Responsive image

Saturday, 27 Jul 2024

หน้าแรก > INSURANCE/ประกันภัย-ประกันชีวิต


บอร์ด คปภ. เห็นชอบให้นายทะเบียนสั่ง “พุทธธรรมประกันภัย” หยุดรับประกันวินาศภัยชั่วคราวแล้ว

Sat 28/05/2565


  • เผยปมปัญหา บริษัท พุทธธรรมประกันภัย จำกัด (มหาชน) ฝ่าฝืนกฎหมายหลายประการ ดํารงเงินกองทุนต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด มีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน ประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน นายทะเบียนจึงสั่งให้บริษัทเร่งแก้ไขฐานะการเงินภายในกำหนด ห้ามรับลูกค้ารายใหม่ ห้ามโยกย้ายทรัพย์สิน ยกเว้นเอามาจ่ายเคลม พร้อมย้ำต้องคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนอย่างเต็มที่

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (บอร์ด คปภ.) ครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบให้บริษัท พุทธธรรมประกันภัย จำกัด (มหาชน) หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป 

ทั้งนี้ สืบเนื่องจาก บริษัท พุทธธรรมประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมายในเดือนพฤษภาคม 2564 ต่ำกว่าเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามมาตรา 27 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 นายทะเบียนจึงสั่งให้บริษัทฯ แก้ไขฐานะเงินกองทุนตามมาตรา 27/5 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และบริษัทฯ ได้เสนอโครงการเพื่อแก้ไขฐานะเงินกองทุนตามมาตรา 27/5 โดยกำหนดระยะเวลาดำเนินโครงการเริ่มตั้งแต่ 1 กันยายน 2564 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564 และขอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขฐานะเงินกองทุนตามมาตรา 27/5 ออกไปเป็นสิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม 2565 ซึ่งนายทะเบียนพิจารณาแล้วเห็นว่า บริษัทฯ มีความคืบหน้าในการแก้ไขโครงการโดยมีการเพิ่มทุน จำนวน 140 ล้านบาท มีความพยายามในการแก้ไขฐานะการเงิน ไม่มีการประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย ดังนั้น จึงเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ ตามที่บริษัทฯ ร้องขอ

ต่อมาในช่วงเดือนมกราคม 2565 บริษัทฯ ไม่สามารถเพิ่มทุนให้เป็นไปตามโครงการเพื่อแก้ไขฐานะเงินกองทุนได้ เนื่องจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติด้วยคะแนนเสียงน้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดจึงทำให้บริษัทฯ ไม่สามารถนำมตินั้นไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนจดทะเบียนต่อนายทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัดได้ บริษัทฯ จึงมีหนังสือขอให้นายทะเบียนใช้อำนาจสั่งให้บริษัทฯ เพิ่มทุน จำนวน 160 ล้านบาท นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (บอร์ด คปภ.) จึงใช้อำนาจตามมาตรา 52 วรรคหนึ่ง และวรรคสามแห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สั่งให้บริษัทฯ เพิ่มทุน และต้องดำเนินการเพิ่มทุนชำระแล้วให้ครบจำนวน 160 ล้านบาท ภายในเดือนเมษายน 2565 ตามที่บริษัทฯ ร้องขอ โดยให้ถือว่าคำสั่งของนายทะเบียนดังกล่าวเป็นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น แต่เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่นายทะเบียนสั่งให้บริษัทฯ เพิ่มทุนบริษัทฯ ไม่สามารถดำเนินการเพิ่มทุนชำระแล้วให้ครบจำนวน 160 ล้านบาท ให้แล้วเสร็จ ทั้งปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่า บริษัท พุทธธรรมประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีฐานะการเงินและการดำเนินการ ดังนี้                   

1. มีฐานะการเงินไม่มั่นคง โดยมีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน จัดสรรเงินสำรองตามมาตรา 23 และจัดสรรสินทรัพย์หนุนหลังตามมาตรา 27/4 ไม่เพียงพอตามที่กฎหมายกำหนด มีสินทรัพย์สภาพคล่องไม่เพียงพอสำหรับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน และปรากฏว่าอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัทฯ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564 เนื่องจากไม่สามารถ
หาหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอเพื่อเป็นเกณฑ์ในการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าว และเห็นว่า บริษัทฯ มีความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญทำให้มีข้อสงสัยเกี่ยวกับความสามารถของบริษัทฯ ในการดำเนินงานต่อเนื่องจึงทำให้นายทะเบียนไม่สามารถมั่นใจได้ว่าบริษัทฯ มีความสามารถในการชำระหนี้ตามภาระผูกพันที่มีต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนได้ นอกจากนี้เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2565 กรรมการผู้มีอำนาจผูกพันของบริษัทฯ แจ้งว่า ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทฯ ไม่ประสงค์จะเพิ่มทุนเพิ่ม บริษัทฯ จึงไม่มีแหล่งเงินทุนอื่นนอกเหนือจากการรอผลการเจรจาจากผู้สนใจในการร่วมลงทุนกับบริษัทฯ ตามที่บริษัทฯ แจ้งต่อนายทะเบียน ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้า

 2. มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมจ่ายค่าสินไหมทดแทนล่าช้า อันเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 36 และมาตรา 37 (11) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ประกอบกับประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่ถือว่าเป็นการประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือประวิงการคืนเบี้ยประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย และประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2559รวมทั้ง ยังคงมีจำนวนค่าสินไหมทดแทนคงค้างจำนวนมากจนส่งผลกระทบต่อฐานะและการดำเนินการของบริษัทฯ ตลอดจนชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของธุรกิจประกันภัย ซึ่งสำนักงาน คปภ. อยู่ในระหว่างการสืบสวนข้อเท็จจริงและดำเนินการตามกฎหมายกับบริษัทฯ

จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏหลักฐานดังกล่าว นายทะเบียนจึงเห็นว่า บริษัท พุทธธรรมประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีฐานะหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน อันเป็นไปตามมาตรา 52 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 ดังนั้น เพื่อให้การกำกับดูแลและติดตามการแก้ไขปัญหาฐานะและการดำเนินการของบริษัทฯ ให้เป็นไปอย่างรอบด้าน ครอบคลุมทั้งการติดตามความมั่นคงทางการเงินและธุรกรรมการดำเนินงานที่ถูกต้องโปร่งใส รวมถึงป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัยและประชาชนในอนาคต ประกอบกับเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ประโยชน์สาธารณะ

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 52 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ในการประชุมครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (บอร์ด คปภ.) จึงมีคำสั่งให้บริษัท พุทธธรรมประกันภัย จำกัด (มหาชน) ดำเนินการ ดังต่อไปนี้

1. หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว

2. แก้ไขฐานะการเงินให้เพียงพอต่อภาระผูกพัน และให้มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนเพียงพอตามที่กฎหมายกำหนดภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง

3. ให้บริษัทฯ เร่งดำเนินการตรวจสอบรายการรับแจ้งการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนและเร่งดำเนินการบันทึกลงสมุดทะเบียนโดยเร็วและให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

4. ให้บริษัทฯ จัดทำรายงานเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้รายละเอียดกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังคงมีผลบังคับใช้เป็นรายกรมธรรม์ประกันภัย เช่น หมายเลขกรมธรรม์ประกันภัย ชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ของผู้เอาประกันภัย จำนวนเงินที่ต้องชดใช้ตามกรมธรรม์ประกันภัย และสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัท (UPR) เป็นรายกรมธรรม์

5. ให้บันทึกรายการในสมุดทะเบียน สมุดบัญชี คำนวณและดำรงเงินสำรองประกันภัยให้ถูกต้อง ครบถ้วนตามกฎหมาย

6. ให้เร่งรัดพิจารณาและชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ บุคคลผู้มีสิทธิเรียกร้องหรือผู้ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

7. ให้จัดทำรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการและนำส่งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง โดยให้ดำเนินการตามข้อ 2 ทุกเจ็ดวัน และดำเนินการตามข้อ 3, 4 และ 5 ทุกวันทำการ

ทั้งนี้ ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งให้บริษัทหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ห้ามมิให้กรรมการ พนักงาน และลูกจ้างของบริษัทฯ สั่งจ่ายเงินของบริษัทฯ หรือทำการเคลื่อนย้ายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทฯ เว้นแต่เป็นการจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างแก่พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทฯ ตามปกติ สำหรับการจ่ายเงินอื่นให้เป็นไปตามที่นายทะเบียนกำหนด รวมถึงให้บริษัทฯ รายงานเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบถึงบรรดาเจ้าหนี้และลูกหนี้ทั้งหมดของบริษัทฯ ภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด

นอกจากนี้บอร์ด คปภ. ยังมีมติในกรณีที่บริษัทฯ ไม่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาฐานะการเงินและการดำเนินงานตามคำสั่งนายทะเบียนได้อย่างครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น หรือปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัทฯ มีการดำเนินการที่อาจเข้าข่ายการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายเพิ่มเติม หรือนายทะเบียนพิจารณาแล้วเห็นว่าหากรอให้ครบกำหนดระยะเวลาที่กำหนดข้างต้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน จึงให้สำนักงาน คปภ. ดำเนินการตามมติคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (บอร์ด คปภ.) ครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 ต่อไป

“การออกคำสั่งนายทะเบียนดังกล่าวจะช่วยให้สำนักงาน คปภ. สามารถคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประชาชนได้เต็มที่และตามประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดการจ่ายเงินของบริษัทฯ ที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ทำให้สำนักงาน คปภ. สามารถเข้าไปควบคุมการจ่ายเงินต่าง ๆ ของบริษัทฯ ได้ทั้งหมด และจัดการปัญหาการจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยได้สั่งการไปยังสายตรวจสอบ สายวิเคราะห์ธุรกิจประกันภัย และสายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ตลอดจนสำนักงาน คปภ. ทั่วประเทศ ตรวจสอบสาขา/สำนักงานตัวแทนของบริษัทฯ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบและให้ดำเนินการแจ้งการสั่งหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว เพื่อป้องกันไม่ให้บริษัท/ตัวแทน/นายหน้าประกันภัยขายกรมธรรม์รายใหม่ในระหว่างการหยุดรับประกันภัย พร้อมทั้ง ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่เข้าไปประจำที่บริษัทฯ อย่างเต็มพิกัด เพื่อควบคุมให้บริษัทฯ ดำเนินการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน หากพบว่าบริษัทฯ ไม่ได้ดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน ก็จะดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายในระดับที่เข้มข้นยิ่งขึ้นต่อไป สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทฯ สำนักงาน คปภ. จะตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป หากพบว่ามีการกระทำความผิดจะดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ หากประชาชนมีข้อสงสัยหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม ติดต่อได้ที่สายด่วน คปภ. 1186 หรือ www.oic.or.th” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย


Tags : คปภ. ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ บอร์ด คปภ. พุทธธรรมประกันภัย


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน มอบรางวัลทองคำแท่งหนัก 10 กิโลกรัม มูลค่าประมาณ 26.5 ล้านบาท (ราคา ณ วันที่ 23 เมษายน 2567) ให้แก่ คุณกานดา กาญจนเพิ่มพูน ลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี โดยเป็นผู้โชคดีจากการถูกรางวัลสลากออมสินพิเศษ 1 ปี งวดที่ 606 หมวดอักษร G หมายเลขสลาก 8178397 เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 111 ปี ซึ่งมีการออกรางวัลไปเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยคุณกานดา เป็นลูกค้าธนาคารออมสิน และมีการออมเงินกับธนาคารมาอย่างต่อเนื่อง แต่ได้มีการฝากสลากออมสินเพียง 4 ปี หลังทราบข่าวว่ามีการลุ้นรางวัลใหญ่ และเป็นการเก็บออมเงินด้วย จึงอยากเชิญชวนประชาชนให้มาออมเงินด้วยการฝากสลากออมสิน     นอกจากจะได้ลุ้นรางวัลแล้ว การเป็นลูกค้าธนาคารออมสินเท่ากับเราได้ช่วยสังคม ณ ธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 สำหรับสลากออมสินพิเศษ 1 ปี หน่วยละ 100 บาท ไม่จำกัดวงเงินรับฝากสูงสุด เมื่อฝากครบกำหนด 1 ปี จะได้รับเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยหน่วยละ 0.25 บาท และยังมีสิทธิ์ลุ้นรางวัลที่ 1 มูลค่า 10 ล้านบาท และรางวัลอื่น ๆ ได้ทุกวันที่ 16 ของทุกเดือน รวม 12 ครั้ง ผู้สนใจสามารถฝากสลากออมสินได้ที่ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ และแอป MyMo  

26 Jul 2024

...

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) มอบสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าที่สมัครและชำระค่าเบี้ยผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบรายปีในปีแรก ตามแผนประกันที่เข้าร่วมรายการ ของ บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ผ่านสาขาธนาคารกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 – 30 กันยายน 2567 และคำขอเอาประกันได้รับการอนุมัติภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2567 จะได้รับเงินคืนเข้าบัญชีออมทรัพย์ ตามรายละเอียดดังนี้   เบี้ยประกันชีวิต (บาท) ต่อ 1 กรมธรรม์ เงินคืนตามแผนประกัน (บาท) ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ร่วมรายการ ผลิตภัณฑ์ประกัน* 20/5(+), 20/10(+), 18/5, 90/5, 90/10 8,000 - 99,999 300 300 100,000 – 399,999 1,000 1,500 400,000 – 699,999 5,000 15,000 700,000 – 999,999 10,000 20,000 ทุก ๆ 1,000,000 25,000 50,000   นอกจากนี้ ยังจะได้รับสถานะ KRUNGSRI EXCLUSIVE หรือ KRUNGSRI PRIME เมื่อสมัครและชำระเบี้ยประกันชีวิตปีแรกตั้งแต่ 2 แสนบาทขึ้นไป โดยมีรายละเอียดดังนี้ -รับสถานะ KRUNGSRI EXCLUSIVE เป็นระยะเวลา 3 ปี พร้อมรับเอกสิทธิ์เทียบเท่าลูกค้ายอดเงินฝาก และ/หรือเงินลงทุนตั้งแต่ 10 ล้านบาท เมื่อสมัครและชำระเบี้ยประกันชีวิตปีแรก ตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป ภายในปีปฏิทินเดียวกัน และภายใต้ชื่อผู้เอาประกันภัยเดียวกัน -หรือรับสถานะ KRUNGSRI PRIME เป็นระยะเวลา 3 ปี พร้อมรับเอกสิทธิ์เทียบเท่าลูกค้ายอดเงินฝาก และ/หรือเงินลงทุนตั้งแต่ 1 ล้านบาท เมื่อสมัครและชำระเบี้ยประกันชีวิตปีแรก ตั้งแต่ 2 แสนบาทแต่ไม่ถึง 5 แสนบาท ภายใต้ชื่อผู้เอาประกันภัยเดียวกันและกรมธรรม์เดียวกัน              

14 Jul 2024

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า จากปัญหาภัยทุจริตทางการเงินที่มีประชาชนได้รับความเสียหายจากการถูกมิจฉาชีพหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันและถูกดูดเงินออกจากบัญชีธนาคาร ทำให้ต้องสูญเสียทรัพย์โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แม้ธนาคารและหน่วยงานต่าง ๆ ได้มีการเตือนภัยประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อช่วยลูกค้าประชาชนลดความเสี่ยงจากการถูกหลอกลวงเมื่อทำธุรกรรมผ่านบริการทางการเงินดิจิทัล ธนาคารออมสินจึงได้ยกระดับความปลอดภัยของบริการ Mobile Banking โดยการเพิ่มโหมดบริการ MyMo Secure+ ที่จำกัดการทำธุรกรรมเฉพาะบัญชีของตนเองเท่านั้น กรณีมือถือโดนแฮก หรือโดนควบคุมมือถือผ่านรีโมท มิจฉาชีพก็จะไม่สามารถโอนเงินของเราไปยังบัญชีอื่น หรือบัญชีบุคคลที่ 3 ได้ ถือเป็นการจำกัดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งธนาคารออมสินเป็นธนาคารแรกที่ริเริ่มติดตั้งโหมดปลอดมิจฉาชีพสำหรับให้บริการลูกค้าบนแอปพลิเคชัน MyMo Secure+ หรือ MyMo Secure Plus เป็นโหมดบริการบนแอป MyMo ที่ให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการได้ง่าย ๆ และปลอดภัยมากขึ้น เหมาะสำหรับลูกค้ากลุ่มเปราะบางที่อาจตกเป็นเหยื่อภัยทางการเงินได้ง่าย อาทิ ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ไม่รู้เท่าทันมิจฉาชีพ โดยเมื่อลูกค้าเปลี่ยนมาใช้โหมดบริการ MyMo Secure+ จะสามารถใช้บริการที่เน้นการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านบัญชีของตนเองเท่านั้น โดยจำกัดการทำรายการเฉพาะเท่าที่จำเป็น เช่น การโอนเงินไปยังบัญชีตนเองภายในธนาคาร การโอนเงินไปบัญชีต่างธนาคารที่ได้ลงทะเบียนไว้ บัญชีสินเชื่อของตนเอง การชำระค่าสาธารณูปโภค รวมถึงจำกัดวงเงินในการทำธุรกรรมบัญชีตนเองต่างธนาคาร ไม่เกิน 100,000 บาทต่อวัน หรือถอนเงินไม่เกิน 5,000 บาทต่อวัน เป็นต้น โดยลูกค้าเดิมที่ใช้แอป MyMo อยู่แล้ว สามารถเปลี่ยนโหมดเป็น MyMo Secure+ ได้ด้วยตนเองโดยกดที่ปุ่ม MyMo Secure+ มุมขวาบน หรือจากแบนเนอร์หน้าโฮม หรือจากแถบตั้งค่า และเมื่อกดสมัครใช้งานแล้ว จะต้องยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไขการให้บริการ หรือการเปลี่ยนโหมด และมีการยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า จึงสมัครใช้บริการสำเร็จ กรณีลูกค้าต้องการเปลี่ยนกลับไปใช้แอป MyMo รูปแบบทั่วไป สามารถติดต่อแจ้งความประสงค์ได้ที่ธนาคารออมสินทุกสาขา อนึ่ง การยกระดับแอป MyMo ให้มีโหมดความปลอดภัย เป็นการดำเนินงานโดยสอดคล้องกับมาตรการธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีการยกระดับมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน โดยขอความร่วมมือธนาคารต่าง ๆ ในการป้องกันความเสียหาย และมีผลิตภัณฑ์หรือบริการเพิ่มเติมเพื่อดูแลธุรกรรมของลูกค้าให้ปลอดภัยขึ้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงและลดปัญหาการถูกหลอกลวงออนไลน์ โดยธนาคารออมสิน ได้ให้ความสำคัญในมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของระบบการให้บริการที่ถือเป็นหัวใจหลักของการให้บริการ Mobile Banking มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล ด้านการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ISO/IEC 27001 ในเวอร์ชัน ISO/IEC 27001:2022 (Information Security Management System : ISMS) ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน          

07 Jul 2024

...

อลิอันซ์ อยุธยา ร่วมกับ เรซอัพ เวิร์ค ประกาศความพร้อมเตรียมจัดงานวิ่งแห่งปีที่ทุกคนรอคอย Allianz Ayudhya World Run Thailand Series 2024 ภายใต้แนวคิด “World Run World Heritage” งานวิ่งของคนรักษ์โลก “อนุรักษ์มรดกไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” เชิญชวนนักวิ่ง วิ่งย้อนรอยประวัติศาสตร์ ในบรรยากาศสุดคลาสสิก ชิมอาหารเลิศรส และช้อปสินค้าท้องถิ่น วันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2567 ณ ศูนย์ท่องเที่ยวอยุธยา(ศาลากลางเก่า) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา   นางสาวพัชรา ทวีชัยวัฒนะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานบริหารงานลูกค้า บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต กล่าวว่า “งาน “Allianz Ayudhya World Run Thailand Series 2024” ถือเป็นงานวิ่งที่แฟนรายการ Allianz World Run ทุกคนต่างรอคอย เพราะเป็นงานวิ่งที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในการคัดเลือกเส้นทางวิ่งท่ามกลางธรรมชาติ บรรยากาศดี วิ่งสนุก เดินทางสะดวก และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญยังได้สนับสนุนสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นต่างๆของไทยอีกด้วย ในปีนี้ก็เช่นกัน อลิอันซ์ อยุธยา ได้คัดสรรพื้นที่สุดพิเศษในการจัดงาน โดยได้เปลี่ยนบรรยากาศการวิ่งเข้ามาในพื้นที่ประวัติศาสตร์สำคัญของไทย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้ผู้ร่วมงานได้มีโอกาสชมเส้นทางประวัติศาสตร์ ผ่านจุดสำคัญของเมืองเก่าอยุธยา และพิเศษสุดปีนี้ เราได้เพิ่มระยะทาง 5 กิโลเมตร เพื่อให้นักวิ่งหน้าใหม่ที่อาจจะเพิ่งเริ่มวิ่ง ได้ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย ถือเป็นการเริ่มต้นออกกำลังกายไปด้วยกัน ที่จะได้ทั้งความสุขและสุขภาพที่ดีกลับไป สำหรับงาน “Allianz Ayudhya World Run Thailand Series 2024” จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 16 และวันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2567 โดยแบ่งระยะการแข่งขันเป็น 4 ประเภท ได้แก่ แฟมิลี่ฟันรัน 3 กิโลเมตร ในวันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2567 ฮาล์ฟมาราธอน 21.1 กิโลเมตร มินิมาราธอน 10 กิโลเมตร และระยะทาง 5 กิโลเมตร ในวันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2567 นอกจากนี้ภายในงานยังมีโซน Expo อิ่มอร่อยกับอาหาร Local สุดอร่อย และสินค้าจากชุมชน ให้ได้เลือกช้อป พร้อมชมมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินยอดนิยม  บริเวณลานกิจกรรมหน้าศาลากลางเก่า สำหรับงานวิ่งนี้ยังคงเป็นงานวิ่งรักษ์โลก โดยเหรียญและโล่รางวัลทำมาจาพลาสติกรีไซเคิล เหมือนเช่นเคย นอกจากนี้เรายังได้เตรียมของที่ระลึกสุดพิเศษ สำหรับ Finisher อีกด้วย” คุณพัชรา กล่าวทิ้งท้าย Allianz Ayudhya World Run Thailand Series 2024 เปิดจำหน่ายบัตรราคา Ealry bird ตั้งแต่วันนี้ – 10 กรกฎาคม 2567 ในราคา 850 บาท สำหรับ การวิ่งฮาล์ฟมาราธอน 21.1 กิโลเมตร ราคา 650 บาท สำหรับ การวิ่งมินิมาราธอน 10 กิโลเมตร 600 บาท สำหรับ 5 กิโลเมตร พิเศษ! สำหรับนักวิ่งแฟนพันธุ์แท้ ที่เคยร่วมวิ่งกับ Allianz World Run ในระยะ 10 กิโลเมตร และ 21.1 กิโลเมตร รับส่วนลดon top เพิ่มอีก 50 บาท หากคุณเป็นผู้รักสุขภาพ รักการวิ่ง อย่ารอช้า ข้อมูลเพิ่มเติมและสมัครวิ่งได้ที่ https://race.thai.run/worldrun2024 และสนใจติดตามรายละเอียดงานทั้งหมดได้ที่ Facebook: Worldrun Thailand

05 Jul 2024

Banner Banner Banner

Banner
  ทิศทาง ceothailand.net ในปี 2567  “สื่อออนไลน์ CEO THAILAND”   ในปี 2567 จะเป็นปีที่ผม “นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์” จะมาทำหน้าที่บรรณาธิการบริหารสื่อ CEO THAILAND และผู้บริหารสื่อออนไลน์ ceothailand.net อย่างเต็มที่ หลังจากที่ผ่านมาได้ไปเดินแผนงานทางด้านการเมือง แต่หลังจากผ่านพ้นช่วงการเลือกตั้งไปแล้วที่ผ่านมา จึงทำให้ช่วงเวลานี้มีเวลาที่จะมาวางแผนในการเดินหน้าธุรกิจสื่อได้มากขึ้น และในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนับจากนี้ จึงขอเข้ามารับหน้าที่สื่อมวลชน ในการเขียนบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ เรื่องราวในแวดวงเศรษฐกิจ-การเงิน และการประกันภัย ในฐานะของคอลัมนิสต์ ตลอดเวลาที่ผมเข้าไปทำงานทางการเมือง ต้องยอมรับว่าวงการข่าวและสื่อสารมวลชนเปลี่ยนไปเร็ว ตลอดเวลา 5 ปี  สื่อออนไลน์ที่รวดเร็วเข้ามาแทนที่สื่อหลักอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ (ออฟไลน์)  เราต้องยอมรับในเรื่องความรวดเร็ว แต่ต้องไม่ลืมจุดด้อยของสื่อออนไลน์ คือข้อผิดพลาดในการกลั่นกรองข่าวสาร รวมทั้งบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ที่หายไป และข่าวที่ออกมามีความเหมือนกัน  ไม่แตกต่าง และเป็นเชิงภาพข่าว และกิจกรรมเท่านั้น ดังนั้นในปี 2567 นี้  ในหน้าสื่อออนไลน์ CEO THAILAND ท่านผู้อ่านจะได้สัมผัสกับข่าวสารเชิงวิเคราะห์ เจาะลึกแบบออนไลน์ต่อเนื่องในสื่อ CEO THAILAND รวมทั้งการจัดทำเป็น E-Magazine ใน www.ceothailand.net รวมทั้งการจัดทำเป็นรูปเล่มฉบับพิเศษสลับไปบ้างในเรื่องที่สำคัญๆ น่าสนใจ และเป็นประโยชน์กับประชาชนและสังคม ขอขอบพระคุณท่านลูกค้าและผู้สนับสนุนสื่อด้วยดีเสมอมา ตลอดระยะเวลา 19 ปีที่ผ่านมา และขอขอบพระคุณทุกท่าน รวมทั้งผู้อ่านที่ติดตามสื่อ CEO THAILAND ด้วยดีเสมอมาใน www.ceothailand.net   นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา) บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner