Responsive image

Tuesday, 15 Oct 2024

หน้าแรก > ECONOMY-FINANCE/เศรษฐกิจ-การเงิน


ออมสิน จัดงาน GSB Forum 2023 ประสบความสำเร็จ ชู CSV สร้างคุณค่าร่วม รวมพลังการให้พร้อมพัฒนา มุ่งลดความเหลื่อมล้ำอย่างยั่งยืน

Sat 25/11/2566


เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องฉัตราบอลรูม โรมแรมสยาม เคมปินสกี้ กรุงเทพฯ ธนาคารออมสินจัดสัมมนา GSB Forum 2023 หัวข้อ ESG : Social Pillar Driven “สังคมยั่งยืน เพื่อโลกที่ยั่งยืน” เปิดเวทีถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนมุมมอง ประสบการณ์การดำเนินกิจการสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยกรอบแนวคิด ESG : Environment-Social-Governance ที่ธนาคารมุ่งเน้นแกนหลักด้านสังคม (Social) โดย นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังกล่าวเปิดการสัมมนาผ่านวีทีอาร์ ใจความว่า เรื่องความยั่งยืนเป็นความท้าทายสำคัญที่รัฐบาลพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นทุกมิติ โดยได้สร้างกลไกสนับสนุนทั้งด้านกฎระเบียบ มาตรการทางการเงินการคลัง เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุน เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน แม้บทสรุปของความยั่งยืนยังไม่อาจวัดผลได้ในปัจจุบัน แต่ด้วยEcosystem ที่ทุกภาคส่วนได้ร่วมมือกัน ย่อมส่งผลเชิงบวกต่อระบบเศรษฐกิจได้ในอนาคต

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “How DoesSocial Bank Work on the Journey toward Sustainability?” ว่า ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำ เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศ ธนาคารออมสินกำหนดกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจDual Mission โดยทำธุรกิจธนาคารสร้างผลกำไรมาสนับสนุนการทำภารกิจเพื่อสังคม มุ่งเป้าหมายช่วยแก้ปัญหาความยากจน และลดความเหลื่อมล้ำทางการเงิน สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ข้อ 1 และ 10 ทั้งนี้ ภายในระยะเวลาเพียง 3 ปี ธนาคารเพื่อสังคมได้จัดทำโครงการที่ประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรมแล้วกว่า 63 โครงการ ช่วยเหลือประชาชนได้กว่า 17 ล้านคน โดยสนับสนุนการให้สินเชื่อช่วยเสริมสภาพคล่องด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรมแก่ลูกค้ารายย่อยกว่า 8.5 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่ได้รับโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนในระบบเป็นครั้งแรก จำนวนกว่า 3.2 ล้านคน

ผลสำเร็จดังกล่าว เกิดขึ้นได้ด้วยการกำหนดเป็นนโยบาย Social Mission Integration โดยบูรณาการแนวคิดเพื่อสังคมในกระบวนการดำเนินงานที่สำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือสังคม (Product) การจัดทำโครงการโดยคำนึงถึงประโยชน์ของสังคม (Project) และการปรับกระบวนการดำเนินงานที่ตอบโจทย์ของสังคม (Process) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการสร้างคุณค่าร่วมของธุรกิจและสังคม คือ CSV : Creating Shared Value โดย Michael Porter และ Mark Kramer โดยธนาคารเตรียมเดินหน้าสร้างการเติบโตทางธุรกิจที่สามารถสร้างคุณค่าต่อสังคมอย่างต่อเนื่องในอนาคต โดยการจัดสรรงบประมาณและการลงทุนในกิจกรรมทางธุรกิจของธนาคาร อาทิ การแก้ปัญหาหนี้ลูกค้ารายย่อยอย่างยั่งยืน การขยายผลโครงการพัฒนาชุมชนแบบองค์รวม โดยธนาคารออมสินคาดหวังที่จะสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้หน่วยงานทุกภาคส่วน ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึงความสมดุลของการพัฒนาที่ครบทั้ง 3 แกน ทั้งด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ด้านมิติการพัฒนาสังคมให้เข้มแข็งโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และด้านการส่งเสริมธรรมาภิบาลที่ดีซึ่งเป็นรากฐานของการเติบโตอย่างยั่งยืนที่แท้จริง 

 

ภายในงานสัมมนา ยังได้รับเกียรติจากบุคคลสำคัญและผู้ทรงคุณวุฒิหลายหน่วยงาน มาร่วมแสดงปาฐกถาและความคิดเห็นต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในแกนด้านสังคม อาทิ

Prof. Dr. AKM Saiful Majid ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Grameen Bank ประเทศบังกลาเทศ กล่าวปาฐกถากรณีตัวอย่าง “ธนาคารหมู่บ้าน” ต้นแบบธนาคารเพื่อสังคมและผู้ยากไร้ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพจนโด่งดังไปทั่วโลก จากการตั้ง Grameen Bank ดำเนินธุรกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างผลกำไรสูงสุด เพื่อประโยชน์ของคนยากจนโดยช่วยให้คนจนมีสิทธิเข้าถึงสินเชื่อ และดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีตัวชี้วัดความสำเร็จเช่น การถือครองที่ดิน รายได้ และการจ้างงาน โดยที่ผ่านมาสามารถช่วยเหลือผู้ยากไร้จำนวนกว่า 10 ล้านคนให้หลุดพ้นจากวงจรความยากจน สมาชิกมากกว่า 2 ใน 3 (ประมาณ 10.2 ล้านคน) หลุดพ้นจากวงจรความยากจน

Mr. Renaud Meyer Resident Representative UNDP Thailand กล่าวว่า มิติที่สำคัญของ ESG คือความเท่าเทียม เป็นการทำให้ทุกคนไม่ว่าจะในฐานะอะไรได้เข้าถึงโอกาสการมีส่วนร่วม ซึ่งในมิติของธุรกิจจะเป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพขององค์กร ดังนั้นเวลามองมิติการทำธุรกิจ ผนวกมิติความยั่งยืนจะทำให้องค์กรเดินหน้าไปได้อย่างมั่นคงและแข่งขันได้มากขึ้น และสังคมจะอยู่ได้อย่างกลมกลืม ภายใต้เป้าหมายสำคัญ การพัฒนาที่ยั่งยืน จากความร่วมมือกันและส่งพลังให้ก้าวเดินหน้าได้ อีกทั้งต้องทำงานร่วมกันจึงจะบรรลุเป้าหมายได้ ต้องมาพร้อมกับ “การทำงาน พฤติกรรมในองค์กร ปรับฐานคิด” นี่คือสมการใหม่ของการพัฒนาที่ยั่งยืนทางสังคม

หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ความเข้มแข็งของสังคมเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการเติบโตของธุรกิจทั้งหมด แต่ปัจจุบันในประเทศไทยฐานะความร่ำรวยกระจุกตัวเพียงบางกลุ่มคน ขณะที่ความยากจนนั้นกระจายไปทั่วประเทศ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่ธุรกิจเป็นเครื่องมือในการสร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งต้องแก้ไขที่จุดนี้ โดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ มีปรัชญา“ไม่มีใครอยากเป็นคนไม่ดี เพียงแค่เขาไม่มีโอกาสและทางเลือกในการทำในสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น” ดังนั้นมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ จึงให้ความสำคัญเรื่องการให้โอกาส และเป็นการให้ที่ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมและชุมชนในระยะยาว

ด้าน ดร.เอกพล ณ สงขลา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ ให้ความเห็นในฐานะองค์กรธุรกิจ มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วน (Collaboration) เป็นปัจจัยความสำเร็จการสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเริ่มจากดำเนินการจากจุดเล็กๆ ที่เป็นหน่วยย่อย จะสามารถสร้างแรงกระเพื่อมเกิดความร่วมมือในวงกว้าง ดังแนวคิดของทฤษฎีผีเสื้อกระพือปีกซึ่งเป็นธีมหลักของการจัดสัมมนาครั้งนี้ โดยบริษัทฯ เน้นส่งเสริมให้ชุมชนสามารถยืนได้ด้วยตนเองผ่านโครงการสำคัญ เช่น โครงการประชารัฐรักสามัคคีเป็นต้น 

 

​นอกจากนี้ ช่วงบ่ายของการสัมมนาเป็นการเน้นเนื้อหาเข้มข้นในเรื่องการสร้างคุณค่าร่วมของธุรกิจและสังคม หรือ CSV : Creating Shared Value ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิมากหมายหลายท่าน ที่ได้มาบรรยายให้ความรู้และแชร์ไอเดียแนวคิดที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้นำไปต่อยอดการทำแผนธุรกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านแกนด้านสังคม อาทิ นายปิยะชาติ อิศรภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BRANDi and Companies ในหัวข้อ The New Competitive and Collaborative Advantages : Creating Shared Value (CSV) Ms. Fiona Stewart และคุณขวัญพัฒน์ สุทธิธรรมกิจ จากธนาคารโลก หรือ World Bank ในหัวข้อ Creating Shared Value : Role of Sustainability-Linked Financing ปิดท้ายด้วยการเสวนาในหัวข้อ CSV Success Stories Well Told โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของธนาคารออมสินองค์กรต่างๆ ที่ได้รับประโยชน์เชิงสังคมจากการดำเนินงานของธนาคาร ได้แก่ ผู้แทนจากสถาบันการเงินประชาชน ผู้แทนจากมูลนิธิออทิสติกไทย ผู้แทนนักเรียนจากโครงการธนาคารโรงเรียน และผู้แทนชุมชนในพื้นที่โครงการพัฒนาแบบองค์รวม “ออมสินฮ่วมใจ๋ฮักขุนน่าน” จังหวัดน่าน โดยได้รับเกียรติจาก นางบุญรักษ์ อุดมสิทธิพงศ์ รองผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เป็นผู้กล่าวปิดท้ายงานสัมมนาด้วยกรณีตัวอย่างความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจธนาคารออมสินที่ยึดหลักการเพื่อช่วยแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทย

ผู้สนใจสามารถรับชมย้อนหลังบันทึกภาพการสัมมนา GSB Forum 2023 หัวข้อ ESG : Social Pillar Driven “สังคมยั่งยืน เพื่อโลกที่ยั่งยืน” ได้ที่ facebook : GSB Society

 


Tags : ออมสิน ธนาคารออมสิน วิทัย รัตนากร GSB Forum 2023 กฤษฎา จีนะวิจารณะ หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล ดร.เอกพล ณ สงขลา


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

  บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดตัวแคมเปญสุดพิเศษ "Saving Fest เทศกาลสุดเซฟ...แห่งปี" เพื่อมอบส่วนลดพิเศษสูงสุดถึง 30% แก่ลูกค้าใหม่ที่ซื้อประกันออนไลน์ แคมเปญนี้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ประกันภัยหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ประกันภัยรถยนต์ ประกันภัยสุขภาพ ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย ประกันภัยสัตว์เลี้ยง และประกันภัยอื่น ๆ อีกมากมาย สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ตอบโจทย์ความต้องการได้ง่าย ๆ เพียงกรอกโค้ด SAVE24 ก่อนการชำระเงินที่เว็บไซต์ www.tipinsure.com หรือคลิกที่ลิงก์ https://bit.ly/_SAVE24 เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมและซื้อประกันภัยออนไลน์  ได้ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน - 15 พฤศจิกายน 2567   #ทิพยประกันภัย #Dhipaya #Savingfest24  

08 Oct 2024

...

ตามที่ นางสาวเเพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มอบหมายสั่งการให้หน่วยงานของรัฐ เร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย ตามประกาศของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ณ วันที่ 26 กันยายน 2567 โดยนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มอบหมายให้ธนาคารออมสินดำเนินการ ธนาคารจึงออก มาตรการช่วยเหลือโดยการพักหนี้อัตโนมัติ – พักจ่ายเงินต้นและไม่คิดดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 3 เดือน ช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2567 ซึ่งจะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและแบ่งเบาภาระของลูกหนี้ธนาคารออมสินในพื้นที่ประสบภัยตามประกาศฯ จำนวนกว่า 110,000 บัญชี คิดเป็นเงินต้นรวมกว่า 43,000 ล้านบาท มาตรการพักหนี้อัตโนมัติ - พักจ่ายเงินต้นและไม่คิดดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อพักชำระหนี้ให้กับสินเชื่อ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 10 ล้านบาท และสินเชื่อรายย่อยทุกประเภทซึ่งรวมถึงสินเชื่อพัฒนากลุ่มอาชีพ และสินเชื่อสวัสดิการ (ยกเว้นสินเชื่อชีวิตสุขสันต์ และ สินเชื่อตามนโยบายรัฐ หรือ Public Service Account - PSA) โดยลูกหนี้ที่ได้รับสิทธิ์ให้เข้ามาตรการฯ ต้องมีภูมิลำเนา ที่อยู่ หรือที่ประกอบอาชีพ ในพื้นที่ประสบภัยตามประกาศของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ณ วันที่ 26 กันยายน 2567 ทั้งนี้ ธนาคารจะส่ง SMS หรือจดหมายแจ้งการพักชำระหนี้อัตโนมัติให้ลูกหนี้ทราบ ซึ่งจะมีผลในงวดเดือนตุลาคม - งวดเดือนธันวาคม 2567 หลังจากนั้นลูกหนี้จะต้องกลับมาชำระหนี้ตามปกติตั้งแต่งวดเดือนมกราคม 2568 เป็นต้นไป กรณีไม่ต้องการพักหนี้อัตโนมัติ สามารถชำระหนี้ได้เช่นเดิม โดยผู้เป็นลูกหนี้ปกติที่ชำระหนี้ในช่วงเวลา 3 เดือนของมาตรการฯ ธนาคารจะนำไปตัดต้นเงิน ส่วนผู้ที่ได้เข้าร่วมมาตรการพักหนี้ ลดดอกเบี้ยครึ่งหนึ่งมาแล้วก่อนหน้านี้ จะได้รับการพิจารณาเข้ามาตรการนี้โดยอัตโนมัติด้วยเช่นกัน สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินกู้เพื่อนำไปบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยพิบัติ สามารถยื่นขอสินเชื่อฉุกเฉิน หย่อนเกณฑ์อนุมัติ ให้กู้สูงสุดรายละไม่เกิน 10,000 บาท ไม่ต้องมีหลักประกันและไม่มีผู้ค้ำประกัน อัตราดอกเบี้ยคงที่ 0% สำหรับ 3 เดือนแรก หลังจากนั้นเดือนที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย 0.60% หรืออาจยื่นขอสินเชื่อวงเงินสูงขึ้นเป็นรายละไม่เกิน 50,000 บาท แบบมีหลักประกัน อัตราดอกเบี้ย 3 เดือนแรก 0% ต่อเดือนเช่นกัน รวมถึงมาตรการสินเชื่อเคหะสำหรับผู้ที่ต้องการซ่อมแซมฟื้นฟูที่อยู่อาศัยที่เสียหาย ธนาคารให้วงเงินกู้สูงถึง 100% ของราคาประเมิน อัตราดอกเบี้ยพิเศษเฉลี่ย 3 ปีแรกอยู่ที่ 3.233% ต่อปี ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.gsb.or.th หรือที่ GSB Contact Center โทร.1115 และติดต่อขอสินเชื่อได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปที่สาขาธนาคารออมสิน ภายใน 30 วัน นับจากวันที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัย    

30 Sep 2024

...

เอไอเอ ประเทศไทย สานต่อโครงการ “สุดยอดโรงเรียนสุขภาพดี - AIA Healthiest Schools” ซึ่งจัดขึ้นติดต่อเป็นปีที่ 3 โดยได้รับความร่วมมืออย่างต่อเนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดรับสมัครโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการเพื่อชิงรางวัลรวมกว่า 2 ล้านบาท และได้เป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติ เพื่อชิงรางวัลอีกกว่า 1.5 ล้านบาท รวมมูลค่ารางวัลถึง 3.5 ล้านบาท ตอกย้ำถึงพันธกิจสำคัญของเอไอเอ ที่มุ่งสนับสนุนเยาวชนและผู้คนในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก กว่าหนึ่งพันล้านคนให้มีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ตามคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives’     โครงการ “สุดยอดโรงเรียนสุขภาพดี - AIA Healthiest Schools” เป็นโครงการที่กลุ่มบริษัทเอไอเอ และเอไอเอ ประเทศไทย ริเริ่มขึ้นเพื่อมุ่งเสริมสร้างและปลูกฝังพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพของนักเรียนที่มีอายุระหว่าง 5 - 16 ปี โดยมุ่งเน้นใน 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การทำกิจกรรมที่แอคทีฟ การมีสุขภาพใจที่ดี และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยเมื่อปีที่ผ่านมา ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากโรงเรียนทั่วประเทศที่เข้าร่วมโครงการมากกว่า 600 โรงเรียน และส่งผลงานเข้าประกวดถึง 91 โรงเรียน ซึ่งโรงเรียนที่ชนะระดับประถมศึกษา ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 2 วัดดอนมูลชัย จังหวัดตาก และโรงเรียนที่ชนะระดับมัธยมศึกษา ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 1 กิตติขจร จังหวัดตาก สำหรับโรงเรียนระดับประถมและมัธยมศึกษาที่สนใจ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ “สุดยอดโรงเรียนสุขภาพดี - AIA Healthiest Schools” ปีที่ 3 ได้แล้วที่เว็บไซต์ ahs.aia.com/th/th/ ตั้งแต่วันนี้ ถึง 8 มีนาคม 2568  

29 Sep 2024

...

ตามที่รัฐบาลได้มอบหมายสั่งการให้ธนาคารออมสิน เร่งให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดเชียงรายที่ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่อยู่ขณะนี้ โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอแม่สาย ที่ธนาคารออมสินภาค 9 ได้รับมอบนโยบายลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้า อาทิ ถุงยังชีพเครื่องอุปโภคบริโภค และสิ่งของจำเป็น เพื่อใช้บรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น   ทั้งนี้ ธนาคารออมสินได้ออกชุดมาตรการทางการเงินเพื่อลดภาระของผู้ประสบภัย ประกอบด้วย มาตรการพักหนี้และลดดอกเบี้ย โดยให้พักชำระเงินต้นและจ่ายดอกเบี้ยครึ่งหนึ่ง ส่วนดอกเบี้ยที่เหลืออีกครึ่งธนาคารลดให้ เป็นระยะเวลา 3 เดือน สำหรับลูกค้าสินเชื่อรายย่อย ทั้งบุคคล และ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 10 ล้านบาท ไม่รวมลูกค้าสินเชื่อตามธุรกรรมนโยบายรัฐ (PSA) หรือโครงการผ่อนปรนอื่น ๆ โดยแจ้งความประสงค์ขอเข้ามาตรการผ่านทางเว็บไซต์ธนาคารออมสิน หรือติดต่อธนาคารออมสินในพื้นที่ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป     นอกจากนี้ ยังมีมาตรการสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ผ่อนเกณฑ์อนุมัติ แบบไม่ต้องมีหลักประกันและไม่มีผู้ค้ำประกัน วงเงินกู้สูงสุดไม่เกินรายละ 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 0% ใน 3 เดือนแรก และปลอดชำระเงินงวดนาน 3 เดือน จากนั้นเดือนที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย 0.60% และสินเชื่อเคหะแก่ผู้ประสบภัย สำหรับลูกค้าธนาคารออมสินและประชาชนทั่วไป ที่จำเป็นต้องซ่อมแซมบ้านเรือนที่อยู่อาศัยซึ่งได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม วงเงินกู้สูงถึง 100% ของราคาประเมิน อัตราดอกเบี้ยลดพิเศษเฉลี่ย 3 ปีแรกอยู่ที่ 3.233% ต่อปี ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2% ปีที่ 2 - 3 = 3.85% ต่อปี (MRR-2.745%) และปีที่ 4 เป็นต้นไป = 5.845% ต่อปี (MRR-0.750%)     นอกเหนือจากมาตรการทางการเงินแล้ว ยังมีมาตรการช่วยเหลือและฟื้นฟูเยียวยาหลังน้ำลด โดยร่วมกับภาคีเครือข่าย อาทิ วิทยาลัยเทคนิคในพื้นที่ เปิด “คลินิกสารพัดซ่อม” เพื่อปรับปรุงซ่อมแซมบ้านเรือนที่อยู่อาศัย รถจักรยานยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับความเสียหาย เป็นต้น และยังได้มอบหมายให้ธนาคารออมสินในพื้นที่ออกเยี่ยมเยียนและให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าประชาชนที่ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งขยายผลความช่วยเหลือไปยังพื้นที่รับน้ำอื่น ๆ ด้วย ธนาคารออมสินขอร่วมส่งกำลังใจให้ผู้ประสบภัยและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการช่วยเหลือในทุกพื้นที่ให้มีความปลอดภัยและขอให้ผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้โดยเร็ว  

16 Sep 2024

Banner Banner Banner Banner

Banner
  ทิศทาง ceothailand.net ในปี 2567  “สื่อออนไลน์ CEO THAILAND”   ในปี 2567 จะเป็นปีที่ผม “นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์” จะมาทำหน้าที่บรรณาธิการบริหารสื่อ CEO THAILAND และผู้บริหารสื่อออนไลน์ ceothailand.net อย่างเต็มที่ หลังจากที่ผ่านมาได้ไปเดินแผนงานทางด้านการเมือง แต่หลังจากผ่านพ้นช่วงการเลือกตั้งไปแล้วที่ผ่านมา จึงทำให้ช่วงเวลานี้มีเวลาที่จะมาวางแผนในการเดินหน้าธุรกิจสื่อได้มากขึ้น และในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนับจากนี้ จึงขอเข้ามารับหน้าที่สื่อมวลชน ในการเขียนบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ เรื่องราวในแวดวงเศรษฐกิจ-การเงิน และการประกันภัย ในฐานะของคอลัมนิสต์ ตลอดเวลาที่ผมเข้าไปทำงานทางการเมือง ต้องยอมรับว่าวงการข่าวและสื่อสารมวลชนเปลี่ยนไปเร็ว ตลอดเวลา 5 ปี  สื่อออนไลน์ที่รวดเร็วเข้ามาแทนที่สื่อหลักอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ (ออฟไลน์)  เราต้องยอมรับในเรื่องความรวดเร็ว แต่ต้องไม่ลืมจุดด้อยของสื่อออนไลน์ คือข้อผิดพลาดในการกลั่นกรองข่าวสาร รวมทั้งบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ที่หายไป และข่าวที่ออกมามีความเหมือนกัน  ไม่แตกต่าง และเป็นเชิงภาพข่าว และกิจกรรมเท่านั้น ดังนั้นในปี 2567 นี้  ในหน้าสื่อออนไลน์ CEO THAILAND ท่านผู้อ่านจะได้สัมผัสกับข่าวสารเชิงวิเคราะห์ เจาะลึกแบบออนไลน์ต่อเนื่องในสื่อ CEO THAILAND รวมทั้งการจัดทำเป็น E-Magazine ใน www.ceothailand.net รวมทั้งการจัดทำเป็นรูปเล่มฉบับพิเศษสลับไปบ้างในเรื่องที่สำคัญๆ น่าสนใจ และเป็นประโยชน์กับประชาชนและสังคม ขอขอบพระคุณท่านลูกค้าและผู้สนับสนุนสื่อด้วยดีเสมอมา ตลอดระยะเวลา 19 ปีที่ผ่านมา และขอขอบพระคุณทุกท่าน รวมทั้งผู้อ่านที่ติดตามสื่อ CEO THAILAND ด้วยดีเสมอมาใน www.ceothailand.net   นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา) บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner