Responsive image

Saturday, 12 Jul 2025

หน้าแรก > BUSINESS-MARKETING-SME /ธุรกิจ-การตลาด-ขายตรง-เอสเอ็มอี


เคทีซีโชว์กำไรสุทธิ 9 เดือน 5,414 ล้านบาท พอใจธุรกิจหลักขยายตัวชัด มุ่งขยายฐานสมาชิกคุณภาพ สร้างคุณค่าทุกการใช้จ่าย

Sun 06/11/2565


เคทีซีเดินเกมรุกหลังการปลดล็อคประเทศ และการจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาครัฐเพื่อกระตุ้นการบริโภค ส่งผลตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในธุรกิจหลักเป็นบวกตามเป้าหมาย โดยงบการเงินรวม 9 เดือนมีกำไรสุทธิ 5,414 ล้านบาท และกำไรสุทธิไตรมาส 3/2565 อยู่ที่ 1,773 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปี 2564 เท่ากับ 16.9% และ 34.6% ตามลำดับ มูลค่าพอร์ตสินเชื่อรวม 9 เดือนขยายตัว 11.5% อยู่ที่ 97,016 ล้านบาท ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต 9 เดือนโต 22.7% อยู่ที่ 169,033 ล้านบาท เดินหน้ากลยุทธ์สร้างความเชื่อมั่นผ่านการขยายฐานสมาชิกใหม่เข้าพอร์ตทุกธุรกิจ และการรักษาฐานสมาชิกเดิมด้วยกิจกรรมการตลาดที่ตรงกับความต้องการ เน้นพอร์ตลูกหนี้โตอย่างมีคุณภาพเป็นสำคัญ คาดสิ้นปีพอร์ตสินเชื่อรวมมีมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท และมีประมาณการกำไรปี 2565 ที่สูงกว่าปีก่อนหน้า

นายระเฑียร  ศรีมงคล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่า “ภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภายหลังการทยอยเปิดเมืองของหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งการที่ไทยเปิดประเทศสู่สภาวะปกติ ความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชนในการจัดกิจกรรมการตลาดและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจกลับมาคึกคัก ต่อเนื่องถึงดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคขยับตัวสูงขึ้น ประชาชนมีกำลังซื้อและกล้าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม เคทีซียังคงติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังคงมีความเสี่ยงจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น หนี้ภาคครัวเรือนและอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง”

“ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลระดับอุตสาหกรรมกลับมาเติบโตดี จากยอดลูกหนี้บัตรเครดิตและปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรรวมที่เพิ่มขึ้น โดยเคทีซีมีสัดส่วนลูกหนี้บัตรเครดิตเทียบกับอุตสาหกรรม 13.9% สัดส่วนลูกหนี้สินเชื่อบุคคลเทียบกับอุตสาหกรรม 3.9% ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 22.3% (อุตสาหกรรมโต 24.1%) และมีส่วนแบ่งตลาดเท่ากับ 11.8%”

“ไตรมาส 3 ของปีนี้ นับเป็นช่วงเวลาที่ดีของเคทีซี เนื่องจากพอร์ตบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลเติบโตได้สูงกว่าประมาณการ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 สามารถขยายตัวอยู่ที่ 16.6% และ 7.9% ตามลำดับ โดยเฉพาะปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่สูงขึ้นต่อเนื่องอย่างชัดเจน โดยยอดใช้จ่าย 9 เดือนขยายตัว 22.7% อยู่ที่ 169,033 ล้านบาท และคาดว่าสิ้นปี 2565 ปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซีจะเติบโตมากกว่า 15% แม้ว่าจะยังคงเป้าหมายไว้ที่ 10% สำหรับธุรกิจสินเชื่อบุคคล เชื่อว่าสิ้นปีจะสามารถเติบโตได้ 7% ตามเป้าหมาย ขณะที่ธุรกิจสินเชื่อ เคทีซี พี่เบิ้ม และกรุงไทยธุรกิจ ลีสซิ่ง มีกระแสตอบรับที่ดี แม้ตัวเลขจะยังไม่เป็นไปตามที่ประเมิน โดยจะเร่งประสานความร่วมมือกับทุกฝ่าย เพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้าและเพิ่มอัตราการขยายตัว โดยคาดว่าสิ้นปี 2565 มูลค่าพอร์ตลูกหนี้จะอยู่ที่ 1,000 ล้านบาท สำหรับสินเชื่อด้อยคุณภาพยังอยู่ในระดับที่น่าพอใจ”

 

 

 “ผลการดำเนินงานของเคทีซีในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2565) เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 งบการเงินรวม มีกำไรสุทธิ 9 เดือน 5,414 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 16.9%) และไตรมาส 3/2565 เท่ากับ 1,773 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 34.6%) งบการเงินเฉพาะกิจการ มีกำไรสุทธิ 9 เดือน 5,421 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 17.0%) และไตรมาส 3/2565 เท่ากับ 1,800 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 35.7%) ฐานสมาชิกรวม 3,269,027 บัญชี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวม 97,016 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 11.5%) อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อรวม (NPL) 2.0% แบ่งเป็นพอร์ตสมาชิกบัตรเครดิต 2,534,226 บัตร เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรเครดิตและดอกเบี้ยค้างรับรวม 63,558 ล้านบาท NPL บัตรเครดิตอยู่ที่ 1.2% พอร์ตสมาชิกสินเชื่อบุคคลเคทีซี 734,801 บัญชี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้สินเชื่อบุคคลและดอกเบี้ยค้างรับรวม 31,524 ล้านบาท  NPL สินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 3.0% และพอร์ตลูกหนี้ตามสัญญาเช่ามูลค่า 1,934 ล้านบาท ยอดสินเชื่อลูกหนี้ใหม่ (New Booking) ของสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม” และกรุงไทยธุรกิจ ลีสซิ่ง (KTBL) เท่ากับ 804 ล้านบาท NPL ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าอยู่ที่ 11.1%”

“เคทีซียังคงให้ความสำคัญในการรักษาคุณภาพพอร์ตสินเชื่อ โดยจะบริหารการตั้งสำรองและการตัดหนี้สูญให้เป็นไปตามลักษณะของพอร์ตที่ควรจะเป็น เมื่อมีการขยายพอร์ตสินเชื่อเพิ่มขึ้น ทำให้ในไตรมาส 3/2565 มีผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นขยายตัว 22.9% จากไตรมาส 2/2565 แต่ลดลง 1.2% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2564 สำหรับรายได้รวมในไตรมาส 3/2565 เท่ากับ 5,887 ล้านบาท สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 14.7% จากรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น 8.5% และ 30.6% ตามลำดับ และหนี้สูญได้รับคืนจำนวน 857 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 17.0%) ในขณะที่รายได้รวม 9 เดือนของปีนี้อยู่ที่ 16,978 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.6% ในส่วนของค่าใช้จ่ายรวมในไตรมาส 3/2565 เท่ากับ 3,676 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.5% จากค่าใช้จ่ายในการบริหารที่เพิ่มขึ้น 11.3% ขณะที่ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและต้นทุนทางการเงินลดลง 1.2% และ 0.5% ตามลำดับ สำหรับค่าใช้จ่ายรวม 9 เดือนของปีนี้อยู่ที่ 10,215 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.2%”

“ทั้งนี้ เคทีซีมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสำหรับ 9 เดือนเท่ากับ 12.4% และไตรมาส 3/2565 มีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 13.1% เงินกู้ยืมทั้งสิ้น 57,137 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.9% เป็นโครงสร้างแหล่งเงินทุนจากเงินกู้ยืมระยะสั้นและระยาวในสัดส่วน 28% ต่อ 72% โดยมีวงเงินสินเชื่อคงเหลือ (Available Credit Line) จำนวน 23,899 ล้านบาท ต้นทุนการเงิน 2.4% และอัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 2.1 เท่า ต่ำกว่าภาระผูกพันที่กำหนดไว้ที่ 10 เท่า”

“สำหรับประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ราวต้นเดือนมกราคม 2566 โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อสำหรับรถยนต์ใหม่ ไม่เกินอัตรา 10% ต่อปี รถยนต์ใช้แล้วไม่เกินอัตรา 15% ต่อปี และรถจักรยานยนต์ไม่เกินอัตรา 23% ต่อปี ซึ่งเป็นการควบคุมอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเช่าซื้อให้คิดอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Interest Rate) แบบลดต้นลดดอกนั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของเคทีซี เนื่องจากธุรกิจสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม” เกือบทั้งหมด เป็นการปล่อยสินเชื่อในลักษณะของการจำนำทะเบียนรถ ทั้งนี้ สินเชื่อตามสัญญาเช่าในส่วนของกรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง (KTBL) มีการให้สินเชื่อเช่าซื้อรายย่อยอยู่บ้างแต่มีมูลค่าน้อยมาก จึงมีผลกระทบเพียงจำนวนจำกัด อย่างไรก็ตาม ด้วยผลของประกาศดังกล่าว พอร์ตเช่าซื้อในส่วนนี้คงจะเติบโตได้ช้าลง ในขณะที่ KTBL จะคงการปล่อยสินเชื่อในลักษณะของ Commercial Loan มากขึ้น ซึ่งเป็นสินเชื่อสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม”

“นอกจากนี้ เคทีซียังคงดำเนินการเพื่อแบ่งเบาภาระสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 บริษัทฯ ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในทุกสถานะตามประกาศ ธปท. ฝนส.2 ว.802/2564 คงเหลือจำนวน 2,136 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 2.26% ของพอร์ตลูกหนี้รวม”


Tags : เคทีซี ระเฑียร ศรีมงคล เคทีซีกำไร 9 เดือนของปี 2565 เคทีซีกำไร เคทีซีผลประกอบการ KTC บัตรกรุงไทย


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารประสบความสำเร็จได้รับรางวัลระดับเอเชีย Asia Responsible Enterprise Awards (AREA) 2025 สาขา Social Empowerment จาก MyMo Secure Plus นวัตกรรมความปลอดภัยบน Mobile Banking ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ให้ลูกค้า บูรณาการร่วมกับ แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้และเสริมภูมิคุ้มกันภัยทางการเงิน พร้อมกันนี้ ธนาคารออมสินยังได้รับรางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability ในฐานะองค์กรที่มีความโดดเด่นและมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนในทุกมิติจนได้รับรางวัล AREA มาแล้ว 5 ปี จาก Enterprise Asia องค์กรพัฒนาเอกชนชั้นนำที่ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบในเอเชีย เพื่อเชิดชูและให้เกียรติองค์กรธุรกิจที่มีการดำเนินงานตามแนวทาง ESG และเป็นต้นแบบองค์กรชั้นนำในภูมิภาคเอเชียที่ขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ     ธนาคารออมสินถือเป็นธนาคารแรกที่พัฒนาโหมดปลอดมิจฉาชีพ ภายใต้ชื่อ MyMo Secure Plus เพื่อช่วยดูแลเงินฝากขั้นสูงสุดให้กับลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ไม่รู้เท่าทันมิจฉาชีพที่เปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงตลอดเวลา ออกแบบโดยเน้นการทำธุรกรรมทางการเงินแบบจำกัดเฉพาะรายการที่จำเป็น อาทิ การโอนเงินไปยังบัญชีตนเองภายในธนาคารและต่างธนาคารที่ลงทะเบียนไว้ และการจำกัดวงเงินในการทำธุรกรรมต่อวัน ทั้งนี้ ธนาคารออมสินไม่เพียงพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นธนาคารแรกที่ดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ผ่าน แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ ดำเนินการอย่างเข้มข้นผ่านช่องทางการสื่อสารที่ครบวงจร ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ สื่อนอกบ้าน หรืออินฟลูเอนเซอร์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากที่สุด เนื่องจากธนาคารตระหนักดีถึงความสูญเสียของประชาชนและวิกฤตของอาชญากรรมออนไลน์ที่นับวันจะทวีความรุนแรงจนกลายเป็นภัยคุกคามระดับประเทศ จึงเป็นความพยายามของธนาคารในการที่จะกระตุ้นเตือนให้ประชาชนรู้เท่าทันกลลวงและไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพทางการเงิน     รางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability และ Social Empowerment ถือเป็นบทพิสูจน์ถึงบทบาทของธนาคารออมสินในฐานะ Social Bank ที่ไม่เพียงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับการให้บริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังขับเคลื่อนการสร้าง Social Impact เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ธนาคารยังคงยึดมั่นในหลักการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบตามแนวทาง ESG เพื่อก้าวสู่เป้าหมายความยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม ตลอดจนเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว  

01 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner