Responsive image

Thursday, 25 Apr 2024

หน้าแรก > INSURANCE / ประกันภัย - ประกันชีวิต


คปภ. ติวเข้มอนุญาโตตุลาการ เตรียมนำระบบ E-Arbitration มาใช้เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน พร้อมรองรับการระงับข้อพิพาทด้านประกันภัยอย่างเต็มรูปแบบในยุค Nex Normal

Sun 02/10/2565


ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาอนุญาโตตุลาการ สำนักงาน คปภ. ประจำปี 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสนับสนุนความรู้ทางวิชาการอันเกี่ยวกับกฎหมายด้านการประกันภัยที่มีการแก้ไขปรับปรุง ตลอดจนเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรูปแบบใหม่ ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ อีกทั้งเพื่อให้อนุญาโตตุลาการและพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องได้มีโอกาสพบปะหารือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่ผ่านมาเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานระงับข้อพิพาทด้านการประกันภัยให้มีประสิทธิภาพ โดยมีอนุญาโตตุลาการ พนักงานสำนักงาน คปภ. ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ร่วมสัมมนากว่า 107 คน เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร

ในโอกาสนี้ เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า สำนักงาน คปภ. ได้นำกระบวนการระงับข้อพิพาททางเลือกด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการมาใช้ เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับประชาชน ใช้ในการระงับข้อพิพาทกรณีที่มีข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทจากสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นระหว่างประชาชน ผู้เอาประกันภัยกับบริษัทประกันภัย โดยไม่ต้องนำคดีไปฟ้องร้องต่อศาล ซึ่งการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการนี้ได้ถูกกำหนดไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา ทั้งนี้จากสถิติการดำเนินการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ปี 2560 จนถึงเดือนสิงหาคม 2565) มีข้อพิพาทที่เข้าสู่กระบวนงานการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการที่สำนักงาน คปภ. ดำเนินการ เป็นจำนวน 7,222 เรื่อง ยุติแล้ว 6,859 เรื่อง ทุนทรัพย์ที่ยุติ 8,533,390,959 บาท

จากการดำเนินชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้เกิดประโยชน์กับอุตสาหกรรมประกันภัย (InsurTech) เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ และการบริหารจัดการอื่น ๆ เช่น การส่งมอบกรมธรรม์ e – Policy การใช้เทคโนโลยี Block chain ในการเก็บข้อมูลการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแล (RegTech) โดยเฉพาะระบบฐานข้อมูลการประกันภัย  IBS (Insurance Bureau System) ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางของข้อมูลประกันภัยเพื่อการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยและเพื่อยกระดับการดำเนินกิจการของอุตสาหกรรมประกันภัย เพิ่มศักยภาพของบริษัทประกันภัยในการแข่งขันในระดับสากลและเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลประกันภัยที่ถูกต้องอย่างเท่าเทียมกัน สำนักงาน คปภ. จึงได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ เพื่อให้กระบวนการพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น อาทิ เช่น การให้ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ www.oic.or.th การใช้ Line Application และอีเมล เป็นเครื่องมือในการนัดหมาย ส่งข้อความ ส่งคำร้อง ส่งบันทึกแบบคำพยานส่งพยานเอกสาร คำเสนอข้อพิพาท และคำคัดค้าน รวมทั้งการสั่งคำร้องต่าง ๆ ของอนุญาโตตุลาการควบคู่ไปกับการประสานงานผ่านช่องทางอื่น และที่สำคัญได้มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อรองรับการดำเนินงานในกระบวนการตั้งอนุญาโตตุลาการและการสืบพยานผ่านจอภาพหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยการใช้ Video Conference,  Video Call, Chat Room, Microsoft Teams เป็นต้น ตามความตกลงหรือความประสงค์ของคู่พิพาท ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นไปได้ด้วยดี และได้รับความพึงพอใจจากทุกฝ่าย และมีแนวโน้มว่าจะมีข้อพิพาทที่คู่พิพาทประสงค์จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ

เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่าเพื่อเป็นการยกระดับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนและผู้เอาประกันภัย สำนักงาน คปภ. ได้เปิดให้บริการระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัย (PPMS) โดยระบบดังกล่าวสามารถจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลเรื่องร้องเรียนหรือข้อพิพาทต่าง ๆ รวมทั้งสามารถเชื่อมต่อกระบวนการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนตั้งแต่กระบวนการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนในชั้นพนักงานเจ้าหน้าที่ การไกล่เกลี่ยโดยผู้ชำนาญการ และการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ โดยผู้เสนอข้อพิพาทสามารถยื่นคำเสนอข้อพิพาท การวางเงินเป็นหลักประกันค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินกระบวนพิจารณา การส่งเอกสารต่าง ๆ การติดตามสถานะการดำเนินงานของแต่ละข้อพิพาท ผ่านระบบ PPMS ได้ ซึ่งระบบดังกล่าวนอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสนอข้อพิพาทแล้ว ยังสามารถประมวลผลข้อมูลเรื่องร้องเรียนหรือข้อพิพาทต่าง ๆ ที่ยื่นต่อสำนักงาน คปภ. เพื่อให้สำนักงาน คปภ. สามารถนำข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่แท้จริงของเรื่องร้องเรียนหรือข้อพิพาทต่าง ๆ ก่อนนำไปแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุเพื่อลดจำนวนเรื่องร้องเรียนหรือข้อพิพาทด้านประกันภัย

นอกจากนี้ในการใช้งานระบบ PPMS ในระยะเริ่มแรก พบว่า ระบบดังกล่าวที่เกี่ยวกับกระบวนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการยังไม่รองรับการให้บริการทางฝั่งบริษัทประกันภัย ซึ่งอยู่ในสถานะเป็นผู้คัดค้านในข้อพิพาทที่เกิดขึ้น สำนักงาน คปภ. จึงได้จัดทำโครงการที่พัฒนาต่อยอดจากระบบ PPMS ที่มีอยู่ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนงานระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ (E - Arbitration) ซึ่งจะรองรับการให้บริการอย่างครบวงจรทั้งในส่วนอนุญาโตตุลาการ บริษัทประกันภัย และพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน คปภ. เช่น การยื่นคำคัดค้าน การวางเงินเป็นหลักประกัน การติดตามสถานะคดี การส่งคำร้อง การยื่นเอกสารต่าง ๆ การสั่งคำร้องของอนุญาโตตุลาการ การนัดหมายแจ้งเตือนอนุญาโตตุลาการ คู่พิพาท และพนักงานเจ้าหน้าที่ รวมทั้งสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาผ่านระบบดังกล่าวได้ด้วย เป็นต้น ทั้งนี้ ปัจจุบันการดำเนินการโครงการ E - Arbitration มีความคืบหน้าเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ โดยในขณะนี้ผู้พัฒนาระบบได้ดำเนินการให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ผู้เสนอข้อพิพาท ผู้คัดค้าน รวมทั้งอนุญาโตตุลาการ เข้าทดสอบการใช้งานและให้ข้อคิดเห็นต่อการใช้งานของระบบดังกล่าว โดยผู้พัฒนาระบบมีแผนงานที่จะส่งมอบระบบที่สมบูรณ์ได้ภายในปีนี้

ทั้งนี้ ผลการสัมมนาอนุญาโตตุลาการ ทั้งในวันที่ 28 และวันที่ 29 กันยายน 2565 ได้ข้อสรุปในแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ อันเป็นการพัฒนาและยกระดับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนผู้เอาประกันภัย ให้เป็นที่ไว้วางใจและสร้างความเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

ประเด็นแรก เพิ่มเติมการขึ้นทะเบียนรายชื่ออนุญาโตตุลาการที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ ณ ที่ทำการอนุญาโตตุลาการ สำนักงาน คปภ. ภาค 1 (เชียงใหม่) และภาค 9 (สงขลา) เพื่อให้คู่พิพาทมีทางเลือกในการตั้งอนุญาโตตุลาการมากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งเสริมหรือสนับสนุนให้คู่พิพาทใช้ระบบประชุมทางจอภาพ (Video Conference) ตลอดจนการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในกระบวนการพิจารณาทุกขั้นตอน ทำให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายของคู่พิพาท 

ประเด็นที่ 2 จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้การปฏิบัติงานในกระบวนการระงับข้อพิพาท ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคเป็นไปด้วยความรอบคอบ มีมาตรฐานและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน   

ประเด็นที่ 3 สนับสนุนและจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับข้อกฎหมายด้านการประกันภัย เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยที่เกี่ยวข้อง บทคัดย่อ และแนวทางการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่ผ่านมา รวมทั้งความเป็นไปได้ในการตั้งผู้เชี่ยวชาญด้านประกันภัยทำหน้าที่สนับสนุนข้อมูลต่าง ๆ เพื่อประกอบการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการให้เป็นไปด้วยความรวดเร็วและแนวทางเดียวกันมากยิ่งขึ้น             

ประเด็นที่ 4 ประสานงานกับกองทุนประกันวินาศภัย ในฐานะผู้ชำระบัญชีอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณากรณีผู้คัดค้านเป็นบริษัทประกันภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัย สามารถดำเนินการกระบวนการพิจารณาต่อไปอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว และเกิดความเป็นธรรม 

นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. ยังได้จัดให้มีการบรรยายและสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการแก่อนุญาโตตุลาการ ประกอบด้วยเงื่อนไขกรมธรรมประกันภัยรถยนต์ทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่และเป็นประเด็นสำคัญที่นำไปสู่การยื่นข้อพิพาทต่อสำนักงาน คปภ. เช่น เงื่อนไขความคุ้มครอง กรณีความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย รวมถึงกรณีทุพพลภาพอย่างถาวรและทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง การชดใช้ดอกเบี้ยผิดนัด ตลอดจนข้อยกเว้นความคุ้มครองต่าง ๆ เป็นต้น อันจะเป็นประโยชน์ต่ออนุญาตโตตุลาการในการนำไปประกอบการพิจารณาและจัดทำคำวินิจฉัยชี้ขาด 

“การจัดสัมมนาประจำปีอนุญาโตตุลาการในครั้งนี้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งที่ได้รับทราบปัญหา และมีการบูรณาการความคิดในการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอนุญาโตตุลาการของสำนักงาน คปภ. ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าสำนักงาน คปภ. เดินมาถูกทางในการนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นคู่พิพาท อนุญาโตตุลาการ และสำนักงาน คปภ. อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัยให้กับประชาชนผู้เอาประกันภัย ตลอดทั้งเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดี ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการให้บริการประชาชนต่อไปในอนาคต” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย


Tags : คปภ. ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ คปภ. ติวเข้มอนุญาโตตุลาการ เลขาธิการ คปภ.


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

ตามที่รัฐบาลภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีนโยบายเร่งรัดการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน และได้สั่งการให้ธนาคารออมสินหาแนวทางในการช่วยเหลือประชาชนลดภาระการผ่อนชำระหนี้ที่มีอยู่เดิม โดยเฉพาะผู้มีหนี้ที่เป็นกลุ่มเปราะบาง ตลอดจนผู้ที่ประสบปัญหาสภาพคล่องอันเป็นผลกระทบจากปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ดังนั้น เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายรัฐ และสอดรับกับบทบาทธนาคารเพื่อสังคม ธนาคารจึงพิจารณาออกมาตรการรีไฟแนนซ์ ภายใต้โครงการ “สินเชื่อออมสินรีไฟแนนซ์เพื่อสังคม” รับรีไฟแนนซ์หนี้เดิม (ไม่ใช่การปล่อยสินเชื่อใหม่) เพื่อช่วยลดภาระแก่ลูกหนี้ 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) ลูกหนี้บัตรเครดิต 2) ลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล หรือ Personal Loan (P-Loan) 3) ลูกหนี้สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ (Nano Finance) 4) ลูกหนี้สินเชื่อบ้าน ซึ่งการเปิดให้รีไฟแนนซ์สินเชื่อด้วยหลักเกณฑ์ดอกเบี้ยต่ำ พร้อมเงื่อนไขพิเศษอื่นครั้งนี้ ตั้งเป้าช่วยเหลือประชาชนลดภาระการชำระหนี้ ผ่อนสบายมากขึ้น หรือผู้ที่รีไฟแนนซ์แล้วแต่ประสงค์ผ่อนชำระเงินงวดเท่าเดิม ก็จะตัดเงินต้นมากขึ้นเพราะดอกเบี้ยลดลง ทำให้ปิดหนี้ได้เร็วขึ้น โดยมีรายละเอียดหลักเกณฑ์ทั้ง 4 มาตรการ ดังนี้    1. Re-Card : รับรีไฟแนนซ์สำหรับลูกหนี้บัตรเครดิต ที่ต้องการกู้เงินเพื่อไปชำระหนี้บัตรเครดิตของสถาบันการเงิน หรือ Non-Bank อื่น โดยการรีไฟแนนซ์/รวมหนี้บัตรเครดิตมาผ่อนชำระกับธนาคารออมสินในรูปแบบเงินกู้ระยะยาว (Long Term Loan) ช่วยลดภาระดอกเบี้ยจากเดิม 16% ต่อปี ลงเหลือ 8.99% ต่อปี (อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น) วงเงินกู้ไม่เกิน    5 เท่าของรายได้รวม สูงสุดไม่เกินรายละ 500,000 บาท และไม่ต้องมีหลักประกัน ซึ่งการรีไฟแนนซ์จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ลูกหนี้ ยกตัวอย่างกรณีเป็นหนี้บัตรเครดิต 100,000 บาท ปัจจุบันต้องจ่ายดอกเบี้ย 16% ต่อปี และผ่อนชำระขั้นต่ำ 8% ซึ่งเท่ากับ 8,000 บาทต่อเดือน เมื่อรีไฟแนนซ์มาเป็นเงินกู้ระยะยาว ธนาคารให้ผ่อนชำระได้สูงสุดไม่เกิน 7 ปี ที่อัตราดอกเบี้ย 8.99% ต่อปี ทำให้ลดเงินงวดเหลือ 1,700 บาทต่อเดือนเท่านั้น     2. Re P-Loan : รับรีไฟแนนซ์สำหรับลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล (Personal Loan : P-Loan) ที่ต้องการกู้เงินเพื่อไปชำระหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล P-Loan ของสถาบันการเงิน หรือ Non-Bank อื่น ซึ่งเมื่อรีไฟแนนซ์/รวมหนี้มาผ่อนชำระกับธนาคาร จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยจากเดิมประมาณ 25% ต่อปี ลงเหลือ 15% ต่อปี วงเงินให้กู้ตามภาระหนี้คงเหลือของสัญญากู้เดิม สูงสุดไม่เกินรายละ 100,000 บาท และไม่ต้องมีหลักประกัน ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 5 ปี 3. Re-Nano : รับรีไฟแนนซ์สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อย ที่ต้องการปลดหนี้สินเชื่อ Nano Finance ที่กู้ไปเพื่อลงทุนในการประกอบอาชีพ ซึ่งเมื่อรีไฟแนนซ์/รวมหนี้มาผ่อนชำระกับธนาคาร จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยจากเดิม 33% ต่อปี ลงเหลือ 18% ต่อปี วงเงินให้กู้ตามภาระหนี้คงเหลือของสัญญากู้เดิม สูงสุดไม่เกินรายละ 200,000 บาท ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 8 ปี โดยธนาคารออมสินร่วมกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ในการค้ำประกันการกู้ 4. Re-Home : รับรีไฟแนนซ์สำหรับลูกหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัย ที่ต้องการกู้เงินเพื่อไถ่ถอนจำนองที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินอื่น วงเงินกู้ 1-5 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรีไฟแนนซ์มาผ่อนชำระกับธนาคาร จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมที่ประมาณ 6 - 7% ต่อปี ลงเหลือ 1.95% ในปีที่ 1 (ปีที่ 2 = 2.95% ปีที่ 3 = 3.95%) คิดเป็นอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกอยู่ที่ 2.95% ต่อปี พร้อมเงื่อนไขผ่อนต่ำ ปีที่ 1 ผ่อนชำระเงินงวดล้านละ 3,000 บาท/เดือน ปีที่ 2 ล้านละ 4,000 บาท/เดือน และปีที่ 3 ล้านละ 5,000 บาท/เดือน อนึ่ง ธนาคารสนับสนุนนโยบายรัฐในการแก้ปัญหาหนี้สินครัวเรือนของประชาชน ให้สามารถมีเงินเหลือใช้สอยดำรงชีพโดยไม่ต้องพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบ รวมถึงส่งเสริมการปลูกฝังทัศนคติการกู้เงินเท่าที่จำเป็นและผ่อนไหว ทั้งนี้ มาตรการสินเชื่อรีไฟแนนซ์ “โครงการสินเชื่อออมสินรีไฟแนนซ์เพื่อสังคม” เพื่อแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน เปิดให้ยื่นขอกู้ได้ที่ธนาคารออมสินทุกสาขา ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 และจัดทำนิติกรรมสัญญาภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2567  

21 Apr 2024

...

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย Prime Rate 0.15% ต่อปี จาก 6.75% เหลือ 6.60% ต่อปี (อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ EXIM BANK ใช้สำหรับลูกค้าทั่วไปและลูกค้า SMEs เทียบเท่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี หรือ MRR ของธนาคารพาณิชย์) นับเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดีที่ต่ำที่สุดในระบบ เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ไทยในเทศกาลสงกรานต์นี้ให้แก่ผู้ประกอบการ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ย Prime Rate ในครั้งนี้เป็นการขานรับนโยบายของรัฐบาลในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยลดภาระให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจของ EXIM BANK ในการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้มีสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ บรรเทาภาระหนี้และต้นทุนทางธุรกิจ และสามารถปรับตัวให้แข่งขันในเวทีโลกได้อย่างยั่งยืนในสภาวะที่เศรษฐกิจไทยเติบโตในอัตราที่ช้าลง ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินยังอยู่ในระดับสูง  

13 Apr 2024

...

กบข. ร่วมกับทิพยประกันภัย มอบประกันอุบัติเหตุ และประกันบ้านปลอดภัย ให้สมาชิก กบข. เที่ยวสงกรานต์อย่างอุ่นใจ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และไม่จำกัดสิทธิ์ ให้ความคุ้มครองนาน 30 วัน   นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)  เปิดเผยว่า กบข. ห่วงใยสมาชิกช่วงเทศกาลสงกรานต์ จึงร่วมกับ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) มอบสิทธิพิเศษ “ประกันภัยอุบัติเหตุ” และ “ประกันภัยบ้าน” ให้แก่สมาชิก โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และไม่จำกัดสิทธิ์ เพื่อให้สมาชิกอุ่นใจ ไม่มีความกังวลปัญหาเรื่องบ้านและความปลอดภัย เมื่อเดินทางท่องเที่ยว หรือกลับภูมิลำเนาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยสิทธิพิเศษ สมาชิก กบข. รับฟรีประกันภัยอุบัติเหตุ วงเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท จะให้ความคุ้มครองสำหรับความสูญเสียหรือเสียหายของร่างกาย อันเกิดจากความบาดเจ็บซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอกร่างกายของผู้เอาประกันภัยโดยอุบัติเหตุตลอด 24 ชั่วโมง ให้ความคุ้มครองนาน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ลงทะเบียนรับสิทธิ์ และสิทธิพิเศษ สมาชิก กบข. รับฟรีประกันภัยสงกรานต์สุขใจบ้านปลอดภัย วงเงินคุ้มครองสูงสุด 30,000 บาท ให้ความคุ้มครองกรณีบ้านและคอนโดเกิดเหตุไฟไหม้ ความเสียหายจากภัยธรรมชาติ รวมถึงบ้านโดนโจรกรรม ให้ความคุ้มครองนาน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ลงทะเบียนรับสิทธิ์ กรณีที่บ้านได้รับความเสียหายจนต้องหาที่พักอาศัยชั่วคราวจะได้รับค่าเช่าที่พักอาศัยชั่วคราว 300 บาท/วัน ไม่เกิน 30 วัน ทั้งนี้ สมาชิก กบข. ที่สนใจสามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้ตั้งแต่วันที่ 6-12 เมษายน 2567 ผ่านทางไลน์ กบข. @gpfcommunity กดที่แบนเนอร์ประกันที่สมาชิกต้องการ เพื่อไปที่ไลน์ @tipgo จากนั้นกดเข้าเมนู “ลงทะเบียนประกันภัยอุบัติเหตุ หรือประกันสงกรานต์สุขใจบ้านปลอดภัย” และทำตามขั้นตอนการรับประกัน เมื่อลงทะเบียนสำเร็จ จะได้รับอีเมลยืนยันความคุ้มครองจากทิพยประกันภัย โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของสวัสดิการสมาชิก ซึ่ง กบข. ได้ร่วมมือกับพันธมิตรสวัสดิการอย่างต่อเนื่อง เพื่อจัดหา ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่หลากหลายและเหมาะสม ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ทางการเงินและประกัน ตลอดจนสิทธิพิเศษส่วนลดอาหาร-เครื่องดื่ม บริการ และสินค้าทั่วประเทศ เฉพาะสมาชิก กบข. โดยสมาชิกสามารถติดตามรายละเอียดสวัสดิการทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์ กบข. LINE กบข. และ My GPF Application สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook กบข. หรือ LINE กบข. @gpfcommunity หรือศูนย์บริการข้อมูลสมาชิก โทร. 1179  

11 Apr 2024

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน รับรางวัลเกียรติยศ Business Excellence in Thailand 2023 TOP CEO ภายในงาน 2023 ASIA CEO SUMMIT & AWARD CEREMONY งานมอบรางวัลสุดยอดผู้บริหารและแบรนด์ชั้นนำในเอเชีย โดยเลือกผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ด้วยเป็นผู้นำที่ได้เปลี่ยนธนาคารออมสินมาสู่การเป็นธนาคารเพื่อสังคม ที่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมในมิติของการลดความเหลื่อมล้ำและแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการดำเนินโครงการต่างๆ จำนวนมาก ตลอดปี 2563 - 2565 ซึ่งถือเป็นหน่วยงานหลักในการให้ความช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจให้ผ่านพ้นสถานการณ์ในช่วงวิกฤตโควิด-19 มาได้อย่างเข้มแข็ง อาทิ สินเชื่อ SMEs มีที่ มีเงิน สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ โครงการสร้างงานสร้างอาชีพ และโครงการ Holistic Area-based Development จังหวัดน่าน รวมทั้งเดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและความมั่งคั่งให้กับคนไทย โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า และเพิ่มความสะดวกสบายในการเข้าถึงบริการทางการเงินด้วย ทั้งนี้ การมอบรางวัลดังกล่าว จัดขึ้นโดย บริษัท อินฟลูเอ็นเชี่ยล แบรนด์ ประเทศสิงคโปร์ และ บริษัท นิโอ ทาร์เก็ต จำกัด เพื่อเป็นเกียรติแก่แบรนด์ชั้นนำที่สร้างผลกระทบต่อผู้บริโภคและประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจมากที่สุด ณ โรงแรมชาเทรียม แกรนด์ กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้    

08 Apr 2024

Banner Banner Banner

Banner
  ทิศทาง ceothailand.net ในปี 2567  “สื่อออนไลน์ CEO THAILAND”   ในปี 2567 จะเป็นปีที่ผม “นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์” จะมาทำหน้าที่บรรณาธิการบริหารสื่อ CEO THAILAND และผู้บริหารสื่อออนไลน์ ceothailand.net อย่างเต็มที่ หลังจากที่ผ่านมาได้ไปเดินแผนงานทางด้านการเมือง แต่หลังจากผ่านพ้นช่วงการเลือกตั้งไปแล้วที่ผ่านมา จึงทำให้ช่วงเวลานี้มีเวลาที่จะมาวางแผนในการเดินหน้าธุรกิจสื่อได้มากขึ้น และในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนับจากนี้ จึงขอเข้ามารับหน้าที่สื่อมวลชน ในการเขียนบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ เรื่องราวในแวดวงเศรษฐกิจ-การเงิน และการประกันภัย ในฐานะของคอลัมนิสต์ ตลอดเวลาที่ผมเข้าไปทำงานทางการเมือง ต้องยอมรับว่าวงการข่าวและสื่อสารมวลชนเปลี่ยนไปเร็ว ตลอดเวลา 5 ปี  สื่อออนไลน์ที่รวดเร็วเข้ามาแทนที่สื่อหลักอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ (ออฟไลน์)  เราต้องยอมรับในเรื่องความรวดเร็ว แต่ต้องไม่ลืมจุดด้อยของสื่อออนไลน์ คือข้อผิดพลาดในการกลั่นกรองข่าวสาร รวมทั้งบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ที่หายไป และข่าวที่ออกมามีความเหมือนกัน  ไม่แตกต่าง และเป็นเชิงภาพข่าว และกิจกรรมเท่านั้น ดังนั้นในปี 2567 นี้  ในหน้าสื่อออนไลน์ CEO THAILAND ท่านผู้อ่านจะได้สัมผัสกับข่าวสารเชิงวิเคราะห์ เจาะลึกแบบออนไลน์ต่อเนื่องในสื่อ CEO THAILAND รวมทั้งการจัดทำเป็น E-Magazine ใน www.ceothailand.net รวมทั้งการจัดทำเป็นรูปเล่มฉบับพิเศษสลับไปบ้างในเรื่องที่สำคัญๆ น่าสนใจ และเป็นประโยชน์กับประชาชนและสังคม ขอขอบพระคุณท่านลูกค้าและผู้สนับสนุนสื่อด้วยดีเสมอมา ตลอดระยะเวลา 19 ปีที่ผ่านมา และขอขอบพระคุณทุกท่าน รวมทั้งผู้อ่านที่ติดตามสื่อ CEO THAILAND ด้วยดีเสมอมาใน www.ceothailand.net   นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา) บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner