Responsive image

Wednesday, 09 Jul 2025

หน้าแรก > SOCIETY / ภาพข่าว - CSR - ข่าวการเมือง


OCEAN LIFE ไทยสมุทร ผนึกพลังความรัก ชูนโยบาย “Sustainable with Love” ขับเคลื่อนธุรกิจพร้อมความยั่งยืน สร้างสรรค์โลกที่มั่นคงให้คนรุ่นต่อไป

Wed 14/09/2565


บมจ.ไทยสมุทรประกันชีวิต รักคือพลังของชีวิต โดยคุณนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ (CEO) ตระหนักดีว่าโลกกำลังเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ รอบด้าน ทั้งวิกฤตโรคระบาด เศรษฐกิจการเมืองระดับโลก การขาดแคลนทรัพยากร ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สร้างผลกระทบมากขึ้นทุกที ในฐานะที่บริษัทอยู่ในวงการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลความเสี่ยง สร้างความมั่นคงในชีวิตให้กับประชาชน จึงเป็นหน้าที่ที่จะขับเคลื่อนธุรกิจไปพร้อมกับความรับผิดชอบถึงผลกระทบทุกด้านที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของคนรุ่นต่อไป ดังนั้น OCEAN LIFE ไทยสมุทร จึงได้เดินหน้าตามแผนกลยุทธ์ที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันสร้างอนาคตที่มั่นคงปลอดภัยสำหรับทุกคน ด้วยการประกาศนโยบายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน “Sustainable with Love รักคือพลังสร้างความยั่งยืน” ให้สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) และได้ Kick Off กิจกรรมแรกอย่างเป็นทางการ ด้วยโครงการ OCEAN LIFE Plant with Love ร่วมปลูกต้นไม้ 2,000 ต้นเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับกรุงเทพมหานคร โดยในลำดับต่อไปบริษัทจะขยายไปสู่พื้นที่ต่าง ๆ ที่เรามีอยู่ทั่วประเทศ เพื่อช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และลดโลกร้อน ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาหลักที่ต้องรีบแก้ไขอย่างเร่งด่วน พร้อมเผยผลการดำเนินงานใน 7 เดือนของปี 2565 (มกราคม – กรกฎาคม 2565) สามารถสร้างกำไรสุทธิ 1,013 ล้านบาท มีรายได้จากเบี้ยประกันชีวิตรับรวม 8,365 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 3%

“ความรัก” หัวใจสำคัญในการเอาชนะวิกฤต

จากความจริงที่ว่าการทำประกันชีวิต มีจุดเริ่มต้นจากความรักที่มีต่อครอบครัว ต่อบุคคลอันเป็นที่รัก หรือต่อตนเอง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา OCEAN LIFE ไทยสมุทร ได้ใช้ความรักเป็นแกนหลักในการดำเนินธุรกิจ เริ่มจากการรักในธุรกิจที่ทำเพราะเชื่อว่าเป็นธุรกิจที่ดีก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้คน ต่อยอดทำให้เกิดความรักในอาชีพ รักเพื่อนร่วมงาน และที่สำคัญคือการส่งต่อความรักที่ไปยังลูกค้าของเรา โดยการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงภาวะวิกฤตทำให้คุณค่าของความรักเด่นชัด จนเราตกผลึกเป็นคำว่า LOVE MINDSET ประกอบด้วยรัก 3 ด้าน คือ รักสุขภาพ Love Your Health สุขภาพดี พร้อมรับมือกับโรคภัย รักการออมและวางแผนการเงิน Love Your Wealth วางแผนการเงินดี มีเงินสำรอง พร้อมรับมือกับทุกวิกฤต  รักโลกและสังคม Love the World สร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน ดูแลโลกและสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ ทั้งหมดนี้เพื่อสนับสนุนการใช้ความรักเป็นพลังดำเนินชีวิตของคนไทยให้พร้อมเผชิญหน้าโลกวิถีใหม่ สามารถรับมือและก้าวผ่านวิกฤตได้ทั้งในวันนี้และอนาคต

ต่อยอดพลังความรักสู่ 3 เสาหลัก และ 2 พลัง สร้างความยั่งยืน

            ด้วยความเชื่อในพลังความรักดังกล่าว เราจึงต่อยอดจาก LOVE MINDSET ใช้ความรักเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร ภายใต้แนวคิด Sustainable with Love” รักคือพลังสร้างความยั่งยืน ประกอบด้วย 3 เสาหลัก

1. Health – สุขภาพที่ยั่งยืน โดยเราเริ่มต้นจากภายในองค์กร ด้วยการเสริมภูมิคุ้มกันให้กับบุคลากร ด้วยการสนับสนุนให้ทุกคนใส่ใจดูแลสุขภาพทั้งในรูปแบบของการให้ความรู้ และกิจกรรมต่าง ๆ ทั้ง OCEANLYMPIC Healthy Games มหกรรมสุขภาพดีมีภูมิคุ้มกันทั้งกายใจ Ocean Step of Love สะสมก้าวเดินเสริมสุขภาพ และขมรมกีฬาต่าง ๆ จากนั้นจึงส่งต่อไปยังลูกค้าผ่านการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพที่มีครอบคลุมในทุกความต้องการ รวมทั้งการพัฒนานวัตกรรมการบริการดูแลด้านสุขภาพต่าง ๆ ทั้ง Healthcare Ecosystem การบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลร่วมกับ Start up เพื่อยกระดับการบริการ Digital Healthcare Service บริการดูแลสุขภาพ ทั้งก่อนป่วย เมื่อป่วย หลังป่วยให้กับลูกค้า รวมทั้งการสนับสนุนข้อมูลสุขภาพที่จำเป็นกับประชาชนผ่านสื่อ และกิจกรรมสัมมนาต่าง ๆ

2. Wealth – การเงินที่ยั่งยืน เราเชื่อว่าก่อนที่เราจะให้คำปรึกษากับลูกค้าได้ บุคลากรของเราต้องมีความรู้ความสามารถ รวมทั้งทักษะต่าง ๆ ครบถ้วน เพื่อให้ทุกคนมีศักยภาพก้าวสู่การเป็นที่ปรึกษาการเงินมืออาชีพ (Financial Planner) ที่ลูกค้าไว้วางใจให้แนะนำการวางแผนชีวิต และวางแผนการเงินให้ประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งใจ นอกจากนั้น OCEAN LIFE ไทยสมุทรยังมีแบบประกันที่ส่งเสริมการวางแผนการเงินอย่างรอบด้าน (Wealth Solution) ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ และทุกช่วงเวลาของชีวิต (Product Life Cycle) ให้ทุกคนพร้อมรับมือกับความไม่แน่นอนในวันนี้ และอนาคต

ไม่เพียงเท่านั้น ความมั่นคงขององค์กรก็เป็นสิ่งสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงแนวทางการเติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อให้ลูกค้าประชาชนมั่นใจได้ว่าเราสามารถดูแลทุกคนได้ตลอดไป ด้วยความแข็งแกร่งทางการเงินที่เชื่อถือได้ ความสามารถในการบริหารจัดการสินทรัพย์และหนี้สิน (Asset and Liability Management) และการบริหารจัดการสินทรัพย์ (Portfolio Management) การบริหารจัดการการเงินอย่างมีความรับผิดชอบ และการบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน Capital Adequacy Ratio (CAR) อยู่ในระดับที่แข็งแกร่งที่ 405.92 % (ณ เดือนกรกฎาคม 2565) นับว่าเป็นอันดับต้น ๆ ของธุรกิจประกันชีวิต และสูงกว่าเงินกองทุนขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดที่ 120%  

3. World - โลกที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนความรักโลก สังคม สิ่งแวดล้อม และมีธรรมาภิบาลตามแนวทาง ESG เพื่อโลกและสังคมที่น่าอยู่

Environment – ด้านสิ่งแวดล้อม ได้จัดการสภาพแวดล้อมองค์กรให้น่าอยู่ พร้อมสร้างจิตสํานึกให้บุคลากรตระหนักและเข้าใจถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งการแยกขยะ การลดใช้พลาสติก การใช้วัสดุ Recycle การปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียว และการใช้ทรัพยากรภายในองค์กรอย่างรู้คุณค่า ฯลฯนอกจากนั้น เรายังได้ร่วมสนับสนุนโครงการ Greenhouse Gas Emission Reduction Project ร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ กลุ่มไดอิจิ เดินหน้าสู่เป้าหมาย ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ (Net Zero) 50% ในปี พ.ศ.2568 และ100% ในปี พ.ศ.2583 นำไปสู่การช่วยลดโลกร้อนอย่างยั่งยืน

Social – ด้านสังคม เริ่มด้วยการสร้างชมรม OCEAN LIFE ไทยสมุทรจิตอาสา ปลูกฝังจิตสำนึกแห่งการให้ และสังคมแห่งการแบ่งปัน พร้อมดำเนินโครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีเป้าประสงค์ในการดูแล และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคม ชุมชน ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการ อาทิ การร่วมดูแลคนไทยในภาวะวิกฤต COVID – 19 ด้วยกิจกรรมหลากหลายภายใต้โครงการ LOVE THAILAND, PROTECT YOUR LOVED ONES อาทิ โครงการโอชิชวนทำดี ร่วมกับจุฬาฯ ผลิตวัคซีน mRNA  การเปิดให้ประชาชนใช้บริการ Telemed ปรึกษาแพทย์ Online ฟรี  โครงการแยกขวดช่วยหมอ เปลี่ยนขวด PET เป็นชุด PPE ส่งมอบให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ และล่าสุด เราได้ทำโครงการ “สอนว่ายน้ำเพื่อรอดชีวิต ช่วยเด็กขาดโอกาส” ร่วมกับครูพายุ และพันธมิตรเพื่อลดการสูญเสียของเด็ก ๆ ซึ่งเป็นอนาคตของชาติจากการว่ายน้ำไม่เป็น

Governance – ด้านธรรมาภิบาล ดำเนินธุรกิจตามกรอบจรรยาบรรณ ด้านต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด ทั้งการต่อต้านการทุจริตหรือคอรัปชั่น การเคารพสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเท่าเทียมกัน พร้อมกำหนดนโยบายและส่งเสริมให้พนักงานปฏิบัติ ครอบคลุมทั้งด้านความปลอดภัยสารสนเทศ การบริหารความเสี่ยง การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล การปฏิบัติดูแลลูกค้า พร้อมการดูแลบริหารจัดการข้อร้องเรียนต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม และยุติธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ

           พร้อม 2 พลังผลักดันที่จะช่วยสนับสนุนให้นโยบายดังกล่าวเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง 

1. People, Culture & Partnerships สร้างจิตสำนึกและพันธมิตรสร้างความยั่งยืน ด้วยการสร้างคน สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นและตระหนักถึงความยั่งยืน  คำนึงถึงการยอมรับและผสานความแตกต่างของบุคลากร (Inclusion) รวมทั้งการสนับสนุนความหลากหลายและการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม (Diversity) ควบคู่ไปกับการจับมือพันธมิตรที่มีศักยภาพรอบด้าน

2. Technology & Innovation – สร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีพื้นฐาน
สร้างสรรค์นวัตกรรม สนับสนุนเทคโนโลยีที่จะช่วยทำให้การขับเคลื่อนโครงการด้านความยั่งยืนเป็นเรื่องง่าย

 

ก้าวข้ามผ่าน Pandemic สู่ Endemic กับผลงาน 7 เดือนของปี 2565

สำหรับผลการดำเนินงานในรอบ 7 เดือนของปี 2565 (มกราคม – กรกฎาคม 2565) OCEAN LIFE ไทยสมุทร มีรายได้จากเบี้ยประกันชีวิตรับรวม 8,365 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 3% จากปีก่อน โดยมีเบี้ยประกันชีวิตรับปีแรก จำนวน 1,202 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 16% ในขณะที่มีเบี้ยประกันชีวิตรับปีต่อไปที่ 6,675 ล้านบาท และมีอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ 86% โดยมีเบี้ยประกันรับรวมจากช่องทางตัวแทนเป็นช่องทางหลักจำนวน 6,885 ล้านบาท และสร้างการเติบโตที่โดดเด่นในช่องธนาคาร (Bancassurance) มีอัตราการเติบโตถึง 28% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะเดียวกันบริษัทก็ยังใช้ความสามารถในการบริหารพอร์ตลงทุน จนสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้ถึง 5.12% ส่งผลให้มีกำไรสุทธิ 1,013 ล้านบาท

สุดท้ายนี้ เชื่อว่านโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนอันเกิดจากพลังแห่งรัก และความตั้งใจที่จะร่วมกันดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนจะสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของธุรกิจ เพื่อเติบโตเคียงข้างสังคมไทยอย่างยั่งยืน และพร้อมส่งมอบความรักในรูปแบบของอนาคตที่ดี ที่มาจากความรับผิดชอบในทุกด้านของ OCEAN LIFE ไทยสมุทรให้กับคนรุ่นต่อไป


Tags : OCEANLIFEไทยสมุทร นุสรา(อัสสกุล)บัญญัติปิยพจน์ ไทยสมุทรประกันชีวิต


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารประสบความสำเร็จได้รับรางวัลระดับเอเชีย Asia Responsible Enterprise Awards (AREA) 2025 สาขา Social Empowerment จาก MyMo Secure Plus นวัตกรรมความปลอดภัยบน Mobile Banking ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ให้ลูกค้า บูรณาการร่วมกับ แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้และเสริมภูมิคุ้มกันภัยทางการเงิน พร้อมกันนี้ ธนาคารออมสินยังได้รับรางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability ในฐานะองค์กรที่มีความโดดเด่นและมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนในทุกมิติจนได้รับรางวัล AREA มาแล้ว 5 ปี จาก Enterprise Asia องค์กรพัฒนาเอกชนชั้นนำที่ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบในเอเชีย เพื่อเชิดชูและให้เกียรติองค์กรธุรกิจที่มีการดำเนินงานตามแนวทาง ESG และเป็นต้นแบบองค์กรชั้นนำในภูมิภาคเอเชียที่ขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ     ธนาคารออมสินถือเป็นธนาคารแรกที่พัฒนาโหมดปลอดมิจฉาชีพ ภายใต้ชื่อ MyMo Secure Plus เพื่อช่วยดูแลเงินฝากขั้นสูงสุดให้กับลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ไม่รู้เท่าทันมิจฉาชีพที่เปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงตลอดเวลา ออกแบบโดยเน้นการทำธุรกรรมทางการเงินแบบจำกัดเฉพาะรายการที่จำเป็น อาทิ การโอนเงินไปยังบัญชีตนเองภายในธนาคารและต่างธนาคารที่ลงทะเบียนไว้ และการจำกัดวงเงินในการทำธุรกรรมต่อวัน ทั้งนี้ ธนาคารออมสินไม่เพียงพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นธนาคารแรกที่ดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ผ่าน แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ ดำเนินการอย่างเข้มข้นผ่านช่องทางการสื่อสารที่ครบวงจร ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ สื่อนอกบ้าน หรืออินฟลูเอนเซอร์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากที่สุด เนื่องจากธนาคารตระหนักดีถึงความสูญเสียของประชาชนและวิกฤตของอาชญากรรมออนไลน์ที่นับวันจะทวีความรุนแรงจนกลายเป็นภัยคุกคามระดับประเทศ จึงเป็นความพยายามของธนาคารในการที่จะกระตุ้นเตือนให้ประชาชนรู้เท่าทันกลลวงและไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพทางการเงิน     รางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability และ Social Empowerment ถือเป็นบทพิสูจน์ถึงบทบาทของธนาคารออมสินในฐานะ Social Bank ที่ไม่เพียงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับการให้บริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังขับเคลื่อนการสร้าง Social Impact เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ธนาคารยังคงยึดมั่นในหลักการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบตามแนวทาง ESG เพื่อก้าวสู่เป้าหมายความยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม ตลอดจนเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว  

01 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner