Responsive image

Friday, 09 May 2025

หน้าแรก > INSURANCE/ประกันภัย-ประกันชีวิต


คปภ. เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเครือข่ายผู้บริโภคประสานเสียง “ค้าน”ยกเลิกคำสั่งที่ 38/2564 หวั่นผู้บริโภคถูกลอยแพ

Fri 21/01/2565


ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 เพื่อไม่ให้บริษัทประกันภัยบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยแบบเหมาเข่ง และหลังจากที่มีการออกคำสั่งดังกล่าวไปนั้น ปรากฏว่า บริษัทประกันภัยต่างๆ รวมทั้งสมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้ออกมาขานรับและพร้อมยืนยันจะให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันภัยจนสิ้นสุดสัญญาประกันภัย ต่อมาเมื่อช่วงปลายปี 2564 มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งคาดว่าจะมีผลกระทบต่อการจ่ายค่าสินไหมทดแทนของบริษัทประกันภัย ปรากฏว่าสมาคมประกันวินาศภัยไทยได้ทำหนังสืออุทธรณ์การออกคำสั่งที่ 38/2564 ต่อคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (บอร์ด คปภ.) เพื่อเปิดช่องให้บริษัทประกันภัยสามารถบอกเลิกประกันภัยโควิดแบบเจอ จ่าย จบ ได้ ซึ่งสำนักงาน คปภ. อยู่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกรอบระยเวลาเพื่อเสนอความเห็นบอร์ด คปภ. พิจารณาต่อไป และเพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนสำนักงาน คปภ. จึงได้เชิญตัวแทนเครือข่ายผู้บริโภค ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบโดยตรง ประกอบด้วย นายกสมาคมส่งเสริมและคุ้มครองผู้บริโภค ประธานสมาพันธ์ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคกรุงเทพมหานคร ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้แทนสภาองค์กรของผู้บริโภค และประธานมูลนิธิกลุ่มเส้นด้าย มาประชุมร่วมกันเพื่อระดมความเห็นและให้ข้อแนะนำว่าทิศทางการดำเนินการในเรื่องนี้ควรเป็นอย่างไร

นายอุฬาร จิ๋วเจริญ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีความเห็นว่า การออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 เป็นการออกคำสั่งที่ถูกต้องและมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย โดยเห็นว่านายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งนายทะเบียนดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย ในส่วนของบริษัทประกันภัยที่ใช้สิทธิในการบอกเลิกสัญญา แม้ว่าในสัญญาประกันภัยจะมีข้อสัญญาให้สามารถบอกเลิกสัญญาได้ก็ตาม แต่เห็นว่ากรณีดังกล่าวต้องเป็นการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยสุจริตตามมาตรา 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยในขณะเข้าทำสัญญาประกันภัย บริษัทประกันภัยจะต้องคาดหมายได้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดจะมีความรุนแรงแค่ไหน และจะมีผลกระทบทางด้านสาธารณสุขที่บริษัทประกันภัยจะสามารถรับมือได้หรือไม่ บริษัทประกันภัยจะต้องมีการวางแผนรับความเสี่ยงอยู่แล้วก่อนออกผลิตภัณฑ์ โดยไม่สามารถอ้างได้ว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิดมีผลต่อการบริหารความเสี่ยง ภายหลังที่มีการออกผลิตภัณฑ์แล้ว การที่บริษัทประกันภัยเข้าทำสัญญาประกันภัย จึงเป็นการตกลงรับความเสี่ยงจากผลของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค ที่สามารถคาดหมายและรับมือไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว ซึ่งกรณีนี้ หากนายทะเบียนยินยอมให้บริษัทประกันภัยเลิกสัญญาได้ฝ่ายเดียว ซึ่งขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 ก็เท่ากับเป็นการยินยอมให้บริษัทประกันภัยหลอกลวงผู้เอาประกันภัย ซึ่งเป็นผู้บริโภคในการเข้าทำสัญญาเพื่อประโยชน์ฝ่ายเดียวของบริษัท ซึ่งเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในการบอกเลิกกรมธรรม์ หากมีการยกเลิกคำสั่งนายทะเบียนดังกล่าว สภาองค์กรของผู้บริโภค และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ก็สามารถเข้าไปช่วยเหลือผู้บริโภคโดยการฟ้องคดีแทนผู้บริโภค เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายเชิงลงโทษให้แก่ผู้บริโภคได้ ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551

นายคริส โปตระนันทน์ ประธานมูลนิธิกลุ่มเส้นด้าย มีความเห็นว่า กลุ่มเส้นด้ายได้มีการโพสต์ประเด็นการยกเลิกคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 ในเพจเฟซบุ๊กของกลุ่มเส้นด้าย ซึ่งมีผู้ติดตามประมาณ 500,000 ราย และได้รับทราบความคิดเห็นจากประชาชน โดยพบว่าประมาณ 99.50 เปอร์เซ็นต์ ของประชาชนที่แสดงความเห็น ไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้สำนักงาน คปภ. ยกเลิกคำสั่งนายทะเบียนดังกล่าว และมีหลายความเห็นตอบกลับมาว่า ตอนนี้มีความยากลำบากมากอยู่แล้ว การที่ประกันภัยเข้ามาช่วยเหลือก็สามารถเยียวยาความเสียหายในกรณีที่มีบุคคลในครอบครัวติดเชื้อโควิด ซึ่งถือเป็น Financial Loss เนื่องจากผู้ที่ติดเชื้อจะไม่สามารถทำงานได้ ดังนั้นจึงเห็นว่า สำนักงาน คปภ. ควรยืนตามคำสั่งนายทะเบียนเดิม

ในส่วนของข้อกฎหมายเห็นว่า แม้จะมีการระบุไว้ในข้อสัญญา แต่การบอกเลิกสัญญาในลักษณะดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต หากปล่อยให้บริษัทประกันภัยยกเลิกกรมธรรม์ได้ ก็จะส่งผลให้มีคดีเข้าสู่ศาลเป็นจำนวนมาก โดยก่อนที่บริษัทประกันภัยจะออกผลิตภัณฑ์นี้ บริษัทประกันภัยน่าจะเห็นตัวอย่างการแพร่ระบาดของโรคโควิดจากต่างประเทศมาบ้างแล้ว กรณีนี้ประชาชนจะมองว่า บริษัทประกันภัยแสวงหาแต่ผลกำไร แต่พอบริษัทประกันภัยจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนจำนวนมากก็จะยกเลิกกรมธรรม์ ซึ่งไม่เป็นธรรมกับประชาชน

อย่างไรก็ดี มีความเห็นของประชาชนส่วนหนึ่งเห็นว่า หากจะมีการเลิกกรมธรรม์และคืนเบี้ยประกันภัย การคืนเบี้ยประกันภัยไม่ควรเป็นการคืนแบบเป็นสัดส่วน (Pro Rata) แต่ควรคืนเบี้ยประกันภัยให้ผู้เอาประกันภัยเต็มจำนวนเสมือนว่าไม่เคยเกิดสัญญาขึ้นเลย เป็นกรณีการเข้าทำสัญญาโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญ ซึ่งอาจจะบวกดอกเบี้ยด้วย ในส่วนของข้อกฎหมายเห็นว่า สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาสำเร็จรูปที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540

นายวิทยา แจ่มกระจ่าง ประธานสมาพันธ์ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคกรุงเทพมหานคร มีความเห็นว่กา กรณีดังกล่าวบริษัทประกันภัยอ้างว่าจะฟ้องร้องสำนักงาน คปภ. หากไม่ยอมยกเลิกคำสั่งนายทะเบียน ในมุมกลับกันหากสำนักงาน คปภ. ยกเลิกคำสั่งนายทะเบียนดังกล่าว ประชาชนก็จะฟ้องร้องสำนักงาน คปภ. เช่นกัน ดังนั้นหากบริษัทประกันภัยเห็นว่า บริษัทสามารถบอกเลิกสัญญาประกันภัยได้ ประชาชนก็อาจจะบอกเลิกสัญญาประกันภัยอื่นๆ ที่ทำกับบริษัทได้เช่นกัน เช่น กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ หรือกรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์สิน เป็นต้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวจะเป็นผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง และอาจมีการรณรงค์ไม่ให้ประชาชนทำประกันภัยกับบริษัทประกันภัยดังกล่าว เนื่องจากมีปัญหาในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ดังนั้นจึงไม่เห็นด้วยที่สำนักงาน คปภ. จะยกเลิกคำสั่งนายทะเบียนดังกล่าว หากสำนักงาน คปภ. ถูกฟ้อง ประชาชนรวมทั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค และสมาพันธ์ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดจะยืนเคียงข้างสำนักงาน คปภ. การประกันภัยเป็นการทำสัญญารายปี เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว บริษัทประกันภัยก็อาจจะไม่ขายกรมธรรม์ประเภทดังกล่าวต่อได้ ซึ่งดีกว่าการยกเลิกกรมธรรม์ ที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชน

นายภัทรกร ทีปบุญรัตน์ ผู้แทนจากสภาองค์กรของผู้บริโภค มีความเห็นว่า สนับสนุนให้สำนักงาน คปภ. ไม่ยกเลิกคำสั่งนายทะเบียนดังกล่าว เพราะหากสำนักงาน คปภ. ยกเลิกคำสั่งนายทะเบียนดังกล่าว สำนักงาน คปภ. อาจถูกบริษัทประกันภัย 2 บริษัท ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตไปก่อนหน้านี้ฟ้องร้อง เนื่องจากไม่ได้ดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ในส่วนของทางเลือกในการคืนเงินค่าเบี้ยประกันภัย เห็นว่า ควรเสนอทางเลือกให้ผู้บริโภคสามารถขอคืนเบี้ยประกันภัยได้ 5-10 เท่าของจำนวนเบี้ยประกันภัย เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้บริโภคยอมรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยจำนวนดังกล่าว และดูแลตนเองไม่ให้ติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาให้แก่ภาคอุตสาหกรรมได้ และหากผู้บริโภคยอมรับเงื่อนไขข้อนี้ได้ก็จะเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย

นางสาวกรกนก ใจแกล้ว ผู้แทนสภาองค์กรของผู้บริโภค มีความเห็นว่า เห็นด้วยกับสำนักงาน คปภ. ที่ไม่ยกเลิกคำสั่งนายทะเบียนดังกล่าว เพราะการยกเลิกสัญญาประกันภัยเป็นการดำเนินการที่ผิดต่อกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 ในเรื่องความสุจริตในการทำสัญญาและขัดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 โดยขอเสนอแนวทางเพิ่มเติมที่จะทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ว่า กรณีนี้สำนักงาน คปภ. อาจจะมีมาตรการผ่อนปรนระยะเวลาที่บริษัทจะสามารถชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่อาจจะเข้าข่ายเป็นความผิดฐานประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน โดยขยายระยะเวลาการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้มากกว่าเดิม โดยให้บริษัทประกันภัยจัดทำรายงานเกี่ยวกับจำนวนผู้เอาประกันภัยที่ทำประกันภัยโควิด-19 ทั้งหมด โดยแบ่งประเภทให้ชัดเจน และมีการแยกจำนวนผู้เอาประกันภัยที่บริษัทประกันภัยยังค้างจ่ายค่าสินไหมทดแทน หรืออยู่ในระหว่างที่กรมธรรม์ประกันภัยยังคงมีความคุ้มครองอยู่เป็นจำนวนเท่าใด ซึ่งจะทำให้บริษัทประกันภัยทราบภาระการจ่ายค่าสินไหมทดแทนทั้งหมด และสามารถวางแผนการจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้ว่า การจ่ายค่าสินไหมทดแทนในอนาคตจะจ่ายเป็นจำนวนเท่าใด และจ่ายในรูปแบบใด โดยการจ่ายค่าสินไหมทดแทนอาจจะมีลำดับคิวการจ่าย โดยมีการแจ้งระยะเวลาในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันภัยทราบอย่างชัดเจน เนื่องจากที่ผ่านมาบริษัทประกันภัยมักจะขอผ่อนผันระยะเวลาการจ่ายค่าสินไหมทดแทน แล้วก็ไม่สามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด

นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ ผู้แทนสภาองค์กรของผู้บริโภค มีความเห็นว่า ขณะนี้กรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 เหลือระยะเวลาความคุ้มครองอยู่อีกไม่มาก และจำนวนการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนก็จะมีไม่มาก เนื่องจากปัจจุบันมีระบบการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ค่อนข้างมาก ดังนั้นจึงไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้บริษัทประกันภัยสามารถยกเลิกสัญญาประกันภัยได้ เพราะเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อประชาชน และเป็นการสร้างภาระให้แก่ผู้บริโภค โดยบริษัทประกันภัยจะต้องมีการประมาณการค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทจะต้องจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัยไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว เมื่อมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น บริษัทก็ยังคงขายกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 ต่อไป เห็นว่าบริษัทประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามข้อตกลงของสัญญา โดยเห็นว่าระยะเวลาความคุ้มครองยังคงเหลืออยู่ไม่มาก และขณะนี้ประชาชนก็ดำเนินการฟ้องร้องบริษัทประกันภัยอยู่แล้ว หากสำนักงาน คปภ. ยกเลิกคำสั่งนายทะเบียนดังกล่าว บริษัทประกันภัยก็จะใช้ข้ออ้างที่สำนักงาน คปภ. ยกเลิกคำสั่งนายทะเบียนมาเป็นข้อต่อสู้ต่อประชาชน ซึ่งจะเป็นการสร้างภาระและสร้างปัญหาให้แก่ประชาชนเป็นอย่างยิ่ง

นายพานิชย์ เจริญเผ่า นายกสมาคมส่งเสริมและคุ้มครองผู้บริโภค มีความเห็นว่า ปัจจุบันระยะเวลาความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 จะสิ้นสุดความคุ้มครองทั้งหมดประมาณเดือนมิถุนายน 2565 ในส่วนประเด็นข้อกฎหมายเห็นว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และเป็นการทำสัญญาด้วยความสมัครใจ ไม่ได้มีการบังคับ บริษัทประกันภัยก็เป็นคู่สัญญาด้วย เรื่องนี้จึงไม่ได้เป็นความผิดของผู้บริโภคแต่อย่างใด
จึงเห็นว่าสำนักงาน คปภ. เป็นผู้รักษาขั้นตอนของกฎหมาย หากสำนักงาน คปภ. กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายก็จะถูกประชาชนฟ้องร้องเช่นกัน เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังนั้น สำนักงาน คปภ. ไม่ควรยกเลิกคำสั่งนายทะเบียน เนื่องจากการทำสัญญาประกันภัยเป็นความสมัครใจทั้งสองฝ่าย ในปีแรกบริษัทประกันภัยมีรายได้จากการขายกรมธรรม์ประกันภัยประเภทนี้จำนวนมาก จึงไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง โดยที่ประชุมทุกฝ่ายเห็นพ้องตรงกันว่า หากยกเลิกคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 และยินยอมให้บริษัทประกันภัยสามารถยกเลิกกรมธรรม์ต่อผู้เอาประกันภัยทุกรายโดยที่ผู้เอาประกันภัยมิได้กระทำผิดในข้อสาระสำคัญย่อมขัดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 จะส่งผลให้มีคดีเข้าสู่ศาลเป็นจำนวนมาก เกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการประกันภัย และทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในระบบประกันภัย รวมไปถึงประชาชนก็อาจจะบอกเลิกสัญญาประกันภัยอื่นๆ ที่ทำกับบริษัทประกันภัยได้เช่นกัน ซึ่งการกระทำดังกล่าวจะเป็นผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง ที่ประชุมจึงมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ ว่าควรยืนตามคำสั่งนายทะเบียนฯ

นอกจากนี้ที่ประชุมได้มีข้อแนะนำแนวทางหรือมาตรการต่างๆ แก้ไขปัญหา 4 มาตรการดังนี้ 1. มาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ โดยอาจจะเป็นการจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้แก่บริษัทประกันภัยเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับบริษัทประกันภัยให้สามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยได้

2. มาตรการผ่อนคลายหลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการจ่ายค่าสินไหมทดแทน โดยเมื่อมีกรณีที่ผู้เอาประกันภัยใช้สิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ ให้บริษัทประกันภัยสามารถผ่อนจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัยแต่ละรายได้

3. มาตรการผ่อนปรนระยะเวลาเพื่อให้บริษัทประกันภัยสามารถยืดหรือขยายระยะเวลาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจน ซึ่งเมื่อมีการขยายระยะเวลาดังกล่าวแล้ว หากบริษัทประกันภัยรายใดไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทนภายในระยะเวลาที่กำหนดจะต้องมีการคิดดอกเบี้ยหรือเงินเพิ่มกรณีผิดนัด หรือเบี้ยปรับเชิงลงโทษเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจ่ายค่าสินไหมทดแทนต่อไป

และ 4. มาตรการยื่นข้อเสนอคืนเงินค่าเบี้ยประกันภัยให้กับผู้เอาประกันภัยในจำนวนที่เหมาะสม เช่น การคืนเบี้ยประกันภัยเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ยหรือคืนเบี้ยประกันภัย จำนวน 5-10 เท่า ของเบี้ยประกันภัยเดิม

ทั้งนี้ จะได้นำข้อแนะนำที่ได้ ประมวลกับข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอความเห็นของสำนักงานฯ ประกอบการพิจารณาของบอร์ด คปภ. ต่อไป


Tags : คปภ. กรมธรรม์ประกันภัย ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กรมธรรม์ประกัยภัยโควิด-19 โควิด-19 COVID-19


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

  ตามที่รัฐบาลโดย นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มอบหมายให้สถาบันการเงินเข้าช่วยเหลือประชาชนโดยเฉพาะ กลุ่มผู้ปกครองที่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลานในช่วงเปิดภาคเรียนใหม่ ทั้งค่าชุดเครื่องแบบนักเรียน หนังสือ อุปกรณ์การเรียน และอื่น ๆ ด้วยการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งทุนในระบบ เพื่อเสริมสภาพคล่อง ลดการพึ่งพาหนี้นอกระบบ และส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนไทยได้เข้าถึงการศึกษาอย่างต่อเนื่อง นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารได้ออกมาตรการ “สินเชื่อธนาคารประชาชนต้อนรับเปิดเทอม” ที่ผ่อนเกณฑ์อนุมัติให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น และเป็นการเดินหน้าภารกิจเชิงสังคมในการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรม สำหรับผู้ปกครองที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนในการเตรียมความพร้อมแก่บุตรหลานในช่วงเปิดภาคเรียนใหม่ ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำคงที่เพียง 0.60% ต่อเดือน วงเงินกู้ตามความจำเป็นสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาทต่อราย ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 1 ปี (12 งวด) ผ่อนชำระประมาณ 894 บาทต่อเดือน (รวมเงินต้นและดอกเบี้ย) ทั้งนี้ สำหรับผู้มีอาชีพ รายได้ และที่อยู่อาศัยแน่นอน สามารถยื่นขอสินเชื่อโดยไม่ต้องมีหลักประกัน ผ่านแอปพลิเคชัน MyMo หรือติดต่อธนาคารออมสินสาขาเพื่อขอคำแนะนำในการสมัครสินเชื่อ ได้ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม – 31 กรกฎาคม 2568  

08 May 2025

...

SME D Bank ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ดูแลกลุ่มเอสเอ็มอีที่มีสิทธิ์กว่า 17,200 ราย อย่างใกล้ชิด พาเข้าร่วมแล้ว ณ วันที่ 23 เม.ย. 68 กว่า 7,200 ราย หรือคิดเป็นกว่า 40% จากลูกหนี้ทั้งหมดที่มีสิทธิ์ ประกาศข่าวดี ขยายระยะเวลาสมัครลงทะเบียนสมัครถึงวันที่ 30 มิ.ย. 68 นี้ เพื่อรับประโยชน์ช่วยลดภาระ สร้างโอกาสกลับมาเริ่มต้นธุรกิจอีกครั้ง นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank กล่าวว่า จากที่รัฐบาล โดยกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย มีนโยบายแก้หนี้ให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการรายย่อย ผ่านโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ซึ่ง SME D Bank ขานรับนโยบายเข้าร่วมโครงการ ด้วยการเปิดให้ลูกหนี้ของธนาคารที่เข้าเกณฑ์จำนวนกว่า  17,200 ราย มูลหนี้ประมาณ  16,800  ล้านบาท   ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ผ่านเว็บไซต์ของธนาคาร (www.smebank.co.th)   รวมถึง ทำงานเชิงรุกด้วยการส่งจดหมายแนะนำโครงการไปถึงลูกหนี้ทุกรายที่มีสิทธิ์ ควบคู่กับให้ทีมงานธนาคารติดต่อลูกหนี้ทุกรายที่มีสิทธิ์ เพื่อให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด แนะนำถึงประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการ อีกทั้งเปิด Call Center สายพิเศษ รองรับให้บริการในโครงการนี้โดยเฉพาะผ่านเลขหมาย 1357 กด 99 ทั้งนี้  นับตั้งแต่เปิดลงทะเบียนเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 จนถึงวันที่ 23 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา มีลูกหนี้ลงทะเบียนเข้าโครงการแล้วกว่า 7,200 ราย หรือคิดเป็นกว่า 40% ของลูกหนี้ทั้งหมดของธนาคารที่มีสิทธิ์ ผ่านเกณฑ์โครงการกว่า 4,650 ราย  แยกตามประเภทอุตสาหกรรม  ภาคการค้า ประมาณ 38% ภาคบริการ ประมาณ 34% และภาคการผลิต ประมาณ 28%  โดยเป็นสัดส่วนกลุ่มธุรกิจที่ผ่านมาตรการ “จ่ายตรง คงทรัพย์” และทำสัญญาแล้ว จำนวนกว่า 2,900 ราย มูลหนี้กว่า 3,800 ล้านบาท   สำหรับกลุ่มที่ลงทะเบียนแบ่งเป็นกลุ่ม Lower SE (รายได้เกิน 1.8 ถึง 15  ล้านบาทต่อปี) จำนวน 58%  กลุ่ม Micro (รายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี)  จำนวน 24%  กลุ่ม Upper SE (รายได้เกิน 15 ถึง 100  ล้านบาทต่อปี) จำนวน  16% และกลุ่ม ME (รายได้เกิน  100  ล้านบาทต่อปี) จำนวน 2%  เมื่อรวมกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นรายเล็กกับรายย่อย ( Lower SE , Micro ) จำนวนรวมถึงกว่า 82% สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการรายเล็กของไทยมีศักยภาพเปราะบาง ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด  นอกจากนั้น ธนาคารยังช่วยเหลือด้านการพัฒนา เน้นการเพิ่มรายได้ขยายตลาด เช่น เชิญร่วมโครงการ  “SME D Market”  ซึ่งธนาคารจัดขึ้นเป็นประจำทุกเดือน เปิดโอกาสให้มาออกบูธจำหน่ายสินค้า  ณ  สำนักงานใหญ่ SME D Bank โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เชิญร่วมกิจกรรมคาราวานสินค้า สร้างโอกาสทางการตลาด และจับคู่ธุรกิจ  นอกจากนั้น เชิญร่วมโครงการไลฟ์คอมเมิร์ซ เวิร์คช้อปการทำตลาดยุคดิจิทัล พร้อมโอกาสเพิ่มรายได้ด้วยการให้คนดังบนโลกออนไลน์ช่วยบอกต่อ เป็นต้น   ทั้งนี้ จากที่โครงการดังกล่าว ได้ขยายเวลาลงทะเบียนออกไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน  2568  นับเป็นโอกาสดีที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงประโยชน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือลดค่างวดชำระ  3 ปี  เพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่อง โดยปีแรกชำระเพียง 50% เท่านั้น    โดยค่างวดที่ชำระนำไปตัดเงินต้นทั้งหมด อีกทั้ง ไม่เก็บดอกเบี้ย  3 ปี  เมื่อทำตามเงื่อนไข และหากชำระค่างวดมากกว่าขั้นต่ำ ตัดเงินต้นเพิ่ม ปิดหนี้จบได้อย่างรวดเร็ว   จึงขอเชิญชวนลูกหนี้ทุกรายที่มีสิทธิ์ รีบแจ้งความประสงค์ เพื่อรับผลประโยชน์ในการช่วยเหลือ  ลดภาระหนี้ และสร้างโอกาสให้กลับมาเริ่มต้นดำเนินธุรกิจได้อีกครั้ง  สามารถแจ้งความประสงค์ผ่านเว็บไซต์ของธนาคาร (www.smebank.co.th)   หรือเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (www.bot.or.th/khunsoo) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357 กด 99   

05 May 2025

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารเตรียมร่วมเป็นส่วนหนึ่งของหน้าประวัติศาสตร์การเงินการคลังของไทย ในงาน MOF Journey: 150 ปี เส้นทางการคลังไทย ในโอกาสครบรอบ 150 ปี กระทรวงการคลัง โดยจัดโปรโมชันเงินฝากเพื่อส่งเสริมการออมสำหรับงานนี้เท่านั้น เริ่มต้นด้วยเงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ 150 วัน อัตราดอกเบี้ยแบบ Step up เฉลี่ย 2.55% ต่อปี หรือเทียบเท่าเงินฝากประจำ 3.00% ต่อปี จองสิทธิ์ภายในงาน จำนวนจำกัด วันละ 150 สิทธิ์ และ 1 คนต่อ 1 สิทธิ์ และพลาดไม่ได้กับแคมเปญแห่งปี “ออมร้อย ชิงร้อยล้าน” ฝากสลากออมสินพิเศษ 1 ปี ลุ้นรับรางวัลพิเศษมูลค่ารวม 100 ล้านบาท แบ่งเป็น รางวัลพิเศษ มูลค่า 1 ล้านบาท งวดวันที่ 16 พฤษภาคม 2568 จำนวน 30 รางวัล และรางวัลพิเศษ มูลค่า 70 ล้านบาท งวดวันที่ 16 กรกฎาคม 2568 เพียง 1 รางวัลเท่านั้น สำหรับผู้ฝากสลากตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 15 กรกฎาคม 2568 หรือเลือกฝากสลากออมสินพิเศษ / สลากดิจิทัล แบบ 2 ปี พร้อมรับของที่ระลึก นอกจากนี้ยังมี เงินฝาก Smart Junior เพื่อเด็กและเยาวชนที่มีอายุ 7 – 23 ปีบริบูรณ์ อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.50% ต่อปี และได้รับอัตราดอกเบี้ยสูงสุด 2.10% ต่อปี เมื่อมียอดเงินฝากคงเหลือเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนอย่างต่อเนื่อง โดย 24 เดือนแรก รับดอกเบี้ยพิเศษเพิ่มขึ้น 0.10% ทุก 2 เดือน สูงสุดไม่เกิน 1.60% ต่อปี และรับดอกเบี้ยโบนัสเพิ่มขึ้น 0.50% ใน 6 เดือนสุดท้าย ระยะเวลาฝากรวม 30 เดือน เปิดบัญชีขั้นต่ำ 1 บาท และเปิดบัญชีเงินฝาก 100 บาทขึ้นไป รับกระปุกออมสินคอลเลกชันพิเศษ GSB Love Earth ภายในบูธยังมีกิจกรรมพิเศษและรับกระปุกออมสิน รวมถึงการแนะนำการลงทะเบียนสินเชื่อสร้างเครดิต สร้างโอกาส นวัตกรรมสินเชื่อสำหรับคนที่ไม่เคยกู้แบงก์ได้มาก่อนอีกด้วย   งานครบรอบ 150 ปี วันสถาปนากระทรวงการคลัง จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “อดีต–ปัจจุบัน-อนาคต” เพื่อให้ผู้เข้าชมงานได้เรียนรู้ถึงวิวัฒนาการด้านการคลังของไทยที่มีบทบาทในการพัฒนาประเทศตั้งแต่อดีตสู่ภารกิจการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่มั่งคงและยั่งยืนในอนาคต ภายในงานยังเป็นการร่วมแสดงพลังความสามัคคี การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อการบริการประชาชนและการแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของหน่วยงานในสังกัด จึงขอเชิญชวนร่วมสัมผัสนวัตกรรมและบริการทางการเงินที่น่าสนใจ ทั้งจากบูธธนาคารออมสิน และหน่วยงานต่าง ๆ ในระหว่างวันที่ 1 - 3 พฤษภาคม 2568 ณ Hall 3 – 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  

30 Apr 2025

...

บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ก้าวสู่ผู้นำด้านความโปร่งใสและจริยธรรมทางธุรกิจ โดยได้รับการเลื่อนสถานะเป็น CAC Change Agent จากองค์กรแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) ซึ่งเป็นความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจ แสดงถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม โปร่งใส ปกป้องผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเผยแพร่ไปยังคู่ค้าให้มีห่วงโซ่อุปทานที่ใสสะอาด กรุงเทพประกันชีวิต เชื่อมั่นในพลังความใส่ใจและมุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความยั่งยืน โดยเข้าร่วมเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านการคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) เป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ความสำเร็จครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลที่ดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อองค์กรรวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจ โดยกรุงเทพประกันชีวิตจะยังคงมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำด้านความโปร่งใสและจริยธรรมทางธุรกิจต่อไป

30 Apr 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner