรสำหรับงวด 10,392 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 128 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากส่วนต่างราคาและส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 จากไตรมาสก่อน จากส่วนต่างราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น

สำหรับผลประกอบการครึ่งปีแรกของปี 2564 ธุรกิจเคมิคอลส์ มีรายได้จากการขาย 112,347 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 54 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น โดยมีกำไรสำหรับงวด 19,221 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 203 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากส่วนต่างราคาสินค้าและส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น

ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 มีรายได้จากการขาย 46,416 ล้านบาท  เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จากไตรมาสก่อน เนื่องจากยอดการส่งออกสินค้าไปยังตลาดอาเซียนและตลาดอื่น ๆ นอกอาเซียนเพิ่มขึ้น ประกอบกับความต้องการสินค้าผลิตภัณฑ์ก่อสร้างเพิ่มขึ้นตามงานปรับปรุงและซ่อมแซมภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยมีกำไรสำหรับงวด 2,468  ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 27 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์เป็นจำนวน 699 ล้านบาท ในขณะที่ลดลงร้อยละ 12 จากไตรมาสก่อน

สำหรับผลประกอบการครึ่งปีแรกของปี 2564 ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง มีรายได้จากการขาย 92,601 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีกำไรสำหรับงวด 5,277 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ธุรกิจแพคเกจจิ้ง ในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 มีรายได้จากการขาย 29,895 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการซื้อสินค้าปรับเพิ่มสูงขึ้นในหลายประเทศ ในขณะที่ภาคการส่งออกของอาเซียนปรับตัวดีขึ้นจากการฟื้นตัวของภาคการบริโภคในประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรป และจากการขยายธุรกิจทั้งแบบ M&P (SOVI และ Go-Pak) และการเติบโตจากภายในอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากไตรมาสก่อน โดยมีกำไรสำหรับงวด 2,263 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากไตรมาสก่อน

สำหรับผลประกอบการครึ่งปีแรกของปี 2564 ธุรกิจแพคเกจจิ้ง มีรายได้จากการขาย 57,148 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการขยายธุรกิจทั้งแบบ M&P (SOVI และ Go-Pak) และการเติบโตจากภายใน โดยมีกำไรสำหรับงวด 4,398 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

นายรุ่งโรจน์ กล่าวต่อว่า “สถานการณ์โควิด 19 ทั่วโลกมีความไม่แน่นอนสูงมาก โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนที่เผชิญกับเชื้อกลายพันธุ์เดลต้า จนทำให้มีการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น หลายประเทศจึงบังคับใช้มาตรการคุมเข้มอีกครั้ง เอสซีจี จึงได้ยกระดับความเข้มข้นจากมาตรการ “ไข่แดง ไข่ขาว” ที่แยกพนักงานในสายการผลิตไม่ให้สัมผัสกับกลุ่มพนักงานทั่วไป สู่การทำ “Bubble & Seal” ในโรงงานทั้งในและต่างประเทศ ด้วยการตรวจเชิงรุกอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมพื้นที่ที่มีความเสี่ยง พร้อมจัดที่พักให้ภายในโรงงาน ควบคู่กับแนะนำให้พนักงานที่มีอาการป่วยกักตัวที่บ้านตามคำแนะนำของแพทย์ (Home Isolation) เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อโควิด 19 อีกทั้งได้จัดเตรียมหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) สำหรับพนักงานที่ป่วย เพื่อให้เข้าถึงการรักษาที่ปลอดภัยอย่างรวดเร็วที่สุด จึงทำให้เอสซีจีสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งยังได้ปรับแผนการดำเนินธุรกิจ ทั้งการปรับสัดส่วนการขาย กระจายสินค้าไปยังตลาดที่ได้รับผลกระทบน้อยทั้งในและต่างประเทศ และเน้นการขายผ่านช่องทางออนไลน์ อีกทั้ง ขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์ (Merger & Partnership - M&P) รวมถึงการสร้างความร่วมมือใช้นวัตกรรมเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (High Quality Post-Consumer Recycled Resin – PCR) เปลี่ยนขวดบรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้แล้วจากครัวเรือนหมุนเวียนกลับมาผลิตเป็นขวดบรรจุภัณฑ์ใหม่ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย นับเป็นการเร่งธุรกิจเข้าสู่เทรนด์เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่เติบโตสูง พร้อมรุกเข้าสู่ธุรกิจระบบอัตโนมัติ (Automation System) เพื่อนำเสนอโซลูชันด้านออโตเมชันแก่ลูกค้า ซึ่งจะช่วยพัฒนาขีดความสามารถและยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory 4.0) จึงทำให้ผลประกอบการของเอสซีจีในไตรมาสที่ 2 และครึ่งปีแรกของปี 2564 ยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว  

นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ได้มีมติอนุมัติให้บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (หรือ “เอสซีจี เคมิคอลส์”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ SCC ถือหุ้นทั้งหมดเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนใน PT. Chandra Asri Petrochemical Tbk (หรือ “CAP”) ประเทศอินโดนีเซีย เป็นจำนวนเงิน 434 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือประมาณ 14,260 ล้านบาท) เพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นใน CAP ที่ร้อยละ 30.57 โดยจะนำไปลงทุนในโครงการ Petrochemical Complex แห่งที่ 2 (CAP2) ทั้งนี้ บริษัทเล็งเห็นว่าการลงทุนใน CAP เป็นการลงทุนเชิงกลยุทธ์ เพื่อขยายธุรกิจปิโตรเคมีไปยังประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีตลาดสินค้าปิโตรเคมีที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนและมีอัตราการเติบโตสูง

ขณะเดียวกัน เอสซีจีมีความห่วงใยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ใช้ประสบการณ์ ความรู้ความเชี่ยวชาญช่วยเหลือสังคมมาอย่างต่อเนื่องในทุกด้าน ทั้งเร่งช่วยเหลือคู่ค้า-คู่ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ด้วยการขยายเวลาการชำระเงิน ให้คำปรึกษาเรื่องการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาบริหารจัดการภายในโรงงาน เพื่อให้ธุรกิจดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ร่วมกับคู่ค้าจัดตั้งศูนย์พักคอยสำหรับแยก-กัก-รักษาผู้ป่วยโควิด 19 สนับสนุนเครื่องใช้อุปโภคบริโภคสำหรับช่างภายในแคมป์ก่อสร้างของคู่ค้า รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายย่อยนำสินค้ามาจำหน่ายที่ร้านเอสซีจี โฮม SCGHOME.com และช่องทางของพันธมิตร เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้และช่วยให้รักษาธุรกิจให้คงอยู่ต่อไปได้
 

เอสซีจีได้เร่งพัฒนานวัตกรรมป้องกันโควิด 19 อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่มีการแพร่ระบาดมากขึ้น เกิดวิกฤตขาดแคลนเตียงสนามและห้องไอซียูสำหรับผู้ป่วยหนัก เอสซีจีได้มอบเตียงสนามกระดาษกว่า 60,000 เตียงทั้งในไทยและต่างประเทศ และมอบห้องไอซียูโมดูลาร์ 60 เตียง รวมทั้งห้องผู้ป่วยฉุกเฉินโมดูลาร์ขนาด 10 เตียง เพื่อปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ บรรเทาความเดือดร้อนของผู้ป่วย นอกจากนี้ ยังช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) และชุมชนกว่า 300 ราย ให้สร้างรายได้ พัฒนาอาชีพ แปรรูปสินค้า และเพิ่มช่องทางการขาย ผมขอเชิญชวนทุกท่านช่วยกันสนับสนุนสินค้า SMEs หากพวกเราช่วยเหลือกัน ก็จะนำพาประเทศรอดพ้นวิกฤตครั้งนี้ได้”

ด้านธุรกิจเคมิคอลส์ ยังคงเติบโตและดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องทั้งในไทยและต่างประเทศ จากการใช้กลยุทธ์การปรับสัดส่วนการผลิตและการขายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ อีกทั้งได้เร่งการเข้าสู่ธุรกิจด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เติบโตสูง ให้สอดคล้องกับการดำเนิน “ธุรกิจปิโตรเคมีเพื่อความยั่งยืน” ตามแนวทาง ESG (Environmental, Social, Governance) ผ่านการนำเสนอสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (HVA) และโซลูชันครบวงจรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแก่ผู้บริโภค โดยล่าสุด ธุรกิจได้ร่วมพัฒนาและเปลี่ยนขวดบรรจุภัณฑ์ของยูนิลีเวอร์จากพลาสติกชนิด HDPE เป็นพลาสติก HDPE รีไซเคิล (rHDPE) นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่นำพลาสติกใช้แล้วจากครัวเรือนหมุนเวียนกลับมาผลิตเป็นขวดบรรจุภัณฑ์ใหม่ โดยใช้นวัตกรรมเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (High Quality Post-Consumer Recycled Resin – PCR) ภายใต้แบรนด์ “เอสซีจี กรีน พอลิเมอร์ (SCG Green Polymer™)

ในส่วนของโครงการปิโตรเคมีครบวงจร Long Son Petrochemicals Company Limited (LSP) ที่เวียดนามคืบหน้าตามแผนร้อยละ 83 โดยจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในครึ่งปีแรกของปี 2566

ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ได้รับผลกระทบจากความต้องการของตลาดที่ชะลอตัวลงจากมาตรการปิดเมือง ธุรกิจจึงปรับกลยุทธ์ด้วยการกระจายสินค้าไปยังตลาดที่ได้รับผลกระทบน้อยทั้งในและต่างประเทศ และเน้นการขายผ่านช่องทางออนไลน์ SCGHOME.com มากขึ้น อีกทั้งมุ่งนำเสนอสินค้า บริการ และโซลูชัน ที่มีมูลค่าเพิ่ม ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในการปรับปรุงที่อยู่อาศัย และตอบรับเทรนด์ด้านสุขอนามัยและความใส่ใจสิ่งแวดล้อมที่มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยธุรกิจยังคงให้ความสำคัญกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมตามแนวทาง Industry 4.0 เพื่อควบคุมต้นทุน ลดการใช้ทรัพยากร และสร้างการเติบโตในระยะยาว

ธุรกิจแพคเกจจิ้ง ยังคงดำเนินงานตามแผนสร้างการเติบโตต่อเนื่อง ด้วยกลยุทธ์การกระจายฐานลูกค้าในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพิ่มพอร์ตบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม กระบวนการทำงาน และโมเดลธุรกิจ การบริหารจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ การขยายกำลังการผลิต และ Merger & Partnership (M&P) อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ Duy Tan Plastics Manufacturing Corporation (Duy Tan) เพื่อขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบคงรูปในเวียดนาม และอยู่ระหว่างการเจรจาเข้าลงทุนใน 2 บริษัท ซึ่งคาดว่าจะสำเร็จภายในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ได้แก่ Intan Group เพื่อขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์กระดาษในอินโดนีเซีย และ Deltalab, S.L. ในประเทศสเปน เพื่อเสริมศักยภาพของธุรกิจด้านวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตอบสนองเมกะเทรนด์การดูแลรักษาสุขภาพ

ในช่วงที่ผ่านมา ธุรกิจได้ยกระดับมาตรการ BCM ทั้งบริษัทในไทยและต่างประเทศให้เข้มข้นยิ่งขึ้น ด้วยการบังคับใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทั้งในกระบวนการจัดหาวัตถุดิบ กระบวนการผลิตและการขนส่ง รวมถึงการปรับแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เช่น ปรับปรุงแผนการผลิตและขนส่งสินค้า รวมถึงการบริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถส่งมอบบรรจุภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าได้ทันต่อความต้องการ

ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทอนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกของปี 2564 ในอัตรา 8.5 บาทต่อหุ้น เป็นเงิน 10,200 ล้านบาท โดยกำหนดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในวันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2564 กำหนดผู้ที่ไม่มีสิทธิรับเงินปันผล (XD) ในวันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม 2564 และกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิรับเงินปันผล (Record date) ในวันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม 2564” นายรุ่งโรจน์ กล่าวสรุป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Tags : เอสซีจี SCG โควิด-19 COVID-19 รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส ผลประกอบการเอสซีจีปี2564


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการ SMEs และลูกค้ารายย่อย หรือผู้ประกอบการอิสระที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยที่ผ่านมา สามารถยื่นขอกู้ในโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost Up ได้ที่ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ อาทิ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และสถาบันการเงินอื่น ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งสิ้น 16 แห่ง โดยทุกสถาบันการเงินได้ร่วมกันขยายความช่วยเหลือแก่ภาคธุรกิจเป็นวงกว้างและทั่วถึงมากที่สุด ผ่านการให้สินเชื่อครอบคลุมผู้ประกอบการ SMEs และรายย่อย ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำไม่เกิน 3.5% ต่อปี ใน 2 ปีแรก สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ให้กู้เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินถาวร หรือเสริมสภาพคล่องในการดำเนินกิจการ ที่ไม่ใช่การรีไฟแนนซ์ ยื่นกู้ได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึง วันที่ 30 ธันวาคม 2568 สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ลูกค้ารายย่อย หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ประสบอุทกภัย ให้กู้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและเสริมสภาพคล่องในการฟื้นฟูการดำเนินกิจการ ยื่นกู้ได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึง วันที่ 30 ธันวาคม 2567 นี้เท่านั้น อนึ่ง โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost Up เป็นการดำเนินตามนโยบายรัฐบาล เพื่อสนับสนุนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้แก่ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ นำไปปล่อยสินเชื่อต่อให้กับผู้ประกอบการ โดยให้กู้ตามความจำเป็นและความสามารถในการชำระหนี้ กำหนดวงเงินกู้สูงสุดรวมทุกสถาบันการเงินไม่เกิน 40 ล้านบาทต่อราย วงเงินกู้รวมในโครงการ 100,000 ล้านบาท เพื่อช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเติบโตไปอย่างยั่งยืน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารออมสินและสถาบันการเงินทุกแห่งที่ร่วมโครงการ

08 Nov 2024

...

  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดกิจกรรมพิเศษ ในโอกาสครบรอบวันสถาปนา ธ.ก.ส. ปีที่ 59 เพื่อเพิ่มโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อสินค้าเกษตรกรได้มากขึ้น พร้อมกับร่วมเป็นกำลังใจให้แก่เกษตรกรวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ SME ในการผลิตสินค้าคุณภาพเพื่อต่อยอดโอกาสทางธุรกิจของภาคเกษตรไทยไปสู่สากล โดยมอบโค้ด “BAAC59” สำหรับเป็นส่วนลดพิเศษจำนวน 590 บาท เมื่อสั่งซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์จากเกษตรกรลูกค้าของ ธ.ก.ส. บนเว็บไซต์ thailandpostmart.com รวมขั้นต่ำ 1,000 บาท โดย 1 บัญชี ผู้ซื้อที่ลงทะเบียนเข้าใช้บริการทางเว็บไซต์ดังกล่าว สามารถใช้โค้ดส่วนลดได้ 1 ครั้ง จำกัดสำหรับ 59 สิทธิ์ท่านแรกที่ใช้  ส่วนลด ระหว่าง 1-30 พฤศจิกายนนี้เท่านั้น ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center  02 555 0555     

04 Nov 2024

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน รับ 3 รางวัลสุดยอดซีอีโอ “CEO Econmass Awards 2024” จากนางสาวเเพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประธานมอบรางวัลสุดยอดซีอีโอ “CEO Econmass Awards 2024” ซึ่งสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 3   โดยรางวัลที่ได้รับ ประกอบด้วย รางวัลสุดยอดซีอีโอรัฐวิสาหกิจ สาขา Social และสาขา Governance และรางวัลสุดยอดซีอีโอขวัญใจสื่อมวลชน (Popular Vote) ด้วยนายวิทัยเป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กรรัฐวิสาหกิจที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในการขับเคลื่อนธนาคารออมสินด้วยยุทธศาสตร์ธนาคารเพื่อสังคม สร้าง Social Impact อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยหลักธรรมาภิบาลในการนำองค์กร ทั้งนี้ รางวัล CEO Econmass Awards 2024 เป็นรางวัลที่ยกย่อง เชิดชูเกียรติผู้บริหารที่นำพาองค์กรจนประสบความสำเร็จ และเติบโตไปพร้อมกับการให้ความสำคัญกับความอย่างยั่งยืน ตามแนวทาง ESG     ตลอดจนเป็นส่วนสำคัญที่จะเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศ และช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคง ซึ่งผ่านกระบวนการคัดเลือกตามหลักวิชาการที่เป็นมาตรฐานสากล จากคณะกรรมการคัดเลือกที่มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญ เป็นตัวแทนจาก กกร. สคร. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน ส่วนรางวัลสุดยอดซีอีโอขวัญใจสื่อมวลชน เป็นการโหวตโดยสมาชิกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ โดยมีผู้บริหารธนาคารออมสินร่วมแสดงความยินดี ณ โรงละครอักษรา คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2567  

03 Nov 2024

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งรัดการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนในการช่วยเหลือประชาชนลดภาระหนี้ โดยเฉพาะผู้มีหนี้ที่เป็นกลุ่มเปราะบาง จึงมอบหมายให้ธนาคารออมสินช่วยเหลือลูกหนี้โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่มีสถานะเป็นหนี้เสีย หรือ NPLs เพื่อไม่ให้เสียประวัติเครดิต และเข้าถึงการกู้เงินในระบบสถาบันการเงินได้เป็นปกติ ซึ่งที่ผ่านมาได้ทยอยจัดสรรงบประมาณชดเชยค่าเสียหายจากหนี้เสียให้ธนาคารมาชำระหนี้แทนลูกหนี้ โดยในปี 2567 ดำเนินการชำระหนี้แทนลูกหนี้แล้ว 2 ครั้ง ช่วยปลดหนี้ให้ลูกหนี้จำนวนกว่า 720,000 ราย และล่าสุด ธนาคารได้รับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมจากรัฐบาล จึงดำเนินการชำระหนี้และปิดบัญชีให้ลูกหนี้เพิ่มเติมทันที อีกกว่า 110,000 ราย รวมดำเนินการทั้งสิ้น 3 ครั้ง สามารถปลดหนี้ให้ลูกหนี้ได้แล้วกว่า 830,000 ราย คิดเป็นมูลค่าเงินต้นรวมกว่า 5,800 ล้านบาท ทั้งนี้ ขอขอบคุณรัฐบาลที่ได้สนับสนุนงบประมาณให้ดำเนินการดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและกระทรวงการคลังที่ให้ธนาคารออมสินดำเนินงานโดยไม่เน้นกำไรสูงสุด มีกำไรในระดับที่เหมาะสม (Responsible Profit) และขยายการช่วยเหลือสังคมได้มากขึ้นในทุกมิติ อนึ่ง มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สถานะ NPLs ของโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ซึ่งเป็นการช่วยเหลือที่ดำเนินการเพียงครั้งเดียวเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เสียวินัยทางการเงิน โดยรัฐบาลมีนโยบายผลักดันการแก้ปัญหาหนี้ประชาชนทุกกลุ่มให้ประสบความสำเร็จและยั่งยืนเป็นวาระแห่งชาติ  

30 Oct 2024

Banner Banner Banner Banner

Banner
  ทิศทาง ceothailand.net ในปี 2567  “สื่อออนไลน์ CEO THAILAND”   ในปี 2567 จะเป็นปีที่ผม “นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์” จะมาทำหน้าที่บรรณาธิการบริหารสื่อ CEO THAILAND และผู้บริหารสื่อออนไลน์ ceothailand.net อย่างเต็มที่ หลังจากที่ผ่านมาได้ไปเดินแผนงานทางด้านการเมือง แต่หลังจากผ่านพ้นช่วงการเลือกตั้งไปแล้วที่ผ่านมา จึงทำให้ช่วงเวลานี้มีเวลาที่จะมาวางแผนในการเดินหน้าธุรกิจสื่อได้มากขึ้น และในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนับจากนี้ จึงขอเข้ามารับหน้าที่สื่อมวลชน ในการเขียนบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ เรื่องราวในแวดวงเศรษฐกิจ-การเงิน และการประกันภัย ในฐานะของคอลัมนิสต์ ตลอดเวลาที่ผมเข้าไปทำงานทางการเมือง ต้องยอมรับว่าวงการข่าวและสื่อสารมวลชนเปลี่ยนไปเร็ว ตลอดเวลา 5 ปี  สื่อออนไลน์ที่รวดเร็วเข้ามาแทนที่สื่อหลักอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ (ออฟไลน์)  เราต้องยอมรับในเรื่องความรวดเร็ว แต่ต้องไม่ลืมจุดด้อยของสื่อออนไลน์ คือข้อผิดพลาดในการกลั่นกรองข่าวสาร รวมทั้งบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ที่หายไป และข่าวที่ออกมามีความเหมือนกัน  ไม่แตกต่าง และเป็นเชิงภาพข่าว และกิจกรรมเท่านั้น ดังนั้นในปี 2567 นี้  ในหน้าสื่อออนไลน์ CEO THAILAND ท่านผู้อ่านจะได้สัมผัสกับข่าวสารเชิงวิเคราะห์ เจาะลึกแบบออนไลน์ต่อเนื่องในสื่อ CEO THAILAND รวมทั้งการจัดทำเป็น E-Magazine ใน www.ceothailand.net รวมทั้งการจัดทำเป็นรูปเล่มฉบับพิเศษสลับไปบ้างในเรื่องที่สำคัญๆ น่าสนใจ และเป็นประโยชน์กับประชาชนและสังคม ขอขอบพระคุณท่านลูกค้าและผู้สนับสนุนสื่อด้วยดีเสมอมา ตลอดระยะเวลา 19 ปีที่ผ่านมา และขอขอบพระคุณทุกท่าน รวมทั้งผู้อ่านที่ติดตามสื่อ CEO THAILAND ด้วยดีเสมอมาใน www.ceothailand.net   นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา) บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner