Responsive image

Tuesday, 15 Jul 2025

หน้าแรก > INSURANCE / ประกันภัย - ประกันชีวิต


OCEAN LIFE ไทยสมุทร ยืนยันศักยภาพดูแลลูกค้าก้าวผ่านวิกฤต COVID – 19 ด้วยฐานะการเงินที่มั่นคง พร้อมประกันสุขภาพและบริการ Digital Healthcare Services

Sun 06/02/2565


บมจ.ไทยสมุทรประกันชีวิต รักคือพลังของชีวิต โดยคุณนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ (CEO) ตระหนักถึงความกังวลของลูกค้าผู้เอาประกันภัยในเรื่องของการรับความคุ้มครองจากสถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ของ COVID – 19 ที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ดังนั้น OCEAN LIFE ไทยสมุทร จึงขอยืนยันให้ลูกค้าผู้เอาประกันมั่นใจได้ว่า บริษัทมีความมั่นคงเพียงพอ มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง และมีความพร้อมในการดูแลให้ความคุ้มครองลูกค้าตามกรมธรรม์ที่ลูกค้าถือไว้ทุกประการ โดยตั้งแต่การเริ่มต้นแพร่ระบาดของ COVID – 19 ในปี  2563 จนถึงปัจจุบัน บริษัทได้จ่ายเคลมตามกรมธรรม์ให้กับลูกค้าที่เจ็บป่วยและเสียชีวิตจาก COVID - 19 ไปแล้วกว่า 4,700 ครั้ง มียอดเคลมกว่า 247 ล้านบาท นอกจากนั้น ยังมีมาตรการเสริมความคุ้มครอง COVID -19 ครอบคลุมรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นบริการ Digital Healthcare Services ที่ช่วยดูแลสุขภาพลูกค้าแบบครบวงจร โดยเฉพาะ OCEAN LIFE TELEMED บริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์ ที่เหมาะกับลูกค้าที่มีโรคประจำตัวหรือเจ็บป่วยไม่สบายเล็กน้อย ช่วยลดความเสี่ยงจากการเดินทางเพิ่มความปลอดภัยให้กับลูกค้า

OCEAN LIFE ไทยสมุทร ดำเนินธุรกิจเคียงข้างสังคมไทยมายาวนานกว่า 7 ทศวรรษ โดยยึดมั่นในหลักจริยธรรมทางธุรกิจ และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียในทุกภาคส่วน ตลอดจนมีเสถียรภาพทางการเงินที่มั่นคงเพียงพอในการดูแลให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยทุกคนตามกรมธรรม์จนกว่าจะสิ้นสุดสัญญาพร้อมยึดมั่นคำสัญญาในการปฏิบัติตามข้อผูกพันของเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยทุกกรมธรรม์ที่ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดย ณ 31 ธันวาคม 2564 บริษัท มีสินทรัพย์รวมจำนวนกว่า 99,000 ล้านบาท เงินสำรองประกันชีวิตจำนวนกว่า 76,000 ล้านบาท และมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน Capital Adequacy Ratio (CAR) อยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 445.59 % นับว่าเป็นอันดับต้น ๆ ของธุรกิจประกันชีวิต และสูงกว่าเงินกองทุนขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดที่ 120% ซึ่งสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทางเงิน และศักยภาพในการดูแลลูกค้าจำนวนกว่า 2 ล้านคนของบริษัท

ในขณะเดียวกัน OCEAN LIFE ไทยสมุทร ได้พัฒนาแบบประกันสุขภาพที่รวบรวมข้อมูลความต้องการในยุค Next Normal ให้ตอบโจทย์ผู้ที่มองหาความคุ้มครองครอบคลุมค่ารักษาโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น “สัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพ โอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นจอยเฮลท์” ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (IPD) แบบเหมาจ่ายสูงสุด 5,000,000 บาทต่อครั้ง หรือสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพ “โอเชี่ยนไลฟ์ เอ็นชัวร์ เฮลท์” ที่พร้อมดูแลคนไทยให้มั่นใจในการใช้ชีวิต หมดห่วงเรื่องค่ารักษาพยาบาลในยามที่เจ็บป่วย ด้วยเบี้ยประกันภัยเริ่มต้นในราคาที่จ่ายไหวเพียงหลักร้อยต่อเดือน และสามารถเลือกค่าห้องได้สูงสุด 5,000 บาทต่อวัน* ซึ่งสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพทั้ง 2 แบบ ให้ความคุ้มครองครอบคลุมรวมทั้งโรคระบาดจากไวรัส COVID – 19 เพื่อตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้าในทุกกลุ่ม และทุก Generation

นอกจากนั้น เพื่อดูแลลูกค้าท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID – 19 ระลอกล่าสุด ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ OCEAN LIFE ไทยสมุทรได้จับมือกับโรงพยาบาลเครือข่ายของบริษัทให้ บริการ “OCEAN LIFE TELEMED” บริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลชั้นนำจำนวน 35 แห่งครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ สำหรับผู้เอาประกันภัยทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและมีความจำเป็นต้องติดตามอาการจากแพทย์ รวมถึงรับยารักษาโรคอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกจากบ้าน และอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าผู้เอาประกันภัย โดยลูกค้าที่จะใช้บริการ “OCEAN LIFE TELEMED” ต้องเป็นผู้เอาประกันภัยที่มีผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก (OPD) และเคยมีประวัติการรักษาด้วยโรคเรื้อรัง อาทิ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ฯลฯ  ในโรงพยาบาลเครือข่ายที่ให้บริการ OCEAN LIFETELEMED ซึ่งบริการดังกล่าวนี้ ให้ความคุ้มครองเฉพาะค่าแพทย์ และค่ายารักษาโรค เป็นไปตามเงื่อนไขของกรมธรรม์กำหนด โดยสามารถใช้บริการได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป (หากมีการเปลี่ยนแปลงจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง)

และสำหรับลูกค้าผู้เอาประกันที่มีประกันสุขภาพ** ที่มีผลการตรวจแบบ RT-PCR พบว่าติดเชื้อ COVID-19 OCEAN LIFE ไทยสมุทร พร้อมส่งมอบชุดดูแลสุขภาพที่บ้านLOVE LIFE SET"  ประกอบด้วยปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว หน้ากากผ้าโอชิ 1 ชิ้น เจลแอลกอฮอล์ 1 ชิ้น และบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์ 1 ครั้ง เพื่อให้ลูกค้าใช้ดูแลสุขภาพและตรวจสอบอาการในเบื้องต้นระหว่างรอเข้ารับการรักษา โดยสามารถติดต่อขอรับชุดดูแลสุขภาพที่บ้านได้ตั้งแต่วันนี้ - 31 มีนาคม 2565 (จำกัด 100 ชุด หรือจนกว่าชุดดูแลสุขภาพที่บ้านจะหมด แล้วแต่เหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นก่อน)

สอบถามข้อมูลบริการ OCEAN LIFE TELEMED หรือขอรับชุดดูแลสุขภาพที่บ้านLOVE LIFE SET"  ได้ที่ OCEAN Claim Hotline โทร.0 2207 8888 กด 2 ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

OCEAN LIFE ไทยสมุทร ดำเนินธุรกิจโดยให้ความสำคัญต่อความมั่นคงแข็งแกร่งทางการเงิน และการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี คำนึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญพร้อมเดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพที่หลากหลาย เพื่อช่วยดูแลลูกค้าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID – 19 พร้อมบริการดิจิทัลที่ตอบโจทย์ยุค NOW NORMAL เพื่อเพิ่มความสะดวกปลอดภัย ลดเสี่ยงเลี่ยงสัมผัส ให้กับลูกค้า เพื่อสามารถก้าวผ่านทุกวิกฤตไปด้วยกันอย่างดีที่สุด ...สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ตัวแทน OCEAN LIFE ไทยสมุทร ณ สำนักงานสาขา 143 แห่งทั่วประเทศ หรือติดต่อศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์    0 2207 8888 หรือเว็บไซต์ www.ocean.co.th


Tags : OCEAN LIFE ไทยสมุทร นุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ ไทยสมุทรประกันชีวิต โควิด-19 COVID-19


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อเร็ว ๆ นี้      

14 Jul 2025

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner