Responsive image

Saturday, 03 Jun 2023

หน้าแรก > INSURANCE / ประกันภัย


“วิริยะประกันภัย” ประกาศแผนงานปี 66 “ปีแห่งนวัตกรรมบริการทั่วไทย” ตั้งเป้ายอดขายไว้ประมาณ 43,000 ล้านบาท

Fri 24/03/2566


วิริยะประกันภัย เดินหน้าพัฒนางานบริการไม่หยุดยั้ง ประกาศแผนงานปี 2566 “ปีแห่งนวัตกรรมบริการ : ทุกความเสี่ยงภัย เราพร้อมเคียงข้างคุณ” เผยการมุ่งมั่นพัฒนางานบริการที่กระทำมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ส่งผลให้ผลประกอบการปี 2565 เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากปี 2564 ซึ่งเติบโตอยู่เพียง 1.6% แต่ปีที่ผ่านมากลับเติบโตถึง 5.78% สูงกว่าอัตราการเติบโตของธุรกิจประกันภัยในภาพรวม ซึ่งประเมินกันว่าจะเติบโตที่ 3.5-4.5% โดยมีเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งสิ้น 40,991 ล้านบาท ขณะที่ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าลูกค้าทะลักขึ้นแท่นเบอร์ 1 เหมือนเดิม ส่วนเป้าหมายปี 66 ตั้งเป้าเติบโต 6% ด้านสถานะทางการเงินยังคงเข้มแข็ง แต่สินทรัพย์ยังคงที่ในระดับเกือบ 70,000 ล้านบาท ส่วนอัตราส่วนเงินกองทุนยังคงเกินค่ามาตรฐานอยู่ที่ 154.97%

นายอมร ทองธิว กรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมาผู้คนในสังคมได้ตระหนักถึงความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่ายและไม่สามารถควบคุมได้ และเลือกใช้ระบบประกันภัยเข้ามาช่วยบริหารความเสี่ยง จึงกลายเป็นปัจจัยบวกทำให้ภาพรวมของธุรกิจประกันภัยในปีที่ผ่านมามีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้น ซึ่งประเมินกันว่าจะเติบโตอยู่ที่ 3.5-4.5%  ส่วนการดำเนินงานของวิริยะประกันภัยในรอบปีที่ผ่านมา มีอัตราเติบโตที่น่าพึงพอใจเป็นอย่างมาก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังมีต่อวิริยะประกันภัย และตอกย้ำให้เห็นถึงศักยภาพความเป็นผู้นำอันดับ 1 ของธุรกิจประกันวินาศภัย โดยในปี 2565 วิริยะประกันภัยมีเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งสิ้น 40,991 ล้านบาท เติบโต 5.78% แยกเป็นเบี้ยประกันภัยรถยนต์ 35,847 ล้านบาท ส่วนเบี้ยประกันภัยที่ไม่ใช่ประกันภัยรถยนต์หรือนอนมอเตอร์ มีเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งสิ้น 5,144 ล้านบาท

“ในขณะที่สถานะการเงินวิริยะประกันภัยยังคงมีความมั่นคงเหมือนเดิม โดยมีสินทรัพย์อยู่ที่ 69,946.94 ล้านบาท ด้านอัตราส่วนเงินกองทุนที่ต้องดำรงไว้ตามกฎหมายยังอยู่ในระดับสูงกว่าค่ามาตรฐาน โดยมีอัตราส่วนอยู่ที่ประมาณ 154.97%” นายอมรกล่าว

สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2566 นี้ นายอมรเปิดเผยว่า วิริยะประกันภัยยังคงใช้รากฐานความคิดที่เป็นปรัชญาในการทำธุรกิจที่ยึดมั่นมาตลอด 76 ปี และกลายเป็น DNA ของวิริยะประกันภัยไปแล้ว นั่นคือ “ความเป็นธรรม คือนโยบาย” และยังคงใช้กลยุทธ์ในการยึดหลักของลูกค้าเป็นศูนย์กลางเหมือนเดิม แต่ต้องตอบรับกับความเปลี่ยนแปลง ยืดหยุ่น และตอบสนองความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้เพื่อที่ วิริยะประกันภัยยังคงเป็นที่หนึ่งแห่งความเชื่อมั่นในทุกมาตรฐานประกันภัย โดยได้ตั้งเป้ายอดขายปี 2566 ไว้ประมาณ 43,000 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อนหน้าประมาณร้อยละ 6 แบ่งเป็นเบี้ยประกันภัยรถยนต์ประมาณ 37,600 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อนหน้าประมาณร้อยละ 5 เบี้ยประกันภัยนอนมอเตอร์ประมาณ 5,700 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อนหน้าประมาณร้อยละ 11

นายอมรเปิดเผยต่อไปอีกว่า ส่วนกลยุทธ์การดำเนินงานในปี 66 นี้จะอยู่ภายใต้แนวคิด “ปีแห่งนวัตกรรมบริการ : ทุกความเสี่ยงภัย เราพร้อมเคียงข้างคุณ” ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มเติมต่อยอดพัฒนาด้านเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรมบริการ โดยจะมุ่งเน้นให้หน่วยงานของบริษัทฯ ที่มีเครือข่ายอยู่ทุกทิศทั่วไทยมีมาตรฐานทางเทคโนโลยีเดียวกัน มีนวัตกรรมบริการที่สอดรับความต้องการแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้ได้วางเป้าประสงค์หลักไว้ 3 เป้าหมายด้วยกัน คือ เป้าหมายด้านช่องทางการขาย ด้วยการยกระดับให้สำนักงานมาตรฐานตัวแทนเป็นสำนักงานดิจิตอล สามารถออกกรมธรรม์ให้ลูกค้าได้ด้วยตัวของสำนักงานเอง ทั้งกรมธรรม์ตัวจริงหรือกรมธรรม์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งตรงถึงมือถือลูกค้าทันทีที่ได้มีการตกลงทำสัญญาประกันภัย นั่นก็หมายความว่า จะเกิดความสะดวกทั้งตัวแทนวิริยะประกันภัย และลูกค้าไม่ต้องเดินทางไปมาซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ลูกค้ายังมั่นใจได้ว่าจะได้รับความคุ้มครองแน่นอนและทันทีที่ได้ตกลงทำสัญญาประกันภัย

ในขณะที่เป้าหมายด้านการบริการสินไหมทดแทน นอกจากระบบเคลมออนไลน์ “VClaim on VCall” ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้ขยายบริการไปทั่วประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้วิริยะประกันภัยยังคงขยายพื้นที่ให้บริการที่เรียกกันว่า “จุดรอตรวจสอบอุบัติเหตุ” ออกไปทั่วไทย ด้วยการใช้ข้อมูลเป็นตัววิเคราะห์เพื่อหาจุดสมดุลบริการอย่างไร้รอยต่อ นอกจากนี้ยังได้จัดหา AI มาทำหน้าที่ประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้น ควบคู่กับพนักงานสินไหมทดแทนที่มากประสบการณ์ เพื่อที่จะได้เกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย

อีกเป้าหมายหนึ่งคือด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์  ซึ่งในปัจจุบันวิริยะประกันภัยได้สร้างผลิตภัณฑ์สนองรับความต้องการได้หลากหลายครอบคลุมทุกความเสี่ยงภัย รวมแล้วกว่า 60 ผลิตภัณฑ์ และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตรงต่อความต้องการอย่างแท้จริง อันเป็นผลมาจากการใช้กลยุทธ์ในปีที่ผ่านมา “Data-Driven Innovation : เข้าใจ เข้าถึง เคียงข้างคุณทุกความเสี่ยงภัย” ประกอบกับวิริยะประกันภัยมีจุดแข็งอยู่ที่ฐานข้อมูล ซึ่งมีฐานลูกค้ากว่า 8 ล้านกรมธรรม์ จึงทำให้การทำงานวิจัยเพื่อค้นหาความต้องการของผู้บริโภคสามารถทำได้ลึก และในปีนี้จะลงลึกถึงความต้องการของผู้คนในแต่ละภูมิภาคเป็นการเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นการประกันภัยรถยนต์หรือประกันภัยสุขภาพที่ลงลึกถึงการตลาดแบบ Personalization ผลิตภัณฑ์ความคุ้มครองเฉพาะตัวและตรงข้อเท็จจริงของแต่ละบุคคล

ส่วนทางด้านการรับประกันภัยรถไฟฟ้า นายอมรกล่าวว่า วิริยะประกันภัยได้เตรียมความพร้อมมากว่า 4 ปีแล้ว โดยได้ศึกษามาตั้งแต่วิวัฒนาการจากรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด จนมาสู่ระบบไฟฟ้าเต็มตัว ซี่งเป็นการพัฒนาร่วมกันกับผู้ประกอบการ ตลอดไปถึงสถาบันการศึกษาที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านนี้ อีกทั้งความรู้ที่ได้รับและผลพันธ์ที่ได้พัฒนาร่วมกันดังกล่าว ได้ส่งต่อไปเป็นองค์ความรู้ให้กับบุคลากรด้านสินไหมทดแทน และเจ้าหน้าที่ของศูนย์ซ่อมมาตรฐานวิริยะประกันภัย ซึ่งในปีนี้จะขยายองค์ความรู้ไปยังกลุ่มตัวแทนนายหน้าในสังกัดอีกด้วย โดยในปัจจุบันวิริยะประกันภัยได้ให้ความคุ้มครองรถยนต์ไฟฟ้าไปแล้วจำนวน 5,286 คัน และยังคงเป็นบริษัทที่รับประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้าเป็นอันดับหนึ่งเช่นกัน

“ต้องยอมรับว่าเราเริ่มก้าวสู่โลกแห่งความไม่แน่นอนเต็มตัว และจะทำให้ผู้คนให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงและการประกันภัยมากขึ้น และต้องหมายรวมไปถึงความต้องการด้านบริการที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยี จึงถือเป็นหน้าที่และความท้าทายของวิริยะประกันภัยที่ต้องพร้อมสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีความคุ้มครองซับซ้อนขึ้น ตลอดไปถึงการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด เกิดประสบการณ์ที่ดีในทุก Touch Point และเกิดความเชื่อมั่นในคำนิยามที่ว่า “ทุกความเสี่ยงภัย เราพร้อมเคียงข้างคุณ” นายอมรกล่าว

ทางด้าน นายสยม โรหิตเสถียร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยเพิ่มเติมถึงการพัฒนานวัตกรรมด้านบริการว่า ในรอบปีที่ผ่านมาวิริยะประกันภัยได้พัฒนาเทคโนโลยี ส่งมอบองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้กับตัวแทนและคู่ค้า เพื่อสร้างคุณค่าที่แตกต่างส่งมอบให้กับลูกค้า ดังเช่นในปัจจุบันนี้สำนักงานตัวแทนวิริยะประกันภัยสามารถใช้โปรแกรมออกกรมธรรม์เองได้เลย รวมถึงระบบตรวจสภาพรถยนต์ผ่านออนไลน์ก่อนทำประกันภัยอีกด้วย นั้นก็หมายความว่าลูกค้าจะได้รับความคุ้มครองที่รวดเร็วและเชื่อถือได้

ในขณะที่งานบริการหลังการขาย โดยเฉพาะการบริการด้านสินไหมทดแทน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารงานของวิริยะประกันภัย  จนได้รับการยอมรับและยังคงเป็นบริษัทประกันวินาศภัยอันดับ 1 มาจนทุกวันนี้ ดังนั้นวิริยะประกันภัยจึงเดินหน้าสานต่อนโยบายบริหารสินไหมแบบองค์รวม กล่าวคือ ดูแลทุกองค์ประกอบสำคัญของงานสินไหมซึ่งความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงและสอดประสานกันเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ได้แก่ เครือข่ายศูนย์บริการสินไหม (Network), บุคลากร (People) , ข้อมูล (Data) และนวัตกรรม (Innovation) หรือ NPDI

โดยงานเครือข่ายศูนย์บริการสินไหม (Network) วิริยะประกันภัยได้ขยายเครือข่ายศูนย์บริการสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศไทย ง่ายในการเข้าถึงบริการ เช่น เปิดจุดบริการเคลื่อนที่เร็วในย่านการจราจรที่หนาแน่น หรือ จุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อย เช่น สถานีบริการน้ำมัน พื้นที่ชุมชน ศูนย์การค้า เส้นทางจราจรหลัก ฯลฯ เพื่อสร้างจุดสมดุลบริการอย่างไร้รอยต่อ ในขณะที่งานพัฒนาบุคลากร (People) แม้โลกทุกวันนี้จะก้าวล้ำพัฒนาไปด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา แต่สำหรับธุรกิจประกันภัย การดูแลคนด้วยคนถือเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น เนื่องจากขณะที่ต้องประสบอุบัติเหตุ หรือการสูญเสีย การดูแลเอาใจใส่ผู้เอาประกันภัยด้วยพนักงานที่ผ่านการฝึกอบรมเป็นอย่างดี มีความเป็นมืออาชีพ ย่อมช่วยให้ผู้เอาประกันภัยอุ่นใจ และเกิดความมั่นใจว่าจะได้รับการดูแลช่วยเหลือให้ผ่านพ้นจากสถานการณ์คับขันไปได้ด้วยดี

“โดยเฉพาะพนักงานสำรวจอุบัติเหตุของวิริยะประกันภัย หรือ ที่รู้จักกันในนาม “พนักงานเคลม” คือ Touch Point สำคัญในการส่งมอบบริการสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัย พนักงานเคลมทั้งหมดจำนวนกว่า 1,400 คน เป็นพนักงานของบริษัทฯ เราไม่ใช้ Outsource ลูกค้าของเราต้องดูแลด้วยคนของเรา พนักงานเคลมของวิริยะทุกคนผ่านการคัดเลือก ทดสอบความรู้ ฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ด้วยหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นเองจากการสั่งสมประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่น ความที่วิริยะคือเบอร์หนึ่งเรื่องประกันภัยรถยนต์ เรื่องสินไหมจึงเป็นงานที่เราเชี่ยวชาญ พนักงานเคลมของวิริยะได้รับรางวัลผู้สำรวจอุบัติเหตุรถยนต์ดีเด่น หรือ “Best Surveyor Award” จาก สมาคมประกันวินาศภัยไทย อย่างต่อเนื่อง” นายสยมกล่าว

นายสยมเปิดเผยต่อไปอีกว่า ส่วนงานบริหารจัดการข้อมูล (Data Analytics) วิริยะประกันภัยได้พัฒนา “ระบบข้อมูลสินไหมอัจฉริยะ” (Intelligence Claim System by Big Data Analytics : BDA) โดยใช้จุดแข็งของวิริยะประกันภัยที่อยู่ในธุรกิจมายาวนานกว่า 76 ปี และครองส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งมาอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน ส่งผลให้บริษัทฯ มีข้อมูลสินไหมทดแทนจำนวนมากมาย ที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้เอาประกันภัยได้อย่างมากมาย หลากหลายแง่มุม ไม่เพียงเฉพาะในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แต่ยังช่วยในเรื่องการพัฒนางานสินไหมได้อย่างน่าทึ่ง เช่น การที่เรามีข้อมูลจุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อย บริษัทฯ จะร่วมมือกับภาครัฐในการรณรงค์หามาตรการลดหรือบรรเทาอุบัติภัยบนท้องถนน หรือ เตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ตามจุดใกล้เคียงเพื่อออกบริการสินไหมได้รวดเร็วขึ้น ลดระยะเวลาการรอคอยของผู้เอาประกันภัย ฯลฯ

ในขณะที่งานสรรหาและพัฒนานวัตกรรมประกันภัยใหม่ ๆ (Innovation) ที่จะมาช่วยพัฒนาระบบงานสินไหม สนับสนุนการทำงานของพนักงานด้านสินไหม และสำคัญที่สุดคือเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้ผู้เอาประกันภัย วิริยะประกันภัยมีความพร้อมอย่างเต็มที่ ในการขับเคลื่อนบริการสินไหมทดแทนด้วยนวัตกรรมด้านประกันภัยที่ทันสมัย เช่น การดูแลสินไหมรถยนต์ EV ซึ่งปัจจุบันผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำทั้งโซนยุโรปและเอเชีย ต่างก็แข่งกันพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับรถยนต์ EV เนื่องจากได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยมจากผู้บริโภคทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย หลายค่ายทยอยเปิดตัวรถยนต์ EV รุ่นใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง สำหรับวิริยะประกันภัย เรามีความพร้อมอย่างเต็มกำลังในการรองรับตลาดรถยนต์ EV ทั้งในส่วนบุคคล และเชิงพาณิชย์ เนื่องจากผู้ประกอบการภาคธุรกิจชั้นนำ หรือแม้แต่องค์กรภาครัฐต่างก็หันมารณรงค์การใช้รถยนต์ EV เพื่อขับเคลื่อน Green Economy System สร้างเศรษฐกิจควบคู่กับการใส่ใจสิ่งแวดล้อม เพื่อสังคมไทยเติบโตแบบยั่งยืน

ส่วนแผนงานด้านการประกันภัยที่ไม่ใช่รถยนต์หรือ Non-Motor นางฐวิกาญจน์ เตชทวีทรัพย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในปี 2565 ที่ผ่านมา ถือเป็นปีที่เต็มไปด้วยความท้าทาย จากภาวะเศรษฐกิจไทยที่ค่อย ๆ ฟื้นตัว หลังจากการระบาดอย่างรุนแรงของโรคโควิด-19 มาหลายปี ซึ่งแนวทางการดำเนินงานมุ่งเน้นที่จะดูแลและพัฒนาการให้บริการให้ดียิ่งขึ้นต่อไปให้สมกับความไว้วางใจจากลูกค้า เป็นปีที่มุ่งเน้นการปรับปรุงระบบงานพื้นฐานต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพขึ้น ทั้งการพัฒนาระบบ Core System ใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริการประกันภัย  รองรับการเติบโตของบริษัทฯ  การปรับปรุง Website เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำการตลาดแบบ Personalization Marketing เพื่อมอบประสบการณ์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัลมากขึ้น การพัฒนาระบบ CRM เพื่อรองรับการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าและคู่ค้า ซึ่งโครงการต่าง ๆ นี้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาในปี 2566 โดยจะสามารถเริ่มใช้งานได้ในช่วงต้นปี 2567 ส่วนการพัฒนาระบบ CRM  ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนสนับสนุนกลยุทธ์ที่คำนึงถึงลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) โดยภายในไตรมาสที่สองของปีนี้ ระบบ CRM ในส่วนของการให้บริการ Call Center และการให้บริการต่ออายุประกันสุขภาพและอุบัติเหตุจะแล้วเสร็จ ทั้งนี้มองว่า CRM นี้เป็นระบบที่ต้องมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับกับความต้องการของลูกค้าและเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยจะมีการขยายผลเพื่อพัฒนาเพิ่มฟีเจอร์ในลำดับต่อไป

“สำหรับเป้าหมายปี 2566 วิริยะประกันภัยมุ่งเน้นการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมและเติบโตอย่างมั่นคงยั่งยืน ด้วยการวางแผนขยายอัตราส่วนประกันภัย Non-Motor เติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 10.65% ประมาณการเบี้ยประกันภัยรับอยู่ที่ 5,694 ล้านบาท โดยยังคงมุ่งเน้นที่จะขยายงานผลิตภัณฑ์ประกันภัยส่วนบุคคล หรือ Personal Line เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นประกันภัยสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคล ประกันภัยอุบัติเหตุ ประกันภัยการเดินทาง ประกันภัยอะไหล่รถยนต์ รวมถึงประกันภัยสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย”

นางฐวิกาญจน์ กล่าวต่อไปว่า กลยุทธ์ในการขยายงานประกันภัยส่วนบุคคลในปีนี้ของเรา คือ การต่อยอดจากช่องทางตัวแทน/นายหน้าที่เป็นช่องทางการขายที่มีศักยภาพสูงของบริษัทฯ ซึ่งจะมุ่งเน้นไปยังผลิตภัณฑ์ที่เข้าใจง่าย ไม่ว่าจะประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ประกันการเดินทาง และ ประกันอะไหล่รถยนต์ ที่สามารถนำเสนอควบคู่ไปกับประกันรถยนต์ภาคสมัครใจได้เป็นอย่างดี ซึ่งบริษัทฯ เองอยู่ระหว่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มฐานลูกค้าประกันภัยรถยนต์ของบริษัท โดยมุ่งเน้นที่จะดูแลค่าใช้จ่ายให้ครอบคลุมในทุกมิติ ด้วยการออกแบบแพ็กเกจที่ทำงานคุ้มครองคู่กัน ทั้งรถชนและรถเสีย คุ้ม ครบ จบที่วิริยะฯ ซึ่งก็จะเป็นแผนประกันภัยที่ตัวแทนนายหน้าสามารถนำไปเสนอขายได้ไม่ยากเช่นกัน

“ในขณะเดียวกันบริษัทเองยังมุ่งเน้นในการขยายงานผลิตภัณฑ์ในกลุ่มลูกค้า SME เพื่อรองรับการฟื้นตัวของภาคธุรกิจ เช่น ผลิตภัณฑ์ธุรกิจปลอดภัย ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์กับกลุ่มธุรกิจ SME’s ที่จะเข้ามาช่วยบริหารความเสี่ยง หากธุรกิจเกิดความเสียหายจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ประกันภัยธุรกิจปลอดภัยนี้จะเป็นตัวช่วยที่ดี ที่จะทำให้ธุรกิจของลูกค้ายังคงดำเนินไปได้อย่างมั่นคง” นางฐวิกาญจน์ กล่าวในที่สุด

 


Tags : วิริยะประกันภัย วิริยะประกันภัยประกาศแผนงานปี 2566 อมร ทองธิว สยม โรหิตเสถียร ฐวิกาญจน์ เตชทวีทรัพย์


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK ร่วมมือกับ อเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง ประเทศไทย (Amazon Global Selling Thailand) และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดโครงการอบรม “ติดปีกสินค้าไทย ขายออนไลน์ข้ามพรมแดนกับ Amazon” ระหว่างวันที่ 23 พฤษภาคม-18 กรกฎาคม 2566 ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ และอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาศักยภาพ SMEs ไทยให้มีความพร้อมในการพัฒนาธุรกิจสู่ตลาดการค้าออนไลน์อย่างมั่นใจ ผ่านการฝึกอบรม จับคู่ทางธุรกิจ ให้คำปรึกษาด้านการเงิน แนะนำเครื่องมือบริหารความเสี่ยง และ Workshop การค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน (Cross Border E-commerce: CBEC) ไปยังตลาดสหรัฐฯ ยุโรป และเอเชีย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์ในการเข้าถึงเครือข่ายลูกค้าของ Amazon.com กว่า 300 ล้านคนทั่วโลก โดยเนื้อหาการอบรม อาทิ การเปิดบัญชีกับ Amazon การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและใบรับรององค์การอาหารและยาสหรัฐฯ การสร้างการบริหารจัดการคลังสินค้าและจัดส่งโดย Amazon (Fulfilment by Amazon : FBA) การเปิดหน้าร้านค้าบน Amazon.com ผู้ประกอบการที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการได้ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ในปี 2566 เศรษฐกิจและการค้าโลกต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ทั้งภาวะเงินเฟ้อ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ความยืดเยื้อของสงครามรัสเซีย-ยูเครน ประกอบกับวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐฯ และยุโรปส่งผลกดดันเศรษฐกิจโลก ทำให้ล่าสุดกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกลงเหลือ 2.8% และการค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัวเพียง 1.7%     อย่างไรก็ตาม พบว่าภาพรวมตลาดการค้าออนไลน์ (E-commerce) ของโลกยังมีแนวโน้มสดใส โดยคาดว่าจะขยายตัวกว่า 10% จาก 5.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2565 เป็น 6.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2566 และมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเป็น 6.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567 และ 7.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568 นอกจากนี้ ผลสำรวจผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs ที่ดำเนินธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนในปี 2565 พบว่า 90% มีความสนใจค้าขายข้ามพรมแดนผ่าน E-commerce แต่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ประสบปัญหาขาดความเข้าใจวิธีการ ขาดความรู้เกี่ยวกับตลาดต่างประเทศ มีข้อจำกัดด้านศักยภาพ ทรัพยากร และความสามารถในการแข่งขันในตลาด E-commerce ดังนั้น การจัดโครงการดังกล่าวนี้จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสนับสนุนผู้ประกอบการ  

24 May 2023

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ขอแจ้งเตือนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เนื่องจากขณะนี้ มีผู้เปิด Facebook Fanpage ใช้ชื่อว่า "สินเชื่อ COD ไปรษณีย์ไทย (smebank)" (https://www.facebook.com/Ssmedevelopmentbank) โดยใช้รูป profile เป็นโลโก้ของ "SME D Bank " และใช้ภาพ cover เป็นภาพโฆษณาสินเชื่อของธนาคาร รวมถึง Inbox ข้อความเชิญชวนใช้บริการสินเชื่อไปยังบุคคลต่างๆ ซึ่งอาจสร้างความสับสน เข้าใจผิดให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ทาง SME D Bank ขอเรียนแจ้งเตือนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทุกท่านว่า Facebook Fanpage ดังกล่าว ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับธนาคารทั้งสิ้น และธนาคารไม่มีนโยบายให้บุคคลภายนอกเปิด Facebook Fanpage หรือผลิตสื่อใดๆ เพื่อแอบอ้างชื่อธนาคารไปหาผลประโยชน์ โดยขณะนี้ ธนาคารกำลังดำเนินการเอาผิดทางกฎหมายเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง ดังนั้น ขอความกรุณาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่าหลงเชื่อข้อมูลจาก Facebook Fanpage ดังกล่าว ทั้งนี้ สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นทางการของธนาคารได้ที่ Facebook Fanpage "ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย” (https://web.facebook.com/SMEDevelopmentBank) หรือเว็บไซต์ www.smebank.co.th เท่านั้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ Call Center 1357                 

20 May 2023

...

นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริจาคเงินจำนวน 200,000 บาท และสนับสนุนกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุกลุ่ม แก่มูลนิธิ พล.ต.อ.เภา สารสิน (สถานสงเคราะห์เด็กบ้านตะวันใหม่) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในทุกๆ ด้านของมูลนิธิ พล.ต.อ.เภา สารสิน (สถานสงเคราะห์เด็กบ้านตะวันใหม่) โดยเฉพาะการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการใช้ยาเสพติด ให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ พร้อมที่จะเติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อสังคมไทยในอนาคต โดยมี ม.ล. อารยา สิโรดม กรรมการเหรัญญิก มูลนิธิ พล.ต.อ.เภา สารสิน (สถานสงเคราะห์เด็กบ้านตะวันใหม่) เป็นผู้แทนรับมอบ ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นายสันติ วิริยะรังสฤษฎ์ ประธานจัดงานมหกรรมการเงินกรุงเทพ นางพิตราภรณ์ บุณยรัตพันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส นายปราโมทย์ ศักดิ์กำจร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส และนายศรายุธ ทินกร ณ อยุธยา รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ร่วมในพิธีดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความแข็งแกร่ง มั่นคง และตั้งอยู่บนหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด ควบคู่ไปกับพันธกิจในการส่งมอบความสุขและรอยยิ้มให้แก่สังคม ผ่านกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา รวมถึงสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นหนึ่งในพันธกิจสำคัญที่มุ่งมั่นถึงการเป็นองค์กรที่รับผิดชอบด้าน ESG อย่างจริงจัง

16 May 2023

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า จากสภาวการณ์ที่ปัญหาโลกร้อนทวีความรุนแรงก่อเกิดผลกระทบต่อผู้คนและระบบนิเวศ จึงเป็นเป้าหมายระดับโลกที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันผลักดันแนวคิดเรื่องการใช้พลังงานหมุนเวียนไปสู่การปฏิบัติจริง โดยส่งเสริมการใช้พลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ดังนั้น เพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นการทดแทนดังกล่าว และยังเกิดประโยชน์ต่อระดับครัวเรือนในการช่วยลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าได้ในระยะยาว ธนาคารออมสินจึงได้ออกผลิตภัณฑ์ล่าสุด สินเชื่อ GSB Go Green เพื่อสนับสนุนเงินทุนในการติดตั้งและซื้ออุปกรณ์สำหรับบุคคลธรรมดา ในภาวะที่ต้องเผชิญปัญหาค่าไฟฟ้าครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นอยู่ขณะนี้ และสินเชื่อ GSB for BCG Economy เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการในการลงทุนด้านพลังงานทดแทน ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถติดต่อขอใช้บริการสินเชื่อได้ที่ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป            สินเชื่อ GSB Go Green สำหรับผู้กู้ที่เป็นบุคคลธรรมดา อายุ 20 ปี และเมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 70 ปี วัตถุประสงค์เพื่อติดตั้งหรือซื้ออุปกรณ์ที่ช่วยลดมลภาวะ เช่น Solar cell, Solar rooftop ติดตั้ง EV Charger สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (EV) รถยนต์ไฮบริด รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 ที่ช่วยประหยัดพลังงาน รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง กรณีไม่มีหลักประกัน (Clean Loan) ให้กู้ไม่เกิน 10 เท่าของรายได้รวมสูงสุดไม่เกินรายละ 500,000 บาท ชำระเงินกู้ไม่เกิน 7 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ต่ำสุด 7.99% และเงินงวดผ่อนต่ำแสนละ 799 บาทต่อเดือน นาน 3 เดือนแรก หากใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ได้แก่ บ้านพร้อมที่ดิน คอนโดฯ ที่ดินเปล่า ให้กู้สูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท ผ่อนชำระไม่เกิน 30 ปี ดอกเบี้ยคงที่ต่ำสุด 1.99% และเงินงวดผ่อนต่ำแสนละ 199 บาทต่อเดือน นาน 3 เดือนแรก โดยธนาคารจัดอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขพิเศษนี้ไปจนถึงวันที่ 30 ธ.ค. 2566 นี้เท่านั้น สินเชื่อ GSB for BCG Economy สำหรับธุรกิจที่มีการบริหารจัดการตอบโจทย์โมเดลเศรษฐกิจใหม่ หรือ BCG Model (Bio Economy, Circular Economy และ Green Economy) เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน ลงทุนในทรัพย์สิน ลงทุนด้านพลังงานทดแทน พลังงานจากก๊าซชีวภาพชีวมวล หรือรีไฟแนนซ์จากสถาบันการเงินอื่น คุณสมบัติผู้กู้เป็นนิติบุคคลไม่จำกัดวงเงินกู้ และบุคคลธรรมดาให้วงเงินกู้ตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป โดยใช้สมุดเงินฝากออมสิน สลากออมสินพิเศษ พันธบัตร ที่ดินและอาคาร โฉนดที่ดิน หรือคอนโดฯ เป็นหลักประกัน หรือให้ บสย. (บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม) ร่วมค้ำประกันก็ได้ ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 10 ปี โดยสามารถกู้เป็นสินเชื่อระยะสั้น (O/D) , (P/N) และ/หรือ สินเชื่อระยะยาว (L/T) อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น MOR/MLR -1.50% ต่อปี (ปัจจุบัน MOR = 6.495 และ MLR = 6.650)  ติดตามรายละเอียดที่ www.gsb.or.th หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ GSB Contact Center โทร. 1115.  

07 May 2023

Banner Banner Banner Banner Banner

Banner
    ปี 2566 “ประกันภัย-การเงิน-สินเชื่อ” ยังคงมาแรง ธุรกิจที่ยังต้องรอรัฐบาลฟื้นฟู “ขายตรง-อสังหาฯ-SME”    หลังจากที่ประเทศไทยเริ่มผ่อนคลายจากไวรัสโควิด-19 ในปี 2566 ธุรกิจประกันภัย-การเงิน-สินเชื่อ ยังคงเป็นธุรกิจที่เติบโตต่อเนื่องในปี 2566 เพราะในช่วงวิกฤตโควิด ธุรกิจทั้ง 3 สาขาแม้จะได้รับผลกระทบ แต่ก็ยังยืนยงอยู่รอดปลอดภัย และเป็นธุรกิจที่ยังน่าสนใจลงทุนเป็นอันดับต้น ๆ ของธุรกิจในประเทศไทย และในต่างประเทศ ตราบใดที่ระบบสาธารณสุข และรัฐสวัสดิการของประเทศไทย ยังเป็นอยู่อย่างทุกวันนี้  ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในสองสิ่งนี้ การประกันชีวิตและการประกันภัยจึงยังเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมากสำหรับคนไทย ที่อยากซื้อความคุ้มครองซื้ออนาคต และอยากมีสวัสดิการที่ขาดหายไปจากภาครัฐ ส่วนธุรกิจการเงินและธุรกิจสินเชื่อนั้น นับวันจะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ตราบใดที่ประเทศไทยยังอยู่กับคำว่า “รวยเป็นกระจุก จนเป็นกระจาย” คนไทยยังต้องหวังพึ่งพาเงินในอนาคต เพื่อมาอุปโภคบริโภค ตราบนั้นทั้งธุรกิจการเงิน และสินเชื่อ ก็ยิ่งจะมีความสำคัญ เป็นธุรกิจที่เล็งเห็นกำไรและการเติบโต และน่าลงทุนมากขึ้นตามไปด้วย นี่คือธุรกิจยอดเยี่ยมในปี 2566 ที่ผมขอยกให้เป็นธุรกิจที่น่าลงทุน และน่าเข้าไปเกี่ยวข้อง สำหรับธุรกิจที่ยังต้องเร่งฟื้นฟู คือ ธุรกิจขายตรง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจSME ที่ยังคงสะบักสะบอมมาตั้งแต่ก่อนยุคโควิด-19 มาถึงวันนี้ก็ยังนิ่ง ๆ อยู่ ก็คงต้องรอให้รัฐบาลชุดใหม่มาบูรณะ คงต้องรอดูฝีมือของทีมงานเศรษฐกิจชุดใหม่ ที่ต้องทำงานได้ดีกว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันหลายเท่าตัวในการกอบกู้ธุรกิจไทย  และ 3 สาขาธุรกิจที่ยังคงรอให้รัฐบาลชุดใหม่มาเร่งฟื้นฟูในปี 2566 นี้  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner