Responsive image

Saturday, 12 Jul 2025

หน้าแรก > INSURANCE / ประกันภัย - ประกันชีวิต


TQM อัพเลเวลสู่ “TQMalpha” เดินเกมรุก 3 ธุรกิจแบบครบวงจร ประกัน-การเงิน-เทคโนโลยีแพลตฟอร์ม ประเดิมธุรกิจใหม่ easy lending เตรียมรุกลงทุนใน Builk สร้างการเติบโตที่ยั่งยืน

Sun 07/08/2565


“TQM” ยกระดับสู่ “TQMalpha” ที่เป็น “มากกว่า” ธุรกิจประกัน รุก 3 กลุ่มธุรกิจ ประกัน การเงิน และเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม มุ่งพัฒนาแบบครบวงจร เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ายุคใหม่ ผนึกกำลังปลดล็อกทุกข้อจำกัด วางเป้าหมายขยายฐานลูกค้าเพิ่มจาก 4 ล้านรายเป็น 10 ล้านราย ภายใน 5 ปี เดินหน้าสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมลดความเสี่ยงจากความผันผวนทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงรอบด้านที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว

ดร.อัญชลิน พรรณนิภา  ประธาน บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TQM เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมา ธุรกิจประกันของกลุ่มบริษัท TQM มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ก้าวเป็นผู้นำในตลาดนายหน้าประกันที่ปัจจุบันมีฐานลูกค้ากว่า 4 ล้านราย และมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าอุตสาหกรรมในภาพรวมทุกปี และจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์เศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในหลายด้าน ทำให้ธุรกิจและชีวิตผู้คนมีความเสี่ยงมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสของธุรกิจที่จะปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ๆ ในการลดความเสี่ยงลงในทุกด้าน

ดังนั้น TQM จึงจะไม่จำกัดตัวเองอยู่ที่ธุรกิจประกันเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป หากแต่จะนำศักยภาพทางด้านฐานลูกค้า โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่เตรียมไว้ และความแข็งแกร่งทางด้านการเงิน  มุ่งดำเนินธุรกิจเชิงรุกขยายสู่ธุรกิจการเงิน เพื่อเป็นเครื่องมือเพิ่มเติมในการลดความเสี่ยงให้กับลูกค้าในอนาคต และธุรกิจเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม ภายใต้ชื่อ TQMalpha” บริษัทเพื่อการลงทุนที่ประกอบไปด้วย 3 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ 1.ธุรกิจประกัน 2.ธุรกิจการเงิน 3.ธุรกิจเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม

“TQMalpha จะเข้ามาแทนที่ TQM Corporation เพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่จะเป็น “มากกว่า” ธุรกิจประกัน กลายเป็นกลุ่มธุรกิจประกัน การเงิน และเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม เพื่อนำความสะดวก ผลิตภัณฑ์ประกันภัย ประกันชีวิต การเงิน และบริการแพลตฟอร์มที่หลากหลาย ความสามารถของบุคลากรที่มี และฐานลูกค้าหลายล้านคนที่แข็งแกร่งมาผสมผสานเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในโลกใหม่ เป็นผู้นำในการ “ลดความเสี่ยง” ทางการเงินและชีวิตให้กับลูกค้า ขยายตัวให้ทันเทรนด์หลักที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าให้ได้” ดร.อัญชลิน กล่าว

 

ดร.นภัสนันท์  พรรณนิภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการดำเนินธุรกิจภายใต้บริษัทโฮลดิ้ง “TQMalpha” ว่า กลุ่มธุรกิจประกัน จะยังขยายงานอย่างแข็งแกร่งและครบวงจร โดยล่าสุดได้ขยายเข้าลงทุนในบริษัท TQR โบรกเกอร์รับประกันภัยต่อ True life โบรกเกอร์ประกันชีวิตแบบกลุ่ม True Extra โบรกเกอร์ประกันภัยแบบกลุ่ม และ TQD ผู้พัฒนาระบบแพลตฟอร์มสนับสนุนงานประกันครบวงจร ส่วนกลุ่มธุรกิจการเงิน ได้ตั้งบริษัท EASY Lending เพื่อประกอบธุรกิจให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล หลังจากเริ่มดำเนินงานก็มีผลประกอบการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม จะได้มีการลงนามในสัญญาเพื่อเตรียมเข้าลงทุน 40% ในบริษัท บิลค์ วัน กรุ๊ป จำกัด (Builk One Group) ทั้งนี้จะเป็นไปตามขั้นตอนกฎระเบียบของหน่วยงานที่กำกับต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเสร็จภายใน 2 เดือน

 

โดย Builk One Group ดำเนินธุรกิจให้บริการและพัฒนาซอฟต์แวร์บริหารธุรกิจสำเร็จรูป รวมถึงบริการอีคอมเมิร์ซสําหรับอุตสาหกรรมก่อสร้างและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Construction) และอุตสาหกรรมอื่น (Non-construction) และเป็นหนึ่งในผู้นำการพัฒนาบริการซอฟต์แวร์บริหารธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมระบบบริหารทรัพยากรองค์กร (ERP) ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) และบริการซอฟต์แวร์กลุ่ม Construction Technology เพื่อบริหารต้นทุน ระยะเวลา และคุณภาพสำหรับโครงการก่อสร้างและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Construction) และโครงการในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่น (Non-construction) รวมทั้งการทำ Digital Transformation เชื่อมโยงผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุตสาหกรรม การลงทุนครั้งนี้เพื่อต่อยอดธุรกิจทางด้านประกันและการเงินบนแพลตฟอร์มของ Builk One Group รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีของบริษัทฯ โดยใช้ความเชี่ยวชาญของ Builk One Group

นอกจากนี้ ยังได้ประกาศเปิดตัว  Surekub ผู้ให้บริการด้าน Digital platform ที่มุ่งทำการตลาดในกลุ่มผู้บริโภค GEN Z ให้บริการด้านผลิตภัณฑ์ประกันภัยในรูปแบบดิจิทัลที่หลากหลาย ให้ลูกค้าได้เลือกใช้บริการได้ตามไลฟ์สไตล์ของตนเอง

         

“TQMalpha จะใช้นโยบายเชิงรุกในการขยายธุรกิจและประสานการให้บริการเป็นหนึ่งเดียว เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้รวดเร็วและตรงความต้องการให้มากที่สุด ขณะที่กลยุทธ์การบริหารธุรกิจจะเป็นการเติบโตแบบยั่งยืนในระยะยาว โดยเน้นการป้องกันความเสี่ยง พร้อมใช้จุดแข็งที่เป็นผู้นำในตลาดนายหน้าประกัน ที่มีฐานลูกค้ากว่า 4 ล้านคน เพื่อขยายไปยังธุรกิจการเงิน และธุรกิจเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม ซึ่งจะเป็นธุรกิจที่ช่วยเสริมให้สามารถขยายฐานลูกค้าได้มากขึ้นอีก ประกอบกับ TQMalpha มีพันธมิตรที่เข้าไปร่วมธุรกิจด้วย โดยจะเน้นพันธมิตรที่สามารถเติบโตไปด้วยกัน” 

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TQM กล่าวต่อว่า แผนงาน 5 ปี (ปี 2022-2026) ของ TQMalpha  คือ การสร้างมูลค่าของบริษัทจากธุรกิจใหม่ให้มีขนาดทัดเทียมกับธุรกิจประกันเดิมที่ยังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และสร้างฐานลูกค้าในระบบให้ได้ถึง 10 ล้านราย ผ่าน 3 ธุรกิจข้างต้น รวมถึงขยายฐานสู่ต่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยวางเป้าหมายสร้างสัดส่วนรายได้จากธุรกิจประกันที่เป็นธุรกิจหลักอยู่ที่ 50% ของรายได้รวม ขณะที่ธุรกิจการเงินและธุรกิจเทคโนโลยีแพลตฟอร์มจะสร้างรายได้รวมกันในสัดส่วน 50% ของรายได้รวม ซึ่งเชื่อว่าโอกาสการเติบโตของทั้ง 3 ธุรกิจยังมีอยู่สูงมาก แม้แต่ธุรกิจประกันก็ยังเติบโตได้ เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ TQMalpha เติบโตต่อเนื่อง จากเมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา มีรายได้รวมสูงถึง 3,427 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 892 ล้านบาท 

“เรายังคงมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจแบบครบวงจร ตอบโจทย์ของกลุ่มนักลงทุนและผู้ใช้บริการ TQM ที่ไม่จำกัดตัวเองอยู่ที่ธุรกิจประกันเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป หากแต่จะนำศักยภาพทางด้านฐานลูกค้า โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่เตรียมไว้ และความแข็งแกร่งทางด้านการเงิน มุ่งทำธุรกิจเชิงรุกเข้าสู่ธุรกิจการเงิน เพื่อเป็นเครื่องมือเพิ่มเติมในการลดความเสี่ยงให้กับลูกค้าในอนาคต และธุรกิจเทคโนโลยีแพลตฟอร์มเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในโลกยุคใหม่ ซึ่งธุรกิจประกันดั้งเดิมไม่อาจตอบสนองได้ครบถ้วน โดยกลุ่มธุรกิจภายใต้โครงสร้างใหม่ของ TQMalpha จะเกิดการทำงานที่ synergy กัน นับเป็นการช่วยปลดล็อกศักยภาพให้เกิดการเติบโตเป็นอย่างมาก” ดร.นภัสนันท์ กล่าวสรุป


Tags : ทีคิวเอ็ม TQM ดร.นภัสนันท์ พรรณนิภา ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น TQMalpha


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารประสบความสำเร็จได้รับรางวัลระดับเอเชีย Asia Responsible Enterprise Awards (AREA) 2025 สาขา Social Empowerment จาก MyMo Secure Plus นวัตกรรมความปลอดภัยบน Mobile Banking ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ให้ลูกค้า บูรณาการร่วมกับ แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้และเสริมภูมิคุ้มกันภัยทางการเงิน พร้อมกันนี้ ธนาคารออมสินยังได้รับรางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability ในฐานะองค์กรที่มีความโดดเด่นและมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนในทุกมิติจนได้รับรางวัล AREA มาแล้ว 5 ปี จาก Enterprise Asia องค์กรพัฒนาเอกชนชั้นนำที่ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบในเอเชีย เพื่อเชิดชูและให้เกียรติองค์กรธุรกิจที่มีการดำเนินงานตามแนวทาง ESG และเป็นต้นแบบองค์กรชั้นนำในภูมิภาคเอเชียที่ขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ     ธนาคารออมสินถือเป็นธนาคารแรกที่พัฒนาโหมดปลอดมิจฉาชีพ ภายใต้ชื่อ MyMo Secure Plus เพื่อช่วยดูแลเงินฝากขั้นสูงสุดให้กับลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ไม่รู้เท่าทันมิจฉาชีพที่เปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงตลอดเวลา ออกแบบโดยเน้นการทำธุรกรรมทางการเงินแบบจำกัดเฉพาะรายการที่จำเป็น อาทิ การโอนเงินไปยังบัญชีตนเองภายในธนาคารและต่างธนาคารที่ลงทะเบียนไว้ และการจำกัดวงเงินในการทำธุรกรรมต่อวัน ทั้งนี้ ธนาคารออมสินไม่เพียงพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นธนาคารแรกที่ดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ผ่าน แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ ดำเนินการอย่างเข้มข้นผ่านช่องทางการสื่อสารที่ครบวงจร ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ สื่อนอกบ้าน หรืออินฟลูเอนเซอร์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากที่สุด เนื่องจากธนาคารตระหนักดีถึงความสูญเสียของประชาชนและวิกฤตของอาชญากรรมออนไลน์ที่นับวันจะทวีความรุนแรงจนกลายเป็นภัยคุกคามระดับประเทศ จึงเป็นความพยายามของธนาคารในการที่จะกระตุ้นเตือนให้ประชาชนรู้เท่าทันกลลวงและไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพทางการเงิน     รางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability และ Social Empowerment ถือเป็นบทพิสูจน์ถึงบทบาทของธนาคารออมสินในฐานะ Social Bank ที่ไม่เพียงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับการให้บริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังขับเคลื่อนการสร้าง Social Impact เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ธนาคารยังคงยึดมั่นในหลักการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบตามแนวทาง ESG เพื่อก้าวสู่เป้าหมายความยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม ตลอดจนเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว  

01 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner