Responsive image

Wednesday, 16 Jul 2025

หน้าแรก > INSURANCE / ประกันภัย - ประกันชีวิต


คปภ. เผยผลตอบรับงาน TIF 2022 เกินคาด และมี tech startup ต่างประเทศเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ขณะที่ยอดซื้อประกันภัยในงานทะลุเป้า เตรียมจัด TIF ปีหน้ายิ่งใหญ่กว่าเดิม

Wed 19/10/2565


ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงาน คปภ. ได้จัดงาน “Thailand InsurTech Fair 2022” ภายใต้แนวคิด “Reshaping Insurance to the Multiverse of InsurTech for the Future ก้าวสู่จักรวาลแห่งเทคโนโลยีประกันภัย เพื่อโลกใหม่  ไร้ขีดจํากัด” เมื่อวันที่ 7-9 ตุลาคม 2565 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ฮอลล์ 6 และทางออนไลน์ www.TIF2022.com โดยการจัดงาน TIF 2022 เป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดของงานจากสัปดาห์ประกันภัยไปสู่งาน Thailand InsurTech Fair ที่ขยายขอบเขตไปสู่เรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการประกันภัย ถือเป็นแนวคิดใหม่ ซึ่งในปีนี้ได้จัดเป็นครั้งที่สองโดยได้ปรับรูปแบบงานให้เป็นแบบ Active Hybrid เนื่องจากสถานการณ์โควิดได้คลี่คลายลง ประชาชนที่สนใจอยากเข้าชมงานแบบ onsite และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันในยุค New Normal จึงได้รับความสนใจจากประชาชนที่เข้าร่วมงานและบริษัทประกันภัยเป็นอย่างมาก   

การจัดงาน Thailand InsurTech Fair 2022 ในปีนี้ไม่ได้ตั้งเป้าความสำเร็จไว้ที่ยอดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประกันภัยเท่านั้น แต่สำนักงาน คปภ. อยากเห็นการยกระดับการประกันภัยเข้าสู่มาตรฐานสากล และมุ่งสู่ Digital Insurance Ecosystem ซึ่งการจัดงานได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ทั้งในส่วนของ InsurTech innovation บริษัทประกันภัยมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยมี Tech firms และ Startups จากต่างประเทศให้ความสนใจและมาร่วมออกบูธภายในงาน พร้อมนำเสนอนวัตกรรม สร้างเครือข่าย และ business matching ภายในงานอย่างคับคั่งและความสำเร็จในเรื่องของ OIC InsurTech Award การประกวดสุดยอดนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย ซึ่งมีทีมเข้าร่วมประกวดจำนวนมากขึ้นในทุกปี และในปีนี้มีการนำเสนอนวัตกรรมที่น่าสนใจ และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและสังคมอย่างตรงจุด เช่น Application สำหรับผู้ป่วยทางจิตเวชสามารถพบนักนักจิตบำบัดหรือจิตแพทย์ทางออนไลน์ เพื่อทำการวินิจฉัยประเมินวัดความเสี่ยงและคำนวณเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมโดยใช้เทคโนโลยี AI และ Platform สำหรับเชื่อมต่อคลินิกแพทย์เอกชนที่มีระบบการควบคุมต้นทุนค่ารักษา ปริมาณยาที่จ่าย (dosage) และมาตรฐานคิดค่ารักษาพยาบาล รวมไปถึงระบบตรวจจับการฉ้อฉล

สำหรับผลตอบรับของการจัดงาน “Thailand InsurTech Fair 2022” นับว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงาม โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังสัมมนาจำนวน 35,161 ราย มีSeminar Sessions ในหัวข้อต่าง ๆ ที่น่าสนใจกว่า 17 หัวข้อ จากวิทยากร 27 คน จากหลายประเทศ Exhibition Hall มีบริษัทประกันภัยและหน่วยงานต่าง ๆ ประกอบด้วย บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทนายหน้าประกันภัยนิติบุคคล และธนาคาร รวมทั้งมีบริษัท Tech firm และ InsurTech Start up ทั้งจากในและต่างประเทศ รวมผู้เข้าร่วมจัดงานมากกว่า 80 แห่ง ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงานจำนวน 202,389 คน แบ่งเป็น On ground  จำนวน 43,821 คน Online จำนวน 158,568 คน Business Matching การจับคู่ทางธุรกิจผ่านการพูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูล และสานสัมพันธ์ทางธุรกิจเพื่อต่อยอดการเติบโตของบริษัทในวงการประกันภัย มีผู้สนใจเข้าร่วมพูดคุยธุรกิจจำนวนกว่า 300 ราย

ส่วนยอดซื้อกรมธรรม์ประกันภัยภายในงาน มีเบี้ยประกันภัยสูงถึงกว่า 1,063 ล้านบาท จำนวนกรมธรรม์รวมมากกว่า 19,365 กรมธรรม์ มีทุนประกันภัยรวมมากกว่า 9,200 ล้านบาท แบ่งเป็น ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต มีเบี้ยประกันภัย 905 ล้านบาท 7,544 กรมธรรม์ ผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัย มีเบี้ยประกันภัย 158 ล้านบาท 11,821 กรมธรรม์ ปัจจัยที่ส่งผลทำให้การจัดงานประสบความสำเร็จมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ภายในงานที่น่าสนใจ ประกอบด้วยการที่เป็นงาน InsurTech ที่ครบวงจรงานเดียวของประเทศ ที่มีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลด้านการประกันภัยและภาคอุตสาหกรรมประกันภัย มีการจัดงานในรูปแบบ Hybrid ผสมผสานรูปแบบ online event และ onsite event ควบคู่กัน ที่สามารถตอบโจทย์ผู้เข้าชมงานได้ทั้งการเดินทางมาชมงานที่อิมแพค เมืองทองธานี สถานที่จัดงานจริง และการเข้าชมผ่านทางออนไลน์ที่สามารถเข้าชมได้ง่าย สะดวกและตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งทาง Smart Phone หรือคอมพิวเตอร์ มีกิจกรรมให้ผู้เข้าชมงานได้สัมผัสในแบบ Interactive ที่ให้ผู้เข้าชมงานสร้างตัวเสมือนหรือ Avatar ของตัวเองในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ภายในงาน เพื่อสะสมแต้มและแลกรับของรางวัล รวมถึงจุดให้ความรู้แนวใหม่แบบ Interactive wall และ interactive floor นับเป็นการพลิกโฉมการเข้าชมงานของอุตสาหกรรมประกันภัยได้อย่างแท้จริง ผู้เข้าชมงานได้เลือกซื้อกรมธรรม์ประกันภัยจากหลากหลายบริษัท ได้ในที่เดียว แบบครบ จบ คุ้มในราคาสุดพิเศษ ที่ได้ส่วนลดสูงสุด 30 % และยังได้รับคูปองชิงโชคของรางวัลมากมายไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า EV-Ora Good Cat รวมทั้ง IT Gadget ต่าง ๆ อาทิ โทรศัพท์มือถือ Smart watch และอื่น ๆ มากกว่า 40 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 1,600,000 บาท ในส่วนงานสัมมนามีวิทยากรชั้นนำระดับแนวหน้าจากทั้งไทยและต่างประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น สิงค์โปร์ และมาเลเซีย มาร่วมให้ความรู้ในหัวข้อต่าง ๆ กว่า 17 หัวข้อ ในเนื้อหาที่เข้มข้นและน่าสนใจ ซึ่งสามารถรับชมได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยการสัมมนาในทุกหัวข้อสามารถรับชมย้อนหลังได้ทาง www.tif2022.com อีกด้วย และในส่วนของ InsurVese Zone เป็นอีกโซนที่ดึงความสนใจของผู้เข้าชมงาน เพราะได้ชมเทคโนโลยีประกันภัยสุดล้ำ จากเหล่า tech startup นำเสนอเทคโนโลยี InsurTech มาร่วมงานทั้งหมด 40 บูธ ซึ่งมาจากหลากหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ อินเดีย อังกฤษ ฮ่องกง เป็นต้น

ด้าน Start up ของไทย ก็มีความโดดเด่นไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับอุปกรณ์จับคลื่นเสียง ตรวจการล้มของผู้สูงอายุภายในบ้านอัตโนมัติ เพื่อเรียกกู้ภัยและรถพยาบาล ให้เข้าถึงจุดเกิดเหตุได้อย่างรวดเร็ว ด้าน Tech Start up ของต่างประเทศ ที่น่าสนใจ อาทิ ผู้ทำ platform กลางเพื่อรับส่งข้อมูลกลางระหว่างภาคธุรกิจประกันภัยทุกบริษัท รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับ OIC Gateway + IBS ของสำนักงาน คปภ. สำหรับ metaverse เป็นที่น่ายินดีว่าประเทศไทยมี startup ผู้ให้บริการบน metaverse หลายเจ้า ซึ่งสามารถสร้างสิ่งที่อยู่ในไอเดีย ไม่ว่าจะเป็นการขาย หรือการให้บริการต่าง ๆ แบบ เสมือนจริง แบบล้ำสมัยให้เกิดขึ้นจริงได้ด้วยฝีมือคนไทยเอง เช่น Digital Marketing Platform แนวใหม่ ที่ผสานความสนุกของเกมการท่องเที่ยว และโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีในยุค Web 3.0 ให้เกิดสะพานเชื่อมต่อคุณค่าจากโลกดิจิทัล มาสู่ธุรกิจในโลกจริง และนวัตกรรมประกันภัยอื่น ๆ อีกมากมายที่น่าสนใจ เช่น Artificial Intelligence (AI) ในการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว และช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อประกันภัยได้อย่างเหมาะสม Blockchain ที่ช่วยลดต้นทุนและขั้นตอนการทำธุรกรรมเกี่ยวกับการประกันภัย และ Machine Learning (ML) ที่ช่วยในเรื่องของการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยง และยังได้ความรู้ด้านประกันภัยจากบูทนิทรรศการของสำนักงาน คปภ. สมาคมด้านการประกันภัย บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทนายหน้าประกันภัย และบริษัท Tech Firm InsurTech Startup จากทั้งในและต่างประเทศ ร่วมงานคับคั่ง

 

ในวันนี้ (18 ตุลาคม 2565) นอกจากจะมีการแถลงข่าวผลการจัดงาน “Thailand InsurTech Fair 2022” แล้ว ยังมีการจับรางวัลใหญ่ให้กับผู้ที่ซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยภายในงาน โดยผู้โชคดีที่ได้รับรางวัลใหญ่ รถยนต์ไฟฟ้า EV - Ora Good Cat มูลค่ากว่า 763,000 บาท คือ คุณนุชรี  อ่อนพร้อม ผู้ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต จำนวน 1 ฉบับ

 

 “ผมขอขอบคุณภาคธุรกิจประกันภัย รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนที่บูรณาการร่วมกันจัดงาน TIF ปีนี้จนประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ทั้งจากตัวเลขผู้ร่วมงานและ tech startup จากต่างประเทศได้นำเสนอเทคโนโลยี InsurTech สุดล้ำมาร่วมงานกว่าประมาณ 40 บูธ สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจของประชาชนเกี่ยวกับการประกันภัยและนวัตกรรมเทคโนโลยีประกันภัย จึงนับว่าเป็นก้าวย่างที่สำคัญของการจัดงานแบบ Active Hybrid ของภาคธุรกิจประกันภัยที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และยังเป็นการประกาศว่าภาคธุรกิจประกันภัยพร้อมที่จะปรับตัวต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในยุค New Normal และ Next Normal รวมไปถึงเรื่องของ Digital Disruption ที่บริษัทประกันภัยจำเป็นต้องมีการปรับตัวในการรับเทคโนโลยีมาใช้ ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. จะเริ่มเตรียมการให้ดีที่สุดเพื่อให้มั่นใจว่าในปีหน้าการจัดงาน “Thailand InsurTech Fair 2023” จะยิ่งใหญ่กว่าปีนี้” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

 


Tags : คปภ. ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ Thailand InsurTech Fair 2022 TIF 2022 เลขาธิการ คปภ.


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อเร็ว ๆ นี้      

14 Jul 2025

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner