Responsive image

Saturday, 27 Jul 2024

หน้าแรก > INSURANCE/ประกันภัย-ประกันชีวิต


คปภ. ยกทีมลงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี โปรโมท “ประกันภัยข้าวนาปี - ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์”

Thu 23/06/2565


  • พร้อมเปิดตัวโครงการ “Training for the Trainers” ประจำปี 2565 เติมองค์ความรู้ด้านการประกันภัย  ประกันภัยข้าวนาปี - ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงให้เกษตรกรสู้ภัยธรรมชาติ

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565 เห็นชอบในหลักการการดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2565 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งเป็นการดำเนินโครงการต่อเนื่องจากปี 2564 เพื่อให้เกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวนาปี ได้มีเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ ซึ่งในปีนี้ได้กำหนดเป้าหมายรวม Tier 1 และ Tier 2 จำนวน 29 ล้านไร่ โดยภาครัฐให้การสนับสนุนค่าเบี้ยประกันภัย จำนวนเงินทั้งสิ้น 1,925,065,000 บาท นอกจากนี้ ครม. ได้เห็นชอบในหลักการการดำเนินโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2565 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีพื้นที่เป้าหมายรวม Tier 1 และ Tier 2 จำนวน 2.12 ล้านไร่ โดยภาครัฐให้การสนับสนุนค่าเบี้ยประกันภัยจำนวนเงินทั้งสิ้น 224,442,600 บาท

โดยมติครม. ดังกล่าว ได้มอบหมายให้ สำนักงาน คปภ. ปรับปรุงกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปีและกรมธรรม์ประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้เป็นไปตามรูปแบบ และหลักเกณฑ์การรับประกันภัยของโครงการฯ ปีการผลิต 2565 รวมทั้งอนุมัติกรมธรรม์และอัตราเบี้ยประกันภัยให้แล้วเสร็จและสามารถเริ่มรับประกันภัยในปีการผลิต 2565 ได้ทันที ภายหลังคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบโครงการฯ และดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนประชาสัมพันธ์โครงการฯ ปีการผลิต 2565 ในภาพรวมและเชิงรุกร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงได้เดินหน้าขับเคลื่อนโครงการ “Training for the Trainers” ประจำปี 2565 เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ด้านการประกันภัยข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ให้แก่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องที่จะไปเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ต่อให้กับเกษตรกร รวมทั้งผลักดันระบบการประกันภัยเข้าไปเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารความเสี่ยงภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นต่อเกษตรกร โดยปีนี้สำนักงาน คปภ. ได้กำหนดให้จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดแรกในการลงพื้นที่พบปะเกษตรกร และเปิดโครงการ “Training for the Trainers” ประจำปี 2565 เนื่องจากข้อมูลสถิติปี 2564 จังหวัดกาญจนบุรี มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปี จำนวน 342,640 ไร่ และมีการทำประกันภัย จำนวน 201,438 ไร่ หรือคิดเป็นการเข้าถึงการประกันภัย (Penetration Ratio) อยู่ที่ร้อยละ 58.79 และในส่วนของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จังหวัดกาญจนบุรี มีพื้นที่เพาะปลูกจำนวน 66,896 ไร่ และมีการทำประกันภัย จำนวน 5,548 ไร่ หรือคิดเป็นอัตราการเข้าถึงการประกันภัย (Penetration Ratio) อยู่ที่ร้อยละ 8.29 ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเริ่มต้นโครงการในปี 2563 ถึง 10 เท่า อันเนื่องมาจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ทราบถึงสิทธิประโยชน์จากการทำประกันภัย และการใช้ระบบประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง ประกอบกับได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่  จังหวัดกาญจนบุรีที่มีการส่งเสริมเกษตรกรให้ทำประกันภัยเพิ่มมากขึ้น

ดังนั้น เพื่อทำให้เกษตรกรเข้าใจและทราบถึงสิทธิประโยชน์จากการทำประกันภัยข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากยิ่งขึ้น เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565 เลขาธิการ คปภ. ได้นำคณะผู้บริหารสำนักงาน คปภ. และผู้บริหารสมาคมประกันวินาศภัยไทย ลงพื้นที่พบปะเกษตรกร ณ หอประชุมรวมใจภักดิ์ โรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษก อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการฯ และรับทราบถึงสภาพปัญหา อุปสรรค ข้อคิดเห็น ตลอดจนข้อเสนอแนะของการทำประกันภัยข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยเกษตรกรกว่า 100 ราย เข้าร่วมและมีการสะท้อนปัญหา เช่น กรณีไม่เคยมีประวัติการทำประกันภัยข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มาก่อน จะเข้าสู่ระบบการทำประกันภัยได้อย่างไร กรณีเช่าพื้นที่เพื่อเพาะปลูกข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สามารถเข้าสู่ระบบประกันภัยได้หรือไม่ รวมถึงกรณีการทำประกันภัยสำหรับพืชชนิดอื่น ๆ เช่น การปลูกอ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง ยางพารา และสับปะรด เป็นต้น ซึ่งเลขาธิการ คปภ. และคณะฯ ได้ตอบข้อสงสัยต่าง ๆ จนเป็นที่เข้าใจ รวมทั้งจะนำข้อมูลที่ได้จากเกษตรกรไปปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการรับประกันภัยข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ ๆ ให้ดียิ่งขึ้นในปีต่อไป

จากนั้นคณะผู้บริหารสำนักงาน คปภ. พร้อมด้วยสื่อมวลชน ได้ลงพื้นที่แปลงนาสาธิตของ นางดอกบัว  สมานทรัพย์ ซึ่งเป็นเกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปีจำนวน 21 ไร่ ในพื้นที่ตำบลหนองกุ่ม อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อศึกษากระบวนการการทำนาข้าวตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมเม็ดพันธุ์ข้าวเพื่อนำไปเพาะปลูกให้ได้ผลผลิตที่ดี และมีคุณภาพ

สำหรับวันที่ 22 มิถุนายน 2565 เป็นการจัดอบรมความรู้ด้านการประกันภัยให้กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ต่อให้แก่เกษตรกรตาม “โครงการอบรมความรู้ประกันภัย (Training for the Trainers) สำหรับการประกันภัยข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ประจำปี 2565” ณ ห้องประชุมโดม ออโรร่า รีสอร์ท อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ภายใต้การคุมเข้มตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ซึ่งการอบรมให้ความรู้ด้านประกันภัยในครั้งนี้ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรี ที่จะสามารถนำระบบประกันภัยมาเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด อันจะช่วยให้ภาคเกษตรกรรมของจังหวัดมีการเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า เกษตรกรที่ทำประกันภัยข้าวนาปีจะให้ความคุ้มครองกรณีต้นข้าวได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ 1) ภัยน้ำท่วมหรือฝนตกหนัก 2) ภัยแล้ง ฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง 3) ภัยลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น 4) ลูกเห็บ 5) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง 6) ภัยไฟไหม้ และ 7) ภัยจากช้างป่า รวมไปถึงภัยเพิ่มเติมอื่น ได้แก่ภัยศัตรูพืช และโรคระบาด โดยให้ความคุ้มครอง 1,190 บาท/ไร่ และภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดให้ความคุ้มครอง 595 บาท/ ไร่

สำหรับชาวนาที่เป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกของ ธ.ก.ส. และเพาะปลูกในทุกโซนพื้นที่ เบี้ยประกันภัย 99 บาท/ไร่ โดยรัฐบาลกับ ธ.ก.ส. จ่ายเบี้ยประกันภัยให้ฟรี แต่ถ้าเป็นชาวนาที่ไม่ใช่ลูกค้า ธ.ก.ส. หรือลูกค้า ธ.ก.ส. ที่กู้เงินบางส่วน และประสงค์จะทำประกันภัยเพิ่มเติม เบี้ยประกันภัยก็จะมีอัตราที่แตกต่างกัน ตามความเสี่ยงโดยมี 3 โซน 3 สี ได้แก่ โซนสีเขียว 99 บาท/ไร่ โซนสีเหลือง 199 บาท/ไร่ และโซนสีแดง 218 บาท/ไร่ แต่รัฐบาลจะช่วยสนับสนุน โดยจ่ายเบี้ยประกันภัย 59.40 บาท/ไร่ ส่วนที่เหลือเกษตรกรจะต้องจ่ายเอง คือโซนสีเขียว 39.60 บาท/ไร่  โซนสีเหลือง 139.60 บาท/ไร่ และโซนสีแดง 158.60 บาท/ไร่ ตามลำดับ

ส่วนเกษตรกรรายใดที่ต้องการได้รับความคุ้มครองส่วนเพิ่มจากความคุ้มครองพื้นฐานที่ได้กล่าวไปแล้ว ทั้งในส่วนภัยธรรมชาติ 7 ภัย ซึ่งคุ้มครอง 240 บาท/ไร่ และภัยศัตรูพืชและโรคระบาด ซึ่งคุ้มครอง 120 บาท/ไร่ ก็สามารถจ่ายเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติมเองทั้งหมด ดังนี้ โซนสีเขียว จ่ายเบี้ยประกันภัย 27 บาท/ไร่ โซนสีเหลือง จ่ายเบี้ยประกันภัย 60 บาท/ไร่ และโซนสีแดง จ่ายเบี้ยประกันภัย 110 บาท/ไร่

ดังนั้น ถ้าหากปลูกข้าวนาปีและไม่ใช่ลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. ควรรีบไปซื้อประกันภัยก่อนวัน เวลา ตามแต่ละพื้นที่ที่กำหนดวันสิ้นสุดรับประกันภัยไว้ โดยแบ่งเป็นช่วงเวลา ตามกลุ่มจังหวัด ซึ่งจังหวัดกาญจนบุรีถือว่าพิเศษกว่าจังหวัดอื่น ๆ เพราะเป็น 1 ใน 5 ของจังหวัดภาคตะวันตก ที่สามารถซื้อประกันภัยได้ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2565 (จังหวัดอื่น ๆ ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือสิ้นสุดการซื้อประกันภัยไปแล้วตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม ที่ผ่านมา)

ในส่วนของการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ นั้น จะได้รับความคุ้มครอง 7 ประเภทภัยเหมือนกัน แต่มีวงเงินความคุ้มครองสูงกว่าเล็กน้อย (เพราะต้นทุนการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงกว่าข้าวนาปี) โดยความคุ้มครองพื้นฐานภัยธรรมชาติ 7 ภัย คุ้มครอง 1,500 บาท/ไร่ และภัยศัตรูพืชและโรคระบาดคุ้มครอง 750 บาท/ไร่

สำหรับชาวนาที่เป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกของ ธ.ก.ส. และเพาะปลูกในทุกโซนพื้นที่ เบี้ยประกันภัย 160 บาท/ไร่ โดยรัฐบาล กับ ธ.ก.ส. จ่ายเบี้ยเป็นลูกค้าประกันภัยให้เช่นเดียวกับประกันภัยข้าวนาปี แต่ถ้าเป็นเกษตรกรที่ไม่ใช่ลูกค้า ธ.ก.ส. หรือลูกค้า ธ.ก.ส. ที่กู้เงินบางส่วน และประสงค์จะทำประกันภัยเพิ่มเติม เบี้ยประกันภัยก็จะมีอัตราที่แตกต่างกันตามความเสี่ยงโดยมี 3 โซน 3 สี ได้แก่ โซนสีเขียว (ความเสี่ยงต่ำ) 150 บาท/ไร่ โซนสีเหลือง (ความเสี่ยงปานกลาง) 350 บาท/ไร่ และโซนสีแดง (ความเสี่ยงสูง) 550 บาท/ไร่ แต่รัฐบาลจะช่วยสนับสนุน โดยจ่ายเบี้ยประกันภัย 90 บาท/ไร่ ส่วนที่เหลือเกษตรกรจะต้องจ่ายเอง คือ โซนสีเขียว 60 บาท/ไร่ โซนสีเหลือง 260 บาท/ไร่ และโซนสีแดง 460 บาท/ไร่ ตามลำดับ

นอกจากนี้ ถ้าเกษตรกรมีความประสงค์ได้รับความคุ้มครองส่วนเพิ่ม ซึ่งจะได้รับความคุ้มครอง 240 บาท/ไร่ และภัยศัตรูพืชและโรคระบาด ซึ่งจะได้รับความคุ้มครอง 120 บาท/ไร่  เกษตรกรสามารถจ่ายเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติมเองทั้งหมด ดังนี้ โซนสีเขียว จ่ายเบี้ยประกันภัย 90 บาท/ไร่ โซนสีเหลือง เบี้ยประกันภัย 100 บาท/ไร่ และโซนสีแดง จ่ายเบี้ยประกันภัย 110 บาท/ไร่  ซึ่งการทำประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูฝนได้สิ้นสุดการขายไปเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม
ที่ผ่านมา ดังนั้นเกษตรกรรายใดที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2 รอบ ก็ยังสามารถซื้อประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 15 มกราคม 2566

“เพื่อมิให้พลาดโครงการดี ๆ ที่รัฐบาลสนับสนุนและเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรอย่างยิ่ง ผมจึงขอเชิญชวนให้พี่น้องเกษตรกรในพื้นที่กาญจนบุรีและจังหวัดใกล้เคียง รีบไปทำประกันภัยข้าวนาปี ก่อนวันที่ 30 มิถุนายนนี้ ส่วนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สามารถทำประกันภัยฤดูแล้งได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 15 มกราคม 2566 เพื่อนำระบบประกันภัยใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ ภัยจากศัตรูพืชหรือโรคระบาด ทั้งนี้ หากเกษตรกรท่านใดต้องการข้อมูลความรู้ประกันภัยข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มเติม หรือมีข้อสงสัย สามารถโหลดแอปพลิเคชัน “กูรูประกันข้าว” ได้ฟรีผ่านโทรศัพท์มือถือของท่านทุกระบบ เพื่อที่ท่านจะสามารถสืบค้นข้อมูล ตรวจสอบพื้นที่ความเสี่ยง รวมถึงติดตามสถานะการทำประกันภัยได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

 


Tags : คปภ. ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ ประกันภัยข้าวนาปี-ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน มอบรางวัลทองคำแท่งหนัก 10 กิโลกรัม มูลค่าประมาณ 26.5 ล้านบาท (ราคา ณ วันที่ 23 เมษายน 2567) ให้แก่ คุณกานดา กาญจนเพิ่มพูน ลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี โดยเป็นผู้โชคดีจากการถูกรางวัลสลากออมสินพิเศษ 1 ปี งวดที่ 606 หมวดอักษร G หมายเลขสลาก 8178397 เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 111 ปี ซึ่งมีการออกรางวัลไปเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยคุณกานดา เป็นลูกค้าธนาคารออมสิน และมีการออมเงินกับธนาคารมาอย่างต่อเนื่อง แต่ได้มีการฝากสลากออมสินเพียง 4 ปี หลังทราบข่าวว่ามีการลุ้นรางวัลใหญ่ และเป็นการเก็บออมเงินด้วย จึงอยากเชิญชวนประชาชนให้มาออมเงินด้วยการฝากสลากออมสิน     นอกจากจะได้ลุ้นรางวัลแล้ว การเป็นลูกค้าธนาคารออมสินเท่ากับเราได้ช่วยสังคม ณ ธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 สำหรับสลากออมสินพิเศษ 1 ปี หน่วยละ 100 บาท ไม่จำกัดวงเงินรับฝากสูงสุด เมื่อฝากครบกำหนด 1 ปี จะได้รับเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยหน่วยละ 0.25 บาท และยังมีสิทธิ์ลุ้นรางวัลที่ 1 มูลค่า 10 ล้านบาท และรางวัลอื่น ๆ ได้ทุกวันที่ 16 ของทุกเดือน รวม 12 ครั้ง ผู้สนใจสามารถฝากสลากออมสินได้ที่ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ และแอป MyMo  

26 Jul 2024

...

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) มอบสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าที่สมัครและชำระค่าเบี้ยผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบรายปีในปีแรก ตามแผนประกันที่เข้าร่วมรายการ ของ บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ผ่านสาขาธนาคารกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 – 30 กันยายน 2567 และคำขอเอาประกันได้รับการอนุมัติภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2567 จะได้รับเงินคืนเข้าบัญชีออมทรัพย์ ตามรายละเอียดดังนี้   เบี้ยประกันชีวิต (บาท) ต่อ 1 กรมธรรม์ เงินคืนตามแผนประกัน (บาท) ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ร่วมรายการ ผลิตภัณฑ์ประกัน* 20/5(+), 20/10(+), 18/5, 90/5, 90/10 8,000 - 99,999 300 300 100,000 – 399,999 1,000 1,500 400,000 – 699,999 5,000 15,000 700,000 – 999,999 10,000 20,000 ทุก ๆ 1,000,000 25,000 50,000   นอกจากนี้ ยังจะได้รับสถานะ KRUNGSRI EXCLUSIVE หรือ KRUNGSRI PRIME เมื่อสมัครและชำระเบี้ยประกันชีวิตปีแรกตั้งแต่ 2 แสนบาทขึ้นไป โดยมีรายละเอียดดังนี้ -รับสถานะ KRUNGSRI EXCLUSIVE เป็นระยะเวลา 3 ปี พร้อมรับเอกสิทธิ์เทียบเท่าลูกค้ายอดเงินฝาก และ/หรือเงินลงทุนตั้งแต่ 10 ล้านบาท เมื่อสมัครและชำระเบี้ยประกันชีวิตปีแรก ตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป ภายในปีปฏิทินเดียวกัน และภายใต้ชื่อผู้เอาประกันภัยเดียวกัน -หรือรับสถานะ KRUNGSRI PRIME เป็นระยะเวลา 3 ปี พร้อมรับเอกสิทธิ์เทียบเท่าลูกค้ายอดเงินฝาก และ/หรือเงินลงทุนตั้งแต่ 1 ล้านบาท เมื่อสมัครและชำระเบี้ยประกันชีวิตปีแรก ตั้งแต่ 2 แสนบาทแต่ไม่ถึง 5 แสนบาท ภายใต้ชื่อผู้เอาประกันภัยเดียวกันและกรมธรรม์เดียวกัน              

14 Jul 2024

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า จากปัญหาภัยทุจริตทางการเงินที่มีประชาชนได้รับความเสียหายจากการถูกมิจฉาชีพหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันและถูกดูดเงินออกจากบัญชีธนาคาร ทำให้ต้องสูญเสียทรัพย์โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แม้ธนาคารและหน่วยงานต่าง ๆ ได้มีการเตือนภัยประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อช่วยลูกค้าประชาชนลดความเสี่ยงจากการถูกหลอกลวงเมื่อทำธุรกรรมผ่านบริการทางการเงินดิจิทัล ธนาคารออมสินจึงได้ยกระดับความปลอดภัยของบริการ Mobile Banking โดยการเพิ่มโหมดบริการ MyMo Secure+ ที่จำกัดการทำธุรกรรมเฉพาะบัญชีของตนเองเท่านั้น กรณีมือถือโดนแฮก หรือโดนควบคุมมือถือผ่านรีโมท มิจฉาชีพก็จะไม่สามารถโอนเงินของเราไปยังบัญชีอื่น หรือบัญชีบุคคลที่ 3 ได้ ถือเป็นการจำกัดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งธนาคารออมสินเป็นธนาคารแรกที่ริเริ่มติดตั้งโหมดปลอดมิจฉาชีพสำหรับให้บริการลูกค้าบนแอปพลิเคชัน MyMo Secure+ หรือ MyMo Secure Plus เป็นโหมดบริการบนแอป MyMo ที่ให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการได้ง่าย ๆ และปลอดภัยมากขึ้น เหมาะสำหรับลูกค้ากลุ่มเปราะบางที่อาจตกเป็นเหยื่อภัยทางการเงินได้ง่าย อาทิ ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ไม่รู้เท่าทันมิจฉาชีพ โดยเมื่อลูกค้าเปลี่ยนมาใช้โหมดบริการ MyMo Secure+ จะสามารถใช้บริการที่เน้นการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านบัญชีของตนเองเท่านั้น โดยจำกัดการทำรายการเฉพาะเท่าที่จำเป็น เช่น การโอนเงินไปยังบัญชีตนเองภายในธนาคาร การโอนเงินไปบัญชีต่างธนาคารที่ได้ลงทะเบียนไว้ บัญชีสินเชื่อของตนเอง การชำระค่าสาธารณูปโภค รวมถึงจำกัดวงเงินในการทำธุรกรรมบัญชีตนเองต่างธนาคาร ไม่เกิน 100,000 บาทต่อวัน หรือถอนเงินไม่เกิน 5,000 บาทต่อวัน เป็นต้น โดยลูกค้าเดิมที่ใช้แอป MyMo อยู่แล้ว สามารถเปลี่ยนโหมดเป็น MyMo Secure+ ได้ด้วยตนเองโดยกดที่ปุ่ม MyMo Secure+ มุมขวาบน หรือจากแบนเนอร์หน้าโฮม หรือจากแถบตั้งค่า และเมื่อกดสมัครใช้งานแล้ว จะต้องยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไขการให้บริการ หรือการเปลี่ยนโหมด และมีการยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า จึงสมัครใช้บริการสำเร็จ กรณีลูกค้าต้องการเปลี่ยนกลับไปใช้แอป MyMo รูปแบบทั่วไป สามารถติดต่อแจ้งความประสงค์ได้ที่ธนาคารออมสินทุกสาขา อนึ่ง การยกระดับแอป MyMo ให้มีโหมดความปลอดภัย เป็นการดำเนินงานโดยสอดคล้องกับมาตรการธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีการยกระดับมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน โดยขอความร่วมมือธนาคารต่าง ๆ ในการป้องกันความเสียหาย และมีผลิตภัณฑ์หรือบริการเพิ่มเติมเพื่อดูแลธุรกรรมของลูกค้าให้ปลอดภัยขึ้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงและลดปัญหาการถูกหลอกลวงออนไลน์ โดยธนาคารออมสิน ได้ให้ความสำคัญในมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของระบบการให้บริการที่ถือเป็นหัวใจหลักของการให้บริการ Mobile Banking มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล ด้านการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ISO/IEC 27001 ในเวอร์ชัน ISO/IEC 27001:2022 (Information Security Management System : ISMS) ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน          

07 Jul 2024

...

อลิอันซ์ อยุธยา ร่วมกับ เรซอัพ เวิร์ค ประกาศความพร้อมเตรียมจัดงานวิ่งแห่งปีที่ทุกคนรอคอย Allianz Ayudhya World Run Thailand Series 2024 ภายใต้แนวคิด “World Run World Heritage” งานวิ่งของคนรักษ์โลก “อนุรักษ์มรดกไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” เชิญชวนนักวิ่ง วิ่งย้อนรอยประวัติศาสตร์ ในบรรยากาศสุดคลาสสิก ชิมอาหารเลิศรส และช้อปสินค้าท้องถิ่น วันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2567 ณ ศูนย์ท่องเที่ยวอยุธยา(ศาลากลางเก่า) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา   นางสาวพัชรา ทวีชัยวัฒนะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานบริหารงานลูกค้า บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต กล่าวว่า “งาน “Allianz Ayudhya World Run Thailand Series 2024” ถือเป็นงานวิ่งที่แฟนรายการ Allianz World Run ทุกคนต่างรอคอย เพราะเป็นงานวิ่งที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในการคัดเลือกเส้นทางวิ่งท่ามกลางธรรมชาติ บรรยากาศดี วิ่งสนุก เดินทางสะดวก และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญยังได้สนับสนุนสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นต่างๆของไทยอีกด้วย ในปีนี้ก็เช่นกัน อลิอันซ์ อยุธยา ได้คัดสรรพื้นที่สุดพิเศษในการจัดงาน โดยได้เปลี่ยนบรรยากาศการวิ่งเข้ามาในพื้นที่ประวัติศาสตร์สำคัญของไทย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้ผู้ร่วมงานได้มีโอกาสชมเส้นทางประวัติศาสตร์ ผ่านจุดสำคัญของเมืองเก่าอยุธยา และพิเศษสุดปีนี้ เราได้เพิ่มระยะทาง 5 กิโลเมตร เพื่อให้นักวิ่งหน้าใหม่ที่อาจจะเพิ่งเริ่มวิ่ง ได้ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย ถือเป็นการเริ่มต้นออกกำลังกายไปด้วยกัน ที่จะได้ทั้งความสุขและสุขภาพที่ดีกลับไป สำหรับงาน “Allianz Ayudhya World Run Thailand Series 2024” จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 16 และวันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2567 โดยแบ่งระยะการแข่งขันเป็น 4 ประเภท ได้แก่ แฟมิลี่ฟันรัน 3 กิโลเมตร ในวันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2567 ฮาล์ฟมาราธอน 21.1 กิโลเมตร มินิมาราธอน 10 กิโลเมตร และระยะทาง 5 กิโลเมตร ในวันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2567 นอกจากนี้ภายในงานยังมีโซน Expo อิ่มอร่อยกับอาหาร Local สุดอร่อย และสินค้าจากชุมชน ให้ได้เลือกช้อป พร้อมชมมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินยอดนิยม  บริเวณลานกิจกรรมหน้าศาลากลางเก่า สำหรับงานวิ่งนี้ยังคงเป็นงานวิ่งรักษ์โลก โดยเหรียญและโล่รางวัลทำมาจาพลาสติกรีไซเคิล เหมือนเช่นเคย นอกจากนี้เรายังได้เตรียมของที่ระลึกสุดพิเศษ สำหรับ Finisher อีกด้วย” คุณพัชรา กล่าวทิ้งท้าย Allianz Ayudhya World Run Thailand Series 2024 เปิดจำหน่ายบัตรราคา Ealry bird ตั้งแต่วันนี้ – 10 กรกฎาคม 2567 ในราคา 850 บาท สำหรับ การวิ่งฮาล์ฟมาราธอน 21.1 กิโลเมตร ราคา 650 บาท สำหรับ การวิ่งมินิมาราธอน 10 กิโลเมตร 600 บาท สำหรับ 5 กิโลเมตร พิเศษ! สำหรับนักวิ่งแฟนพันธุ์แท้ ที่เคยร่วมวิ่งกับ Allianz World Run ในระยะ 10 กิโลเมตร และ 21.1 กิโลเมตร รับส่วนลดon top เพิ่มอีก 50 บาท หากคุณเป็นผู้รักสุขภาพ รักการวิ่ง อย่ารอช้า ข้อมูลเพิ่มเติมและสมัครวิ่งได้ที่ https://race.thai.run/worldrun2024 และสนใจติดตามรายละเอียดงานทั้งหมดได้ที่ Facebook: Worldrun Thailand

05 Jul 2024

Banner Banner Banner

Banner
  ทิศทาง ceothailand.net ในปี 2567  “สื่อออนไลน์ CEO THAILAND”   ในปี 2567 จะเป็นปีที่ผม “นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์” จะมาทำหน้าที่บรรณาธิการบริหารสื่อ CEO THAILAND และผู้บริหารสื่อออนไลน์ ceothailand.net อย่างเต็มที่ หลังจากที่ผ่านมาได้ไปเดินแผนงานทางด้านการเมือง แต่หลังจากผ่านพ้นช่วงการเลือกตั้งไปแล้วที่ผ่านมา จึงทำให้ช่วงเวลานี้มีเวลาที่จะมาวางแผนในการเดินหน้าธุรกิจสื่อได้มากขึ้น และในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนับจากนี้ จึงขอเข้ามารับหน้าที่สื่อมวลชน ในการเขียนบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ เรื่องราวในแวดวงเศรษฐกิจ-การเงิน และการประกันภัย ในฐานะของคอลัมนิสต์ ตลอดเวลาที่ผมเข้าไปทำงานทางการเมือง ต้องยอมรับว่าวงการข่าวและสื่อสารมวลชนเปลี่ยนไปเร็ว ตลอดเวลา 5 ปี  สื่อออนไลน์ที่รวดเร็วเข้ามาแทนที่สื่อหลักอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ (ออฟไลน์)  เราต้องยอมรับในเรื่องความรวดเร็ว แต่ต้องไม่ลืมจุดด้อยของสื่อออนไลน์ คือข้อผิดพลาดในการกลั่นกรองข่าวสาร รวมทั้งบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ที่หายไป และข่าวที่ออกมามีความเหมือนกัน  ไม่แตกต่าง และเป็นเชิงภาพข่าว และกิจกรรมเท่านั้น ดังนั้นในปี 2567 นี้  ในหน้าสื่อออนไลน์ CEO THAILAND ท่านผู้อ่านจะได้สัมผัสกับข่าวสารเชิงวิเคราะห์ เจาะลึกแบบออนไลน์ต่อเนื่องในสื่อ CEO THAILAND รวมทั้งการจัดทำเป็น E-Magazine ใน www.ceothailand.net รวมทั้งการจัดทำเป็นรูปเล่มฉบับพิเศษสลับไปบ้างในเรื่องที่สำคัญๆ น่าสนใจ และเป็นประโยชน์กับประชาชนและสังคม ขอขอบพระคุณท่านลูกค้าและผู้สนับสนุนสื่อด้วยดีเสมอมา ตลอดระยะเวลา 19 ปีที่ผ่านมา และขอขอบพระคุณทุกท่าน รวมทั้งผู้อ่านที่ติดตามสื่อ CEO THAILAND ด้วยดีเสมอมาใน www.ceothailand.net   นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา) บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner