Responsive image

Saturday, 19 Jul 2025

หน้าแรก > SOCIETY / ภาพข่าว - CSR - ข่าวการเมือง


มูลนิธิเมืองไทยยิ้ม จับมือเครือข่ายออกหน่วยตรวจวัดสายตาประกอบแว่น เพื่อผู้สูงอายุที่ยากไร้ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5

Sun 24/09/2566


มูลนิธิเมืองไทยยิ้ม จับมือเครือข่าย กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ บริษัท หอแว่น กรุ๊ป จำกัด และ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)   มุ่งมั่นสานต่อการสร้างโอกาสแก่กลุ่มผู้สูงอายุที่ยากไร้ "ออกหน่วยตรวจวัดสายตาประกอบแว่นเพื่อผู้สูงอายุที่ยากไร้ ปีที่ 5"  ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสุขภาพของผู้สูงอายุในสังคมไทย  สร้างคุณภาพชีวิตและรอยยิ้มให้แก่ผู้สูงอายุ โดยมีนางสาวแรมรุ้ง วรวัธ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ นางพิตราภรณ์ บุณยรัตพันธุ์ รองประธานกรรมการมูลนิธิเมืองไทยยิ้ม นายภาคี ประจักษ์ธรรม ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท หอแว่นกรุ๊ป จำกัด นายพุด แย้มพรหม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตะนาวศรี  นายนันทโชค เกียรติ์ภูมิพัฒน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนรุจิรพัฒน์ นางสมพิศ หลวงแจ่ม พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดราชบุรี พร้อมด้วยผู้บริหารและจิตอาสาจาก เมืองไทยประกันชีวิต ร่วมกิจกรรม ณ โรงเรียนรุจิรพัฒน์ ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี 

โดย นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หนึ่งในเครือข่ายพันธมิตรที่ร่วมสนับสนุนโครงการ “ตรวจวัดสายตาประกอบแว่นเพื่อผู้สูงอายุ”  กล่าวว่า  บริษัทฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการอันเป็นประโยชน์ ซึ่งสอดคล้องกับแนวนโยบายของเมืองไทยประกันชีวิตในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสังคมในทุกมิติ  พร้อมให้ความสำคัญต่อ “ผู้สูงอายุ” เพราะตระหนักดีว่าผู้สูงอายุ  ได้มีส่วนร่วมในการสร้างคุณค่าให้แก่สังคมไทยมาโดยตลอด จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะได้รับการดูแล โดยเมืองไทยประกันชีวิตและมูลนิธิเมืองไทยยิ้มจะจัดกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง  เพื่อสนับสนุนให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งรอยยิ้ม โดยผู้สูงอายุได้รับการดูแลเอาใจใส่ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป

 

สำหรับวัตถุประสงค์โครงการ “ออกหน่วยตรวจวัดสายตาประกอบแว่นเพื่อผู้สูงอายุที่ยากไร้ ปีที่ 5” นั้น  เพื่อการดูแลสายตาและการจัดหาแว่นตาให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยและยากไร้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดการเอาใจใส่ในสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยเน้นไปที่การดูแลสายตาที่เป็นสิ่งสำคัญในการรักษาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องสายตา มีการรวบรวมข้อมูลการตรวจสอบสายตาอย่างถูกต้อง จากนั้นผู้ที่มีความจำเป็นจะได้รับแว่นตาที่เหมาะสมสำหรับสายตาของตน  เป็นการสร้างโอกาสให้กับผู้สูงอายุในกลุ่มประชากรที่มีความจำเป็นแต่ไม่สามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวได้ เนื่องจากปัญหาความยากจนและสภาพพื้นที่ห่างไกล

 

ในการดำเนินงานนั้น มีการตรวจวัดสายตาและการเสริมสร้างความตระหนักรู้ในการดูแลสายตาและสุขภาพที่สำคัญให้กับกลุ่มผู้สูงอายุที่ยากไร้ โดยการทำงานในขั้นตอนหลักไม่ว่าจะเป็น การตรวจวัดสายตา จากทีมผู้เชี่ยวชาญด้านสายตาได้ทำการตรวจวัดค่าสายตาของกลุ่มผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อประเมินความเหมาะสมในการใช้แว่นตา การเลือกแว่นตาที่เหมาะสมจากผลการตรวจสอบ ทั้งนี้ผู้สูงอายุที่มีความจำเป็นในการใช้แว่นตาจะได้รับการเลือกแว่นตาที่เหมาะสมสำหรับสายตาของตน หรือ ตรงตามวัตถุประสงค์ของแต่ละคน  ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้แว่นตาอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้แว่นตาอย่างมีประสิทธิภาพ

 

โดยโครงการ "หน่วยตรวจวัดสายตาประกอบแว่นเพื่อผู้สูงอายุที่ยากไร้ ปีที่ 5" เป็นที่ยอมรับและได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งมูลนิธิเมืองไทยยิ้ม มีเครือข่ายสำคัญที่ร่วมกิจกรรม ได้แก่ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  บริษัท หอแว่น กรุ๊ป จำกัด และ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)  ตลอดจนได้รับความร่วมมืออย่างดีจากหน่วยงานภาครัฐและชุมชนต่าง ๆ ที่มูลนิธิเข้าไปจัดกิจกรรม   ซึ่งโครงการนี้ได้สร้างโอกาสแก่กลุ่มผู้สูงอายุที่ยากไร้ในการเข้าถึงบริการตรวจวัดสายตาและแว่นตาที่เหมาะสม ไปแล้วกว่า 6,985 ราย ผ่านการออกหน่วยให้บริการ ทั้งสิ้น 53 ครั้ง  ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและสวัสดิการของกลุ่มผู้สูงอายุที่ดีขึ้น โครงการนี้ยังเป็นต้นแบบที่ดีในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของกลุ่มที่มีความจำเป็นแต่ยากไร้ในสังคมไทย

ทั้งนี้ในปี 2566 มูลนิธิได้ร่วมออกหน่วยตรวจวัดสายตาประกอบแว่นเพื่อผู้สูงอายุที่ยากไร้ในภาคต่าง ๆ  ทั่วประเทศ  เป็นจำนวน 7 ครั้ง เป้าหมายการมอบแว่นตาให้ผู้สูงอายุ จำนวน 1,200 ราย โดยที่ผ่านมาได้จัดกิจกรรมไปแล้ว คือ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน  อ.เถิน จ.ลำปาง  อ.ด่านช้าง จ. สุพรรณบุรี  อ.นาทม  จ.นครพนม และที่กำลังจะเกิดขึ้นได้แก่ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี   อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง และ อ.บ้านแฮด  จ.ขอนแก่น  

 

 

โครงการ "หน่วยตรวจวัดสายตาประกอบแว่นเพื่อผู้สูงอายุที่ยากไร้ ปีที่ 5" ได้เป็นแรงบันดาลใจและก้าวไปข้างหน้าในการสร้างสังคมที่เข้าใจและเอื้อเฟื้อกับกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก หวังว่าความเอื้อเฟื้อและการเป็นกำลังใจในการให้บริการด้านสุขภาพและสวัสดิการจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ของกลุ่มผู้สูงอายุในอนาคต


Tags : เมืองไทยประกันชีวิต MTL สาระ ล่ำซำ มูลนิธิเมืองไทยยิ้ม พิตราภรณ์ บุณยรัตพันธุ์ ภาคี ประจักษ์ธรรม หอแว่นกรุ๊ป ตรวจวัดสายตาประกอบแว่นเพื่อผู้สูงอายุ


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อเร็ว ๆ นี้      

14 Jul 2025

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner