Responsive image

Tuesday, 15 Jul 2025

หน้าแรก > ECONOMY- FINANCE / เศรษฐกิจ - การเงิน


ครม.เห็นชอบให้ ธอส. สานต่อโครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2 ดอกเบี้ยคงที่ 4 ปีแรก 1.99% ต่อปี เงินงวดคงที่นานถึง 84 งวดแรก ดีเดย์ศุกร์ที่ 10 ก.ย.นี้ ลงทะเบียนผ่านแอป GHB ALL เพื่อรับรหัสเข้าร่วมโครงการ

Wed 08/09/2564


ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) สานต่อ “โครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2)” ภายใต้กรอบวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท มุ่งเน้นกลุ่มผู้มีรายได้น้อยผู้ที่เริ่มต้นทำงานสร้างครอบครัว และผู้สูงอายุ ได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ดอกเบี้ยคงที่ 4 ปีแรก 1.99% ต่อปี ให้กู้ซื้อที่อยู่อาศัยราคาซื้อ-ขายไม่เกิน 1,200,000 บาท ทั้งบ้านใหม่ บ้านมือสอง และทรัพย์ NPA ของ ธอส. เงินงวดคงที่งวดละ 5,000 บาท นานถึง 84 งวดแรก (กรณีกู้ 1.2 ล้านบาท ผ่อนนานสูงสุด 40 ปี) ฟรี!! ค่าธรรมเนียม 4 ประเภท 1.ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ 2.ค่าประเมินราคาหลักประกัน 3.ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และ 4.ค่าจดทะเบียนนิติกรรมจำนอง ลงทะเบียนผ่าน Mobile Application : GHB ALL เพื่อรับรหัสเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 10 กันยายน 2564 เวลา 9.00 น. เป็นต้นไป

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ (7 กันยายน 2564) มีมติเห็นชอบให้ ธอส. สานต่อ “โครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2)” ภายใต้กรอบวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ หลังจากที่คณะกรรมการธนาคาร นำโดย นายยุทธนา หยิมการุณ ประธานกรรมการธนาคาร มีมติเห็นชอบโครงการดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบสถาบันการเงิน ผู้ที่เริ่มต้นทำงานเพื่อสร้างครอบครัว และผู้สูงอายุ ให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้ง่ายขึ้นด้วยผลิตภัณฑ์สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำและผ่อนปรนเงื่อนไข สำหรับซื้อที่อยู่อาศัยในระดับราคาซื้อ-ขายไม่เกิน 1,200,000 บาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4 ปีแรกเท่ากับ 1.99% ต่อปี ปีที่ 5-7 เท่ากับ MRR -2% ต่อปี และปีที่ 8 ถึงตลอดอายุสัญญา กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป เท่ากับ MRR -0.75% ต่อปี กรณีลูกค้าสวัสดิการ เท่ากับ MRR -1% ต่อปี และกรณีกู้เพื่อซื้ออุปกรณ์ฯ เท่ากับ MRR (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR ของธนาคารอยู่ที่ 6.150% ต่อปี) ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 40 ปี เงินงวดคงที่ 84 งวดแรก ( 7 ปี ) กรณีกู้ 1,200,000 บาท ผ่อนชำระงวดละ 5,000 บาท ในช่วง 84 งวดแรก ให้กู้เพื่อซื้อบ้าน หรือห้องชุด ทั้งที่เป็นที่อยู่อาศัยใหม่ของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์บ้านมือสอง และทรัพย์ NPA ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ เพื่อปลูกสร้าง และซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการอยู่อาศัยพร้อมซื้อบ้านหรือห้องชุด พิเศษ!! ธอส. ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการมีบ้านให้กับลูกค้าด้วยการยกเว้นค่าธรรมเนียม 4 ประเภท ประกอบด้วย 1.ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ (0.1% ของวงเงินกู้) 2.ค่าประเมินราคาหลักประกัน (1,900-2,300 บาท) 3.ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (1,000 บาท ต่อราย) และ 4.ค่าจดทะเบียนนิติกรรมจำนอง (1% ของวงเงินจำนอง)

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อยได้มีบ้านเป็นของตนเอง ธอส. จึงได้ผ่อนปรนเงื่อนไขสำหรับลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อช่วยให้ลูกค้ามีโอกาสได้รับวงเงินสินเชื่อที่เหมาะสม รวมถึงกลุ่มลูกค้าที่ประกอบอาชีพประจำหรืออาชีพอิสระ ธนาคารยังเปิดให้นำหลักฐานการชำระค่าเช่าบ้าน หรือผ่อนชำระเงินดาวน์บ้านไม่น้อยกว่า 12 เดือนมาใช้ประกอบการพิจารณาสินเชื่อ และหากไม่สามารถแสดงหลักฐานที่มาของรายได้ให้ธนาคารพิจารณาได้ ให้ลูกค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ Financial Literacy และออมอย่างสม่ำเสมอไม่น้อยกว่าเงินงวดผ่อนชำระเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 9 เดือน เพื่อใช้เป็นหลักฐานการพิจารณาสินเชื่อกับธนาคารได้ต่อไป

สำหรับลูกค้าที่สนใจสามารถรับรหัสเข้าร่วมโครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2 ได้พร้อมกันทั่วประเทศตั้งแต่วันศุกร์ที่ 10 กันยายน 2564 เวลา 9.00 น. เป็นต้นไป เพียงดาวน์โหลด Mobile Application : GHB ALL และกดลงทะเบียนเพื่อรับรหัสเข้าร่วมโครงการ เมื่อทำตามขั้นตอนครบถ้วนแล้วลูกค้าจะได้รับรหัส 9 ตัวทาง GHB Buddy บน Application Line (ตัวอักษร 3 ตัว และตัวเลข 6 ตัว)เพื่อนำมาแสดงในการยื่นขอสินเชื่อตั้งแต่วันศุกร์ที่ 10 กันยายน 2564 เป็นต้นไป และทำนิติกรรมได้ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2566 หรือ ก่อนเต็มกรอบวงเงินของโครงการ

นอกจากนี้ ธอส. ยังได้นำบ้านมือสองของธนาคาร หรือทรัพย์ NPA ทั่วประเทศ จำนวนกว่า 1,500 รายการ ที่มีราคาขายไม่เกิน 1,200,000 บาท ลดราคาสูงสุดถึง 50% จากราคาจำหน่ายปกติมาเข้าร่วมโครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2 จองซื้อก่อนได้สิทธิ์ก่อน พิเศษ!! ธอส. ลดภาระค่าใช้จ่ายให้อีก 3 ต่อสำหรับลูกค้าที่ซื้อทรัพย์ NPA ต่อที่ 1 เลือกใช้มาตรการผ่อนดาวน์ดอกเบี้ย 0% นานถึง 12 เดือน ก่อนยื่นกู้โดยใช้อัตราดอกเบี้ยของโครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2 ต่อที่ 2 ฟรี! ค่าประกันอัคคีภัย 3 ปีแรก สำหรับลูกค้า 150 รายแรก ที่ซื้อและโอนกรรมสิทธิ์ภายใน 2 เดือน นับจากวันทำสัญญาจะซื้อจะขาย และต่อที่ 3 วางเงินประกันการซื้อทรัพย์เพียง 5,000 บาท ทุกรายการ ดูข้อมูลทรัพย์ NPA ที่เข้าร่วมโครงการบ้านล้านหลังได้ที่ www.ghbhomecenter.com หรือ Mobile Application : G H Bank Smart NPA และ Line Official Account : @GHB NPA

ทั้งนี้ ธอส. ดำเนินโครงการบ้านล้านหลัง ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2562 ภายใต้กรอบวงเงินสินเชื่อสำหรับลูกค้ารายย่อย (Post Finance) รวม 50,000 ล้านบาท ให้กู้ซื้อที่อยู่อาศัยราคาซื้อ-ขายไม่เกิน 1,000,000 บาท และเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2563 ที่ประชุม ครม. เห็นชอบให้ปรับราคาซื้อขายและวงเงินกู้เป็นไม่เกิน 1,200,000 บาท    กรณีรายได้ไม่เกิน 25,000 บาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5 ปีแรก 3.00% ต่อปี กรณีรายได้เกิน 25,000 บาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปีแรก 3.00% ต่อปี ล่าสุด ณ วันที่ 5 กันยายน 2564 มีลูกค้าได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้ว 53,000 ราย วงเงินรวมกว่า 40,000 ล้านบาท ขณะที่สินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย (Pre Finance) ของโครงการบ้าน      ล้านหลัง ได้ทำให้มีที่อยู่อาศัยใหม่ในระดับราคาซื้อขายไม่เกิน 1,200,00 บาท ให้กับประชาชนได้เลือกซื้อเพิ่มขึ้นกว่า 3,500 หน่วย โดยมีผู้ประกอบการได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้ว 9 โครงการ วงเงินสินเชื่อกว่า 946 ล้านบาท  และอยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติอีก 3 โครงการ วงเงินสินเชื่อ 439 ล้านบาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธอส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000 หรือ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และติดตามข้อมูลข่าวสารของธนาคารได้ที่ Mobile Application : GHB ALL และ www.ghbank.co.th 


Tags : ธอส. ฉัตรชัย ศิริไล ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อเร็ว ๆ นี้      

14 Jul 2025

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner