Responsive image

Friday, 26 Apr 2024

หน้าแรก > ECONOMY-FINANCE / เศรษฐกิจ-การเงิน


เคทีซีเผยแนวทางช่วยเหลือสังคมรับวิถีโควิด-19 ปรับตัวใช้ช่องทางออนไลน์ พร้อมผนึกความร่วมมือกับสมาชิกและ 60 องค์กรการกุศล

Fri 27/08/2564


เคทีซีปรับแผนธุรกิจหมวดบริจาครับวิถีใหม่ วางตัวเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกบัตรเครดิต   เคทีซีและพันธมิตรองค์กรการกุศลกว่า 60 แห่ง เพื่อร่วมกันช่วยเหลือสังคมในหลากหลายมิติ พร้อมเร่งพัฒนาแพลตฟอร์มช่องทางการบริจาค ออฟไลน์ ออนไลน์ และโมบายแอปพลิเคชั่น “KTC Mobile” ล่าสุดเปิดรับบริจาคด้วยบัตรเครดิตผ่าน QR Pay และแลกคะแนนผ่าน QR Point ทางแอปฯ KTC Mobile เพื่อให้สมาชิกเข้าถึงการบริจาคได้ง่ายและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น หลีกเลี่ยงการเดินทางและลดการแพร่ระบาดจากไวรัสโควิด-19”

นางสาวสิรีรัตน์ คอวนิช ผู้อำนวยการ – ธุรกิจบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เคทีซีเข้าใจและตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยหวังว่าจะมีส่วนช่วยสร้างสังคมให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยได้ดำเนินการช่วยเหลือสังคมในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการร่วมเป็นจิตอาสา หรือการสบทบทุนในโครงการต่างๆ ซึ่งตลอด 15 ปีที่ผ่านมา เคทีซีได้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์สนับสนุนโครงการและกิจกรรมต่างๆ ระหว่างมูลนิธิกับสมาชิก พร้อมทั้งเปิดช่องทางรับบริจาคผ่านบัตรเครดิตให้กับสมาชิกเคทีซี เพื่อส่งต่อให้กับมูลนิธิหรือองค์กรการกุศลต่างๆ กว่า 60 แห่ง โดยปี 2563 มียอดบริจาคผ่านบัตรเครดิตเคทีซีด้วยคะแนน KTC FOREVER กว่า 50 ล้านคะแนน ยอดเงินบริจาครวม 300 ล้านบาท”

“สำหรับสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ที่รุนแรงและขยายวงกว้างขณะนี้ ภารกิจสำคัญที่สุดที่เคทีซีต้องดำเนินการ คือให้ความร่วมมือกับมูลนิธิต่างๆ ด้วยความกระตือรือร้นและรวดเร็ว เพื่อให้เข้าถึงผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในหลากหลายรูปแบบได้อย่างทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยติดเชื้อ ผู้กักกันตน โรงพยาบาลที่ขาดแคลนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือการสร้างศูนย์พักคอยรองรับผู้ป่วยสีเขียวในต่างจังหวัด โดยถือเป็นภาระเร่งด่วนที่สุดในการประสานกับมูลนิธิต่างๆ  ที่เกี่ยวข้อง และเปิดช่องทางให้สมาชิกเคทีซีสามารถเข้าถึง เพื่อเสริมแรงสนับสนุน และช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบครั้งนี้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม”

ดร. บรรจงเศก ทรัพย์โสภา ผู้อำนวยการมูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. เพื่อเด็กและเยาวชนฯ กล่าวว่า “มูลนิธิได้ทำงานช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในประเทศไทยมา 64 ปี ใน 3 รูปแบบ  คือ 1. พัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี  2. พัฒนาเด็กและเยาวชนในชุมชนให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพเพื่อเป็นอนาคตของประเทศ 3. เน้นทำงานควบคู่กับเครือข่ายภาคี เช่น เคทีซี ภาครัฐและเอกชน รวมถึงองค์กรการกุศล 4. ปรับการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เช่น โควิด-19”

“ผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้มูลนิธิต้องปรับตัวหลายด้าน ทั้งการทำงานที่ต้องปรับเปลี่ยนจากรูปแบบเดิมมาใช้รูปแบบออนไลน์มากขึ้น เช่น การเยี่ยมเด็ก และการทำกิจกรรมร่วมกับผู้นำชุมชน หรือโรงเรียน เพื่อรักษาระยะห่าง ที่ผ่านมามูลนิธิได้รับความช่วยเหลือจากสมาชิกเคทีซีค่อนข้างมาก ในรูปแบบของเงินบริจาคผ่านบัตรเครดิต และการบริจาคผ่านการแลกคะแนน และในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 นี้ มูลนิธิฯ อยากผลักดันการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายต่างๆ และอาสาสมัครเพื่อร่วมกันบรรเทาผลกระทบของการแพร่ระบาดครั้งนี้ มูลนิธิฯ ซี.ซี.เอฟ. ฯ ได้จัดตั้งศูนย์พักคอยชุมชนและแยกกักกันในต่างจังหวัดเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นมาก เพราะส่วนใหญ่ศูนย์พักคอยมักจะอยู่ในเขตกรุงเทพฯ หรือในเขตเมือง ปัจจุบันเรามีศูนย์ฯ ที่สนับสนุนอยู่ในต่างจังหวัดทั้งหมด 37 แห่ง และกำลังจะสนับสนุนเพิ่ม 16 แห่ง แต่ยังขาดแคลนด้าน เวชภัณฑ์ อาหาร และสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยมาก”

นายขรรค์ ประจวบเหมาะ ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย กล่าวว่า “สภากาชาดไทยเป็นองค์กรสาธารณกุศล เพื่อบรรเทาทุกข์ช่วยเหลือประชาชนผู้ตกทุกข์ได้ยากในสังคม ซึ่งจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 สภากาชาดไทยก็ได้รับผลกระทบในหลายด้านเช่นกัน ได้แก่ 1.บริการทางการแพทย์ บุคลากรและอุปกรณ์การแพทย์ไม่เพียงพอ กับจำนวนผู้ป่วยที่ต้องการเข้ามารักษาอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มสูงขึ้น 2. บริการโลหิต เกิดภาวะวิกฤตประชาชนไม่มั่นใจที่จะมาบริจาคเพราะห่วงความปลอดภัย 3. การหารายได้เข้ามูลนิธิ เพื่อใช้บริหารความช่วยเหลือไม่เป็นไปตามแผน เนื่องจากประชาชนมีกําลังในการบริจาคลดลง ซึ่งการที่เคทีซีเป็นพันธมิตรในการเผยแพร่ข่าวสารและจัดแคมเปญต่างๆ เพื่อเพิ่มยอดรับบริจาคผ่านช่องทางของเคทีซี ถือเป็นการขยายโอกาสให้ผู้คนสามารถเข้าถึงการแบ่งปันและการช่วยเหลืออย่างมาก ซึ่งรายได้จากการบริจาคจะนําไปใช้ช่วยเหลือประชาชนตามภารกิจต่างๆ ทั้งการรักษาพยาบาล บรรเทาทุกข์ ผู้ประสบภัย บริการโลหิต และการส่งเสริมคุณภาพชีวิต รวมไปถึงสถานการณ์เร่งด่วนในขณะนี้คือ การช่วยเหลือและเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19”

“ปัจจุบันสภากาชาดไทยยังมีโครงการจัดครัวเคลื่อนที่ ทําอาหารปรุงสุกให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 การแจกชุดธารน้ำใจให้ผู้กักตน ผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ผู้ติดเชื้อโควิด และดูแลรักษาผู้ติดเชื้อโควิดของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมถึง Hospitel และ Home Isolation เฉลี่ยวันละ 800-900 ราย รวมถึงสร้างหอผู้ป่วยสนามเร่งด่วนและจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยโควิด ทั้งนี้สมาชิกเคทีซีสามารถร่วมบริจาคด้วยการแลกคะแนนสะสมเป็นเงินบริจาค นอกเหนือจากการบริจาคด้วยบัตรเครดิต เพื่อร่วมสมทบทุนเข้าโครงการต่างๆ ของสภากาชาดไทย โดยสามารถติดตามข่าวสารของสภากาชาดไทยผ่านเคทีซีในทุกๆ ช่องทางได้อีกด้วย”

นางสาวจุฑารัตน์ วิบูลสมัย ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาแหล่งทุน มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม กล่าวว่า “มูลนิธิเป็นองค์กรการกุศลทางการแพทย์ที่ไม่แสวงหาผลกำไร ก่อตั้งที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในพ.ศ. 2525 และก่อตั้งในไทยเมื่อพ.ศ. 2540 มีภารกิจหลักในการช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ รวมถึงแผลจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก นิ้วติด นิ้วเกิน หรือใบหน้าที่ผิดรูป โดยมูลนิธิได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับเคทีซี ในการรับบริจาคผ่านบัตรเครดิตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่พ.ศ. 2557 รวมทั้งพนักงานเคทีซียังได้ร่วมเป็นจิตอาสาประกอบแฟ้มผู้ป่วย เพื่อใช้เก็บประวัติข้อมูลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ที่จะเข้ารับการผ่าตัด” 

“ในช่วงสถานการณ์โควิดทำให้มูลนิธิไม่สามารถปฏิบัติการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้การผ่าตัดที่ต่างจังหวัดได้ ซึ่งโดยปกติปีหนึ่งจะมีการวางแผนออกหน่วย 4 ครั้งต่อปี ใน 4 จังหวัด ครั้งหนึ่งประมาณ 7 วัน โดยไปทำการผ่าตัดให้ผู้ป่วยเด็กเฉลี่ย 80 - 100 คน อย่างไรก็ตาม มูลนิธิฯ ยังดำเนินการ “โครงการผ่าตัดแบบต่อเนื่อง” โดยให้งบสนับสนุนกับโรงพยาบาลในจังหวัดต่างๆ ที่มีศัลยแพทย์ จึงยังคงสามารถผ่าตัดผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ได้ต่อเนื่อง ซึ่งการรักษาเด็กที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ต้องได้รับการผ่าตัดมากกว่า 1 ครั้ง บางคนต้องผ่าตัด 3 - 5 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีโครงการ “Smile Box” กล่องแห่งรอยยิ้ม ซึ่งบรรจุผ้าอ้อมเด็ก นมผง หน้ากากอนามัย อุปกรณ์การเรียน แผ่นพับที่ให้ความรู้ในการดูแลเด็ก และขวดนมที่มีลักษณะยาวพิเศษสำหรับเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ เพื่อส่งให้กับผู้ป่วยเด็กที่เราเคยผ่าตัดไปแล้ว กับผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการผ่าตัด โดยส่งไปแล้วประมาณ 200 กล่อง และสำหรับแผนงานในปีหน้า เมื่อสถานการณ์โควิดดีขึ้น ทางมูลนิธิหวังว่าจะสามารถออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ผ่าตัดที่ต่างจังหวัดได้ตามเดิม”

นางสาวอรุณี อัชชะกุลวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการแผนกส่งเสริมความร่วมมือภาคเอกชน UNHCR กล่าวว่า “สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติก่อตั้งมายาวนานถึง 70 ปี โดยมีบทบาทให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่มีเหตุการณ์ในประเทศ เช่น สงคราม หรือความขัดแย้งทำให้ไม่สามารถอยู่ในประเทศตนเองได้ ซึ่งตอนนี้มีจำนวนถึง 82.4 ล้านคนทั่วโลก ปัจจุบันเราทำงานใน 135 ประเทศ และร่วมงานกับประเทศไทยมานาน 46 ปี”

“ไวรัสโควิด-19 พิสูจน์แล้วว่าไวรัสไม่ได้แบ่งเชื้อชาติ ศาสนา หรือกลุ่มคน กลุ่มผู้ลี้ภัยก็มีการแพร่ระบาดของไวรัสเช่นกัน และอยู่ในความเสี่ยงสูงมากจากข้อจำกัดต่างๆ UNHCR ได้ระดมกำลังเพื่อเข้าช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและบุคคลในความห่วงใยทั้งในและนอกค่ายทั่วโลกให้ได้รับความเท่าเทียม โดยไม่เลือกปฏิบัติ เพิ่มจุดแจกจ่ายน้ำให้มากขึ้น จุดล้างมือ จุดแจกจ่ายสบู่ หรือหน้ากากอนามัย และสิ่งสำคัญที่สุดคือ การอบรมให้ทราบถึงการเว้นระยะห่าง การรักษาพยาบาลเพิ่มเติม กรณีมีเคสผู้ป่วย กลุ่มแพทย์และพยาบาลต้องรับรู้เคสและสามารถรักษาผู้ป่วยเหล่านี้ รวมทั้งสร้างพื้นที่ในการคัดแยกผู้ป่วยอีกด้วย”

 “ความช่วยเหลือจากทุกๆ ฝ่ายเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับ UNHCR มีผู้บริจาคที่มีคุณภาพผ่านบัตรเครดิตแบบต่อเนื่องค่อนข้างมาก จากสถิติผู้ลี้ภัยตกอยู่ในสถานะนี้โดยเฉลี่ยถึง 17 ปี ดังนั้นการบริจาคต่อเนื่องจะช่วยให้เรามีงบประมาณในการช่วยชีวิตผู้ลี้ภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเรามุ่งเน้นช่วยกลุ่มที่เปราะบางเพราะ 80% ของผู้ลี้ภัยคือ ผู้หญิงและเด็ก ช่องทางการบริจาคผ่านบัตรเครดิตเคทีซีเป็นวิธีที่ง่าย แต่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน ในอนาคตจะมีโครงการมอบทุนให้กับผู้ลี้ภัยทั่วโลก เพราะผู้ลี้ภัยเพียง 3% ที่ได้รับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย รวมถึงวิกฤติด้านมนุษยธรรมล่าสุดในอัฟกานิสถาน เราจึงอยากมอบโอกาสและอนาคตที่ดีให้กับผู้ลี้ภัยด้วยกัน”

นางสาวสิรีรัตน์ คอวนิช ผู้อำนวยการ – ธุรกิจบัตรเครดิต “เคทีซี” กล่าวทิ้งท้าย “ยุคที่ต้องเว้นระยะห่างและหลีกเลี่ยงการเดินทาง เพื่อลดการติดเชื้อโควิด-19 นั้น เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มูลนิธิและองค์กรการกุศลต่างๆ ต้องเผชิญกับภาวะที่ได้รับการสนับสนุนจากสังคมลดน้อยลง ดังนั้นเคทีซีจึงตั้งใจพัฒนาแพลตฟอร์มช่องทางการบริจาค ทั้งออฟไลน์ ออนไลน์ และโมบายแอปพลิเคชั่น โดยล่าสุดได้พัฒนาช่องทางออนไลน์ ด้วยฟังก์ชันการบริจาคผ่านบัตรเครดิตด้วย QR Pay การบริจาคด้วยคะแนนผ่าน QR Point โดยแลกคะแนนผ่านแอปฯ “KTC Mobile” เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับสมาชิกเคทีซีสามารถมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคมได้ง่ายขึ้น”


Tags : เคทีซี KTC โควิด-19 COVID-19 บัตรกรุงไทย สิรีรัตน์ คอวนิช


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

ตามที่รัฐบาลภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีนโยบายเร่งรัดการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน และได้สั่งการให้ธนาคารออมสินหาแนวทางในการช่วยเหลือประชาชนลดภาระการผ่อนชำระหนี้ที่มีอยู่เดิม โดยเฉพาะผู้มีหนี้ที่เป็นกลุ่มเปราะบาง ตลอดจนผู้ที่ประสบปัญหาสภาพคล่องอันเป็นผลกระทบจากปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ดังนั้น เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายรัฐ และสอดรับกับบทบาทธนาคารเพื่อสังคม ธนาคารจึงพิจารณาออกมาตรการรีไฟแนนซ์ ภายใต้โครงการ “สินเชื่อออมสินรีไฟแนนซ์เพื่อสังคม” รับรีไฟแนนซ์หนี้เดิม (ไม่ใช่การปล่อยสินเชื่อใหม่) เพื่อช่วยลดภาระแก่ลูกหนี้ 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) ลูกหนี้บัตรเครดิต 2) ลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล หรือ Personal Loan (P-Loan) 3) ลูกหนี้สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ (Nano Finance) 4) ลูกหนี้สินเชื่อบ้าน ซึ่งการเปิดให้รีไฟแนนซ์สินเชื่อด้วยหลักเกณฑ์ดอกเบี้ยต่ำ พร้อมเงื่อนไขพิเศษอื่นครั้งนี้ ตั้งเป้าช่วยเหลือประชาชนลดภาระการชำระหนี้ ผ่อนสบายมากขึ้น หรือผู้ที่รีไฟแนนซ์แล้วแต่ประสงค์ผ่อนชำระเงินงวดเท่าเดิม ก็จะตัดเงินต้นมากขึ้นเพราะดอกเบี้ยลดลง ทำให้ปิดหนี้ได้เร็วขึ้น โดยมีรายละเอียดหลักเกณฑ์ทั้ง 4 มาตรการ ดังนี้    1. Re-Card : รับรีไฟแนนซ์สำหรับลูกหนี้บัตรเครดิต ที่ต้องการกู้เงินเพื่อไปชำระหนี้บัตรเครดิตของสถาบันการเงิน หรือ Non-Bank อื่น โดยการรีไฟแนนซ์/รวมหนี้บัตรเครดิตมาผ่อนชำระกับธนาคารออมสินในรูปแบบเงินกู้ระยะยาว (Long Term Loan) ช่วยลดภาระดอกเบี้ยจากเดิม 16% ต่อปี ลงเหลือ 8.99% ต่อปี (อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น) วงเงินกู้ไม่เกิน    5 เท่าของรายได้รวม สูงสุดไม่เกินรายละ 500,000 บาท และไม่ต้องมีหลักประกัน ซึ่งการรีไฟแนนซ์จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ลูกหนี้ ยกตัวอย่างกรณีเป็นหนี้บัตรเครดิต 100,000 บาท ปัจจุบันต้องจ่ายดอกเบี้ย 16% ต่อปี และผ่อนชำระขั้นต่ำ 8% ซึ่งเท่ากับ 8,000 บาทต่อเดือน เมื่อรีไฟแนนซ์มาเป็นเงินกู้ระยะยาว ธนาคารให้ผ่อนชำระได้สูงสุดไม่เกิน 7 ปี ที่อัตราดอกเบี้ย 8.99% ต่อปี ทำให้ลดเงินงวดเหลือ 1,700 บาทต่อเดือนเท่านั้น     2. Re P-Loan : รับรีไฟแนนซ์สำหรับลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล (Personal Loan : P-Loan) ที่ต้องการกู้เงินเพื่อไปชำระหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล P-Loan ของสถาบันการเงิน หรือ Non-Bank อื่น ซึ่งเมื่อรีไฟแนนซ์/รวมหนี้มาผ่อนชำระกับธนาคาร จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยจากเดิมประมาณ 25% ต่อปี ลงเหลือ 15% ต่อปี วงเงินให้กู้ตามภาระหนี้คงเหลือของสัญญากู้เดิม สูงสุดไม่เกินรายละ 100,000 บาท และไม่ต้องมีหลักประกัน ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 5 ปี 3. Re-Nano : รับรีไฟแนนซ์สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อย ที่ต้องการปลดหนี้สินเชื่อ Nano Finance ที่กู้ไปเพื่อลงทุนในการประกอบอาชีพ ซึ่งเมื่อรีไฟแนนซ์/รวมหนี้มาผ่อนชำระกับธนาคาร จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยจากเดิม 33% ต่อปี ลงเหลือ 18% ต่อปี วงเงินให้กู้ตามภาระหนี้คงเหลือของสัญญากู้เดิม สูงสุดไม่เกินรายละ 200,000 บาท ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 8 ปี โดยธนาคารออมสินร่วมกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ในการค้ำประกันการกู้ 4. Re-Home : รับรีไฟแนนซ์สำหรับลูกหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัย ที่ต้องการกู้เงินเพื่อไถ่ถอนจำนองที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินอื่น วงเงินกู้ 1-5 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรีไฟแนนซ์มาผ่อนชำระกับธนาคาร จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมที่ประมาณ 6 - 7% ต่อปี ลงเหลือ 1.95% ในปีที่ 1 (ปีที่ 2 = 2.95% ปีที่ 3 = 3.95%) คิดเป็นอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกอยู่ที่ 2.95% ต่อปี พร้อมเงื่อนไขผ่อนต่ำ ปีที่ 1 ผ่อนชำระเงินงวดล้านละ 3,000 บาท/เดือน ปีที่ 2 ล้านละ 4,000 บาท/เดือน และปีที่ 3 ล้านละ 5,000 บาท/เดือน อนึ่ง ธนาคารสนับสนุนนโยบายรัฐในการแก้ปัญหาหนี้สินครัวเรือนของประชาชน ให้สามารถมีเงินเหลือใช้สอยดำรงชีพโดยไม่ต้องพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบ รวมถึงส่งเสริมการปลูกฝังทัศนคติการกู้เงินเท่าที่จำเป็นและผ่อนไหว ทั้งนี้ มาตรการสินเชื่อรีไฟแนนซ์ “โครงการสินเชื่อออมสินรีไฟแนนซ์เพื่อสังคม” เพื่อแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน เปิดให้ยื่นขอกู้ได้ที่ธนาคารออมสินทุกสาขา ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 และจัดทำนิติกรรมสัญญาภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2567  

21 Apr 2024

...

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย Prime Rate 0.15% ต่อปี จาก 6.75% เหลือ 6.60% ต่อปี (อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ EXIM BANK ใช้สำหรับลูกค้าทั่วไปและลูกค้า SMEs เทียบเท่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี หรือ MRR ของธนาคารพาณิชย์) นับเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดีที่ต่ำที่สุดในระบบ เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ไทยในเทศกาลสงกรานต์นี้ให้แก่ผู้ประกอบการ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ย Prime Rate ในครั้งนี้เป็นการขานรับนโยบายของรัฐบาลในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยลดภาระให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจของ EXIM BANK ในการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้มีสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ บรรเทาภาระหนี้และต้นทุนทางธุรกิจ และสามารถปรับตัวให้แข่งขันในเวทีโลกได้อย่างยั่งยืนในสภาวะที่เศรษฐกิจไทยเติบโตในอัตราที่ช้าลง ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินยังอยู่ในระดับสูง  

13 Apr 2024

...

กบข. ร่วมกับทิพยประกันภัย มอบประกันอุบัติเหตุ และประกันบ้านปลอดภัย ให้สมาชิก กบข. เที่ยวสงกรานต์อย่างอุ่นใจ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และไม่จำกัดสิทธิ์ ให้ความคุ้มครองนาน 30 วัน   นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)  เปิดเผยว่า กบข. ห่วงใยสมาชิกช่วงเทศกาลสงกรานต์ จึงร่วมกับ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) มอบสิทธิพิเศษ “ประกันภัยอุบัติเหตุ” และ “ประกันภัยบ้าน” ให้แก่สมาชิก โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และไม่จำกัดสิทธิ์ เพื่อให้สมาชิกอุ่นใจ ไม่มีความกังวลปัญหาเรื่องบ้านและความปลอดภัย เมื่อเดินทางท่องเที่ยว หรือกลับภูมิลำเนาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยสิทธิพิเศษ สมาชิก กบข. รับฟรีประกันภัยอุบัติเหตุ วงเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท จะให้ความคุ้มครองสำหรับความสูญเสียหรือเสียหายของร่างกาย อันเกิดจากความบาดเจ็บซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอกร่างกายของผู้เอาประกันภัยโดยอุบัติเหตุตลอด 24 ชั่วโมง ให้ความคุ้มครองนาน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ลงทะเบียนรับสิทธิ์ และสิทธิพิเศษ สมาชิก กบข. รับฟรีประกันภัยสงกรานต์สุขใจบ้านปลอดภัย วงเงินคุ้มครองสูงสุด 30,000 บาท ให้ความคุ้มครองกรณีบ้านและคอนโดเกิดเหตุไฟไหม้ ความเสียหายจากภัยธรรมชาติ รวมถึงบ้านโดนโจรกรรม ให้ความคุ้มครองนาน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ลงทะเบียนรับสิทธิ์ กรณีที่บ้านได้รับความเสียหายจนต้องหาที่พักอาศัยชั่วคราวจะได้รับค่าเช่าที่พักอาศัยชั่วคราว 300 บาท/วัน ไม่เกิน 30 วัน ทั้งนี้ สมาชิก กบข. ที่สนใจสามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้ตั้งแต่วันที่ 6-12 เมษายน 2567 ผ่านทางไลน์ กบข. @gpfcommunity กดที่แบนเนอร์ประกันที่สมาชิกต้องการ เพื่อไปที่ไลน์ @tipgo จากนั้นกดเข้าเมนู “ลงทะเบียนประกันภัยอุบัติเหตุ หรือประกันสงกรานต์สุขใจบ้านปลอดภัย” และทำตามขั้นตอนการรับประกัน เมื่อลงทะเบียนสำเร็จ จะได้รับอีเมลยืนยันความคุ้มครองจากทิพยประกันภัย โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของสวัสดิการสมาชิก ซึ่ง กบข. ได้ร่วมมือกับพันธมิตรสวัสดิการอย่างต่อเนื่อง เพื่อจัดหา ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่หลากหลายและเหมาะสม ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ทางการเงินและประกัน ตลอดจนสิทธิพิเศษส่วนลดอาหาร-เครื่องดื่ม บริการ และสินค้าทั่วประเทศ เฉพาะสมาชิก กบข. โดยสมาชิกสามารถติดตามรายละเอียดสวัสดิการทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์ กบข. LINE กบข. และ My GPF Application สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook กบข. หรือ LINE กบข. @gpfcommunity หรือศูนย์บริการข้อมูลสมาชิก โทร. 1179  

11 Apr 2024

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน รับรางวัลเกียรติยศ Business Excellence in Thailand 2023 TOP CEO ภายในงาน 2023 ASIA CEO SUMMIT & AWARD CEREMONY งานมอบรางวัลสุดยอดผู้บริหารและแบรนด์ชั้นนำในเอเชีย โดยเลือกผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ด้วยเป็นผู้นำที่ได้เปลี่ยนธนาคารออมสินมาสู่การเป็นธนาคารเพื่อสังคม ที่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมในมิติของการลดความเหลื่อมล้ำและแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการดำเนินโครงการต่างๆ จำนวนมาก ตลอดปี 2563 - 2565 ซึ่งถือเป็นหน่วยงานหลักในการให้ความช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจให้ผ่านพ้นสถานการณ์ในช่วงวิกฤตโควิด-19 มาได้อย่างเข้มแข็ง อาทิ สินเชื่อ SMEs มีที่ มีเงิน สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ โครงการสร้างงานสร้างอาชีพ และโครงการ Holistic Area-based Development จังหวัดน่าน รวมทั้งเดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและความมั่งคั่งให้กับคนไทย โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า และเพิ่มความสะดวกสบายในการเข้าถึงบริการทางการเงินด้วย ทั้งนี้ การมอบรางวัลดังกล่าว จัดขึ้นโดย บริษัท อินฟลูเอ็นเชี่ยล แบรนด์ ประเทศสิงคโปร์ และ บริษัท นิโอ ทาร์เก็ต จำกัด เพื่อเป็นเกียรติแก่แบรนด์ชั้นนำที่สร้างผลกระทบต่อผู้บริโภคและประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจมากที่สุด ณ โรงแรมชาเทรียม แกรนด์ กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้    

08 Apr 2024

Banner Banner Banner

Banner
  ทิศทาง ceothailand.net ในปี 2567  “สื่อออนไลน์ CEO THAILAND”   ในปี 2567 จะเป็นปีที่ผม “นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์” จะมาทำหน้าที่บรรณาธิการบริหารสื่อ CEO THAILAND และผู้บริหารสื่อออนไลน์ ceothailand.net อย่างเต็มที่ หลังจากที่ผ่านมาได้ไปเดินแผนงานทางด้านการเมือง แต่หลังจากผ่านพ้นช่วงการเลือกตั้งไปแล้วที่ผ่านมา จึงทำให้ช่วงเวลานี้มีเวลาที่จะมาวางแผนในการเดินหน้าธุรกิจสื่อได้มากขึ้น และในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนับจากนี้ จึงขอเข้ามารับหน้าที่สื่อมวลชน ในการเขียนบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ เรื่องราวในแวดวงเศรษฐกิจ-การเงิน และการประกันภัย ในฐานะของคอลัมนิสต์ ตลอดเวลาที่ผมเข้าไปทำงานทางการเมือง ต้องยอมรับว่าวงการข่าวและสื่อสารมวลชนเปลี่ยนไปเร็ว ตลอดเวลา 5 ปี  สื่อออนไลน์ที่รวดเร็วเข้ามาแทนที่สื่อหลักอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ (ออฟไลน์)  เราต้องยอมรับในเรื่องความรวดเร็ว แต่ต้องไม่ลืมจุดด้อยของสื่อออนไลน์ คือข้อผิดพลาดในการกลั่นกรองข่าวสาร รวมทั้งบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ที่หายไป และข่าวที่ออกมามีความเหมือนกัน  ไม่แตกต่าง และเป็นเชิงภาพข่าว และกิจกรรมเท่านั้น ดังนั้นในปี 2567 นี้  ในหน้าสื่อออนไลน์ CEO THAILAND ท่านผู้อ่านจะได้สัมผัสกับข่าวสารเชิงวิเคราะห์ เจาะลึกแบบออนไลน์ต่อเนื่องในสื่อ CEO THAILAND รวมทั้งการจัดทำเป็น E-Magazine ใน www.ceothailand.net รวมทั้งการจัดทำเป็นรูปเล่มฉบับพิเศษสลับไปบ้างในเรื่องที่สำคัญๆ น่าสนใจ และเป็นประโยชน์กับประชาชนและสังคม ขอขอบพระคุณท่านลูกค้าและผู้สนับสนุนสื่อด้วยดีเสมอมา ตลอดระยะเวลา 19 ปีที่ผ่านมา และขอขอบพระคุณทุกท่าน รวมทั้งผู้อ่านที่ติดตามสื่อ CEO THAILAND ด้วยดีเสมอมาใน www.ceothailand.net   นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา) บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner