Responsive image

Wednesday, 09 Jul 2025

หน้าแรก > ECONOMY- FINANCE / เศรษฐกิจ - การเงิน


เอไอเอ ประเทศไทย เปิดเวที “AIA Wealth Forum 2023” เชิญกูรูด้านการลงทุนชั้นนำระดับโลก แนะแนวทางบริหารพอร์ตในยุคผันผวน ผ่านการวางแผนการเงินระยะยาว

Tue 26/09/2566


เอไอเอ ประเทศไทย ผู้นำด้านประกันชีวิต สุขภาพ และยูนิต ลิงค์ เปิดเวทีต้อนรับพันธมิตรด้านการลงทุนระดับโลก ในงาน AIA Wealth Forum 2023 – Stability in Chaos” ซึ่งเอไอเอจัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยมุ่งให้ความรู้และสร้างความเข้าใจด้านการวางแผนการเงินในระยะยาว เพื่อเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีอย่างยั่งยืน ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจทั่วโลก ให้คนไทยได้ดำเนินชีวิตได้อย่างมั่นคงและมีความมั่งคั่ง ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งโซลูชันด้านการเงินที่เป็นมากกว่าผลิตภัณฑ์ ตามกลยุทธ์ AIA Total Wealth Solution เพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านการวางแผนการเงินและการลงทุนแบบครบวงจรให้กับคนไทย ตามคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives – เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น’

 

โดยในงานได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนทั้งในระดับประเทศและระดับโลกมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และอัพเดตทิศทางการลงทุนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ประกอบด้วย นายแอนดี้ บัดเด้น Investment Director จาก Capital Group และ นายเจเรมี บัตเตอร์เวิธ Vice President and Investment Strategist จาก Wellington Management ร่วมด้วย ดร.สมจินต์ ศรไพศาล ประธานสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย และนายสุขวัฒน์ ประเสริฐยิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ. เอไอเอ (ประเทศไทย) โดยได้ นายนิคฮิล แอดวานี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอ ประเทศไทย เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ร่วมด้วย นายชรีคานท์ ชรีนิวาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายการลงทุนธุรกิจยูนิต ลิงค์ กลุ่มบริษัทเอไอเอ ซึ่ง AIA Wealth Forum 2023 จัดขึ้น ณ โรงแรมสยาม เคมปินสกี้ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17กันยายน 2566 ที่ผ่านมา

นายแอนดี้ บัดเด้น Investment Director จาก Capital Group กล่าวว่า “เรากำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญของโลกที่มีลักษณะพิเศษได้แก่ ภาวะเงินเฟ้อสูง การปรับตัวของมิติภูมิรัฐศาสตร์ และจุดสิ้นสุดของยุคดอกเบี้ยต่ำ สิ่งที่เราเคยรับรู้ว่าเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนโลกในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จะไม่ได้เป็นแบบนั้นอีกแล้วในทศวรรษหน้า ตลอดจนวิกฤตโควิดเองนั้นไม่อาจนับว่าเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นตามวัฏจักรอีกต่อไป เนื่องจากที่ผ่านมาโควิดเป็นต้นเหตุที่ทำให้ตลาดโลกหยุดชะงักและพังทลายไม่เป็นชิ้นดี ส่งผลให้เกิดการเติบโตที่ไม่สอดคล้องกันของเศรษฐกิจ บางภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่ภาวะถดถอย ขณะที่บางภาคอุตสาหกรรมกลับยังคงความแข็งแกร่ง ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่ฟื้นตัวได้จากภาวะถดถอย ด้วยความรวดเร็วที่แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค

“สำหรับแนวทางการลงทุนในยุคนี้จำเป็นต้องเน้นการลงทุนแบบยืดหยุ่น ไม่สามารถยึดติดอยู่กับการลงทุนใน “หุ้นเติบโต” (Growth stock) หรือ “หุ้นคุณค่า” (Value stock) อย่างใดอย่างหนึ่งได้ นักลงทุนควรมองถึงการเติบโตของธุรกิจ และการประเมินมูลค่าหุ้นเป็นสำคัญ มีการวิจัยเชิงลึกถึงธุรกิจที่จะเข้าไปลงทุนให้ดี รวมทั้งต้องศึกษาถึงโครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้านทีมผู้บริหาร ผลิตภัณฑ์ รายได้ การบริหารจัดการต้นทุน ตลอดจนวิเคราะห์หุ้นเป็นรายตัว และมองหาบริษัทที่มีแนวโน้มจะได้รับประโยชน์ในระยะยาวจากการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ”

นายเจเรมี บัตเตอร์เวิธ Vice President and Investment Strategist จาก Wellington Management ได้แสดงความเห็นว่า “สภาวะทางเศรษฐกิจได้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้าง  ในยุคสมัยนี้ถ้าเราเลือกพิจารณาแค่เพียงระหว่าง "หุ้นมูลค่า” หรือ “หุ้นเติบโต" อาจทำให้ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงได้เท่าที่ควร เพราะทำให้เรามองข้ามปัจจัยอื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น คุณภาพ หรือโมเมนตัมของหุ้น นอกจากนี้ ข้อมูลในอดีตยังชี้ให้เห็นว่า ความเสี่ยงเฉพาะตัวของธุรกิจเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบมากที่สุดต่อผลประกอบการและผลตอบแทนจากการลงทุน ดังนั้นการวิจัยอย่างถี่ถ้วนเกี่ยวกับธุรกิจที่จะเข้าไปลงทุน จึงช่วยสร้างความแตกต่างได้สูงสุดด้านผลตอบแทนจากการลงทุน”

“ทั้งนี้ หลักการที่แนะนำสำหรับนักลงทุนนอกเหนือไปจากการพิจารณาในเรื่องผลประกอบการแล้ว ยังควรพิจารณาถึงด้านธรรมาภิบาลของธุรกิจด้วย ซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่มักมองข้ามจุดนี้ไป บริษัทที่ทำกำไรได้สูงเกินกว่าต้นทุนของเงินลงทุน มักจะมีอิสระที่จะเปิดรับแนวทางปฏิบัติในระดับโลกด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) บริษัทเหล่านี้มักนำกำไรมาลงทุนต่อเพื่อให้ความสามารถในการแข่งขันห่างจากคู่แข่งมากขึ้น พร้อมไปกับส่งเสริมด้านธรรมาภิบาล ส่งผลให้องค์กรมีความแข็งแกร่งมากขึ้นด้วยต้นทุนของเงินลงทุนที่ต่ำลงไปอีก  นำมาซึ่งผลตอบแทนในตลาดหุ้นที่ดีเหนือคู่แข่งในที่สุด”

ดร.สมจินต์ ศรไพศาล ประธานสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย กล่าวว่า “จะเห็นว่าตลาดหุ้นของไทยนั้นได้ผ่านช่วงเวลาที่ผันผวนและยากลำบากมานาน โดยเฉพาะหลังจากช่วงโควิด 19 ซึ่งความไม่แน่นอนก็คงยังมีอยู่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการบริหารประเทศ และนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาล โดยปัจจัยที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญนั้นก็คือการท่องเที่ยวและการส่งออก ซึ่งสองปัจจัยนี้ยังเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม นั่นคือจำนวนนักท่องเที่ยวฟื้นตัว แต่การส่งออกยังคงชะลอตัว เนื่องมาจากเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แข็งแกร่งอย่างที่คาดหวัง แต่โดยภาพรวมของตลาดหุ้นไทยนั้น ยังมีปัจจัยบวกหลายอย่าง เช่น การเมืองที่มีความชัดเจนขึ้น การฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจีน และการอุปโภคบริโภคที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง

“อย่างไรก็ตาม การลงทุนที่ดีนั้นต้องมีการจัดทัพลงทุนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และมีการกระจายความเสี่ยง รวมถึงการสร้างความมั่งคั่ง สร้างกระแสเงิน และที่สำคัญคือจะต้องคุ้มครองเงินต้น และเพิ่มสภาพคล่องด้วย”

ด้าน นายสุขวัฒน์ ประเสริฐยิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ. เอไอเอ (ประเทศไทย) เผยว่า “ณ ตอนนี้นับว่าเป็นรุ่งอรุณใหม่ของตลาดหุ้นไทย เนื่องจากได้ผ่านพ้นวิกฤตของโควิด 19 มาแล้ว อีกทั้งมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ แม้ว่าจะยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยที่ยังกดดันสภาวการณ์ลงทุน ซึ่งล้วนส่งผลต่อการตัดสินใจด้านการลงทุนของเราทุกคนอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยสำหรับ บลจ. เอไอเอ (ประเทศไทย) นั้น เราเป็น บลจ. ที่มีนโยบายการบริหารเงินลงทุนแบบนักลงทุนสถาบัน เพื่อมุ่งให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนที่มั่นคงในระยะยาว ซึ่งเราเป็น บลจ. อันดับต้น ๆ ของประเทศ โดยมีหน้าที่บริหารเงินให้กับเอไอเอ ประเทศไทย และลูกค้าที่ถือกรมธรรม์เอไอเอ ยูนิต ลิงค์

 

“สำหรับงาน AIA Wealth Forum นี้เป็นงานที่เราจัดมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของเอไอเอ ในการนำเสนอการบริการที่เหนือระดับทั้งในด้านการประกันชีวิตและการลงทุนให้กับลูกค้าทุกท่าน โดยมุ่งดูแลไม่เพียงเฉพาะด้านสุขภาพร่างกายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการดูแลสุขภาพทางการเงิน เพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าที่ถือกรมธรรม์เอไอเอ ยูนิต ลิงค์ มีสุขภาพที่แข็งแรงรอบด้าน พร้อมเพิ่มโอกาสได้รับผลตอบแทนด้วยการเข้าถึงการลงทุนระดับสากล ด้วยการเลือกลงทุนในกองทุน AIA Global Allocation Funds และกองทุน AIA Asset Allocation Funds ที่ได้จับมือกับพันธมิตรด้านการลงทุนระดับโลก ทั้ง BlackRock, Capital Group, Baillie Gifford และ Wellington Management เพื่อช่วยขยายศักยภาพด้านการลงทุนให้ก้าวสู่ระดับสากล ตลอดจนสามารถตอบโจทย์เป้าหมายทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการส่งต่อความมั่นคง หรือแผนเก็บเงินยามเกษียณ ช่วยให้ลูกค้ายูนิต ลิงค์ ของเอไอเอ ประเทศไทย ได้มีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ตามคำมั่นสัญญา Healthier, Longer, Better Lives”

ทั้งนี้ สำหรับลูกค้าที่สนใจประกันชีวิตควบการลงทุน (เอไอเอ ยูนิต ลิงค์) สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.aia.co.th/th/our-products/unit-link.html หรือ AIA Call Center 1581 หรือติดต่อตัวแทนประกันชีวิตเอไอเอ ประเทศไทย

 


Tags : เอไอเอ ประเทศไทย เอไอเอ AIA แอนดี้ บัดเด้น เจเรมี บัตเตอร์เวิธ ดร.สมจินต์ ศรไพศาล นิคฮิล แอดวานี ชรีคานท์ ชรีนิวาส


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารประสบความสำเร็จได้รับรางวัลระดับเอเชีย Asia Responsible Enterprise Awards (AREA) 2025 สาขา Social Empowerment จาก MyMo Secure Plus นวัตกรรมความปลอดภัยบน Mobile Banking ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ให้ลูกค้า บูรณาการร่วมกับ แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้และเสริมภูมิคุ้มกันภัยทางการเงิน พร้อมกันนี้ ธนาคารออมสินยังได้รับรางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability ในฐานะองค์กรที่มีความโดดเด่นและมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนในทุกมิติจนได้รับรางวัล AREA มาแล้ว 5 ปี จาก Enterprise Asia องค์กรพัฒนาเอกชนชั้นนำที่ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบในเอเชีย เพื่อเชิดชูและให้เกียรติองค์กรธุรกิจที่มีการดำเนินงานตามแนวทาง ESG และเป็นต้นแบบองค์กรชั้นนำในภูมิภาคเอเชียที่ขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ     ธนาคารออมสินถือเป็นธนาคารแรกที่พัฒนาโหมดปลอดมิจฉาชีพ ภายใต้ชื่อ MyMo Secure Plus เพื่อช่วยดูแลเงินฝากขั้นสูงสุดให้กับลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ไม่รู้เท่าทันมิจฉาชีพที่เปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงตลอดเวลา ออกแบบโดยเน้นการทำธุรกรรมทางการเงินแบบจำกัดเฉพาะรายการที่จำเป็น อาทิ การโอนเงินไปยังบัญชีตนเองภายในธนาคารและต่างธนาคารที่ลงทะเบียนไว้ และการจำกัดวงเงินในการทำธุรกรรมต่อวัน ทั้งนี้ ธนาคารออมสินไม่เพียงพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นธนาคารแรกที่ดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ผ่าน แคมเปญเตือนภัยมิจฉาชีพ ดำเนินการอย่างเข้มข้นผ่านช่องทางการสื่อสารที่ครบวงจร ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ สื่อนอกบ้าน หรืออินฟลูเอนเซอร์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากที่สุด เนื่องจากธนาคารตระหนักดีถึงความสูญเสียของประชาชนและวิกฤตของอาชญากรรมออนไลน์ที่นับวันจะทวีความรุนแรงจนกลายเป็นภัยคุกคามระดับประเทศ จึงเป็นความพยายามของธนาคารในการที่จะกระตุ้นเตือนให้ประชาชนรู้เท่าทันกลลวงและไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพทางการเงิน     รางวัลเกียรติคุณ Silver Emblem of Sustainability และ Social Empowerment ถือเป็นบทพิสูจน์ถึงบทบาทของธนาคารออมสินในฐานะ Social Bank ที่ไม่เพียงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับการให้บริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังขับเคลื่อนการสร้าง Social Impact เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ธนาคารยังคงยึดมั่นในหลักการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบตามแนวทาง ESG เพื่อก้าวสู่เป้าหมายความยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม ตลอดจนเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว  

01 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner