Responsive image

Wednesday, 09 Jul 2025

หน้าแรก > INSURANCE / ประกันภัย - ประกันชีวิต


เลขาธิการ คปภ. นำทัพประกันภัยลงพื้นที่ “ชุมชนเกาะเกร็ด” จังหวัดนนทบุรี เปิดตัวโครงการ คปภ. เพื่อชุมชนปี 5 เพื่อเชื่อมโยงและเสิร์ฟความรู้ด้านการประกันภัยแบบเคาะประตูบ้านประชาชน

Thu 23/12/2564


เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2564  ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดโครงการ “คปภ. เพื่อชุมชน ปี 5” ณ ชุมชนเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัยเชิงรุกสู่ชุมชนผ่านการถอดบทเรียน และเชื่อมโยงโครงการต่าง ๆ ของสำนักงาน คปภ. ให้สามารถตอบโจทย์ตรงกับความต้องการของชุมชน พร้อมจัดให้มีการเสวนา “ประกันภัยน่ารู้สู่ชุมชน” โดยมี ประธานสภาธุรกิจประกันภัยไทย นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย นายกสมาคมประกันชีวิตไทย นายกสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน นายกสมาคมนายหน้าประกันภัยไทย นายกสมาคมการค้าผู้สำรวจภัยไทย และผู้จัดการกองทุนประกันชีวิต ร่วมเปิดโครงการ พร้อมทั้ง ได้รับเกียรติจากนางสาวอโรชา นันทมนตรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี และนายไพรัตน์ ขีดเขียน ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเกร็ด ร่วมเปิดโครงการและกล่าวต้อนรับ

ในโอกาสนี้ เลขาธิการ คปภ. ได้กล่าวเปิดโครงการ ในตอนหนึ่งว่า โครงการ คปภ. เพื่อชุมชน ได้เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2560 โดยสำนักงาน คปภ. ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัยลงพื้นที่ เรียนรู้วิถีชีวิต รับทราบสภาพปัญหาของชาวชุมชน รณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจด้านการประกันภัยและแนะนำให้ชุมชนทราบถึงบทบาทหน้าที่ และภารกิจของสำนักงาน คปภ. ตลอดจนช่วยพัฒนาและส่งเสริมการทำประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) และประกันภัยประเภทต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน รวมทั้งได้ถ่ายทอดวิถีชีวิตของชุมชนและการเรียนรู้ด้านประกันภัยออกสู่สาธารณชน โดยจัดทำเป็นรายการ คปภ. เพื่อชุมชนเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์และสื่อออนไลน์ ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้านการประกันภัยในชุมชนและในวงกว้าง รวมทั้งทำให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่เหมาะสมกับความต้องการของชุมชนต่าง ๆ

จากความสำเร็จข้างต้นทำให้มีการจัดโครงการ คปภ. เพื่อชุมชน ในปีนี้ เป็นปีที่ 5 ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดี จากภาคอุตสาหกรรมประกันภัย และกลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง โดยปีนี้โครงการ คปภ. เพื่อชุมชน จะเน้นการเข้าไปสัมผัสกับบริบทและวิถีชีวิตของชุมชนในพื้นที่ เพื่อนำระบบประกันภัยเข้าไปช่วยเยียวยาและบรรเทาความเดือดร้อนอย่างตรงจุดให้กับชุมชน นอกจากนี้ ยังมีความพิเศษเพิ่มเติม คือการเชื่อมโยงกับโครงการ 1 ภาค 1 ผลิตภัณฑ์ประกันภัย ของสำนักงาน คปภ. เพื่อให้การส่งเสริมด้านการประกันภัยตรงตามความต้องการของชุมชน ตลอดจนพิจารณาประเภทภัยหรือความเสี่ยงที่ประชาชนในชุมชนให้ความสนใจในช่วงเวลานั้น ๆ เช่น การประกันภัยอัคคีภัย การประกันอุทกภัย การประกันภัยผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น ขณะเดียวกันการลงพื้นที่ “คปภ. เพื่อชุมชน” ยังมีรูปแบบของการสร้างการรับรู้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ผ่านการถอดบทเรียนจาก Case Study เป็นตัวเดินเรื่อง เพื่อถ่ายทอดให้กับคนในชุมชนได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยที่ถูกต้อง และเป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการคิด พัฒนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบบส่งต่อองค์ความรู้ภายในชุมชนด้วยกันเอง เพื่อร่วมเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งเป็นการสร้างความสมดุลระหว่างความต้องการในระดับพื้นที่ และทิศทางในภาพรวมของระดับประเทศให้เป็นความสมดุลแบบ “เติมเต็มซึ่งกันและกัน” ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ได้อย่างเป็นระบบ

ทั้งนี้ โครงการ คปภ. เพื่อชุมชน ปี 5 ได้กำหนดลงพื้นที่ทำกิจกรรมรวม 5 ครั้ง 5 ชุมชน พร้อมมีการเสวนา “ประกันภัยน่ารู้  สู่ชุมชน” ได้แก่ ครั้งที่ 1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ ชุมชนวัดจันทึก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งได้ลงพื้นที่ไปเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งระหว่างบ้านกับวัด มีวัดอยู่ในพื้นที่เป็นจำนวนมากและมีวัดที่ได้รับความเสียหายจากไฟไหม้แต่ไม่ได้มีประกัน จึงเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับการประกันภัยศาสนสถาน โดยบูรณาการร่วมกับโครงการ 1 ภาค 1 ผลิตภัณฑ์ประกันภัยของสำนักงาน คปภ. ภาค 4 (นครราชสีมา) ครั้งที่ 2 ภาคเหนือ ณ ชุมชนบ้านนาคูหา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ (24 มกราคม 2565) ซึ่งเป็นชุมชนวิถีชีวิตของชาวนาคูหาใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ปลูกชา ใบเมี่ยงและกาแฟ และเป็นแหล่งปลูกฮ่อม   และผลิตฮ่อมครบวงจรของจังหวัด อีกทั้ง มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีความงดงามของธรรมชาติและชุมชน จึงเน้นให้ความรู้การประกันภัยอุบัติเหตุสำหรับการท่องเที่ยว และศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยชา-กาแฟ ครั้งที่ 3 ภาคกลาง ณ ชุมชนหมู่บ้านวัฒนธรรมชาวเขาบ้านเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ (28 กุมภาพันธ์ 2565) ซึ่งเป็นชุมชนม้งใหญ่ที่สุดในประเทศ และมีอากาศหนาวเย็นตลอดปี โดยชาวชุมชนมีอาชีพหลัก คือ การทำสวนทำไร่ และอาชีพเสริม คือ การค้าขาย และหัตถกรรม จึงเน้นให้ความรู้การประกันภัยพืชผล

ครั้งที่ 4 ภาคใต้ ณ ชุมชนเกาะมะพร้าว อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต (21 มีนาคม 2565) ซึ่งเป็นชุมชนที่มีการพัฒนาพื้นที่ตามแนวทางกสิกรรมธรรมชาติสู่ “เกาะมะพร้าวโมเดล” เพื่อยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตคนบนเกาะ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิมให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยการส่งเสริมพัฒนาอาชีพที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ทำให้มีผลิตภัณฑ์เป็นของตนเอง ขณะที่พบว่ามีปัญหาเรื่องประกันชีวิต จึงเน้นการช่วยเหลือเรื่องประกันชีวิตและการช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยประมง และครั้งที่ 5 ภาคตะวันออก วิสาหกิจชุมชนรักษ์เขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี (23 พฤษภาคม 2565) ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่มีความโดดเด่นเรื่องสวนผลไม้ที่มีปลอดภัย รสชาติดี และมีผลไม้พื้นบ้านที่มีอายุไม่ต่ำกว่าร้อยปี เช่น มังคุดโบราณ ทุเรียนโบราณ ที่มีขนาดสูงและใหญ่ที่สุด อีกทั้ง มีการแปรรูปผลไม้เป็นสินค้าของฝากของที่ระลึก จึงเน้นให้ความรู้การประกันภัยผลไม้รวมถึงทุเรียน

“สำนักงาน คปภ. หวังว่าโครงการ คปภ. เพื่อชุมชน ปี 5 จะเป็นโครงการข้ามปีที่จะทำให้สำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัย ได้ลงพื้นที่ เรียนรู้ เกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการมีการประกันภัยของชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตลอดจนได้ช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัย และเกิดความตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ของการประกันภัย สามารถใช้การประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิต และทรัพย์สินให้กับตนเองและครอบครัวแบบยั่งยืนและเหมาะสมกับบริบทของชุมชนยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย


Tags : ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ คปภ. เลขาธิการ คปภ. เปิดตัวโครงการ คปภ.เพื่อชุมชนที่ 5 ชุมชนเกาะเกร็ด จ.นนทบุรี


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารประสบความสำเร็จได้รับรางวัลระดับเอเชีย Asia Responsible Enterprise Awards (AREA) 2025 สาขา Social Empowerment จาก MyMo Secure Plus นวัตกรรมความปลอดภัยบน Mobile Banking ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ให้ลูกค้า บูรณาการร่วมกับ แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้และเสริมภูมิคุ้มกันภัยทางการเงิน พร้อมกันนี้ ธนาคารออมสินยังได้รับรางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability ในฐานะองค์กรที่มีความโดดเด่นและมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนในทุกมิติจนได้รับรางวัล AREA มาแล้ว 5 ปี จาก Enterprise Asia องค์กรพัฒนาเอกชนชั้นนำที่ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบในเอเชีย เพื่อเชิดชูและให้เกียรติองค์กรธุรกิจที่มีการดำเนินงานตามแนวทาง ESG และเป็นต้นแบบองค์กรชั้นนำในภูมิภาคเอเชียที่ขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ     ธนาคารออมสินถือเป็นธนาคารแรกที่พัฒนาโหมดปลอดมิจฉาชีพ ภายใต้ชื่อ MyMo Secure Plus เพื่อช่วยดูแลเงินฝากขั้นสูงสุดให้กับลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ไม่รู้เท่าทันมิจฉาชีพที่เปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงตลอดเวลา ออกแบบโดยเน้นการทำธุรกรรมทางการเงินแบบจำกัดเฉพาะรายการที่จำเป็น อาทิ การโอนเงินไปยังบัญชีตนเองภายในธนาคารและต่างธนาคารที่ลงทะเบียนไว้ และการจำกัดวงเงินในการทำธุรกรรมต่อวัน ทั้งนี้ ธนาคารออมสินไม่เพียงพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นธนาคารแรกที่ดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ผ่าน แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ ดำเนินการอย่างเข้มข้นผ่านช่องทางการสื่อสารที่ครบวงจร ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ สื่อนอกบ้าน หรืออินฟลูเอนเซอร์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากที่สุด เนื่องจากธนาคารตระหนักดีถึงความสูญเสียของประชาชนและวิกฤตของอาชญากรรมออนไลน์ที่นับวันจะทวีความรุนแรงจนกลายเป็นภัยคุกคามระดับประเทศ จึงเป็นความพยายามของธนาคารในการที่จะกระตุ้นเตือนให้ประชาชนรู้เท่าทันกลลวงและไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพทางการเงิน     รางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability และ Social Empowerment ถือเป็นบทพิสูจน์ถึงบทบาทของธนาคารออมสินในฐานะ Social Bank ที่ไม่เพียงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับการให้บริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังขับเคลื่อนการสร้าง Social Impact เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ธนาคารยังคงยึดมั่นในหลักการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบตามแนวทาง ESG เพื่อก้าวสู่เป้าหมายความยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม ตลอดจนเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว  

01 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner