Responsive image

Wednesday, 16 Jul 2025

หน้าแรก > ECONOMY- FINANCE / เศรษฐกิจ - การเงิน


บสย. ก้าวสู่ปีที่ 2 “ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs” เปิดทีม กูรูหมอหนี้ ขับเคลื่อน ”หมอหนี้เพื่อประชาชน” ผ่าทางตันธุรกิจ ปรึกษาฟรี....ผ่านออนไลน์

Fri 17/09/2564


บสย. ก้าวสู่ปีที่ 2 “ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs” เปิดทีม กูรูหมอหนี้ ร่วมขับเคลื่อน  ”โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน” ผ่าทางตันแก้หนี้ SMEs ปรึกษาฟรี พร้อมชวนผู้ประกอบธุรกิจ ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.bot.or.th/app/doctordebt/

นางวสุกานต์ วิศาลสวัสดิ์  รักษาการผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า จากความสำเร็จและผลงานของ “ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs”  หรือ บสย.F.A. Center  ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2563  มีผู้ใช้บริการขอคำปรึกษามากกว่า 1,300 ราย สร้างการรับรู้อย่างรวดเร็วในกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจในฐานะศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs ที่มีความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริงนำไปสู่การขยายผลต่อเนื่องในปีที่ 2 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ผนึกกำลังร่วมกับ บสย. มอบให้ บสย. เป็นแกนหลักในการให้คำปรึกษา “โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน” เพื่อช่วยผู้ประกอบธุรกิจ ที่กำลังประสบปัญหาหนี้ ต้องการแก้หนี้ ปรับโครงสร้างหนี้ พัฒนาธุรกิจ และขอสินเชื่อ ที่ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ “โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน” www.bot.or.th/app/doctordebt/ รับคำปรึกษาฟรี

ทั้งนี้ บสย.ยังได้เปิดตัวทีม “กูรูหมอหนี้” บสย.F.A.Center  ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ อดีตผู้บริหารระดับสูงที่มีประสบการณ์กว่า 30 ปี จากสถาบันการเงินชั้นนำที่เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์สินเชื่อ การวิเคราะห์หนี้ การปรับโครงสร้างหนี้ และการพัฒนาธุรกิจ มาร่วมเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา ได้แก่

1.นายสุรชัย กำพลานนท์วัฒน์ อดีตรองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) เป็นผู้อำนวยการศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs

2.นายเวทย์ นุชเจริญ อดีตประธานกรรมการ บริษัท กรุงไทยลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสายงาน สายงานธุรกิจรายย่อยและเครือข่าย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

3. นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์   อดีตรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานคอมเมอร์เชียล บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) และรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

4.นายสุเมธ มณีวัฒนา อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

5. นายนพรัตน์ อุ่นจัตตุรพร อดีตรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

6. ดร.ปกรณ์ ปรีชาภรณ์ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ และผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์และกลั่นกรองสินเชื่อ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

7.นายจรรยฤทธิ์ ทรงมณี อดีตผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อ และผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อขนาดกลาง ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.)

8. นายประเสริฐ ชัยชาญอุดมสุข อดีตผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป สายงานธุรกิจ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)

9.นายเทียบจิตต์ จันทรภูติผลากร อดีตผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขา บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)

ปัจจุบัน ทีมกูรูหมอหนี้  บสย. F.A. Center ได้ให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ SMEs ประเภทธุรกิจหรือที่จดทะบียนนิติบุคคลที่ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ “โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน”

สำหรับผู้ประกอบการ SMEs สามารถขอรับบริการปรึกษาฟรี ง่ายๆ 3 ขั้นตอนดังนี้   

1.ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ “โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน” www.bot.or.th/app/doctordebt/

2.รอนัดหมาย โดยเจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 5-7 วัน

3.รับคำปรึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ โทรศัพท์หรือนัดพูดคุย

เพื่อความรวดเร็วในการขอรับคำปรึกษาผู้ลงทะเบียนควรเตรียมข้อมูล  รายละเอียดของกิจการ ลักษณะธุรกิจ ปัญหาธุรกิจที่พบ ข้อมูลการเงิน อาทิ รายได้ ค่าใช้จ่าย และทรัพย์สินปีปัจจุบันและปีก่อนหน้าของกิจการ ข้อมูลภาระหนี้ อัตราการผ่อน และความสามารถในการชำระปัจจุบัน เมื่อผู้ประกอบการ SMEs ลงทะเบียนแล้ว ทีมงานธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้ดำเนินการรับข้อมูล และประสานงานกับทีมหมอหนี้ บสย. F.A. Center เพื่อนัดหมายต่อไป ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 31 สิงหาคม 2564 มีผู้ลงทะเบียน จำนวน 43 ราย ได้รับคำปรึกษาแล้ว จำนวน 32 ราย บริการให้คำปรึกษายอดนิยม ได้แก่ ปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 24 ราย พัฒนาธุรกิจ จำนวน 6 ราย ต้องการสินเชื่อ จำนวน 2 ราย

สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ทั่วไป หรือประชาชนที่ต้องการคำปรึกษาฟรียังสามารถใช้บริการศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs หรือ บสย.F.A.Center ได้ที่ บสย.Call Center 02-890-9999 ในวัน จันทร์-ศุกร์  เวลา 8.30-16.30 น


Tags : บสย. วสุกานต์ วิศาลสวัสดิ์ ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs บสย.F.A. Center


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อเร็ว ๆ นี้      

14 Jul 2025

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner