Responsive image

Wednesday, 16 Jul 2025

หน้าแรก > BUSINESS-MARKETING-SME /ธุรกิจ-การตลาด-ขายตรง-เอสเอ็มอี


6-7 ต.ค. นี้ ไทยพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมสมาพันธ์การขายตรงโลก ครั้งที่ 16 มุ่งเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการขายตรงและนักธุรกิจอิสระ สู่ความสำเร็จโลกยุคใหม่

Sun 19/09/2564


สมาคมการขายตรงไทย (TDSA) หนึ่งในสมาชิกของสมาพันธ์การขายตรงโลก (WFDSA) เตรียมพร้อมจัดงานประชุมสมาพันธ์การขายตรงโลก ครั้งที่ 16 ในรูปแบบออนไลน์ (WFDSA World Congress XVI – Virtual Edition)ระหว่างวันที่ 6-7 ตุลาคม 2564 หลังโชว์ศักยภาพจนได้รับเลือกจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกให้เป็นเจ้าภาพจัดงานในครั้งนี้ รวมเหล่าวิทยากรพิเศษทั้งผู้บริหารระดับซีอีโอ นักวิชาการ นักเศรษฐศาสตร์ และนักกฎหมาย มาร่วมแชร์มุมมองเปิดรหัสสู่ความสำเร็จร่วมกันของผู้ประกอบการขายตรงและนักธุรกิจอิสระจากทั่วทุกมุมโลกมั่นใจธุรกิจขายตรงมีความพร้อมสู่การเติบโตในอนาคต

นายกิจธวัช  ฤทธีราวี ​นายกสมาคมการขายตรงไทย เปิดเผยภาพรวมธุรกิจขายตรงโลกว่า ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจขายตรงทั่วโลกในช่วงสองปีที่ผ่านมา คือ Digital Disruption และการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 แต่ในปี 2563 ธุรกิจขายตรงทั่วโลกยังคงมีอัตราการเติบโตด้วยมูลค่าตลาดรวม 179.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเติบโต 5.8% และมีจำนวนนักธุรกิจอิสระทั่วโลกมากกว่า 125 ล้านคนหรือเติบโต 4.3% โดยภูมิภาคเอเชียยังครองสัดส่วนสูงสุด ทั้งในด้านยอดขายที่สูงถึง 43% และจำนวนของนักธุรกิจอิสระที่มีส่วนแบ่งกว่าครึ่งอยู่ที่ 55% ของขายตรงโลก ซึ่งกล่าวได้ว่าเอเชียกลายเป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนหลักของธุรกิจขายตรงในปัจจุบัน

​ในส่วนของประเทศไทย ยอดขายปี 2563 ติดลบประมาณ 1% และในช่วงครึ่งปี 2564 ที่ผ่านมาสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ยอดขายตรงไทยติดลบมากกว่า 5% เนื่องมาจากกำลังซื้อที่ลดลง แต่เชื่อว่าในครึ่งปีหลัง หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายและมาตรการต่างๆ เช่น การจัดสรรวัคซีนให้ครอบคลุมได้มากขึ้น การผ่อนคลายล็อคดาวน์ ตลอดจนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ จะช่วยให้สถานการณ์โดยรวมดีขึ้น และคาดการณ์ว่าสิ้นปีนี้ ธุรกิจขายตรงจะมียอดขายกลับมาดีขึ้นกว่าในช่วงครึ่งปีแรกได้ไม่ยาก

“สาเหตุที่เชื่อว่าธุรกิจขายตรงไทยจะฟื้นตัวได้ในไม่ช้า เพราะสินค้าในธุรกิจขายตรงส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันและลูกค้ามีความจงรักภักดีในแบรนด์สูง รวมถึงเทรนด์ผู้บริโภคในปัจจุบันที่ใส่ใจในเรื่องสุขภาพมากขึ้น จะเป็นโอกาสของบริษัทขายตรงที่มีศักยภาพด้านงานวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าวได้ นอกจากนั้น ผลกระทบจากโควิด-19 ยังส่งผลให้

คนมองหาอาชีพเสริมมากขึ้น ธุรกิจขายตรงจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถเติมเต็มความต้องการดังกล่าวได้อย่างลงตัวในสถานการณ์ปัจจุบัน” นายกิจธวัช กล่าวเสริม

​สมาคมการขายตรงไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาพันธ์การขายตรงโลก ทำงานร่วมกับสมาคมขายตรงจาก 60 ประเทศทั่วโลกในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมขายตรงให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากลและส่งเสริมการทำธุรกิจอย่างมีจรรยาบรรณเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค  จากความทุ่มเทของสมาคมการขายตรงไทยและความแข็งแกร่งของธุรกิจขายตรงของไทย จึงทำให้ประเทศไทยได้รับความไว้วางใจให้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมสมาพันธ์การขายตรงโลก ครั้งที่ 16 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์วงการขายตรงไทย

นางสุชาดา ธีรวชิรกุล ประธานจัดงานประชุมสมาพันธ์การขายตรงโลก ครั้งที่ 16 เปิดเผยถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า งานประชุมสมาพันธ์การขายตรงโลกจัดขึ้นเป็นประจำทุกๆ 3 ปี โดยหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพไปในแต่ละประเทศสมาชิกของสมาพันธ์ขายตรง  ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ และแลกเปลี่ยนมุมมอง รวมถึงแบ่งปันข้อมูลด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจและพัฒนาศักยภาพให้กับผู้ประกอบการขายตรงและนักธุรกิจอิสระทั่วโลก โดยมีทั้งนักวิชาการ นักกฎหมาย นักเศรษฐศาสตร์ นักวิจัย รวมถึงนักธุรกิจและผู้บริหารระดับสูงจากบริษัทชั้นนำระดับโลกมาร่วมเปิดประสบการณ์บนเวทีการประชุม

​“ปัจจัยที่สนับสนุนให้ประเทศไทยเราได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพนั้น ก็คือ ความเข้มแข็งและความพร้อมในทุกด้านของสมาคมการขายตรงไทย สมาคมฯ ก่อตั้งมาตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2526 เป็นสมาคมการค้าแห่งเดียวที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขายตรงในประเทศไทยที่เป็นสมาชิกของสมาพันธ์การขายตรงโลก โดยมีบริษัทสมาชิกขายตรงรวม 32 บริษัท รวมถึงประเทศไทยเราก็มีศักยภาพในทุกด้าน และเป็นตลาดที่แข็งแกร่งมากแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ธุรกิจขายตรงมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน โดยการจัดงานประชุมสมาพันธ์การขายตรงโลก ครั้งที่ 16 ในรูปแบบออนไลน์จัดขึ้นภายใต้ธีม "Tomorrow is Now" ที่มุ่งเน้นในการรวมเนื้อหาข้อมูลที่สำคัญทันยุคทันสมัยและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจขายตรงยุคดิจิทัลมารวมไว้ภายในงาน ทั้งยังเป็นการแสดงศักยภาพและรวมพลังครั้งสำคัญของบริษัทขายตรงที่เป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฯ รวมถึงเป็นครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้นักธุรกิจอิสระในแต่ละประเทศทั่วโลก ได้มาร่วมเปิดรับประสบการณ์ใหม่พร้อมกัน โดยในครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการจัดงานประชุมขายตรงระดับโลกในรูปแบบผ่านทางออนไลน์ โดยนำเทคโนโลยีที่ทันยุคทันสมัยมาใช้ในการทำงานอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อความสะดวกของผู้ร่วมเข้าประชุมในแต่ละประเทศทั่วโลกและสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะนี้” นางสุชาดา กล่าวเสริมถึงจุดมุ่งหมายของการจัดงาน

​​​ทั้งนี้ งานประชุมสมาพันธ์การขายตรงโลก ครั้งที่ 16 ในรูปแบบออนไลน์ ได้รับเกียรติจากเหล่าวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายวงการและในวงการขายตรงเอง มาร่วมแสดงวิสัยทัศน์ที่เป็นประโยชน์อย่างคับคั่ง “วิทยากรทุกท่านล้วนอยู่ในแวดวงธุรกิจระดับโลกมาอย่างยาวนาน มีทั้งวิทยากรที่มีประสบการณ์คร่ำหวอดในธุรกิจขายตรง และวิทยากรจากสาขาอาชีพธุรกิจอื่นๆมากมาย ทั้งท่านที่เป็นผู้ประกอบการมีธุรกิจของตนเอง และเป็นผู้บริหารระดับสูงมืออาชีพ อาทิ Keynote Speaker มร.มาร์ค เบนิออฟ (Mr. Marc Benioff) ซีอีโอจาก Salesforce ที่เป็นบริษัทซอฟท์แวร์ระดับโลก, คุณเฮอร์เบิต วงศ์ภูษณชัย ผู้บริหารจาก DHL บริษัทขนส่งระดับอินเตอร์ และคุณมุกพิม อนันตชัย ผู้บริหารจาก YouTube แพลตฟอร์มดิจิทัลยักษ์ใหญ่ เป็นต้น ซึ่งแต่ละหัวข้อในการประชุมในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการขายตรงและนักธุรกิจอิสระในแต่ละประเทศทั่วโลก โดยผู้เข้าร่วมงานสามารถนำข้อมูลต่างๆที่ได้รับไปเป็นแนวทางในการปรับใช้กับธุรกิจขายตรงของตนเองในโลกยุคดิจิทัลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลแนวโน้มของผู้บริโภค  การพัฒนารูปแบบและช่องทางในการทำธุรกิจ รวมถึงโอกาสและความท้าทายของธุรกิจขายตรงช่วงหลังโควิด-19 เป็นต้น” นางสุชาดา กล่าวสรุป

งานประชุมสมาพันธ์การขายตรงโลก ครั้งที่ 16 ในรูปแบบออนไลน์ จะจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 6-7 ตุลาคม 2564 พร้อมเปิดลงทะเบียนเข้าร่วมงานแล้ววันนี้ – 30 กันยายน 2564 สำหรับนักธุรกิจอิสระ ท่านละ 600 บาท สามารถร่วมงานได้วันที่ 6ตุลาคม 2564 และผู้ประกอบการขายตรง ท่านละ 1,500 บาท สามารถร่วมงานได้ 2 วัน วันที่ 6-7ตุลาคม 2564 ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่www.wfdsa2020bangkok.com

 

 


Tags : สมาคมการขายตรงไทย TDSA กิจธวัช ฤทธีราวี สุชาดา ธีรวชิรกุล


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อเร็ว ๆ นี้      

14 Jul 2025

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner