Responsive image

Wednesday, 09 Jul 2025

หน้าแรก > TECHNOLOGY-AUTO-PROPERTY


พฤกษาโชว์กำไรสุทธิเติบโต 87% เตรียมโอน 4 คอนโด โกยรายได้ โค้งสุดท้ายปลายปี เดินหน้าลงทุนธุรกิจเฮลท์เทค และ โซเชียล คอมเมิร์ส

Wed 16/11/2565


14 พฤศจิกายน 2565 -  ผลประกอบการพฤกษา โฮลดิ้ง ไตรมาส 3 ปี 2565 เติบโต 87% ทำกำไรสุทธิ 619 ล้านบาท รายได้อยู่ที่ 6,832 ล้านบาท จากการเติบโตของทั้งสองธุรกิจหลัก อสังหาริมทรัพย์ และ ธุรกิจเฮลท์แคร์ สถานะทางการเงินแกร่ง เดินหน้าลงทุนธุรกิจใหม่ด้านเฮลท์เทค และโซเชียล คอมเมิร์ส 

นายอุเทน โลหชิตพิทักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงาน ไตรมาส 3 ปี 2565 ว่า “พฤกษา โฮลดิ้ง ทำรายได้ 6,832 ล้านบาท เติบโต 27% จากไตรมาสที่ผ่านมา และเติบโต 12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสุทธิที่ 619 ล้านบาท เติบโต 44% จากไตรมาสที่ผ่านมา และเติบโต 87% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีสถานะทางการเงินแข็งแกร่ง ทำอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 30.9%  และมีอัตราหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อทุนต่ำ (Net Gearing Ratio) ที่ 0.34 เท่า ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสสองที่ 0.39 เท่า ซึ่งเป็นผลจากการเติบโตของทั้งสองธุรกิจหลัก ทั้งอสังหาริมทรัพย์ และ ธุรกิจเฮลท์แคร์

สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในไตรมาส 3 ทำรายได้ 6,430 ล้านบาท เติบโต 26% จากไตรมาสก่อน หรือเติบโต 8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการที่สูงขึ้นของโครงการแนวราบในเซ็กเม้นต์พรีเมี่ยม และรายได้จากการโอนคอนโดมิเนียม 3 โครงการในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา และสามารถทำยอดขายได้ 2,858 ล้านบาท พร้อมมียอดขายรอโอน (Backlog) เตรียมแปลงเป็นรายได้ในอนาคต ที่ราว 13,300 ล้านบาท โดยในไตรมาส 4 เตรียมส่งมอบคอนโดมิเนียม 4 โครงการ ได้แก่ แชปเตอร์ จุฬา-สามย่าน, ไพรเวซี่ จตุจัตร, พลัมคอนโด พระราม 2, พลัมคอนโด สุขุมวิท 62 มูลค่าราว 6,300 ล้านบาท และ มีแผนเปิดโครงการใหม่ในไตรมาส 4 รวม 7,800 ล้านบาท ได้แก่ ทาวน์เฮาส์ 7 โครงการ มูลค่า 3,600 ล้านบาท บ้านเดี่ยว 3 โครงการ มูลค่า 2,700 ล้านบาท และ คอนโดมิเนียม 1 โครงการ มูลค่า 1,500 ล้านบาท

ล่าสุดด้วยความใส่ใจในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่พฤกษาให้ความสำคัญมาโดยตลอด ที่โรงงานพฤกษาพรีคาสท์ได้เริ่มนำเทคโนโลยีใหม่ “คาร์บอนเคียว” (CarbonCure) โดยการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาผสมในคอนกรีต สามารถลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์ในการผลิต โดยที่ยังคงประสิทธิภาพและคุณภาพของคอนกรีต ซึ่งพฤกษาเป็นอสังหาฯ รายแรกในไทยที่ได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยนี้เข้ามาใช้งาน สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศลงได้ถึง 1,000 ตันต่อปี

ในขณะที่ธุรกิจด้านสุขภาพ (Healthcare Business) ในไตรมาส 3 มีรายได้ 330 ล้านบาท เติบโต 63% จากไตรมาสก่อน หรือเติบโต 276% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน  สร้างรายได้จากบริการทางการแพทย์ในกลุ่มโรคที่ไม่เกี่ยวกับโควิดได้สูงสุดเป็น New High นับจากเริ่มดำเนินกิจการเมื่อปีที่ผ่านมา และมีการขยายบริการไปยังกลุ่มคนไข้ใหม่ และจากการจัดตั้งแผนกให้บริการผู้ป่วยต่างชาติโดยเฉพาะ ทำให้มีสัดส่วนคนไข้ต่างชาติที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 23% ในขณะที่ทิศทางธุรกิจในอนาคต โรงพยาบาลวิมุตมีแผนเพิ่มเตียงสำหรับผู้ป่วยจาก 100 เตียง เป็น 125 เตียงภายในสิ้นปี 2565 เพื่อรองรับความต้องการที่มากขึ้น 

ด้านการลงทุนในธุรกิจใหม่  เพื่อต่อยอดพันธกิจด้านนวัตกรรม ทางบริษัทฯ ได้มีการร่วมลงทุนกับ Pathology Asia Holdings ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำให้บริการด้านการวินิจฉัยทางการแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีแผนการนำโนฮาวด้านการวินิจฉัยทางการแพทย์ Genomics และระบบการบริหารแล็ปที่ทันสมัย มุ่งขยายกิจการในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการนำนวัตกรรมด้านการแพทย์ระดับโลกมาสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านสุขภาพของกลุ่มธุรกิจเฮลท์แคร์ นอกจากธุรกิจด้านสุขภาพ พฤกษา โฮลดิ้ง ยังเล็งเห็นศักยภาพการเติบโตของธุรกิจโซเชียล คอมเมิร์ส  จึงได้ลงทุนในสตาร์ทอัพ PUNDAI - ปันได้ เครื่องมือ Affiliate Marketing Network ช่วยขายออนไลน์ ที่มาพร้อมฟังก์ชัน การใช้งานที่ง่าย ครบ จบในที่เดียว เป็นเครื่องมือช่วยตอบโจทย์การขายผ่านทุกช่องทางออนไลน์ ให้กับผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปให้เติบโตในโลกอีคอมเมิร์ซและเป็นฟันเฟืองสำคัญในการช่วยสร้างงานสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลได้อีกทางหนึ่ง

นอกจากนี้ทาง พฤกษา โฮลดิ้ง เปิดเผยว่าจากการประชุมคณะกรรมการบริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ครั้งล่าสุด ได้มีมติรับทราบการลาออกจากตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม และประธานคณะกรรมการบริหาร ของนายทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ โดยมีผลเป็นการลาออกตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป ซึ่งภายหลังการลาออก นายทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ จะยังคงมีตำแหน่งเป็น รองประธานกรรมการบริษัท กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน กรรมการกำกับการบริหารความเสี่ยง กรรมการบริหาร และกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม

สำหรับการลาออกครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของ Succession Plan ที่ทางบริษัทฯ ได้วางแผนไว้ในการเตรียมความพร้อมและสร้างความยั่งยืนขององค์กรในอนาคต ซึ่งนายทองมาได้กล่าวว่า “หลังจากที่ได้ดำรงตำแหน่งร่วมกับนายอุเทน ที่ได้บริหารงานพฤกษา โฮลดิ้ง ร่วมกันมาเป็นเวลาราว 10 เดือน ผมไว้วางใจ มีความมั่นใจในคณะทีมบริหารมากขึ้น จึงได้ตัดสินใจมอบหมายให้ นายอุเทนบริหารงานอย่างเต็มตัว เป็นการส่งมอบให้นักบริหารมืออาชีพที่มีความสามารถได้มาต่อยอดดูแลบริหารงานเชิงกลยุทธ์และด้านปฏิบัติการของธุรกิจต่างๆ ในเครือทั้งกลุ่ม โดยกำหนดวิสัยทัศน์ไปถีงขยายกิจการ การลงทุนในธุรกิจใหม่ ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรการทำงานในรูปแบบใหม่ที่เปิดกว้างทางความคิด สร้างความหลากหลายในองค์กร มุ่งปรับปรุงและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ อันจะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจกลุ่มพฤกษาในยุคดิจิทัลสู่องค์กรชั้นนำที่มอบโซลูชั่นสินค้าและบริการเพื่อคุณภาพการอยู่อาศัยที่ดีที่สุด”

และในปีนี้ที่ทางพฤกษาได้ริเริ่มโครงการ "Accelerate Impact with PRUKSA" ให้การสนับสนุนบริษัทในประเทศไทยที่ดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise)  ที่ต้องการความช่วยเหลือในการขยายกิจการให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เพื่อให้บริษัทที่เข้าโครงการได้บรรลุเป้าหมายสร้างผลกระทบเชิงบวกในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างแท้จริง ซึ่ง “ทุนวิจิตรพงศ์พันธุ์” เงินทุนส่วนตัวของนายทองมา ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมพระศาสนา สนับสนุนด้านการศึกษา และช่วยเหลือสังคม ได้มีการต่อยอดภารกิจด้านการช่วยเหลือสังคม ด้วยการให้การสนับสนุนธุรกิจเพื่อสังคม ที่ทางพฤกษาได้ริเริ่มโครงการนำร่องบ่มเพาะสตาร์ทอัพในปีนี้ด้วย  


Tags : พฤกษา โฮลดิ้ง พฤกษา อุเทน โลหชิตพิทักษ์ พฤกษาเผยผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2565


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารประสบความสำเร็จได้รับรางวัลระดับเอเชีย Asia Responsible Enterprise Awards (AREA) 2025 สาขา Social Empowerment จาก MyMo Secure Plus นวัตกรรมความปลอดภัยบน Mobile Banking ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ให้ลูกค้า บูรณาการร่วมกับ แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้และเสริมภูมิคุ้มกันภัยทางการเงิน พร้อมกันนี้ ธนาคารออมสินยังได้รับรางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability ในฐานะองค์กรที่มีความโดดเด่นและมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนในทุกมิติจนได้รับรางวัล AREA มาแล้ว 5 ปี จาก Enterprise Asia องค์กรพัฒนาเอกชนชั้นนำที่ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบในเอเชีย เพื่อเชิดชูและให้เกียรติองค์กรธุรกิจที่มีการดำเนินงานตามแนวทาง ESG และเป็นต้นแบบองค์กรชั้นนำในภูมิภาคเอเชียที่ขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ     ธนาคารออมสินถือเป็นธนาคารแรกที่พัฒนาโหมดปลอดมิจฉาชีพ ภายใต้ชื่อ MyMo Secure Plus เพื่อช่วยดูแลเงินฝากขั้นสูงสุดให้กับลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ไม่รู้เท่าทันมิจฉาชีพที่เปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงตลอดเวลา ออกแบบโดยเน้นการทำธุรกรรมทางการเงินแบบจำกัดเฉพาะรายการที่จำเป็น อาทิ การโอนเงินไปยังบัญชีตนเองภายในธนาคารและต่างธนาคารที่ลงทะเบียนไว้ และการจำกัดวงเงินในการทำธุรกรรมต่อวัน ทั้งนี้ ธนาคารออมสินไม่เพียงพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นธนาคารแรกที่ดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ผ่าน แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ ดำเนินการอย่างเข้มข้นผ่านช่องทางการสื่อสารที่ครบวงจร ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ สื่อนอกบ้าน หรืออินฟลูเอนเซอร์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากที่สุด เนื่องจากธนาคารตระหนักดีถึงความสูญเสียของประชาชนและวิกฤตของอาชญากรรมออนไลน์ที่นับวันจะทวีความรุนแรงจนกลายเป็นภัยคุกคามระดับประเทศ จึงเป็นความพยายามของธนาคารในการที่จะกระตุ้นเตือนให้ประชาชนรู้เท่าทันกลลวงและไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพทางการเงิน     รางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability และ Social Empowerment ถือเป็นบทพิสูจน์ถึงบทบาทของธนาคารออมสินในฐานะ Social Bank ที่ไม่เพียงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับการให้บริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังขับเคลื่อนการสร้าง Social Impact เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ธนาคารยังคงยึดมั่นในหลักการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบตามแนวทาง ESG เพื่อก้าวสู่เป้าหมายความยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม ตลอดจนเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว  

01 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner