Responsive image

Saturday, 12 Jul 2025

หน้าแรก > ECONOMY- FINANCE / เศรษฐกิจ - การเงิน


เอ็กซ์สปริง จับมือ KTC ร่วมพันธมิตร ปฏิวัติวงการสินเชื่อ ชูโมเดลเทิร์นสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นวงเงินสดพร้อมใช้ ครั้งแรกหนึ่งเดียวในไทย

Sat 13/08/2565


เชื่อมั่นสร้างปรากฏการณ์พลิกวงการการเงินไทย จากการผนึกกำลัง 2 ผู้นำจาก 2 ธุรกิจ “XSpring” กลุ่มผู้นำด้านสินทรัพย์ดิจิทัล และ “KTC” ผู้นำด้านสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคของไทย เล็งปล่อยสินเชื่อผ่าน KTC โดยสามารถนำสินทรัพย์ทุกประเภทมาเป็นหลักประกัน ประเดิมเฟสแรกด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล ช่วยนักลงทุนคริปโท-โทเคนที่ต้องการสภาพคล่องผ่าน บัตรกดเงินสด “เคทีซี-เอ็กซ์สปริง” (KTC - XSPRING) มั่นใจเป็นหมัดเด็ดเติบโตสวนกระแสตลาด พร้อมเปิดตัวอย่างเป็นทางการปลาย ส.ค.นี้

นางสาววรางคณา อัครสถาพร ผู้จัดการใหญ่ ของบริษัท เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ในเครือ XSpring กล่าวว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนในปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบต่อรายได้และทำให้ประชาชนบางส่วนประสบปัญหาการขาดสภาพคล่อง ทำให้แนวโน้มการเติบโตของสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลที่ยังคงขยายตัวได้ดีในครึ่งปีหลัง ทั้งนี้ เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) ในฐานะกลุ่มธุรกิจการเงินและหลักทรัพย์ ผู้ให้บริการทางการเงินครบวงจรที่ต่อยอดความเชี่ยวชาญโลกการเงินปัจจุบัน สู่โลกบริการทางการเงินดิจิทัลหรือ Digital Financial Service เล็งเห็นโอกาสขยายธุรกิจเพื่อเพิ่มช่องทางหารายได้ จึงได้ผนึกกำลังกับ “เคทีซี” ผู้นำสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคของไทย สร้างปรากฏการณ์พลิกโลกธุรกิจสินเชื่อ ด้วยการเตรียมปล่อยสินเชื่อเงินสดที่รองรับสินทรัพย์ทุกประเภทเป็นหลักประกัน เพื่อให้บุคคลทั่วไปสามารถเพิ่มสภาพคล่อง และเงินหมุนเวียนในชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น  

อีกทั้ง ปีนี้นับเป็นปีที่ท้าทายอย่างมากของธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล จากสถานการณ์ราคาของสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีแนวโน้มลดลง เอ็กซ์สปริง ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทเอ็กซ์สปริง อัลไลแอนส์ จำกัด จึงได้ประเดิมเฟสแรกของการก้าวเข้าสู่ธุรกิจปล่อยสินเชื่อเงินสดด้วยการเปิดให้บริการเทิร์นสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นวงเงินสดพร้อมใช้ ร่วมกับ “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ออกบัตรกดเงินสด “เคทีซี-เอ็กซ์สปริง” (KTC - XSPRING) โดยใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นหลักประกัน เพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับนักลงทุนในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล และจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการปลายเดือนสิงหาคมนี้

“เราเชื่อว่าการจับมือกับเคทีซีครั้งนี้ จะสร้างปรากฏการณ์ใหม่ในวงการการเงินไทยและปฏิวัติวงการสินเชื่อ เพราะเป็นการเทิร์นสินทรัพย์ดิจิทัลให้เป็นวงเงินสดพร้อมใช้ โดยที่ XSpring เป็นรายแรก และรายเดียวในเมืองไทยที่สามารถให้บริการนี้ได้ ซึ่งเรามองว่าเคทีซีเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่ง และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการปล่อยสินเชื่อรายย่อย ขณะที่ XSpring เองก็มีความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจด้านสินทรัพย์ดิจิทัล ประกอบกับภาพรวมของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ในภาวะผันผวน ขณะที่ตลาดสินเชื่อรายย่อยยังคงมีการเติบโตได้ดี จึงมั่นใจว่าการผนึกกำลังกันครั้งนี้ จะทำให้การก้าวเข้ามาดำเนินธุรกิจปล่อยสินเชื่อร่วมกันประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน” นางสาววรางคณากล่าว

ทั้งนี้ เอ็กซ์สปริง ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อ 5 – 7 พันล้านบาท ภายใน 3 ปี พร้อมคาดว่าจะสามารถขยายฐานลูกค้านักลงทุนได้ถึง 5 - 10% จากทั้งหมดที่ซื้อขายในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลไทย จึงมั่นใจว่าจะสร้างรายได้ให้แก่บริษัท เอ็กซ์สปริง อัลไลแอนซ์ จำกัด อีกทั้งยังเล็งเห็นโอกาสการเติบโตของธุรกิจสินเชื่อที่มีแนวโน้มเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดในช่วงครึ่งปีหลัง พร้อมด้วยโอกาสในการขยายฐานลูกค้าใหม่ในการเปิดบัญชีสินทรัพย์ดิจิทัล เนื่องจากลูกค้าที่ต้องการจะเทิร์นสินทรัพย์ดิจิทัลให้เป็นวงเงินสดพร้อมใช้จากบัตรกดเงินสด “เคทีซี-เอ็กซ์สปริง” (KTC - XSPRING) จะต้องมีบัญชีซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลกับบริษัท เอ็กซ์สปริง ดิจิทัล จำกัด อยู่ก่อนการใช้บริการเพื่อนำสินทรัพย์ดิจิทัลที่ตนเองถือครองอยู่มาเป็นหลักประกัน ทั้งยังวางแผนที่จะเปิดรับเหรียญคริปโทฯ สกุลยอดนิยมและโทเคนมาใช้เป็นหลักประกัน พร้อมวางแผนที่จะปล่อยสินเชื่อประเภทอื่นๆ ในอนาคตเพิ่มขึ้นอีกด้วย

“เอ็กซ์สปริงคาดว่า ความร่วมมือกับเคทีซีในการรุกธุรกิจสินเชื่อ ซึ่งนับเป็นธุรกิจใหม่ในปีนี้ รวมกับแผนการดำเนินงานที่แข็งแกร่งภายใต้บริษัทในเครือของเอ็กซ์สปริงในครึ่งปีหลัง จะส่งผลให้กลุ่มเอ็กซ์สปริง มีรายได้ที่เติบโตในปีนี้อย่างแน่นอน” นางสาววรางคณากล่าว

นางสาวพิชามน  จิตรเป็นธรรม  ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร-ธุรกิจสินเชื่อบุคคล “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความร่วมมือกับ XSpring ในครั้งนี้ นับเป็นมิติใหม่ของวงการสินเชื่อ-การเงินดิจิทัล ที่จะเป็นโอกาสให้เคทีซีได้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีไลฟ์สไตล์ดิจิทัล ด้วยการนำเสนอ บัตรกดเงินสด “เคทีซี-เอ็กซ์สปริง” (KTC - XSPRING) ซึ่งเป็นวงเงินสินเชื่อพร้อมใช้ที่มีความยืดหยุ่น สามารถเบิกใช้วงเงิน และชำระคืนได้ตามความประสงค์ เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ช่วยให้สมาชิกได้ใช้ชีวิตเต็มที่แบบไม่มีสะดุด กับบัตรกดเงินสดดีไซน์แนวตั้งแบบโมเดิร์นรับกับยุคดิจิทัล พร้อมฟังก์ชันการใช้งานที่มาครบทั้งรูด-โอน-กด และเหนือกว่าด้วยจุดแข็งของมาสเตอร์การ์ด ซึ่งมีเครือข่ายร้านค้าขนาดใหญ่กระจายอยู่กว่า 80  ล้าน ร้านค้าทั่วโลก ทำให้สมาชิกสามารถใช้ บัตรกดเงินสด “เคทีซี-เอ็กซ์สปริง” (KTC - XSPRING) ได้สะดวกขึ้น และเพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล ที่ต้องการความสะดวก ปลอดภัย ไร้สัมผัส สมาชิกบัตรฯ สามารถช้อปออนไลน์ได้ทุกร้านค้า ทุกที่ ทุกเวลา รวมทั้งสามารถโอนเงินเรียลไทม์ผ่านแอปฯ “KTC Mobile” เข้าบัญชีธนาคารได้ถึง 15 ธนาคาร และกดเงินสดจากตู้เอทีเอ็มได้ตลอด 24 ชั่วโมง ฟรีค่าธรรมเนียมอีกด้วย โดยเคทีซีคาดหวังว่าการร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มยอดสมาชิกสินเชื่อรายใหม่ และสร้างการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อรายย่อย รวมถึง ส่วนแบ่งทางการตลาดสินเชื่อบุคคลที่สูงขึ้นได้


Tags : เคทีซี KTC บัตรกรุงไทย พิชามน จิตรเป็นธรรม วรางคณา อัครสถาพร เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารประสบความสำเร็จได้รับรางวัลระดับเอเชีย Asia Responsible Enterprise Awards (AREA) 2025 สาขา Social Empowerment จาก MyMo Secure Plus นวัตกรรมความปลอดภัยบน Mobile Banking ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ให้ลูกค้า บูรณาการร่วมกับ แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้และเสริมภูมิคุ้มกันภัยทางการเงิน พร้อมกันนี้ ธนาคารออมสินยังได้รับรางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability ในฐานะองค์กรที่มีความโดดเด่นและมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนในทุกมิติจนได้รับรางวัล AREA มาแล้ว 5 ปี จาก Enterprise Asia องค์กรพัฒนาเอกชนชั้นนำที่ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบในเอเชีย เพื่อเชิดชูและให้เกียรติองค์กรธุรกิจที่มีการดำเนินงานตามแนวทาง ESG และเป็นต้นแบบองค์กรชั้นนำในภูมิภาคเอเชียที่ขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ     ธนาคารออมสินถือเป็นธนาคารแรกที่พัฒนาโหมดปลอดมิจฉาชีพ ภายใต้ชื่อ MyMo Secure Plus เพื่อช่วยดูแลเงินฝากขั้นสูงสุดให้กับลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ไม่รู้เท่าทันมิจฉาชีพที่เปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงตลอดเวลา ออกแบบโดยเน้นการทำธุรกรรมทางการเงินแบบจำกัดเฉพาะรายการที่จำเป็น อาทิ การโอนเงินไปยังบัญชีตนเองภายในธนาคารและต่างธนาคารที่ลงทะเบียนไว้ และการจำกัดวงเงินในการทำธุรกรรมต่อวัน ทั้งนี้ ธนาคารออมสินไม่เพียงพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นธนาคารแรกที่ดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ผ่าน แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ ดำเนินการอย่างเข้มข้นผ่านช่องทางการสื่อสารที่ครบวงจร ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ สื่อนอกบ้าน หรืออินฟลูเอนเซอร์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากที่สุด เนื่องจากธนาคารตระหนักดีถึงความสูญเสียของประชาชนและวิกฤตของอาชญากรรมออนไลน์ที่นับวันจะทวีความรุนแรงจนกลายเป็นภัยคุกคามระดับประเทศ จึงเป็นความพยายามของธนาคารในการที่จะกระตุ้นเตือนให้ประชาชนรู้เท่าทันกลลวงและไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพทางการเงิน     รางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability และ Social Empowerment ถือเป็นบทพิสูจน์ถึงบทบาทของธนาคารออมสินในฐานะ Social Bank ที่ไม่เพียงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับการให้บริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังขับเคลื่อนการสร้าง Social Impact เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ธนาคารยังคงยึดมั่นในหลักการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบตามแนวทาง ESG เพื่อก้าวสู่เป้าหมายความยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม ตลอดจนเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว  

01 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner