Responsive image

Sunday, 13 Jul 2025

หน้าแรก > ECONOMY- FINANCE / เศรษฐกิจ - การเงิน


เคทีซีขึงเส้นทางใหม่ สร้าง New S Curve ทำกำไรนิวไฮปี 2565 ปั้นแอปฯ MAAI By KTC รุกตลาดฉลองศักราชใหม่ ผนึกพันธมิตรเดินหน้าสินเชื่อมีหลักประกันเต็มตัว

Fri 21/01/2565


เคทีซีพร้อมเดินเครื่อง หวังดันพอร์ตเกินแสนล้านบาท สร้างกำไรนิวไฮระลอกใหม่ หลังวิกฤตโควิด-19 ปักธงสองโมเดลธุรกิจขับเคลื่อนอนาคต (New S Curve) บนเส้นทางใหม่ (New Voyage) 1. “MAAI By KTC” ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ให้บริการด้านลอยัลตี้แพลทฟอร์มแบบครบวงจรแก่พันธมิตรธุรกิจ ในรูปแบบของโมบายแอปพลิเคชัน 2. “เคทีซี พี่เบิ้ม” ปรับเป้าสินเชื่อสิ้นปี 2565 ขึ้นเป็น 11,500 ล้านบาท โดยผนึกความร่วมมือผ่านเครือข่ายทั่วประเทศ “ธนาคารกรุงไทย” และกรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง รุกธุรกิจสินเชื่อมีหลักประกันเต็มกำลัง รวมทั้งขยายฐานสมาชิกบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล สร้างสิทธิประโยชน์ทางการตลาดและออกผลิตภัณฑ์ใหม่ร่วมกับพันธมิตรธุรกิจต่างๆ เพื่อให้สมาชิก-พันธมิตร-เคทีซีได้รับประโยชน์ร่วมกัน พร้อมสร้างเครือข่ายร้านค้าไปยังกลุ่มพรีเมี่ยมและไลฟ์สไตล์มากขึ้น ตอบโจทย์การใช้บัตรเครดิตที่ครอบคลุมทุกความต้องการของสมาชิก และขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืนอย่างรับผิดชอบ

นายระเฑียร ศรีมงคล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “หลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น และมีการเปิดประเทศตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 เป็นต้นมา ส่งผลให้เศรษฐกิจและการใช้จ่ายของผู้บริโภคมีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีกับตลาดสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค และเป็นโอกาสที่จะผลักดันธุรกิจเคทีซีให้เติบโต และมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างสถิติใหม่ของการทำกำไรสูงสุดมากกว่า 6 พันล้านบาท กับพอร์ตสินเชื่อที่เกินแสนล้านบาท ด้วยสองโมเดลธุรกิจใหม่ที่เราตั้งใจสร้างขึ้นกับการออกเดินทางครั้งใหม่ เพื่อส่งความสุขเป็นของรับขวัญสมาชิก หลังผ่านความทุกข์จากวิกฤติโควิด-19 รวมทั้งการเดินหน้าธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล เพื่อขยายฐานสมาชิกกลุ่มใหม่และดูแลคุณภาพพอร์ตลูกหนี้ ตลอดจนคัดสรรสิทธิประโยชน์ที่ทรงคุณค่า ตอบสนองทุกความต้องการของสมาชิกกว่า 3.3 ล้านบัญชี”

“สองโมเดลธุรกิจที่จะเป็นเรือธงขับเคลื่อนธุรกิจเคทีซีให้สามารถสร้าง New S Curve และมีรายได้เติบโตอย่างยั่งยืน คือ แพลทฟอร์ม “MAAI BY KTC” ซึ่งเป็นการต่อยอดจากความแข็งแกร่งของเคทีซีในการทำระบบคะแนนสะสม และความเชี่ยวชาญด้านการตลาดในการบริหารคะแนน KTC FOREVER ที่ตอบโจทย์และครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์”

“MAAI BY KTC จึงเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่จากเคทีซีที่ให้บริการกับพันธมิตรธุรกิจที่มีความต้องการใช้ลอยัลตี้แพลทฟอร์มแบบครบวงจร โดยมีโซลูชั่นส์ที่สำคัญ คือ 1. ระบบบริหารจัดการสมาชิก (Membership Management) 2. ระบบบริหารจัดการคะแนน (Point System Management) ซึ่งไม่ว่าเป็นคะแนนของพันธมิตรเอง หรือจะใช้คะแนน MAAI POINT ในการทำ Loyalty Program ก็ทำได้เช่นกัน โดยคะแนน MAAI POINT นี้ สามารถใช้เป็นคะแนนกลางในการแลกเปลี่ยนกับคะแนนอื่นๆ ในกลุ่มพันธมิตรบน MAAI Platform ได้ด้วย และ 3. ระบบบริหารจัดการสิทธิประโยชน์ในรูปแบบคูปองอิเล็กทรอนิก (e-Coupon Management)  เพื่อให้การแลกคะแนนมีความหลากหลาย ตรงใจกลุ่มลูกค้าสมาชิก ไม่ว่าจะแลกเป็นอีคูปอง (E-Coupon) หรือแลกสินค้าได้ที่ร้านค้าพันธมิตรทั่วไป  ครอบคลุมทุกหมวดการใช้จ่าย อาทิ ร้านค้า โรงภาพยนตร์ ร้านอาหารและบริการเดลิเวอรี่ โดยจะเริ่มเปิดตัวอย่างเป็นทางการในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 และในเดือนมกราคม 2565 นี้ จะเปิดให้พนักงานเคทีซีได้ทดลองใช้ในช่วงเริ่มต้นกับ 16 ร้านค้าและจะขยายพันธมิตรร้านค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่มาของคำว่า MAAI (มาย) มาจากคำว่า MAK MAAI (มากมาย) หมายถึงสิทธิประโยชน์ที่มากมาย กับร้านค้าพันธมิตรที่มากมาย และความสะดวกในการใช้ที่มากมาย อีกทั้งยังพ้องเสียงกับคำว่า Mine ที่ต้องการสื่อถึงสิทธิประโยชน์ที่เป็นของผู้ใช้และเพื่อผู้ใช้ (user) โดยสามารถดาวน์โหลดแอปฯ เพื่อใช้งานผ่าน Apple Store, Play Store และ Huawei Store”

“โมเดลธุรกิจถัดมาคือ สินเชื่อมีหลักประกัน “เคทีซี พี่เบิ้ม” ที่จากนี้ไปผู้บริโภคจะได้รู้จักและคุ้นเคยกับธุรกิจพี่เบิ้มมากขึ้น  โดยเคทีซีจะเร่งขยายฐานสมาชิกต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้พอร์ตโตแบบก้าวกระโดดและบรรลุเป้าสินเชื่อที่ 11,500 ล้านบาทในปี 2565เน้นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่แบบเชิงรุก ผ่านบริการพี่เบิ้ม เดลิเวอรี่ โดยใช้ทีมขายของเคทีซีทั่วประเทศ ไปให้บริการสินเชื่อถึงบ้านของลูกค้า หรือสถานที่ที่ลูกค้าสะดวกด้วยความรวดเร็ว ผูกไปกับช่องทางของเครือข่ายธนาคารกรุงไทยทั่วประเทศกว่า 900 สาขา และกรุงไทยธุรกิจ ลีสซิ่ง (KTBL) 11 สาขา ซึ่งเป็นกลยุทธ์หลัก และจะเน้นสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเปิดรับเป็นหลัก รวมทั้งสร้างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายครบทุกความต้องการของตลาด ไม่ว่าจะเป็นบัตรกดเงินสด “เคทีซี พี่เบิ้ม” ซึ่งเป็นครั้งแรกของสินเชื่อทะเบียนรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ในรูปแบบของบัตรกดเงินสด ที่ลูกค้าสามารถรูด-โอน-กด-ผ่อน ผ่านบัตรได้ทันที ครอบคลุมถึงธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ (Hire Purchase) ภายใต้ใบอนุญาตของกรุงไทยธุรกิจ ลีสซิ่ง ซึ่งเคทีซีถือหุ้นอยู่ 75.05% ตลอดจนพัฒนากระบวนการทำงานด้วยหลักการของดิจิทัล ทวิน (Digital Twin) โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการสมัครและอนุมัติสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บริการมีความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมุ่งเติมเต็มช่องว่างในตลาด ด้วยจุดแข็งที่แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น ด้วยวงเงินใหญ่ที่ขยายถึง 1 ล้านบาท อนุมัติใน 2 ชั่วโมง พร้อมรับเงินทันที รับทุกอาชีพและเอกสารง่าย ไม่ยุ่งยาก เพื่อตอกย้ำเจตนารมณ์ในการทำธุรกิจที่เปิดโอกาสและทางเลือกให้คนทำมาหากินที่ไม่ท้อทุกอาชีพ สามารถเข้าถึงสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม” ได้ไม่ยาก”

“ธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลเคทีซีในปี 2565 จะมุ่งเน้นการเติบโตของพอร์ตลูกหนี้ที่มีคุณภาพดี ขยายกลุ่มเป้าหมายใหม่ ตลอดจนรักษาฐานสมาชิกปัจจุบันด้วยการสร้างประสบการณ์ที่ดี ผ่านกิจกรรมส่งเสริมการตลาดที่ตรงใจผู้บริโภค โดยกลยุทธ์ธุรกิจบัตรเครดิต จะเน้นการขยายฐานบัตรร่วมกับพันธมิตรรายใหญ่ ทั้งการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ และพัฒนาปรับปรุง (Relaunch) บัตรเครดิตร่วม (Co-brand) ให้มีสิทธิประโยชน์ตรงใจและผูกสมาชิกกับบัตรในระยะยาวมากขึ้น ซึ่งลูกค้าจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการผนึกความแข็งแรงระหว่างเคทีซีกับพันธมิตรที่จะเกิดขึ้น สำหรับกลยุทธ์ส่งเสริมการใช้จ่ายผ่านบัตร ซึ่งเคทีซียืนหนึ่งในการครองความหลากหลายและครอบคลุมร้านค้ายอดนิยมของสมาชิก จะยังคงใช้คะแนน KTC FOREVER และการผ่อนชำระรายเดือนเป็นแรงขับเคลื่อนกิจกรรมการตลาด และในปี 2565 จะใช้ความแข็งแกร่งของเครือข่ายพันธมิตร ขยายไปยังร้านค้ากลุ่มพรีเมี่ยมและ          ไลฟ์สไตล์มากขึ้น เพื่อตอบรับความต้องการของกลุ่มสมาชิกระดับบนที่มีอยู่ และดึงดูดกลุ่มเป้าหมายใหม่เพิ่มขึ้น รวมทั้งจะพัฒนาบริการต่างๆ เพื่อให้สมาชิกบัตรได้รับความสุขจากการใช้งานผ่านแอปฯ KTC Mobile หรือ KTC Phone รวมไปถึงบริการด้านการเดินทางท่องเที่ยวกับ “KTC World Travel Service” และการซื้อสินค้าบนอีมาร์เก็ตเพลซ “KTC UShop” โดยคาดว่ายอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในปี 2565 จะเติบโต 10% จากปี 2564 หรือประมาณ 220,000 ล้านบาท”

“ขณะที่กลยุทธ์ของธุรกิจสินเชื่อบุคคล จะมุ่งขยายฐานสมาชิกใหม่ในกลุ่มที่มีศักยภาพ ด้วยการนำเสนอสินเชื่อ บัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” (KTC PROUD) กับกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ประจำและมีฐานรายได้สูงขึ้น ด้วยแคมเปญแบ่งเบาภาระสมาชิก ลดดอกเบี้ยเหลือเพียง 0.93% ต่อเดือน และเพิ่มเวลาผ่อนให้นานถึง 60 งวด นอกจากนี้ในปี 2565 คนไทยจะได้รับความสะดวกขึ้นไปอีกขั้นกับการสมัครขอสินเชื่อออนไลน์ได้ด้วยตนเองผ่านโมบาย แอปพลิเคชัน ในรูปแบบของใบสมัครออนไลน์ (Electronic Application) ผ่านระบบยืนยันตัวตนแบบดิจิทัล (Electronic Know Your Customer หรือ E-KYC) ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการสังคมปัจจุบันที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา ไม่ต้องเดินทาง สำหรับฐานสมาชิกสินเชื่อบุคคลปัจจุบันกว่า 7 แสนราย เคทีซีจะมุ่งผูกใจระยะยาวด้วยแคมเปญแบ่งเบาภาระสมาชิกต่อเนื่อง ทั้งโครงการเคลียร์หนี้เกลี้ยงที่เพิ่มรางวัลมากขึ้นเป็น 600 รางวัล เพื่อให้ลูกค้ามีโอกาสรับสิทธิ์เคลียร์หนี้ 100% และ 10% ตลอดปี รวมทั้งพัฒนาการโอนเงินออนไลน์ผ่านบัญชีพร้อมเพย์เพื่อเพิ่มความสะดวกยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการโอนเงินผ่านแอปฯ KTC Mobile ไปยัง 13 ธนาคาร แบบเรียลไทม์ ตลอด 24 ชั่วโมง ตลอดจนออกแคมเปญสิทธิประโยชน์กับร้านค้าชั้นนำ เพื่อให้ลูกค้าได้รับความคุ้มค่าเมื่อใช้บัตรกดเงินสดรูดซื้อสินค้า และยังสามารถผ่อนสินค้า 0% ได้ที่ร้านค้าร่วมรายการ ตอกย้ำความคุ้มค่าของการใช้วงเงินสินเชื่อบนบัตรกดเงินสดทั้ง 4 ฟังก์ชั่น “รูด โอน กด ผ่อน” โดยคาดว่ายอดลูกหนี้ในปี 2565 จะเติบโต 7% จากปี 2564“

“ในส่วนของกลยุทธ์การขยายฐานสมาชิก ในปีนี้ช่องทางการจัดจำหน่ายต้องทำงานอย่างหนักในเชิงรุก เพื่อกว้านลูกค้าทุกผลิตภัณฑ์เข้าพอร์ต โดยจะใช้จุดแข็งของแต่ละผลิตภัณฑ์เป็นจุดขาย ผนวกเข้ากับจุดแข็งของช่องทางการจัดจำหน่าย ผ่านธนาคารกรุงไทยเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์ โดยคาดว่าความต้องการสินเชื่อบุคคลในปีนี้จะมีความต้องการสูง เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเพิ่งเริ่มฟื้นตัว พ่อค้าแม่ค้า หรือผู้ประกอบการยังคงต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อมากอบกู้หรือขยายธุรกิจ แต่ก็เป็นความท้าทายที่     เคทีซีจะต้องกลั่นกรองความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อเพื่อให้ได้รับประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย ท่ามกลางสภาวะทางเศรษฐกิจที่ยังมีความเปราะบาง โดยตั้งเป้าปี 2565 เพิ่มสมาชิกใหม่บัตรเครดิตไม่ต่ำกว่า 250,000 ราย และเคทีซี พราว ไม่ต่ำกว่า 100,000 ราย”

การบริหารการเงินให้มีประสิทธิภาพ เป็นหัวใจหลักอีกเรื่องในการทำธุรกิจ บริษัทฯ จะมุ่งบริหารต้นทุนทางการเงินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้เป็นสำคัญ โดยจะเพิ่มสัดส่วนเงินกู้ยืมระยะสั้นมากขึ้น และคาดว่าสิ้นปี 2565 จะมีสัดส่วนเงินกู้ยืมระยะสั้นต่อเงินกู้ยืมระยะยาว (Original Term) อยู่ที่ 20:80 และต้นทุนการเงินจะใกล้เคียงกับปี 2564 ที่ร้อยละ 2.6 ต่อปี ทั้งนี้ จะมีการระดมเงินกู้ยืมระยะยาวในจำนวนไม่เกิน 12,000 ล้านบาท เพื่อรองรับหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดในปี 2565 จำนวน 9,500 ล้านบาท และสนับสนุนการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อเคทีซี อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เศรษฐกิจยังเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อทิศทางของดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเป็นการกลายพันธุ์ของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ การประกาศปรับลดวงเงินคิวอี การคาดการณ์ขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ และความสามารถในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ”

“นอกจากนี้ เคทีซียังให้ความสำคัญกับการนำความยั่งยืน หรือ ESG ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เข้ามาบูรณาการกับการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ ภายใต้แนวคิด Sustainable Development by Spirit เพื่อตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้เสียและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ โดยแผนกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนในระยะ 5 ปี เคทีซีจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมมาสร้างผลลัพธ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย ด้วยระบบปฏิบัติการที่มีความปลอดภัย สร้างโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงินของคนในสังคมอย่างทั่วถึง และคำนึงถึงการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ บรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม โดยที่ผ่านมาเคทีซีได้รับคัดเลือกให้อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืนของ THSI (Thailand Sustainability Investment) เป็นปีที่ 3 และติดอันดับ ESG 100 ตั้งแต่ปี 2559 อีกทั้งได้รับ MSCI ESG Rating ประจำปี 2564 ที่ระดับ AA และยังได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนระดับโลก “FTSE4Good Index series”


Tags : เคทีซี KTC บัตรกรุงไทย ระเฑียรศรีมงคล


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารประสบความสำเร็จได้รับรางวัลระดับเอเชีย Asia Responsible Enterprise Awards (AREA) 2025 สาขา Social Empowerment จาก MyMo Secure Plus นวัตกรรมความปลอดภัยบน Mobile Banking ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ให้ลูกค้า บูรณาการร่วมกับ แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้และเสริมภูมิคุ้มกันภัยทางการเงิน พร้อมกันนี้ ธนาคารออมสินยังได้รับรางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability ในฐานะองค์กรที่มีความโดดเด่นและมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนในทุกมิติจนได้รับรางวัล AREA มาแล้ว 5 ปี จาก Enterprise Asia องค์กรพัฒนาเอกชนชั้นนำที่ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบในเอเชีย เพื่อเชิดชูและให้เกียรติองค์กรธุรกิจที่มีการดำเนินงานตามแนวทาง ESG และเป็นต้นแบบองค์กรชั้นนำในภูมิภาคเอเชียที่ขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ     ธนาคารออมสินถือเป็นธนาคารแรกที่พัฒนาโหมดปลอดมิจฉาชีพ ภายใต้ชื่อ MyMo Secure Plus เพื่อช่วยดูแลเงินฝากขั้นสูงสุดให้กับลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ไม่รู้เท่าทันมิจฉาชีพที่เปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงตลอดเวลา ออกแบบโดยเน้นการทำธุรกรรมทางการเงินแบบจำกัดเฉพาะรายการที่จำเป็น อาทิ การโอนเงินไปยังบัญชีตนเองภายในธนาคารและต่างธนาคารที่ลงทะเบียนไว้ และการจำกัดวงเงินในการทำธุรกรรมต่อวัน ทั้งนี้ ธนาคารออมสินไม่เพียงพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นธนาคารแรกที่ดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ผ่าน แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ ดำเนินการอย่างเข้มข้นผ่านช่องทางการสื่อสารที่ครบวงจร ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ สื่อนอกบ้าน หรืออินฟลูเอนเซอร์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากที่สุด เนื่องจากธนาคารตระหนักดีถึงความสูญเสียของประชาชนและวิกฤตของอาชญากรรมออนไลน์ที่นับวันจะทวีความรุนแรงจนกลายเป็นภัยคุกคามระดับประเทศ จึงเป็นความพยายามของธนาคารในการที่จะกระตุ้นเตือนให้ประชาชนรู้เท่าทันกลลวงและไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพทางการเงิน     รางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability และ Social Empowerment ถือเป็นบทพิสูจน์ถึงบทบาทของธนาคารออมสินในฐานะ Social Bank ที่ไม่เพียงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับการให้บริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังขับเคลื่อนการสร้าง Social Impact เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ธนาคารยังคงยึดมั่นในหลักการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบตามแนวทาง ESG เพื่อก้าวสู่เป้าหมายความยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม ตลอดจนเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว  

01 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner