Responsive image

Monday, 07 Jul 2025

หน้าแรก > ECONOMY- FINANCE / เศรษฐกิจ - การเงิน


เคทีซีกำไร 9 เดือน 4,631 ล้านบาท เข้มคัดกรองสมาชิกใหม่ มุ่งบริหารพอร์ตลูกหนี้คุณภาพ พร้อมรุกหลังคลายล็อคดาวน์

Mon 18/10/2564


เคทีซีรายงานผลการดำเนินงาน 9 เดือน ทำกำไรสุทธิโต 15.4% อยู่ที่ 4,631 ล้านบาท ส่วนไตรมาส 3 ขยายตัว 7.9% อยู่ที่ 1,317 ล้านบาท รับสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบกับรายได้ แต่สามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายรวมให้ลดลง และบริหารพอร์ตลูกหนี้ให้มีคุณภาพดีต่อเนื่อง เตรียมรุกกิจกรรมการตลาดทุกผลิตภัณฑ์การเงิน หลังรัฐผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ และขยายเวลาช่วยลูกหนี้รายย่อยตามมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย  

 

 

นายระเฑียร  ศรีมงคล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “แม้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังคงได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 แต่คาดว่าสถานการณ์จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น หลังจากรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการควบคุมเรื่องการเดินทางและการปฏิบัติตัวในบางพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ตามประกาศที่จะเริ่มมีการเปิดประเทศในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรและการเติบโตของพอร์ตลูกหนี้ที่จะกลับมาเติบโตได้ ซึ่งเคทีซีเองได้พัฒนาและพร้อมจะนำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงินคุณภาพ เพื่อให้สมาชิกเคทีซีและกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ได้รับความคุ้มค่า สะดวกสบาย และได้รับประสบการณ์ที่ดีทุกการใช้จ่าย”

“ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา เคทีซีมีสัดส่วนของลูกหนี้บัตรเครดิตเทียบกับอุตสาหกรรมอยู่ที่ 13.5% ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตลดลง -1.5% (อุตสาหกรรมหดตัว -2.1%) และมีสัดส่วนลูกหนี้สินเชื่อบุคคลเทียบกับอุตสาหกรรมเท่ากับ 4.3%”

“สำหรับผลประกอบการของเคทีซีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 เคทีซีมีกำไรส่วนที่เป็นของบริษัทสำหรับ 9 เดือนแรก 4,631 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.4% และมีกำไรสุทธิในไตรมาส 3 เท่ากับ 1,317 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.9% ซึ่งแม้ว่างวด 9 เดือน ปี 2564 รายได้รวมของเคทีซีจะลดลง -3.4% อยู่ที่ 15,930 ล้านบาท แต่บริษัทก็สามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายรวมให้ลดลง  -12.0% อยู่ที่ 10,097 ล้านบาท จากการลดค่าใช้จ่ายทางการเงิน -7.5% และผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น -28.9% อีกทั้งมีรายได้หนี้สูญได้รับคืนอยู่ในอัตราเพิ่มขึ้นที่ 5.9% ประกอบกับการบริหารพอร์ตลูกหนี้ที่มีคุณภาพดีต่อเนื่อง ทำให้ความจำเป็นในการตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นน้อยลงตามไปด้วย ส่งผลให้กำไรสุทธิของบริษัทฯ เติบโตตามสัดส่วนข้างต้น”

“ในส่วนของพอร์ตลูกหนี้รวมขยายตัวและมีคุณภาพดีขึ้น จากจำนวนสินเชื่อด้อยคุณภาพลดลง โดยเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวมเพิ่มขึ้น 3.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เท่ากับ 87,030 ล้านบาท ฐานสมาชิกรวม 3,306,580 บัญชี แบ่งเป็นพอร์ตสมาชิกบัตรเครดิต 2,522,945 บัตร เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรเครดิตและดอกเบี้ยค้างรับรวม 54,521 ล้านบาท ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตร 9 เดือนเท่ากับ 137,705 ล้านบาท ลดลง -1.6% ตามสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยไตรมาส 3 มี อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อรวม (% ของ NPL) อยู่ที่ 3.8% ลดลงจากไตรมาส 2 ที่ 4.4% NPL บัตรเครดิตในไตรมาส 3 อยู่ที่ 1.5% ระดับเดียวกับไตรมาส 2 พอร์ตสมาชิกสินเชื่อบุคคล  เคทีซี 783,635 บัญชี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้สินเชื่อบุคคลและดอกเบี้ยค้างรับรวม 29,203 ล้านบาท NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้บุคคลอยู่ที่ 3.2% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ที่ 3.0% พอร์ตลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อจาก KTBL มูลค่า 3,306 ล้านบาท NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้ตามสัญญาเช่าเท่ากับ 46.1% ลดลงจาก  ไตรมาส 2 ที่ 51.7% โดยเคทีซีได้ชำระราคาซื้อขายหุ้นสามัญของบจก. กรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง (KTBL) ในสัดส่วน 50% ด้วยเงินจำนวน 297.2 ล้านบาท เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 และจะชำระราคาส่วนที่เหลือ ภายหลังการตรวจสอบตามเงื่อนไขเสร็จสิ้นภายในเดือนพฤศจิกายน 2564 โดยมูลค่ารวมอาจมีการปรับราคาซื้อขายหุ้นต่ำลงหรือสูงขึ้นตามเงื่อนไขการชำระราคา”

“บริษัทฯ ยังมีวงเงินสินเชื่อคงเหลือ (Available Credit Line) จำนวน 21,250 ล้านบาท ต้นทุนการเงินสำหรับงวด 9 เดือนอยู่ที่ 2.64% และอัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 2.21 เท่า ต่ำกว่าภาระผูกพันที่กำหนดไว้ที่ 10 เท่า”

“สำหรับทิศทางการทำธุรกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ นอกเหนือจากการคัดสรรผลิตภัณฑ์ บริการและกิจกรรมการตลาด เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของสมาชิกแต่ละกลุ่มแล้ว เคทีซียังคงมุ่งเน้นการบริหารพอร์ตลูกหนี้ที่มีคุณภาพในทุกธุรกิจตลอดกระบวนการ ตั้งแต่ต้นทางของการ        คัดกรองจนถึงการดูแลและรักษาฐานสมาชิก เพื่อนำเสนอเครื่องมือทางการเงินที่มีประสิทธิภาพให้กับสมาชิกทุกกลุ่มในทุกจังหวะของการใช้ชีวิต แม้ในยามที่สมาชิกได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ต่างๆ อย่างเช่นวิกฤตโควิด-19 บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามแนวทางทุกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการเปลี่ยนประเภทหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคคลเป็นเงินกู้สินเชื่อบุคคลระยะยาว โดยมีมูลค่ายอดลูกหนี้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 เท่ากับ 1,825 ล้านบาท จาก 26,174 บัญชี และยังได้ขยายเวลามาตรการปรับลดอัตราผ่อนชำระคืนขั้นตํ่าของบัตรเครดิตเคทีซีอัตโนมัติ จากเดิม 10% เหลือ 5% สำหรับบัตรที่มีการสรุปรอบบัญชีตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 – 31 ธันวาคม 2565 อัตรา 8% สำหรับบัตรที่มีการสรุปรอบบัญชีตั้งแต่ 1 มกราคม 2566 – 31 ธันวาคม 2566 และอัตรา 10% สำหรับบัตรที่มีการสรุปรอบบัญชีตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป โดยสมาชิกบัตรไม่ต้องแจ้งความประสงค์เป็นรายบุคคลแต่อย่างใด”


Tags : เคทีซี ระเฑียร ศรีมงคล เคทีซีกำไร 9 เดือนของปี 2564 เคทีซีกำไร เคทีซีผลประกอบการ KTC บัตรกรุงไทย


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารประสบความสำเร็จได้รับรางวัลระดับเอเชีย Asia Responsible Enterprise Awards (AREA) 2025 สาขา Social Empowerment จาก MyMo Secure Plus นวัตกรรมความปลอดภัยบน Mobile Banking ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ให้ลูกค้า บูรณาการร่วมกับ แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้และเสริมภูมิคุ้มกันภัยทางการเงิน พร้อมกันนี้ ธนาคารออมสินยังได้รับรางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability ในฐานะองค์กรที่มีความโดดเด่นและมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนในทุกมิติจนได้รับรางวัล AREA มาแล้ว 5 ปี จาก Enterprise Asia องค์กรพัฒนาเอกชนชั้นนำที่ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบในเอเชีย เพื่อเชิดชูและให้เกียรติองค์กรธุรกิจที่มีการดำเนินงานตามแนวทาง ESG และเป็นต้นแบบองค์กรชั้นนำในภูมิภาคเอเชียที่ขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ     ธนาคารออมสินถือเป็นธนาคารแรกที่พัฒนาโหมดปลอดมิจฉาชีพ ภายใต้ชื่อ MyMo Secure Plus เพื่อช่วยดูแลเงินฝากขั้นสูงสุดให้กับลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ไม่รู้เท่าทันมิจฉาชีพที่เปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงตลอดเวลา ออกแบบโดยเน้นการทำธุรกรรมทางการเงินแบบจำกัดเฉพาะรายการที่จำเป็น อาทิ การโอนเงินไปยังบัญชีตนเองภายในธนาคารและต่างธนาคารที่ลงทะเบียนไว้ และการจำกัดวงเงินในการทำธุรกรรมต่อวัน ทั้งนี้ ธนาคารออมสินไม่เพียงพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นธนาคารแรกที่ดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ผ่าน แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ ดำเนินการอย่างเข้มข้นผ่านช่องทางการสื่อสารที่ครบวงจร ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ สื่อนอกบ้าน หรืออินฟลูเอนเซอร์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากที่สุด เนื่องจากธนาคารตระหนักดีถึงความสูญเสียของประชาชนและวิกฤตของอาชญากรรมออนไลน์ที่นับวันจะทวีความรุนแรงจนกลายเป็นภัยคุกคามระดับประเทศ จึงเป็นความพยายามของธนาคารในการที่จะกระตุ้นเตือนให้ประชาชนรู้เท่าทันกลลวงและไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพทางการเงิน     รางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability และ Social Empowerment ถือเป็นบทพิสูจน์ถึงบทบาทของธนาคารออมสินในฐานะ Social Bank ที่ไม่เพียงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับการให้บริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังขับเคลื่อนการสร้าง Social Impact เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ธนาคารยังคงยึดมั่นในหลักการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบตามแนวทาง ESG เพื่อก้าวสู่เป้าหมายความยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม ตลอดจนเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว  

01 Jul 2025

...

นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2568  

29 Jun 2025

...

  บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ร่วมออกบูทในงานมหกรรมจำหน่ายรถยนต์ครบวงจร FAST Auto Show Thailand 2025   ระหว่างวันที่ 2 – 6 กรกฎาคม 2568 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ฮอลล์ EH 102 - 103  ในงานนี้ บริษัทฯ ได้จัดเต็มโปรโมชันสุดพิเศษ โดยมอบส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยสูงสุด 23% สำหรับผู้ที่ซื้อกรมธรรม์ใหม่ภายในงาน โดยมีทีมงานรับประกันภัยพร้อมบริการให้คำปรึกษา และคำแนะนำเกี่ยวกับแผนประกันภัยที่เหมาะสมกับความคุ้มครองที่หลากหลาย โดยนอกจากประกันภัยรถยนต์แล้วยังมีประกันอัคคีภัย ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ประกันภัยการเดินทาง ประกันภัยสุขภาพ ประกันภัยโรคมะเร็ง และประกันภัยอื่นๆ ที่ให้ความคุ้มครองรองรับไลฟ์สไตล์ของลูกค้า นอกจากนี้ ยังสามารถผ่อนชำระเบี้ยประกันภัย ดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน หรือ 10 เดือนผ่านบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ พร้อมรับของที่ระลึกที่เตรียมไว้สำหรับงานนี้โดยเฉพาะ  พบกับกรุงเทพประกันภัยได้ที่บูท B11 ณ ศูนย์ประชุมนิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา ฮอลล์ EH 102 - 103 ในวันที่ 2 - 6 กรกฎาคม 2568    

29 Jun 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner