Responsive image

Tuesday, 15 Jul 2025

หน้าแรก > TECHNOLOGY-AUTO-PROPERTY


จีเอเบิล เผยแผนปี 65 เร่งสปีดมุ่งสู่ผู้นำ “Tech Enabler" ช่วยลูกค้าเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และปลอดภัยจากภัยไซเบอร์ในยุคดิจิทัล พร้อมตั้งเป้ายอดขายสู่ 10,000 ล้านบาทใน 5 ปี

Fri 11/03/2565


กลุ่มบริษัทจีเอเบิล (G-Able) ผู้นำด้าน "Tech Enabler" ที่ช่วยยกระดับธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลในทุกมิติ ประกาศทิศทางการดำเนินธุรกิจปี 2565 ด้วยความมุ่งมั่นที่จะ “Reshaping The Next” ยกระดับจาก System Integration Plus Plus: SI++ ก้าวสู่การเป็น "Tech Enabler" ผู้นำศักยภาพความพร้อมทางเทคโนโลยีทุกด้านเพื่อช่วยให้องค์กรธุรกิจเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและมีความปลอดภัยจากภัยไซเบอร์ในโลกยุคดิจิทัล พร้อมตอกย้ำความสำเร็จที่ผ่านมาด้วยตัวเลขยอดขาย รายได้ และกำไรที่เติบโตต่อเนื่องกว่าเท่าตัว พร้อมตั้งเป้ายอดขาย 10,000 ล้านบาทใน 5 ปี  

ดร.ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทจีเอเบิล กล่าวว่า “ปี 2564 เป็นปีที่จีเอเบิลประสบความสำเร็จอย่างมากทั้งยอดขายและรายได้ในทุกพอร์ตฟอลิโอโดยกลุ่มโซลูชัน G Security ของบริษัทฯ ขยายตัวเกินความคาดหมาย ด้วยยอดขายกว่า 1,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น (CAGR) 42% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการตอกย้ำจุดยืนของจีเอเบิลในฐานะผู้นำทางด้าน Cybersecurity ของประเทศไทย ส่วนกลุ่มโซลูชัน G Cloud มีอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น (CAGR) ถึง 33% ในช่วง 3 ปีเช่นกัน และกลุ่มโซลูชัน G Big Data เติบโตขึ้น 33% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ในขณะที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ G Digital Product ก็เติบโตขึ้นถึง 76% ในระยะเวลาเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ ส่งผลให้กำไรของจีเอเบิลสูงขึ้น และมีกำไรขั้นต้น (GP) สูงขึ้นถึงเกือบ 200 BPS ในปี 2564 นี่คือความสำเร็จในส่วนของธุรกิจหลักของจีเอเบิล ซึ่งถือว่าเป็น cash cow และฐานรากที่สำคัญ”

“ความสำเร็จและการเติบโตดังกล่าวเป็นไปตามแผนธุรกิจตามกลยุทธ์ G-Able Tree ที่เราได้ประกาศไว้ในปีที่แล้ว ซึ่งเราเปรียบธุรกิจของจีเอเบิลเหมือนต้นไม้ที่มีธุรกิจหลักเป็นรากอันมั่นคง และแตกแขนงกิ่งก้านอย่างแข็งแรงเป็นธุรกิจ Startup นอกจากนี้ ความมุ่งมั่นของเราที่จะ “Reshaping the Next” หรือการสร้างการเติบโตจากโอกาสที่มีอยู่ในตลาดที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ประกอบกับวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ ที่ชัดเจน พร้อมกับการมีผลิตภัณฑ์และบริการที่ดี ทำให้เราสามารถช่วยยกระดับลูกค้าในหลายอุตสาหกรรมเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจดิจิทัลที่พร้อมสำหรับอนาคต” ดร.ชัยยุทธกล่าว

จากความสำเร็จในปีที่ผ่านมาและเทรนด์ของธุรกิจไอทีทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้น จีเอเบิลยังคงมุ่งเน้นกลยุทธ์ G-Able Tree อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างจุดเด่นและความแตกต่างในการให้บริการ ภายใต้วิสัยทัศน์ในการดำเนินงานดังนี้

กลยุทธ์ที่ 1 ซึ่งเป็น Core business ที่เปรียบเหมือนฐานรากของต้นไม้ โดยบริษัทฯ ได้ยกระดับจากการเป็น SI++ สู่ "Tech Enabler" ซึ่งจะนำศักยภาพความพร้อมทางเทคโนโลยีในทุกด้าน ไปช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและต่อยอดโอกาสทางธุรกิจในโลกดิจิทัลให้กับลูกค้า อีกทั้งความสามารถในรับมือกับวิกฤติในอนาคตด้วยเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยและยืดหยุ่น ซึ่งในปีนี้ จีเอเบิล จะมุ่งเน้นกลุ่มโซลูชัน G Securityและ G Cloud

  • กลุ่มโซลูชัน G Security มุ่งเน้นคอนเซ็ปต์และเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าอย่าง Cybersecurity Mesh Architecture และ Zero Trust Network Access โดยบริษัทฯ วางแผนเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าทุกระดับตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดเล็ก สามารถเข้าถึง โซลูชันที่ล้ำสมัย เพื่อปกป้องระบบและข้อมูลจากภัยไซเบอร์ ด้วยต้นทุนที่จับต้องได้  พร้อมกันนี้
    จีเอเบิลมีแผนการร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจที่มีศักยภาพ เพื่อร่วมพัฒนาโซลูชันให้แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น พร้อมขึ้นเป็นผู้นำด้าน Cybersecurity อันดับ1 ของประเทศไทยที่มียอดขายมากกว่า 1,000 ล้านบาท และคาดว่าจะขยายธุรกิจให้เติบโตกว่าเท่าตัว ภายใน 3 ปี
  • กลุ่มโซลูชัน G Cloud ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของธุรกิจใน  VUCA World โลกยุคใหม่ที่มี ความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความซับซ้อน (Complexity) และคลุมเครือ (Ambiguity) ซึ่ง Cloud Technology จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจมีความยืดหยุ่นมากขึ้น มีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมให้พนักงานของทุกองค์กรธุรกิจทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา โดย จีเอเบิล เป็นหนึ่งในผู้นำด้านคลาวด์เทคโนโลยีรายใหญ่ในประเทศไทย และตั้งเป้าการเติบโตประมาณ 400 ล้านบาทในปี 2565
  • กลุ่ม Advance Integration Solution เป็นการนำเอาโซลูชันต่างๆ เช่น Digital Product Development Solution, Business Intelligence, Data Analytics และเทคโนโลยีอื่น ๆ มาเสริมแกร่งซึ่งกันและกันเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่ลูกค้า โดยคาดการเติบโตเป็นเลข 2 หลัก

กลยุทธ์ที่ 2 เป็นส่วนของลำต้นไม้ จีเอเบิลจะทำงานควบคู่กับลูกค้าในฐานะ Business Enabler โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง Data Modernization ที่บริษัทฯ จะผสานจุดแข็งของธุรกิจลูกค้าเข้ากับจุดแข็งทางเทคโนโลยีของจีเอเบิล เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ร่วมกัน  

กลยุทธ์ที่ 3 เปรียบเสมือนกิ่งก้านของต้นไม้ บริษัทฯ มุ่งเสริมแกร่งด้วยกลุ่มธุรกิจ Tech Spin-off  ซึ่งเป็นกลุ่ม Startup
ของจีเอเบิลที่ต่อยอดมาจากกลยุทธ์ Own IP Platform หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลิขสิทธิ์ของจีเอเบิล ในปีที่แล้ว ควบคู่ไปกับการเพิ่มมูลค่าธุรกิจสูงสุดในแต่ละ Startup รวมถึงเป็นการสร้าง new S-Curve ให้กับจีเอเบิลด้วย โดยทั้ง 3 บริษัทสตาร์ทอัพหลัก ได้แก่ Blendata, InsightEra และ MVerge จะเป็นตัวช่วยเร่งการเติบโตแบบก้าวกระโดดให้แก่กลุ่มบริษัท

  • Blendata (เบลนเดต้า) มุ่งพัฒนา Blendata platform ที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลทั้งหมดขององค์กรมาไว้ที่เดียว เพื่อให้การใช้งานและจัดการกับข้อมูลมีประสิทธิภาพสูงสุด นำมาประมวลผลและวิเคราะห์สำหรับต่อยอดโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ในอนาคต และในปี 2565 เบลนเดต้ามุ่งพัฒนา Ready to use Artificial Intelligence (AI) และ Machine Learning Solution ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถใช้ Big Data ได้มีประสิทธิผลมากขึ้น พร้อมทั้งยกระดับความเร็วเหนือกว่าคู่แข่งและการใช้ง่ายที่เข้าถึงได้ทุกเวลาที่ต้องการ นอกจากนี้ยังเตรียมออกผลิตภัณฑ์ใหม่อีก
    2 ตัว ซึ่งตั้งเป้าการเติบโตกว่าเท่าตัวในปีนี้
  • InsightEra (อินไซท์เอรา) นำเสนอ MARTECH ( Marketing Technology) ซึ่งเป็น platform ใหม่ของการตลาดที่ช่วยให้องค์กรแข่งขันได้ในยุคดิจิทัล ช่วยให้ลูกค้าสามารถจับพฤติกรรมใหม่ ๆ ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยให้ความสำคัญที่ “ความเร็ว” และ “ความแม่นยำ” เป็นหลัก ทำให้ธุรกิจสามารถตอบสนองตลาดได้แบบ real-time และตรงความต้องการผู้บริโภคอย่างแท้จริง ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถกำหนดและปรับกลยุทธ์การตลาดได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ลูกค้าเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ทั้งนี้ InsightEra ตั้งเป้าการเติบโตมากกว่า 100% ในปีนี้
  • MVerge (เอ็มเวิร์จ) มุ่งพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการและเทรนด์ของตลาดในยุคดิจิทัล โดย MVerge ได้พัฒนา platform ตัวใหม่ชื่อว่า “SPACE” ซึ่งเป็นการนำ Advance Technology มาช่วยในการบริหารจัดการพื้นที่ทั้งในโลกจริงและโลกเสมือน โดยช่วยจำลองสถานที่ กำหนดพื้นที่ให้ผู้เช่า ออกแบบร้านค้าและโฆษณา อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสให้ร้านค้าเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้มากขึ้นด้วยคอนเซ็ปต์ Omnichannel ที่เชื่อมร้านค้าทั้งโลกจริงและโลกเสมือนอย่างไร้รอยต่อ นอกจากนี้ยังสามารถนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อให้เห็นแนวทางการตัดสินใจและความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคได้อย่างแม่นยำ โดยคาดว่า MVerge จะเติบโตได้มากกว่าเท่าตัวและเป็นหนึ่งในผู้เล่นหลักในตลาด

นอกจาก 3 กลยุทธ์หลักที่สร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มบริษัทจีเอเบิลแล้ว บริษัทฯ ยังมีแบ็คล็อก (backlog) หรือยอดขายที่รอการรับรู้รายได้มากกว่า 3,000 ล้านบาท พร้อมตั้งเป้าเติบโตยอดขายหนึ่งเท่าตัว จาก 5,000 ล้านบาท เป็น 10,000 ล้านบาทภายใน 5 ปี

“ด้วยกลยุทธ์ที่แข็งแกร่งและการเติบโตแบบก้าวกระโดดของธุรกิจ Tech Spin-off เรามั่นใจว่าจีเอเบิลจะเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน พร้อม “Reshaping the Next” เพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ และสนับสนุนลูกค้าของเราให้สามารถแข่งขันในโลกดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งได้รับการป้องกันจากภัยไซเบอร์และมีความยืดหยุ่นในธุรกิจ ซึ่งทั้งหมดคือเป้าหมายที่เราจะไป
ให้สำเร็จใน 5 ปี” ดร.ชัยยุทธ กล่าว


Tags : จีเอเบิล กลุ่มบริษัทจีเอเบิล (G-Able) Tech Enabler ดร.ชัยยุทธ ชุณหะชา


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อเร็ว ๆ นี้      

14 Jul 2025

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner