Responsive image

Tuesday, 15 Jul 2025

หน้าแรก > ECONOMY- FINANCE / เศรษฐกิจ - การเงิน


ออมสิน จับมือ “บางจาก” และ “ทิพย กรุ๊ป” ร่วมทุนรุกธุรกิจสินเชื่อที่ดินและขายฝาก จัดตั้งบริษัท มีที่ มีเงิน จำกัด

Thu 09/06/2565


เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ณ ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงการทำธุรกิจสินเชื่อที่ดินและขายฝาก ระหว่าง 3 องค์กรที่ร่วมทุนกันจัดตั้งบริษัท มีที่ มีเงิน จำกัด ตั้งเป้าช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs และประชาชนทั่วไป ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนต้นทุนถูกลง และมีเงื่อนไขการกู้ที่เป็นธรรม โดยมีผู้ร่วมลงนาม คือ นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ดร.สมพร สืบถวิลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และ นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)


 

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า จากความตั้งใจเริ่มต้นที่ธนาคารออมสินมุ่งลดความเหลื่อมล้ำทางการเงิน และสร้างการเข้าถึงแหล่งทุนด้วยต้นทุนดอกเบี้ยที่ไม่สูงเกินจริง ซึ่งประสบความสำเร็จจากการปล่อยสินเชื่อ SMEs มีที่ มีเงิน ที่เปิดให้กู้ครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2563 เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs และประชาชนที่ขาดสภาพคล่องจากวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 หรือมีความเสี่ยงสูญเสียที่ดินติดสัญญาขายฝากอย่างไม่เป็นธรรม โดยผ่อนปรนให้ลูกค้าใช้ที่ดินเป็นหลักประกันการกู้ ภายในระยะเวลา 2 ปี สามารถปล่อยสินเชื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการแล้วกว่า 21,000 ล้านบาท จึงเกิดเป็นแนวคิดการจัดตั้งบริษัทเข้าทำธุรกิจแข่งขันในตลาดสินเชื่อที่ดินและขายฝาก เพื่อผลักดันให้เป็นตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ ลดโครงสร้างดอกเบี้ยซึ่งสูงเกินความเป็นจริง ให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากสินเชื่อที่มีต้นทุนถูกลงและมีเงื่อนไขที่เป็นธรรม


บริษัท มีที่ มีเงิน จำกัด จัดตั้งขึ้นด้วยทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท โดยการร่วมทุนของธนาคารออมสิน ในสัดส่วนหุ้น 49% กับ บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) 31% และ กลุ่มบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 20% โดยธนาคารออมสินทำหน้าที่ปล่อยสินเชื่อ ประสานพลังความร่วมมือพร้อมให้บริการผ่านจุดบริการของทั้ง 3 ฝ่าย มีวัตถุประสงค์เพื่อลดภาระของผู้ประกอบการ SMEs และประชาชนรายย่อย ช่วยลดปัญหาหนี้นอกระบบ และสร้างการแข่งขันที่สมบูรณ์ในตลาดสินเชื่อที่ดินและขายฝาก ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถจัดตั้งบริษัทฯ แล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้บริการได้ในไตรมาส 3 เปิดตัวด้วยสินเชื่อที่ดิน อัตราดอกเบี้ย 7-9% ในระยะแรก หลังจากนั้นขยายผลไปทำธุรกิจขายฝากภายในสิ้นปี 2565 ก่อนจะยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ Non-Bank ในปี 2566 เพื่อทำธุรกิจสินเชื่อบุคคลต่อไป ตั้งเป้าปีแรกสามารถปล่อยสินเชื่อได้ 10,000 ล้านบาท ด้วยจุดแข็งด้านฐานลูกค้าของธนาคารออมสินจำนวนมาก และมีจุดบริการครอบคลุมทุกพื้นที่ ทั้งสาขาของธนาคารออมสิน และทิพย กรุ๊ป รวมถึงจุดให้บริการน้ำมันบางจาก รวมกันกว่า 2,300 แห่งทั่วประเทศ


ด้าน ดร. สมพร สืบถวิลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TIPH กล่าวว่า จากแนวทางการดำเนินธุรกิจของ ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ที่มุ่งเน้นการลงทุนไปในธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่สร้างประโยชน์ต่อสังคม ประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ตลอดจนสร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืนให้แก่ผู้ถือหุ้นควบคู่กันไปนั้น สอดคล้องกับการที่ ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ได้เข้าร่วมทุนกับธนาคารออมสิน และบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อประกอบธุรกิจสินเชื่อที่ดินและขายฝาก ผ่านบริษัท มีที่ มีเงิน จำกัดในครั้งนี้ ซึ่งทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ มีความเชื่อมั่นว่าการดำเนินธุรกิจของบริษัท มีที่ มีเงิน จำกัด จะเข้ามาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้ประชาชนที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพด้วยดอกเบี้ยที่มีความเป็นธรรม และเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของภาคประชาชนได้ ซึ่งการร่วมลงทุนบริษัท มีที่ มีเงิน จำกัดในครั้งนี้ จะเป็นอีกหนึ่งครั้งที่ ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ และบริษัทในเครือ ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคมไทย ในภาวะที่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ในทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ การร่วมทุนดังกล่าวยังสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์การลงทุนของบริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ที่ต้องการขยายการลงทุนไปในธุรกิจอื่น ๆ นอกเหนือจากธุรกิจประกันภัยในฐานะธุรกิจหลักของบริษัท โดยเฉพาะธุรกิจที่สอดคล้องกับเทรนด์ของธุรกิจในโลกอนาคต เนื่องจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท มีที่ มีเงิน จำกัด ถือเป็นนวัตกรรมทางการเงินใหม่สำหรับธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (นอนแบงก์) ที่จะเข้ามาช่วยให้ประชาชนมีทางเลือกในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น


นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัทบางจาก กล่าวว่า กลุ่มบางจากให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสังคม เพื่อสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการดูแลและมอบช่วยเหลือในช่วงฟื้นฟูจากผลกระทบของโควิด-19 แก่ผู้มีส่วนได้เสียทางธุรกิจในทุกภาคส่วน รวมถึงภาคการเกษตร ที่บางจากได้ร่วมทำธุรกิจผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ เครือข่ายปั๊มชุมชน และโครงการด้านพลังงานสะอาด เป็นต้น โดยมองว่าการร่วมทุนในนวัตกรรมทางการเงินอย่างธุรกิจสินเชื่อที่ดินและขายฝาก ผ่านบริษัท มีที่ มีเงิน จำกัด ในครั้งนี้ จะมอบโอกาสใหม่ให้กับสมาชิกสหกรณ์การเกษตรและลูกค้าบางจาก ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและต้นทุนสินเชื่อที่เป็นธรรม สำหรับเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินที่จำเป็นต่อการบริโภคหรือการดำเนินธุรกิจ บรรเทาปัญหาภาระหนี้สินและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและประชาชนรายย่อยได้อีกทางหนึ่ง สอดคล้องตามความมุ่งมั่นของกลุ่มบางจาก ที่มุ่งพัฒนานวัตกรรมธุรกิจอย่างยั่งยืนไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคมมาโดยตลอด.


 


Tags : ธนาคารออมสิน ออมสิน วิทัย รัตนากร ทิพยประกันภัย ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ดร.สมพร สืบถวิลกุล กลุ่มบริษัทบางจาก ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช บริษัท มีที่ มีเงิน จำกัด


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อเร็ว ๆ นี้      

14 Jul 2025

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner