Responsive image

Wednesday, 12 Feb 2025

หน้าแรก > BUSINESS-MARKETING/ธุรกิจ-การตลาด-ขายตรง-SME


เคทีซีฝ่าด่านเศรษฐกิจ ชงกำไร 9 เดือน 5,534 ล้านบาท พอใจพอร์ตสินเชื่อรวมโตต่อเนื่อง คาดกำไรทั้งปีตามเป้า

Fri 20/10/2566


เคทีซีแจ้งงบการเงินรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา กำไรสุทธิ 5,534 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.2% โดยกำไรสุทธิไตรมาส 3/2566 เท่ากับ 1,857 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.7% พอร์ตสินเชื่อรวมขยายตัว 10% อยู่ที่ 106,701 ล้านบาท จากปัจจัยสนับสนุนของการบริโภคภาคเอกชน เดินหน้าผลักดันทุกพอร์ตผลิตภัณฑ์เติบโตควบคู่การคัดกรองคุณภาพในระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมและยอมรับได้ คาดทำกำไรทั้งปีได้ตามเป้าหมาย

นายระเฑียร  ศรีมงคล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่า “ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ความต้องการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ดีต่อเนื่อง ได้ส่งผลให้อุตสาหกรรมสินเชื่อผู้บริโภคขยายตัวมากขึ้น รวมถึงเป็นปัจจัยบวกให้ผลการดำเนินงานของเคทีซีเติบโตต่อเนื่อง โดยมีสัดส่วนของลูกหนี้บัตรเครดิตเทียบกับอุตสาหกรรมอยู่ที่ 14.9% และมีส่วนแบ่งตลาดของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเท่ากับ 12.1% ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2565 ในขณะที่สัดส่วนของลูกหนี้สินเชื่อบุคคล (ไม่รวมสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน) อยู่ที่ 6.2% เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรม”

“ในส่วนของธุรกิจเคทีซีตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา พอร์ตบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลขยายตัวตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยมีมูลค่าพอร์ตรวมเท่ากับ 106,701 ล้านบาท เติบโต 10% อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อรวมของกลุ่มบริษัท (NPL) รวมเท่ากับ 2.3% ซึ่งอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ โดยพอร์ตบัตรเครดิตยังขยายตัวได้ดีตามปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรที่เพิ่มขึ้นจากอุปสงค์การใช้จ่ายเพื่อการบริโภค รวมทั้งพอร์ตสินเชื่อบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” ที่เติบโตสูงขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน โดยเน้นให้พอร์ตเติบโตคู่ไปกับการคัดกรองคุณภาพลูกหนี้ในระดับความเสี่ยงที่เหมาะสม ด้านสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” มียอดสินเชื่อใหม่มูลค่า 1,929 ล้านบาท”

ผลการดำเนินงานของเคทีซี ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 งบการเงินรวมมีกำไรสุทธิในช่วง 9 เดือน และไตรมาส 3/2566 เท่ากับ 5,534 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 2.2%) และ 1,857 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 4.7%) ตามลำดับ ฐานสมาชิกรวม 3,331,065 บัญชี แบ่งเป็นพอร์ตสมาชิกบัตรเครดิต 2,616,269 บัตร เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรเครดิตและดอกเบี้ยค้างรับรวม 69,225 ล้านบาท ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรรวม 9 เดือนเท่ากับ 192,270 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.7% NPL บัตรเครดิตอยู่ที่ 1.3% พอร์ตสมาชิกสินเชื่อบุคคลเคทีซี 714,796 บัญชี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตร    กดเงินสด “เคทีซี พราว” และดอกเบี้ยค้างรับ  30,246 ล้านบาท  เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เท่ากับ 2,058 ล้านบาท NPL สินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 3.1% ยอดสินเชื่อลูกหนี้ใหม่ (New Booking) ของ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” ในไตรมาส 3/2566 เท่ากับ 794 ล้านบาท และรอบเก้าเดือนของปี 2566 มีมูลค่า 1,929 ล้านบาท สำหรับสินเชื่อลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อมีมูลค่า 3,369 ล้านบาท โดยมียอดปล่อยสินเชื่อใหม่ของรถขนาดใหญ่ที่ใช้ในอุตสาหกรรม (Commercial Loan) ในรอบ 9 เดือนของปี 2566 ที่ 1,446 ล้านบาท ทั้งนี้ เคทีซียังคงชะลอการปล่อยสินเชื่อประเภทนี้ หลังจากที่เห็นสัญญาณของหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น

“สำหรับไตรมาส 3/2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 9.8% เท่ากับ 6,461 ล้านบาท จากรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียม ขณะที่ค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น 13.4% เท่ากับ 4,170 ล้านบาท จากการที่พอร์ตสินเชื่อขยายตัว ทำให้มีการตั้งสำรองมากขึ้น เป็นผลให้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Losses - ECL) จำนวน 1,477 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.7% ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่สูงขึ้น ขณะที่ต้นทุนทางการเงินปรับขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงิน”  

 

 

ทั้งนี้ ข้อมูลวันที่ 30 กันยายน 2566 เคทีซีมีเงินกู้ยืมทั้งสิ้นเท่ากับ 62,730 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.8% โดยมีสัดส่วนโครงสร้างแหล่งเงินทุนเป็นเงินกู้ยืมระยะสั้น (รวมส่วนของเงินกู้ยืมและหุ้นกู้ที่ครบกำหนดชำระภายในหนึ่งปี) 23% และเงินกู้ยืมระยะยาว 77% มีวงเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินรวม (Total Short -Term Credit Line) 29,371 ล้านบาท (รวมวงเงินจากธนาคารกรุงไทย 19,061 ล้านบาท) ใช้วงเงินระยะสั้นไป 5,221 ล้านบาท และมีวงเงินคงเหลือ (Available Credit Line) จำนวน 24,150 ล้านบาท ต้นทุนการเงิน 2.7% และอัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 2.07 เท่า ลดลงจากงวดเดียวกันของปี 2565 ที่ 2.14 เท่า และต่ำกว่าภาระผูกพันที่ 10 เท่า

“เคทีซียังดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ตามแนวทางการบริหารจัดการด้านการให้สินเชื่ออย่างเป็นธรรมของธนาคารแห่งประเทศไทย โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 บริษัทฯ ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในทุกสถานะจำนวน 1,802 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1.8% ของพอร์ตลูกหนี้รวม”

“สำหรับความคืบหน้าด้านมาตรการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็น (Consultation Paper) เกี่ยวกับร่าง “หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม” (Responsible Lending: RL) และร่าง “กลไกการกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงสำหรับสินเชื่อรายย่อย” (Risk-Based Pricing :RBP) ไปเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับพฤติกรรมเจ้าหนี้และลูกหนี้ ผ่านการยกระดับมาตรฐานกระบวนการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบตลอดวงจรหนี้นั้น แนวทางการปฏิบัติของเคทีซีเองมีความชัดเจน โดยให้บริการสินเชื่อด้วยความรับผิดชอบเสมอมา และมีหลักเกณฑ์การโฆษณาและเสนอขายที่เป็นแนวทางเดียวกับธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ จึงมั่นใจว่าหลักเกณฑ์ที่จะออกมาบังคับใช้ จะไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญใดๆ ต่อการดำเนินงานของเคทีซี”

“ในส่วนของการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt: PD) ที่จะบังคับใช้เดือนเมษายน 2567 เป็นต้นไป เคทีซีจะให้ทางเลือกแก่ลูกหนี้ที่สนใจ โดยสำหรับลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้เรื้อรัง (Severe Persistent Debt)  สามารถเปลี่ยนสินเชื่อหมุนเวียนเป็นแบบมีระยะเวลา (Term Loan) และคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี โดยกำหนดให้การผ่อนชำระสามารถปิดจบใน 5 ปี ซึ่งแนวทางนี้ลูกหนี้ต้องสมัครใจเข้าร่วมโครงการด้วยตนเองและปิดวงเงินเดิมที่มี โดยหากลูกหนี้เคทีซีที่เข้าเกณฑ์ทุกรายเข้าร่วมโครงการฯ จะมีผลกระทบต่อรายได้ดอกเบี้ยลดลงประมาณ 18 ล้านบาทต่อเดือน”

“ในปี 2567 เคทีซีวางเป้าเติบโตใน 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจบัตรเครดิต สินเชื่อบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” และสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” ด้วยเชื่อว่าสินเชื่อแต่ละประเภทยังเป็นที่ต้องการในตลาด อีกทั้งจะส่งเสริมธุรกิจ MAAI by KTC (มายบายเคทีซี) ธุรกิจบริการระบบบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าให้เติบโตมากขึ้น รวมทั้งหลอมรวม 3 องค์ประกอบหลักคือ คน-กระบวนการ-เทคโนโลยี เข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อขับเคลื่อนเคทีซีให้เติบโตมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายการทำธุรกิจปี 2567 ให้มีกำไรสูงขึ้นกว่าปี 2566 พอร์ตสินเชื่อรวมขยายตัว 10% ภายใต้การบริหารความเสี่ยงที่ยอมรับได้อย่างเหมาะสม  NPL รวมอยู่ในระดับเดียวกับปี 2566 ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซีเติบโต 15% จากปี 2566  สินเชื่อบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” ตั้งเป้าเติบโต 5% และสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” ตั้งเป้ายอดอนุมัติสินเชื่อใหม่ปี 2567 ที่ 6,000 ล้านบาท”


Tags : เคทีซี KTC บัตรกรุงไทย บัตรเครดิตเคทีซี ระเฑียร ศรีมงคล


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

SME D Bank เตรียมเปิดจำหน่ายพันธบัตร  Social Bond  วงเงินรวม 9,000 ล้านบาท  แบ่งเป็นรุ่นอายุ 2 ปี 9 เดือน และรุ่นอายุ 4 ปี กระทรวงคลังค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย ในวันที่ 17 ก.พ. นี้ ผ่านวิธีประมูล e-Bidding  สร้างทางเลือกการลงทุนที่มั่นคงปลอดภัย ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก แจงวัตถุประสงค์ เพื่อระดมทุนนำไปปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่เอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชน ช่วยเสริมศักยภาพ ยกระดับขีดความสามารถการแข่งขัน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน   นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  เผยว่า ธนาคารเตรียมจำหน่ายพันธบัตร ธพว. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568   โดยกระทรวงการคลังค้ำประกันทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เปิดโอกาสทางเลือกการลงทุนที่มีความมั่นคงปลอดภัยและให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก โดยเป็นพันธบัตรประเภท Social Bond  สำหรับส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ตลอดจนพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้เข้มแข็ง ผ่านการเข้าถึงสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ เพิ่มความสามารถการแข่งขัน ส่งต่อประโยชน์สู่การพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนของประเทศไทย สำหรับวงเงินพันธบัตร ธพว. ครั้งนี้  จำนวน 9,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 2 รุ่นด้วยกัน  ได้แก่ รุ่นอายุ 2 ปี 9 เดือน วงเงิน 5,000 ล้านบาท และรุ่นอายุ 4 ปี วงเงิน 4,000 ล้านบาท  เสนอขายแก่กลุ่มนักลงทุนทั่วไป (Public offering; PO) ทั้งนักลงทุนสถาบัน (II) ผู้ลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth ; HWN) นิติบุคคล และประชาชน  กำหนดประมูลในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 นี้  โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นผู้จัดจำหน่ายผ่านระบบ e-Bidding  ให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อโดยมีวิธีการ ดังนี้ 1.จำหน่ายพันธบัตรโดยวิธีการเสนอประมูลอัตราผลตอบแทนให้แก่ผู้ใช้บริการ e-Bidding  ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding)  พ.ศ. 2546 ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย 2.จำหน่ายพันธบัตรโดยวิธีการเสนอซื้อให้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยมิได้มุ่งหวัง ประโยชน์มาแบ่งปันกัน และกองทุนที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้ผลประโยชน์จากต้นเงิน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  ฝ่ายบริหารเงิน โทร. 02 265 4465 และ 02 265 4469 หรือ Call Center 1357

12 Feb 2025

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า หลังจากที่ธนาคารออมสินประสบความสำเร็จในการริเริ่มพัฒนานำเอา ESG Score มาใช้ประเมินระดับ ESG ของลูกค้าสินเชื่อ เน้นกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ พร้อมทั้งทำโปรแกรม Positive Engagement เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ซึ่งลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ที่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์จะได้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นกรณีพิเศษ โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2565 ในปี 2568 นี้ ธนาคารได้ขยายขอบเขตการดำเนินงานให้ครอบคลุมลูกค้ากลุ่มธุรกิจ SME โดยได้เปิดตัว โครงการ Positive Engagement Program ครั้งที่ 1 ภายใต้แนวคิด “SME Gear Up ติดปีกธุรกิจด้วย ESG” มีเป้าหมายเพื่อขยายผลการสร้าง Social Impact และสนับสนุนการดำเนินงานตามแผน Net Zero Roadmap ของธนาคาร โดยตั้งเป้าสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SME มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำเอากรอบแนวคิด ESG ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนายกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน หรือขยายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากการที่สถาบันการเงินมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับการใช้เกณฑ์ด้านความยั่งยืนในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ตามทิศทางการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กิจกรรม SME Gear Up ติดปีกธุรกิจด้วย ESG เปิดให้ผู้ประกอบการ SME ที่ดำเนินงานสอดคล้องหรือมีศักยภาพในการพัฒนาธุรกิจโดยใช้แนวคิด ESG สมัครเข้าร่วมโครงการฯ สำหรับลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SME ของธนาคารออมสิน มีวงเงินสินเชื่อตั้งแต่ 50 – 250 ล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการ SME ทั่วไป มีรายได้รวม 100 - 500 ล้านบาทต่อปี โดยผู้ประกอบการ SME ที่สมัครและผ่านการคัดเลือกในรอบแรก จะได้เข้าร่วมกิจกรรม SME Onboarding การอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจในประเด็น ESG ผ่านมุมมองของธุรกิจ การศึกษา ESG Standard ตลอดจนการรับฟังกรณีศึกษาจากผู้ประกอบการ SME ต้นแบบ (Learn from the lead) ที่มีการดำเนินงานด้าน ESG อย่างเป็นรูปธรรมจนประสบความสำเร็จ และการนำเสนอไอเดียธุรกิจ เพื่อเฟ้นหาสุดยอดไอเดียธุรกิจ SME ลุ้นรับเงินรางวัลรวมมูลค่า 660,000 บาท โดยผู้ประกอบการ SME ที่ร่วมโครงการ ยังจะได้รับสิทธิพิเศษในการทำธุรกรรม/ยื่นสินเชื่อกับธนาคาร พร้อมรับประกาศนียบัตร ตรารับรองคุณวุฒิ และสิทธิพิเศษอื่น ๆ ผู้ประกอบการ SME ที่สนใจ สามารถกรอกแบบฟอร์มใบสมัครออนไลน์ ด้วยการสแกน QR Code บนสื่อประชาสัมพันธ์ของกิจกรรมฯ หรือทางเว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th โดยสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ทั้งนี้ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ธนาคารออมสิน โทร 02-299-8000 ต่อ 810319 - 22 หรือ 998892 (ภายในเวลาทำการ)  

05 Feb 2025

...

  รายงานข่าวจากธนาคารออมสินแจ้งว่า ตามที่มีการแพร่ระบาดของมิจฉาชีพรูปแบบใหม่ด้วยการส่งจดหมายปลอม แอบอ้างใช้โลโก้ ชื่อธนาคาร รวมถึงชื่อผู้บริหารของธนาคาร ส่งไปยังลูกค้าประชาชนโดยระบุว่า ไม่สามารถโอนเงินสินเชื่อเข้าบัญชีของลูกค้าได้ เนื่องจากลูกค้ากรอกข้อมูลบัญชีธนาคารไม่ถูกต้อง ทำให้บัญชีถูกอายัด ไม่สามารถทำธุรกรรมใด ๆ ได้จนกว่าจะดำเนินการตามที่มิจฉาชีพแอบอ้าง หากไม่ปฏิบัติตามจะทำให้ไม่ได้รับวงเงินสินเชื่อ รวมถึงมีความผิดตามกฎหมาย ติดแบล็คลิสต์ และถูกยึดทรัพย์ ธนาคารออมสินขอยืนยันว่า “จดหมายดังกล่าวเป็นจดหมายปลอม ธนาคารไม่มีนโยบายส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แจ้งให้ลูกค้าแก้ไขข้อมูลเลขบัญชีทุกกรณี รวมถึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการต่าง ๆ ตามที่ระบุในจดหมายแอบอ้างดังกล่าว” โดยขณะนี้ ธนาคารอยู่ในระหว่างการติดตามสถานการณ์ และดำเนินการทางกฎหมายกับกลุ่มมิจฉาชีพที่แอบอ้างและกระทำการข้างต้น ธนาคารออมสิน จึงขอเน้นย้ำลูกค้าประชาชนถึงสิ่งที่ต้องปฏิบัติก่อนตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพรายต่อไป เบอร์แปลก หลอกคุย ตัดสายทิ้ง ลิงก์ไม่กด และเมื่อได้รับการติดต่อโดยอ้างชื่อธนาคาร หรือมีความไม่แน่ใจ ต้องตรวจสอบให้แน่ชัดด้วยตนเองก่อนทุกครั้งกับช่องทางของธนาคารออมสิน อาทิ เว็บไซต์ www.gsb.or.th, แอปพลิเคชัน MyMo, เฟซบุ๊ก GSB Society, LINE Official Account : GSB NOW และ GSB Contact Center โทร. 1115  

23 Jan 2025

...

  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดให้บริการโอนเงินต่างประเทศ ผ่านแอปพลิเคชัน BAAC Mobile เพื่อให้ลูกค้าสามารถโอนเงินไปต่างประเทศให้บุตรหลาน ครอบครัว ตลอดจนชำระค่าสินค้าและบริการได้ด้วยตนเองผ่านแอปพลิเคชัน BAAC Mobile สะดวก รวดเร็ว เพียงเข้ารายการโอนเงินและเลือกโอนเงินต่างประเทศ โดยไม่ต้องเดินทางไปสาขา ครอบคลุมทั่วโลก รองรับ 3 สกุลเงิน ประกอบด้วย ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ยูโร (EUR) และบาทไทย (THB)  (สำหรับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) วงเงินทำธุรกรรมไม่เกิน 150,000 บาทต่อรายการ และไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อวันต่อคน อัตราค่าธรรมเนียมและเวลาการให้บริการเป็นไปตามธนาคารกำหนด เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2568  เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ Call Center 02 555 0555

19 Jan 2025

Banner Banner Banner Banner Banner

Banner
  ทิศทาง ceothailand.net ในปี 2567  “สื่อออนไลน์ CEO THAILAND”   ในปี 2567 จะเป็นปีที่ผม “นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์” จะมาทำหน้าที่บรรณาธิการบริหารสื่อ CEO THAILAND และผู้บริหารสื่อออนไลน์ ceothailand.net อย่างเต็มที่ หลังจากที่ผ่านมาได้ไปเดินแผนงานทางด้านการเมือง แต่หลังจากผ่านพ้นช่วงการเลือกตั้งไปแล้วที่ผ่านมา จึงทำให้ช่วงเวลานี้มีเวลาที่จะมาวางแผนในการเดินหน้าธุรกิจสื่อได้มากขึ้น และในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนับจากนี้ จึงขอเข้ามารับหน้าที่สื่อมวลชน ในการเขียนบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ เรื่องราวในแวดวงเศรษฐกิจ-การเงิน และการประกันภัย ในฐานะของคอลัมนิสต์ ตลอดเวลาที่ผมเข้าไปทำงานทางการเมือง ต้องยอมรับว่าวงการข่าวและสื่อสารมวลชนเปลี่ยนไปเร็ว ตลอดเวลา 5 ปี  สื่อออนไลน์ที่รวดเร็วเข้ามาแทนที่สื่อหลักอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ (ออฟไลน์)  เราต้องยอมรับในเรื่องความรวดเร็ว แต่ต้องไม่ลืมจุดด้อยของสื่อออนไลน์ คือข้อผิดพลาดในการกลั่นกรองข่าวสาร รวมทั้งบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ที่หายไป และข่าวที่ออกมามีความเหมือนกัน  ไม่แตกต่าง และเป็นเชิงภาพข่าว และกิจกรรมเท่านั้น ดังนั้นในปี 2567 นี้  ในหน้าสื่อออนไลน์ CEO THAILAND ท่านผู้อ่านจะได้สัมผัสกับข่าวสารเชิงวิเคราะห์ เจาะลึกแบบออนไลน์ต่อเนื่องในสื่อ CEO THAILAND รวมทั้งการจัดทำเป็น E-Magazine ใน www.ceothailand.net รวมทั้งการจัดทำเป็นรูปเล่มฉบับพิเศษสลับไปบ้างในเรื่องที่สำคัญๆ น่าสนใจ และเป็นประโยชน์กับประชาชนและสังคม ขอขอบพระคุณท่านลูกค้าและผู้สนับสนุนสื่อด้วยดีเสมอมา ตลอดระยะเวลา 19 ปีที่ผ่านมา และขอขอบพระคุณทุกท่าน รวมทั้งผู้อ่านที่ติดตามสื่อ CEO THAILAND ด้วยดีเสมอมาใน www.ceothailand.net   นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา) บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner