Responsive image

Saturday, 12 Jul 2025

หน้าแรก > TECHNOLOGY-AUTO-PROPERTY


เอชพี ประกาศกลยุทธ์ใหม่เพื่อมุ่งสู่การเติบโต สำหรับเอเชียในงาน Future Ready Better Together 2023

Mon 07/08/2566


เอชพี ประกาศกลยุทธ์และกรอบการทำงานในงาน HP Future ReadyBetter Together 2023 ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ต้อนรับลูกค้าและพาร์ทเนอร์ทั่วเอเชียเพื่อพบปะกันครั้งแรกในรอบสามปี ภายในงาน เอชพี ได้แบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกลยุทธ์ Future Ready เป็นครั้งแรก มุ่งขับเคลื่อนการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาวร่วมกับพาร์ทเนอร์และมุ่งส่งมอบมูลค่าสินค้าให้กับลูกค้าตลอดอายุการใช้งาน

กลยุทธ์ Future Ready ของ เอชพี พัฒนาขึ้นโดยคำนึงถึงลูกค้าเป็นสำคัญ ประกอบด้วยโครงการริเริ่มมากมายบนฐานรากของสามเสาหลัก ได้แก่ พอร์ตโฟลิโอธุรกิจ (Portfolio) การปฏิบัติการ (Operations) ลูกค้าและพาร์ทเนอร์ (Customers and Partners) เป้าหมายหลักคือการสร้างความสัมพันธ์ตลอดชีวิตกับลูกค้าผ่านการเสริมความแข็งแกร่งของสินค้าและบริการภายใต้การบริหารงานของเอชพี เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายยิ่งขึ้น และช่วยให้พาร์ทเนอร์เปิดประตูสู่โอกาสใหม่ ๆ ในกลุ่มสินค้าที่มีอัตราเติบโตสูง ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เกมมิ่ง การทำงานแบบไฮบริด การให้บริการบุคลากร ความปลอดภัย และความยั่งยืน

 

“ลูกค้าเป็นหัวใจหลักในการทำงานของเอชพีเราเสมอ กลยุทธ์ Future Ready คือความทุ่มเทในการสร้างสิ่งที่เหนือความคาดหมายให้กับผู้ใช้ปลายทาง โดยเฉพาะประสบการณ์ที่นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงให้กับชีวิตประจำวันของพวกเราโดยตรง” Vinay Awasthi กรรมการผู้จัดการประจำ Greater Asia กล่าว “เรารังสรรค์สิ่งใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกคนได้ใช้ชีวิตอย่างง่ายดายมากขึ้น สะดวกสบายยิ่งขึ้น และเข้าถึงตัวช่วยที่หลากหลาย เอชพี ให้บริการโซลูชันต่าง ๆ ที่ช่วยให้คุณรับมือกับสภาพแวดล้อมแบบไฮบริดที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ การทำงานในภูมิภาคเอเชียของเรานี้นับเป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการเพิ่มมูลค่าสินค้าที่มีความสม่ำเสมอและเชื่อถือได้ให้กับลูกค้าของเรา”

“เรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาพูดคุยกับพาร์ทเนอร์และลูกค้าของเราที่งาน 'Future Ready Better Together' ในประเทศญี่ปุ่นครั้งนี้ ยิ่งไปกว่านั้น ปีนี้ยังเป็นการครบรอบ 60 ปี ในการดำเนินงานของ เอชพี นับตั้งแต่ที่ได้เปิดตัวในตลาดเอเชียเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2560 เรียกได้ว่าเป็นเวลาที่ดียิ่งที่เราจะมาร่วมแชร์กลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่การเติบโตใหม่สำหรับภูมิภาคนี้จากจุดเริ่มต้นของเรา”  Vinay กล่าวเสริม

ภายในงานมีผู้เข้าร่วมหลากหลายจากทั่วเอเชีย ได้แก่

  • Vinay Awasthi กรรมการผู้จัดการประจำ Greater Asia
  • Dave McQuarrie ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์
  • Alex Cho ประธาน Personal Systems Business
  • Dave Shull ประธานฝ่าย Workforce Solutions
  • Kobi Elbaz รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป Global Channel
  • George Brasher รองประธานอาวุโสและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ HP Print
  • Stacy Wolff รองประธานอาวุโส Personal Systems Design and Sustainability
  • Lynn Loh หัวหน้าฝ่ายการรายงานด้านสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดีทั่วโลก
  • Josephine Tan ผู้จัดการทั่วไป หน่วยธุรกิจผู้บริโภค Personal Systems
  • Sue Richards รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป Home Print Business
  • Andrew Bolwell Chief Disruptor หัวหน้า Tech Ventures ทั่วโลก

การช่วยเหลือลูกค้าใน Ace Hybrid Realities ด้วยสินค้าและบริการที่พร้อมสำหรับอนาคต

โลกแห่งการทำงานของเราจะเป็นแบบยืดหยุ่นตลอดไป เนื่องจากรายงานฉบับล่าสุดของ PwC[1] ชี้ว่า 90% ของพนักงานในเอเชียแปซิฟิก (APAC) เลือกที่จะทำงานแบบไม่ต้องเข้าออฟฟิศหรือการทำงานแบบไฮบริด (Hybrid) ผู้นำในภูมิภาคจึงเดินหน้าสอดรับการเปลี่ยนแปลงในแง่ของการจัดสรรงานและให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีอุบัติใหม่ ความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ และโครงการนวัตกรรมดิจิทัลเมื่อต้องลงทุนในเทคโนโลยี เพื่อผลักดันให้เกิดการทำงานร่วมกันที่ราบรื่นและผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง[2]

เอชพีกำลังกำหนดนิยามใหม่ให้กับนวัตกรรมผ่านผลิตภัณฑ์ภายใต้กลยุทธ์ Future Ready ด้วยการนำเสนอประสบการณ์ระดับพรีเมียมแบบครบวงจรที่จะมาช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริดที่มีความซับซ้อนได้อย่างตรงใจ ให้พวกเขาได้ทำงาน เล่น และเชื่อมต่อกันอย่างไร้รอยต่อ เอชพี จะยังคงลงทุนเชิงกลยุทธ์ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมไปถึงอุปกรณ์เกมมิ่ง อุปกรณ์ต่อพ่วง ระบบสมาชิกของผู้บริโภค การให้บริการบุคลากร ความปลอดภัย และโซลูชันการพิมพ์ เพื่อขยายความหลากหลายของกลุ่มสินค้าและบริการให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า B2B และ B2C ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทั่วภูมิภาค

การร่วมมือเพื่อการเติบโตในระยะยาว

เอชพี จะเดินหน้าพัฒนาโดยใช้ประโยชน์จากข้อเสนอแนะที่รวบรวมมาจากพาร์ทเนอร์และลูกค้าในภูมิภาค เพื่อช่วยให้ปรับตัวเข้ากับความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เอชพีจะลงทุนไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพ HP Amplify อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นโปรแกรมคู่ค้าช่องทางจำหน่ายระดับสากลโปรแกรมแรกของโลก โดยมีเครื่องมือที่จะมาช่วยให้พาร์ทเนอร์มีความคล่องตัว ลดความซับซ้อน เติบโต และทำงานร่วมกัน โปรแกรมโฉมใหม่นี้ออกแบบมาเพื่อส่งมอบบริการดิจิทัลที่ลูกค้าต้องการเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับพนักงาน กระตุ้นโอกาสเติบโตและการประสบความสำเร็จในภูมิทัศน์ที่มีความหลากหลายและไม่เคยหยุดนิ่งในเอเชีย

มุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ เอชพี ยังตอกย้ำความมุ่งมั่นในการเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ยั่งยืนและสร้างความเท่าเทียมมากที่สุดภายในปี 2573 พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายด้านผลกระทบที่ยั่งยืนเชิงรุกเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่องของการรับมือสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) สิทธิมนุษยชน (Human Rights) และความเสมอภาคในยุคดิจิทัล (Digital Equity)

โครงการริเริ่มและไฮไลต์สำคัญ ได้แก่

  • ปกป้องระบบนิเวศทางธรรมชาติของเรา: เอชพี ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ออกมามากกว่า 300 รายการซึ่งใช้พลาสติกที่ถูกทิ้งลงสู่ทะเล ทั้งยังพัฒนาการพิมพ์ที่เป็นมิตรกับป่าไม้ และมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2583
  • เพิ่มศักยภาพพาร์ทเนอร์เพื่อร่วมก้าวสู่อนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น: HP Amplify Impact เป็นการประเมินพาร์ทเนอร์ ทรัพยากร และโปรแกรมฝึกอบรมที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยพาร์ทเนอร์ 100% ร่วมให้คำมั่นและจัดทำแผนเพื่อการสร้างผลกระทบด้านความยั่งยืน
  • ลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลและเพิ่มช่องทางการเข้าถึงเทคโนโลยี: เอชพี เร่งให้เกิดความเท่าเทียมทางดิจิทัลให้กับผู้คนมากกว่า 21 ล้านคน โดยมีเป้าหมายที่ 150 ล้านคนภายในปี 2573

 

 

 

 


Tags : เอชพี HP แผนงานผลิตภัณฑ์เอชพี Vinay Awasthi


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารประสบความสำเร็จได้รับรางวัลระดับเอเชีย Asia Responsible Enterprise Awards (AREA) 2025 สาขา Social Empowerment จาก MyMo Secure Plus นวัตกรรมความปลอดภัยบน Mobile Banking ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ให้ลูกค้า บูรณาการร่วมกับ แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้และเสริมภูมิคุ้มกันภัยทางการเงิน พร้อมกันนี้ ธนาคารออมสินยังได้รับรางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability ในฐานะองค์กรที่มีความโดดเด่นและมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนในทุกมิติจนได้รับรางวัล AREA มาแล้ว 5 ปี จาก Enterprise Asia องค์กรพัฒนาเอกชนชั้นนำที่ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบในเอเชีย เพื่อเชิดชูและให้เกียรติองค์กรธุรกิจที่มีการดำเนินงานตามแนวทาง ESG และเป็นต้นแบบองค์กรชั้นนำในภูมิภาคเอเชียที่ขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ     ธนาคารออมสินถือเป็นธนาคารแรกที่พัฒนาโหมดปลอดมิจฉาชีพ ภายใต้ชื่อ MyMo Secure Plus เพื่อช่วยดูแลเงินฝากขั้นสูงสุดให้กับลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ไม่รู้เท่าทันมิจฉาชีพที่เปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงตลอดเวลา ออกแบบโดยเน้นการทำธุรกรรมทางการเงินแบบจำกัดเฉพาะรายการที่จำเป็น อาทิ การโอนเงินไปยังบัญชีตนเองภายในธนาคารและต่างธนาคารที่ลงทะเบียนไว้ และการจำกัดวงเงินในการทำธุรกรรมต่อวัน ทั้งนี้ ธนาคารออมสินไม่เพียงพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นธนาคารแรกที่ดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ผ่าน แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ ดำเนินการอย่างเข้มข้นผ่านช่องทางการสื่อสารที่ครบวงจร ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ สื่อนอกบ้าน หรืออินฟลูเอนเซอร์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากที่สุด เนื่องจากธนาคารตระหนักดีถึงความสูญเสียของประชาชนและวิกฤตของอาชญากรรมออนไลน์ที่นับวันจะทวีความรุนแรงจนกลายเป็นภัยคุกคามระดับประเทศ จึงเป็นความพยายามของธนาคารในการที่จะกระตุ้นเตือนให้ประชาชนรู้เท่าทันกลลวงและไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพทางการเงิน     รางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability และ Social Empowerment ถือเป็นบทพิสูจน์ถึงบทบาทของธนาคารออมสินในฐานะ Social Bank ที่ไม่เพียงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับการให้บริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังขับเคลื่อนการสร้าง Social Impact เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ธนาคารยังคงยึดมั่นในหลักการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบตามแนวทาง ESG เพื่อก้าวสู่เป้าหมายความยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม ตลอดจนเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว  

01 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner