Responsive image

Tuesday, 19 Mar 2024

หน้าแรก > INSURANCE / ประกันภัย - ประกันชีวิต


คปภ. เดินหน้าเต็มพิกัดเร่งเสริมเขี้ยวเล็บให้ระบบประกันภัยสุขภาพเอกชนพร้อมเร่งแก้ pain points เพื่อประโยชน์ของคนไทย

Sun 05/02/2566


ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดงานและปาฐกถาพิเศษในการประชุมวิชาการประจำปี เวชศาสตร์ประกันชีวิตไทย Annual Thailand Insurance Medical Academic Conference 2023 (TIMAC 2023) เรื่อง “การส่งเสริมระบบประกันสุขภาพเอกชนของไทย” เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 ณ ห้องสุขุมวิท 1&2 โรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ

ในโอกาสนี้ เลขาธิการ คปภ. ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การส่งเสริมระบบประกันสุขภาพเอกชนของไทย” มีใจความตอนหนึ่งว่า จากข้อมูลสถิติเบี้ยประกันภัยสุขภาพตั้งแต่ปี 2560 ถึง 2565 พบว่า ทั้งธุรกิจประกันชีวิต และธุรกิจประกันวินาศภัยมีอัตราการเติบโตเพิ่มสูงขึ้นเกินร้อยละ 10 ในทุกปีและเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลสถิติไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 และไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 พบว่า ธุรกิจประกันชีวิตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่วนประกันวินาศภัยเติบโตแบบชะลอตัวลง อันเนื่องมาจากได้รับผลกระทบจากการรับประกันภัยโควิด-19 อย่างไรก็ตาม โดยรวมแล้วธุรกิจประกันภัยยังมีการเติบโต ซึ่งสวนทางกับสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจโลก ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากเกิดกระแสการใส่ใจสุขภาพของคนรุ่นใหม่ รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ ประกอบกับปัจจัยการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ผู้คนเกิดการตื่นตัว เฝ้าระวังและป้องกัน รวมทั้งแสวงหาระบบประกันภัยสุขภาพเพื่อใช้เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลหากต้องเจ็บป่วยในอนาคต

ทั้งนี้ จากการติดตามการทำประกันภัยสุขภาพ สำหรับภาคประชาชน ในปัจจุบันพบสภาพปัญหาและอุปสรรค (Pain Points) เช่น เบี้ยประกันภัยสุขภาพมีอัตราสูง บริษัทประกันภัยไม่รับต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัย ประชาชนกลุ่มอาวุโสไม่สามารถเข้าถึงระบบการประกันภัยสุขภาพ ปัญหาความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยสุขภาพในการรับประกันภัยสุขภาพในระยะยาว เป็นต้น ส่วนของภาคธุรกิจประกันภัย พบว่ามีความต้องการที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้มีความหลากหลายรองรับวิทยาการทางการแพทย์และตอบโจทย์ของผู้เอาประกันภัยและตลอดจนความกังวลต่อความเสี่ยงโรคอุบัติใหม่ต่าง ๆ

ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งขับเคลื่อนแนวทางสำหรับระบบประกันภัยสุขภาพตามแผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2564 – 2568) ในยุทธศาสตร์ที่ 3 เพื่อยกระดับการบริหารจัดการด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้ธุรกิจประกันภัยสุขภาพมีผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ตอบสนองความต้องการและรองรับลักษณะการใช้ชีวิตของประชาชนในปัจจุบัน และมุ่งหมายให้ประชาชนที่สมัครใจเข้าสู่ระบบการประกันภัยสุขภาพภาคสมัครใจ (Private Health Insurance) สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการประกันภัยสุขภาพมากขึ้นในราคาที่เหมาะสม และยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับการประกันภัยสุขภาพอย่างครอบคลุมและยั่งยืน โดยเฉพาะการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อรองรับสังคมสูงวัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้านสุขภาพ รวมทั้งการรองรับการดูแลรักษาสุขภาพระยะยาวเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยอย่างยั่งยืน  ดังนั้น สำนักงาน คปภ. จึงให้ความสำคัญในการยกระดับการบริหารจัดการด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่องและเร่งด่วนเพื่อผลักดันให้มีการพัฒนากฎหมายด้านการประกันภัยสุขภาพ ซึ่งเป็นการดำเนินการในระยะยาวและสร้างมาตรฐานกระบวนการบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยของบริษัทประกันภัย ซึ่งเป็นมาตรการรองรับทางกฎหมายระยะสั้น

ในส่วนของมาตรการระยะสั้น จะเป็นการยกระดับการบริหารจัดการด้านประกันภัยสุขภาพ และช่วยบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยสุขภาพ โดยได้ดำเนินการส่งเสริมระบบประกันภัยสุขภาพเอกชนของไทยใน 5 เรื่องหลัก ๆ คือ เรื่องที่ 1 กำหนดกรอบแนวทางการทำงานของคณะกรรมการผลิตภัณฑ์ (Product Governance Committee) ของบริษัทประกันภัยให้มีความชัดเจน เช่น การกำหนดกระบวนการบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยของบริษัทประกันภัย การกำหนดคุณสมบัติของคณะกรรมการบริษัท โดยกำหนดให้ต้องมีความรู้และความเข้าใจในธุรกิจประกันภัย และผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่จะเสนอขาย การกำหนดให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผลิตภัณฑ์ประกันภัยเพื่อกลั่นกรองแบบและข้อความของกรมธรรม์ประกันภัยและอัตราเบี้ยประกันภัยให้มีประสิทธิภาพเพียงพอ ก่อนนำเสนอต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ การกำหนดคุณลักษณะของบริษัทที่ประสงค์จะขอแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยที่คุ้มครองความเสี่ยงภัยอุบัติใหม่ (Emerging risk) เป็นต้น เรื่องที่ 2 การพัฒนาและปรับปรุงสัญญาประกันภัยสุขภาพมาตรฐานใหม่ เรื่องที่ 3 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพรูปแบบเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งมีความคืบหน้าและมีแผนจะออกคำสั่งนายทะเบียนได้ในเดือนกุมภาพันธ์นี้

เรื่องที่ 4 โครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการ สำหรับธุรกิจประกันภัย (Insurance Regulatory Sandbox) และ โครงการทดสอบนวัตกรรมทางด้านประกันภัย และผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่สะท้อนความเสี่ยงเฉพาะราย (Product Innovation and Tailor-Made Sandbox) และเรื่องที่ 5 การแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาทางการแพทย์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย สืบเนื่องจากคำสั่งสำนักงาน คปภ. แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาหลักเกณฑ์การกำหนดกลุ่มโรคป่วยเล็กน้อยทั่วไป (Simple Diseases) และหลักเกณฑ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยสุขภาพไปแล้วนั้น ยังไม่ครอบคลุมถึงภาระหน้าที่ของสำนักงาน คปภ. ที่ต้องให้ความคุ้มครองสิทธิประโยชน์แก่ผู้เอาประกันภัย

ในส่วนของมาตรการระยะยาว สำนักงาน คปภ. กำลังอยู่ในกระบวนการศึกษาและจัดทำร่างกฎหมายการประกันภัยสุขภาพ เพื่อให้มีกฎหมายว่าด้วยการประกันภัยสุขภาพรองรับการพัฒนาและยกระดับระบบประกันภัยสุขภาพของประเทศไทย โดยมีประกันภัยสุขภาพภาคสมัครใจเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งในหลักการจะมีการยกระดับมาตรฐานของระบบประกันภัยสุขภาพ ใน 2 มิติ คือมิติของประชาชน และมิติของอุตสาหกรรมประกันภัย

ในมิติของประชาชน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับการประกันภัยสุขภาพครอบคลุมและยั่งยืน รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้านสุขภาพ รวมทั้งการรองรับการดูแลรักษาสุขภาพระยะยาว เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมาตรการในคุ้มครองสิทธิของประชาชนในระบบประกันภัยสุขภาพ เช่น การชำระเบี้ยประกันภัยคงที่ การการันตีการต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพ สิทธิในการได้รับตามกรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เป็นต้น

ในมิติของอุตสาหกรรมประกันภัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจประกันภัยสุขภาพมีเสถียรภาพเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ลดอุปสรรคในการประกอบธุรกิจและการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่มาสนับสนุนการให้บริการประกันภัยสุขภาพ โดยมาตรการส่งเสริมเพื่อพัฒนาประกันภัยสุขภาพ เช่น การกำหนดให้บริษัทสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเพื่อป้องกันฉ้อฉลประกันภัยสุขภาพ การลดอุปสรรคในการส่งเสริมนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีใหม่มาสนับสนุนการให้บริการประกันภัยสุขภาพ (Sandbox) การกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เอาประกันภัยสุขภาพเป็นการเฉพาะ เพื่อให้เกิดความชัดเจนโดยไม่ต้องรอการตีความจากคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น

“บริบทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นต่อการขับเคลื่อนและส่งเสริมระบบประกันภัยสุขภาพของไทยเป็นไปในทิศทางที่น่ายินดีและนับจากนี้ไปสำนักงาน คปภ. จะดำเนินการในเชิงรุกโดยจะเร่งบูรณาการกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนภารกิจด้านประกันภัยสุขภาพให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อประโยชน์สูงสุดของคนไทยโดยรวมและอย่างยั่งยืน” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

 


Tags : คปภ. ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ ประกันภัยสุขภาพ เลขาธิการ คปภ. สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

บมจ.ไทยสมุทรประกันชีวิต รักคือพลังของชีวิต โดยคุณนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ (CEO) เผยว่าในวาระครบรอบ 75 ปี OCEAN LIFE ไทยสมุทร เดินหน้าก้าวสู่ยุคใหม่ที่จะสร้างโลกให้คนไทยจะมีชีวิตและสุขภาพที่ดีขึ้น ด้วยแนวคิด HEALTHIVERSE พร้อมกับให้ความสำคัญกับเรื่องการออมและการวางแผนการเงินควบคู่กันไปด้วย ทั้งยังคงมุ่งเน้นทำให้ประกันชีวิตเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคนโดยเฉพาะกับกลุ่มวัยรุ่นยุคใหม่  ซึ่งล่าสุด! ได้ส่ง ประกันออมทรัพย์ไซซ์เล็ก “โอชิ สมอล เซฟไลฟ์ 18/10” ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ ที่เริ่มทำประกันชีวิตฉบับแรก ให้วางแผนการเงินได้เร็วกว่า เริ่มต้นง่ายเพียงแค่จ่ายเบี้ยฯ เดือนละ 500 บาท  และขอทำประกันได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางออนไลน์    “โอชิ สมอล เซฟไลฟ์ 18/10”  จ่ายเบี้ยสบายๆ เริ่มต้นแค่ 500 บาทต่อเดือน จ่ายเบี้ยฯ 10 ปี ให้ความคุ้มครอง 18 ปี และเมื่อครบกำหนดสัญญาในปีสุดท้ายรับเงินคืน 150%  ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ให้ความคุ้มครองชีวิตสูงสุดถึง 450% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย (กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ) รับประกันภัยบุคคลอายุตั้งแต่ 30 วัน – 55 ปี ชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายเดือน ไม่ต้องตรวจสุขภาพ แต่แถลงสุขภาพในใบคำขอเอาประกันภัย  โดยเบี้ยประกันชีวิตสามารถนำไปอ้างอิงลดหย่อนภาษีได้ตามหลักเกณฑ์ที่สรรพากรกำหนด สนใจแบบประกันออนไลน์ คลิก https://oceanlifeth.co/Product-Ochi-Smallsafelife-18-10   OCEAN LIFE ไทยสมุทร ใช้ความรักเป็นพลังขับเคลื่อนองค์กรมายาวนาน 75 ปี โดยไม่หยุดพัฒนาในทุกมิติ เพื่อทำให้ประกันชีวิตเป็นเรื่องง่าย ทำให้คนไทยเข้าถึงประโยชน์ของการประกันชีวิตได้มากที่สุด พร้อมแล้วที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลโลกและสังคม เพื่อส่งมอบอนาคตที่ยั่งยืนให้กับคนรุ่นต่อไปได้ ใช้ชีวิตอย่างมั่นคง มั่นใจ ปลอดภัย มีความสุข สนใจติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ocean.co.th หรือ ติดต่อ OCEAN LIFE CONTACT CENTER  1503

18 Mar 2024

...

  นายไชย ไชยวรรณ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) มอบเงินจำนวน 600,000 บาท แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลก ด้านค้นคว้าและอบรมโรคติดเชื้อไวรัสสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเว็บไซต์ www.trceid.org ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เผยแพร่ความรู้และข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ โดยสนับสนุนต่อเนื่องเป็นปีที่ 16 ณ อาคารไทยประกันชีวิต สำนักงานใหญ่

17 Mar 2024

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า หลังจากที่ธนาคารออมสินได้จัดทำมาตรการแก้หนี้และดำเนินการช่วยเหลือลูกหนี้ทุกกลุ่มมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งกลุ่มเริ่มค้างชำระ กลุ่มลูกหนี้ NPLs และลูกหนี้ในกระบวนการฟ้องร้อง แต่ด้วยขณะนี้ ยังมีลูกหนี้จำนวนหนึ่งยังประสบปัญหาเรื่องรายได้ไม่เพียงพอ ทำให้ส่งผลต่อการผ่อนชำระหนี้รายเดือน ทั้งนี้เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระลูกหนี้ และช่วยไม่ให้ลูกหนี้เสียเครดิตทางการเงินในระยะยาว ธนาคารออมสินได้เตรียมแผนการชำระหนี้หลายแนวทางให้แก่ลูกหนี้แต่ละรายตามความเหมาะสม และสอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้เป็นรายบุคคล อาทิ พักชำระเงินต้น และจ่ายดอกเบี้ยเต็มจำนวนหรือจ่ายบางส่วน หรือเป็นไปตามแผนการชำระหนี้ที่ธนาคารอนุมัติให้ จึงขอชวนลูกหนี้ทุกประเภทสินเชื่อ ทุกสถานะที่ประสบปัญหาไม่ว่าจะเป็นรายย่อยหรือธุรกิจ SME ทั้งลูกหนี้ที่ค้างชำระไม่เกิน 90 วัน และสถานะยังไม่เป็น NPLs หรือ ลูกหนี้ที่มีสถานะเป็น NPLs ณ วันที่ 31 ธ.ค.66 สามารถติดต่อขอคำปรึกษาและร่วมหาแนวทางแก้ไขหนี้ร่วมกัน ได้ที่ธนาคารออมสินสาขาเจ้าของบัญชีหรือสาขาที่สะดวกทั่วประเทศ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สำหรับมาตรการ 4 ไม่ เพื่อชะลอดำเนินการทางคดี ไม่ฟ้อง ไม่ยึดทรัพย์ ไม่ขายทอดตลาด และไม่ฟ้องล้มละลาย ซึ่งขยายระยะเวลาจากเดิมปี 2566 และจะสิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคม 2567 นี้ เพื่อให้ลูกหนี้สามารถเข้าร่วมมาตรการแก้ไขหนี้กับธนาคารข้างต้นได้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ GSB Contact Center โทร. 1115 และที่ facebook : GSB Society.  

17 Mar 2024

...

เลขาธิการ กบข. คนใหม่ “ทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์” พร้อมเริ่มงานรับตำแหน่ง มีเป้าหมายพัฒนา กบข.เป็นกองทุนที่มีความมั่งคั่ง สร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่สมาชิก และสร้างฐานการคลังไทยให้มีความมั่นคงและยั่งยืน   นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เข้ามาปฏิบัติหน้าที่วันแรก โดยมีผู้บริหารและพนักงาน กบข. ให้การต้อนรับ หลังจากได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการ กบข. ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป ด้วยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญการบริหารการเงิน การคลัง และการลงทุน มีวิสัยทัศน์ที่ตรงกับภารกิจของ กบข. และมีเป้าหมายการดำเนินงานที่จะพัฒนาองค์กรให้เป็นกองทุนที่มีความมั่งคั่ง สร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่สมาชิก และสร้างฐานการคลังไทยให้มีความมั่นคงและยั่งยืน   ทั้งนี้ นายทรงพล มีประสบการณ์การทำงานด้านการบริหารการเงิน การคลัง และการลงทุนในตำแหน่งสำคัญ อาทิ ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) รองกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กรรมการบริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กรรมการบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด กรรมการบริษัท บริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์จำกัด (มหาชน) กรรมการองค์การเภสัชกรรม กรรมการบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย จำกัด (มหาชน)   ด้านการศึกษา นายทรงพล จบการศึกษา ระดับปริญญาโทจาก Master of Business Administration with Finance, Case Western Reserve University ระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต B.S. Finance, University of Findlay นอกจากนี้ ยังผ่านหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงอื่น ๆ อาทิ นักบริหารการเงินการคลังระดับสูง รุ่นที่ 3 กรมบัญชีกลาง และหลักสูตรต่าง ๆ ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ดังนี้ หลักสูตร Corporate Governance for Capital Market Intermediaries (CGI) รุ่นที่ 7/2015 หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่นที่ 231/2016 และหลักสูตร IT Governance and Cyber Resilience Program (ITG) รุ่นที่ 15/2020

13 Mar 2024

Banner Banner Banner

Banner
  ทิศทาง ceothailand.net ในปี 2567  “สื่อออนไลน์ CEO THAILAND”   ในปี 2567 จะเป็นปีที่ผม “นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์” จะมาทำหน้าที่บรรณาธิการบริหารสื่อ CEO THAILAND และผู้บริหารสื่อออนไลน์ ceothailand.net อย่างเต็มที่ หลังจากที่ผ่านมาได้ไปเดินแผนงานทางด้านการเมือง แต่หลังจากผ่านพ้นช่วงการเลือกตั้งไปแล้วที่ผ่านมา จึงทำให้ช่วงเวลานี้มีเวลาที่จะมาวางแผนในการเดินหน้าธุรกิจสื่อได้มากขึ้น และในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนับจากนี้ จึงขอเข้ามารับหน้าที่สื่อมวลชน ในการเขียนบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ เรื่องราวในแวดวงเศรษฐกิจ-การเงิน และการประกันภัย ในฐานะของคอลัมนิสต์ ตลอดเวลาที่ผมเข้าไปทำงานทางการเมือง ต้องยอมรับว่าวงการข่าวและสื่อสารมวลชนเปลี่ยนไปเร็ว ตลอดเวลา 5 ปี  สื่อออนไลน์ที่รวดเร็วเข้ามาแทนที่สื่อหลักอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ (ออฟไลน์)  เราต้องยอมรับในเรื่องความรวดเร็ว แต่ต้องไม่ลืมจุดด้อยของสื่อออนไลน์ คือข้อผิดพลาดในการกลั่นกรองข่าวสาร รวมทั้งบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ที่หายไป และข่าวที่ออกมามีความเหมือนกัน  ไม่แตกต่าง และเป็นเชิงภาพข่าว และกิจกรรมเท่านั้น ดังนั้นในปี 2567 นี้  ในหน้าสื่อออนไลน์ CEO THAILAND ท่านผู้อ่านจะได้สัมผัสกับข่าวสารเชิงวิเคราะห์ เจาะลึกแบบออนไลน์ต่อเนื่องในสื่อ CEO THAILAND รวมทั้งการจัดทำเป็น E-Magazine ใน www.ceothailand.net รวมทั้งการจัดทำเป็นรูปเล่มฉบับพิเศษสลับไปบ้างในเรื่องที่สำคัญๆ น่าสนใจ และเป็นประโยชน์กับประชาชนและสังคม ขอขอบพระคุณท่านลูกค้าและผู้สนับสนุนสื่อด้วยดีเสมอมา ตลอดระยะเวลา 19 ปีที่ผ่านมา และขอขอบพระคุณทุกท่าน รวมทั้งผู้อ่านที่ติดตามสื่อ CEO THAILAND ด้วยดีเสมอมาใน www.ceothailand.net   นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา) บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner