Responsive image

Tuesday, 01 Jul 2025

หน้าแรก > ECONOMY- FINANCE / เศรษฐกิจ - การเงิน


"กรุงศรี" ประกาศแผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่ มุ่งเป้ายืนหนึ่งธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคเพื่อความยั่งยืนภายในปี 2569

Fri 02/02/2567


กรุงเทพฯ (1 กุมภาพันธ์ 2567) - กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ) ในเครือของมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) หนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดระดับโลก ประกาศแผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่ (Medium-Term Business Plan: MTBP) ครอบคลุมปี 2567-2569 พร้อมมุ่งเป้ายืนหนึ่งการเป็นธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคเพื่อความยั่งยืน โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ขับเคลื่อนสู่การเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืน เชื่อมโยงอาเซียนผ่านศักยภาพอันแข็งแกร่งของกรุงศรี และ MUFG เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในระดับประเทศและระดับสากล และสร้างการเติบโตให้ธุรกิจหลักของธนาคาร

นายเคนอิจิ ยามาโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ปีที่ผ่านมาถือเป็นวาระสำคัญครบรอบ 10 ปีของความร่วมมือระหว่างกรุงศรี และ MUFG และเป็นปีสุดท้ายของแผนธุรกิจระยะกลางฉบับที่สาม กรุงศรีให้ความสำคัญกับการยึดหลักลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer-centric Approach) มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการผ่านการพัฒนาขีดความสามารถด้านดิจิทัลและนวัตกรรม ซึ่งได้บรรลุความสำเร็จมากมายตลอดการเดินทางของเรา ไม่ว่าจะเป็นการสร้างธุรกิจและเครือข่ายที่แข็งแกร่งในอาเซียน การขยายศักยภาพการในด้าน ESG มากขึ้น ตลอดจนเป็นผู้บุกเบิกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนของประเทศไทย รวมทั้งการก่อตั้งบริษัทร่วมทุนที่แข็งแกร่งอย่างกรุงศรี ฟินโนเวต ที่ให้การสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของกลุ่มสตาร์ทอัพและบริษัทด้านเทคโนโลยีอีกด้วย ความสำเร็จต่าง ๆ ของกรุงศรีที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมานั้นสะท้อนผ่านตัวเลขผลการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี โดยกรุงศรีสามารถทำรายได้สุทธิกว่า 30,000 ล้านบาท จากเดิมอยู่ที่ 11,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสามเท่าในเวลาหนึ่งทศวรรษ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ครองตำแหน่งผู้นำในอุตสาหกรรม ทั้งยังคงความเป็นผู้นำด้านคุณภาพสินทรัพย์มาโดยตลอดอีกด้วย”

 

นายเคนอิจิ ยามาโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)


 

“กรุงศรีก้าวเข้าสู่แผนธุรกิจระยะกลางฉบับที่สี่ โดยมุ่งเป้ายืนหนึ่งการเป็นธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคเพื่อความยั่งยืน แผนธุรกิจระยะกลางฉบับนี้สะท้อนถึงความตั้งใจอย่างแน่วแน่ของกรุงศรีเพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืนเชิงเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาลสู่อนาคตที่มั่นคง ทำให้กรุงศรีเป็นธนาคารแห่งภูมิภาคเพื่อความยั่งยืนระดับแถวหน้า แนวทางการดำเนินงานนี้ยังสอดคล้องกับเป้าหมายของ MUFG ที่ต้องการมุ่งสร้างอนาคตที่สดใสยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายร่วมกันทั้งในด้านความยั่งยืน การเป็นธนาคารที่มีความรับผิดชอบ และการพัฒนาชุมชน” นายเคนอิจิ กล่าวเสริม

ปีแห่งความท้าทาย

ข้อมูลจากวิจัยกรุงศรีระบุว่า ประเทศไทยกำลังเดินอยู่บนเส้นทางของการฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายสาธารณะ นโยบายสนับสนุนต่าง ๆ ของภาครัฐ ตลอดจนกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวที่กำลังฟื้นตัว และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน อย่างไรก็ดีขณะที่แรงส่งภายนอกสร้างความท้าทายต่อโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืน ภาวะทางการเงินที่ตึงตัวขึ้น และภัยแล้งที่เพิ่มความซับซ้อนขึ้นทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัวลง

เป้าหมายและทิศทางทางธุรกิจ

แผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่ประจำปี 2567-2569 เป็นมากกว่าแผนงาน โดยแก่นหลักของแผนฉบับนี้คือความมุ่งมั่นที่จะก้าวสู่การเป็น “ธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคเพื่อความยั่งยืน” ที่สะท้อนถึงคำมั่นสัญญาขององค์กรสู่อนาคตที่ความยั่งยืนและการสร้างแข็งแกร่งในระดับภูมิภาคเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวแผนธุรกิจฉบับนี้จะมุ่งเป้าไปยังสามประการหลัก ได้แก่ การเป็นธนาคารชั้นนำเพื่อความยั่งยืน  การขับเคลื่อนความเป็นผู้นำระดับภูมิภาค  และการรักษาตำแหน่งผู้นำในธุรกิจหลักของธนาคาร

จากเป้าหมายด้าน ESG สู่ความสำเร็จทางการเงิน

กรุงศรีในฐานะผู้นำด้านความยั่งยืน เราได้วางเป้าหมายในการเพิ่มการสนับสนุนทางการเงินให้แก่โครงการธุรกิจเพื่อสังคมและความยั่งยืนที่ 100,000 ล้านบาทภายในปี 2573 และให้การสนับสนุนลูกค้าในการออกผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อความยั่งยืน โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา กรุงศรีมียอดสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนเพิ่มขึ้น  71,000 ล้านบาทจากฐานปี 2564 โดยแผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่นี้ กรุงศรีจะมุ่งขยายบริการทางการเงินเพื่อความยั่งยืนเพื่อเข้าถึงฐานลูกค้า SME และลูกค้ารายย่อยที่หลากหลายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ธนาคารยังให้ความสำคัญกับการจัดหาเงินทุนเพื่อช่วยเหลือกลุ่มลูกค้าธุรกิจ และ SME ในช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำ ควบคู่ไปกับการสนับสนุนในเรื่องกติกาด้านการเงินและภาษี (Taxonomy) ที่จำแนกประเภทกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับความเข้มของค่าคาร์บอนโดยใช้ระบบสัญญาณไฟจราจรเป็นเกณฑ์

 

นายเคนอิจิ ยามาโตะ (ขวา) กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

นางสาวดวงดาว วงค์พนิตกฤต (กลาง) ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

นายไพโรจน์ ชื่นครุฑ (ซ้าย) ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกลยุทธ์และวางแผนธุรกิจองค์กร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)


 

การสร้างคุณค่าให้กลุ่มลูกค้า

เครือข่ายของกรุงศรี และ MUFG ในปัจจุบันครอบคลุม 9 ใน 10 ประเทศในอาเซียน โดยกรุงศรีมีบริษัทในเครือ กระจายอยู่ใน 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม กัมพูชา และ สปป.ลาว ที่ให้บริการลูกค้าแล้วกว่า 17 ล้านราย การดำเนินงานในอาเซียนของกรุงศรีส่งเสริมขีดความสามารถของธนาคารในหลายแง่มุม ตั้งแต่โมเดลธุรกิจและผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอ ไปจนถึงการระดมทุน การบริหารความเสี่ยง โซลูชันดิจิทัล และนวัตกรรมที่หลากหลาย

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการสร้างรากฐานอันแข็งแกร่งให้กับกรุงศรีในการเป็นธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาค และกรุงศรีมุ่งมั่นเดินหน้าใช้ประโยชน์จากเครือข่าย MUFG เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตและเชื่อมโยงความต้องการของลูกค้าทั้งในประเทศไทยและภูมิภาค ผ่านการนำเสนอโซลูชันการจับคู่ธุรกิจแบบครบวงจรด้วยแพลตฟอร์ม Krungsri Business Link และบริการ Krungsri ASEAN Link ที่จะช่วยเชื่อมโยงลูกค้าธุรกิจชาวไทยกับพันธมิตรทางธุรกิจที่เชื่อถือได้เข้าด้วยกันผ่านเครือข่ายของธนาคารที่มีอยู่ในอาเซียนและญี่ปุ่น

 

ตอกย้ำจุดแข็งของกรุงศรี

กรุงศรีมุ่งมั่นที่จะสร้างความแข็งแกร่งและรักษาตำแหน่งผู้นำในธุรกิจหลักของธนาคาร เพื่อให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยจะเน้นเรื่องดิจิทัล ดาต้า ระบบนิเวศและการสร้างพันธมิตรเป็นแกนสำคัญในการดำเนินงาน สำหรับกลุ่มธุรกิจลูกค้ารายย่อยและลูกค้าบุคคล กรุงศรียังคงเดินหน้ากลยุทธ์ One Retail โดยการใช้ดาต้าเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าเป็นหลัก สำหรับกลุ่มลูกค้าธุรกิจ กรุงศรีจะขยายขีดความสามารถด้านธุรกรรมการเงินทั้งในและต่างประเทศในรูปแบบ Banking as a Service โดยพัฒนาร่วมกับพันธมิตรจากทั้งในไทยและต่างประเทศ และสำหรับในด้าน IT และดิจิทัล กรุงศรีจะเดินหน้าลงทุนในดิจิทัลแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีที่ยึดความต้องการลูกค้าเป็นหลัก รวมถึงการใช้ AI และ Machine Learning เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์และการให้บริการกับลูกค้าในทุกกลุ่ม ผ่านทุก Touchpoint ทั้งสาขา ออนไลน์ โมบายแอป และ Call Center

กรุงศรีคาดว่าในปี 2567 เงินให้สินเชื่อจะเติบโตที่ 3-5% และตั้งเป้าหมายของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ  (NIM) อยู่ที่ 3.8-4.1% ธนาคารคาดว่าอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL Ratio) อยู่ที่ราว 2.50-2.75% ขณะที่อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ (cost-to-income ratio) จะอยู่ในระดับ mid-40%

 


Tags : ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กรุงศรี กรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงศรีอยุธยาประกาศแผนธุรกิจ


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2568  

29 Jun 2025

...

  บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ร่วมออกบูทในงานมหกรรมจำหน่ายรถยนต์ครบวงจร FAST Auto Show Thailand 2025   ระหว่างวันที่ 2 – 6 กรกฎาคม 2568 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ฮอลล์ EH 102 - 103  ในงานนี้ บริษัทฯ ได้จัดเต็มโปรโมชันสุดพิเศษ โดยมอบส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยสูงสุด 23% สำหรับผู้ที่ซื้อกรมธรรม์ใหม่ภายในงาน โดยมีทีมงานรับประกันภัยพร้อมบริการให้คำปรึกษา และคำแนะนำเกี่ยวกับแผนประกันภัยที่เหมาะสมกับความคุ้มครองที่หลากหลาย โดยนอกจากประกันภัยรถยนต์แล้วยังมีประกันอัคคีภัย ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ประกันภัยการเดินทาง ประกันภัยสุขภาพ ประกันภัยโรคมะเร็ง และประกันภัยอื่นๆ ที่ให้ความคุ้มครองรองรับไลฟ์สไตล์ของลูกค้า นอกจากนี้ ยังสามารถผ่อนชำระเบี้ยประกันภัย ดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน หรือ 10 เดือนผ่านบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ พร้อมรับของที่ระลึกที่เตรียมไว้สำหรับงานนี้โดยเฉพาะ  พบกับกรุงเทพประกันภัยได้ที่บูท B11 ณ ศูนย์ประชุมนิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา ฮอลล์ EH 102 - 103 ในวันที่ 2 - 6 กรกฎาคม 2568    

29 Jun 2025

...

กรุงเทพประกันชีวิต ขอส่งมอบความ “อุ่นใจ” กับแผนสุขภาพและเงินออม ที่ “ใส่ใจ”ทุกคนในครอบครัว ในงาน แฟร์ที่คุณพ่อคุณแม่ห้ามพลาด Amarin Baby & Kids Fair Midyear 2025 เตรียมยกทัพแบบประกันดี ๆ ที่ออกแบบมาด้วยความใส่ใจ ไม่ว่าจะเป็น “กรุงเทพ สมาร์ท คิดส์” แบบประกันสะสมทรัพย์ที่ซื้อ 1 ได้ถึง 4 มั่นใจกับผลตอบแทนที่แน่นอน พร้อมความคุ้มครองด้านสุขภาพ ตอบโจทย์ทุกเป้าหมายในอนาคตเพื่อลูกน้อย “กรุงเทพ สุดคุ้ม” แผนการออมที่คุ้มค่า และหลากหลายแผนคุ้มครองที่มอบความอุ่นใจในทุกช่วงเวลาสำหรับครอบครัว ระหว่างวันที่ 26 – 29 มิถุนายน 2568 ที่บูท C7-C8 ฮอลล์ 104 ศูนย์แสดงสินค้าและนิทรรศการ ไบเทคบางนา  ภายในงานพบกับกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของลูกน้อย และรับฟังสาระดี ๆ กับเวทีเสวนาห้องเรียน พ่อแม่ ในวันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน เวลา 13.30 น. โดย ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวกและการส่งเสริมทักษะสมอง EF สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้เชี่ยวชาญจากกรุงเทพประกันชีวิตที่จะมาแนะนำการวางแผนการเงินเพื่ออนาคตลูก และโปรโมชันสุดพิเศษมากมาย สิทธิพิเศษภายในบูท เพียงซื้อแบบประกันใดก็ได้ (ยกเว้นแบบประกันยูนิต ลิงค์) และชำระเบี้ยประกันภัยปีแรกแบบรายปี รับโปรโมชันพิเศษ 3 ต่อ!!! ต่อที่ 1 รับกระเป๋าช้อปปิ้ง Together We Care สุดชิค ทันที! ต่อที่ 2 รับบัตรกำนัลเซ็นทรัลทันทีภายในงาน มูลค่าสูงสุด 2,500 บาท และต่อที่ 3 รับบัตรกำนัลเซ็นทรัลเพิ่ม มูลค่าสูงสุด 12,000 บาท พร้อมสิทธิ์ลุ้นรางวัลรวมมูลค่ากว่า 2 ล้านบาท เมื่อดาวน์โหลดแอป BLA Happy Life ลงทะเบียน และเข้าใช้งาน ภายในวันที่ 31 กรกฏาคมนี้  เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด    

26 Jun 2025

...

SME D Bank เคียงข้างผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย ทุ่ม 3,500 ล้านบาท ออก 2 ผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่ ได้แก่ “Smile Biz ธุรกิจยิ้มได้ (2568)” และ “จิ๋วสุดแจ๋ว Plus” มุ่งเติมทุนครอบคลุมทุกกลุ่มเอสเอ็มอี นำไปใช้ลงทุน หมุนเวียน เสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ   ควบคู่ยกระดับพัฒนาครบวงจร ช่วยเสริมแกร่ง ยืนหยัดและปรับตัวได้ในช่วงสถานการณ์เศรษฐกิจชะลอตัว   นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เปิดเผยว่า ธนาคารมีความห่วงใยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และคู่ค้าที่เป็น Supply Chain  ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว จากความไม่แน่นอนของสงครามการค้า  การล้นทะลักของสินค้าจากต่างประเทศ สถานการณ์ภัยพิบัติ แผ่นดินไหว ส่งผลต่อความเชื่อมั่น รวมถึง ในภาคธุรกิจท่องเที่ยว และเกี่ยวเนื่องที่ได้รับผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ดังนั้น SME D Bank   จัดวงเงิน  3,500 ล้านบาท ออก 2 สินเชื่อใหม่ สนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ในภาคผลิต บริการ และค้าส่งค้าปลีก  ทั้งรายย่อย รายย่อม และรายกลาง ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน นำไปเสริมสภาพคล่องกิจการ สามารถรับมือและก้าวผ่านสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวได้เหมาะสมและทันท่วงที อีกทั้ง ช่วยรักษาการจ้างงานในภาคธุรกิจเอสเอ็มอี โดยมีจุดเด่นเงื่อนไขผ่อนปรนเปิดกว้าง ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน สามารถใช้ บสย.ค้ำประกันได้  ได้แก่ “สินเชื่อ Smile Biz ธุรกิจยิ้มได้ (2568)” วงเงิน 3,000 ล้านบาท และ “สินเชื่อรายย่อย จิ๋วสุดแจ๋ว Plus” วงเงิน 500 ล้านบาท   สำหรับ “สินเชื่อ Smile Biz ธุรกิจยิ้มได้ (2568)” สนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขนาดย่อม และขนาดกลาง ทั้งบุคคลธรรมดา นิติบุคคล ที่มีรายได้ต่อปีเกินกว่า 1.8 ล้านบาท แต่ขาดหลักประกันให้เข้าถึงแหล่งทุน นำไปเสริมสภาพคล่อง  ลงทุน ขยาย ปรับปรุง หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ  เงินทุนหมุนเวียน  วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ย เริ่มต้น MLR -1%ต่อปี หรือประมาณ 6.25%ต่อปี (ปัจจุบัน MLR เท่ากับ 7.25%) ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ผ่อนนานสูงสุดไม่เกิน 7 ปี ปลอดชําระคืนเงินต้นสูงสุด 6 เดือน เปิดรับคำขอกู้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2569 หรือจนกว่าวงเงินสินเชื่อโครงการจะหมด แล้วแต่อย่างหนึ่งอย่างใดจะถึงก่อน   และ “สินเชื่อรายย่อย จิ๋วสุดแจ๋ว Plus”  สนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายย่อย (MICRO) ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ที่มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 1.8 ล้านบาท แต่ขาดหลักประกันให้เข้าถึงแหล่งทุน นำไปลงทุน ขยาย ปรับปรุง ปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ หรือหมุนเวียนเสริมสภาพคล่องในธุรกิจ   วงเงินกู้ขั้นต่ำ 1  แสนบาท สูงสุดไม่เกิน 5 แสนบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ย เริ่มต้น MRR +5.35% ต่อปี หรือประมาณ 12.925% ต่อปี (ปัจจุบัน MRR เท่ากับ 7.575%) ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ผ่อนนานสูงสุดไม่เกิน 5 ปี เปิดรับคำขอกู้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569 หรือจนกว่าวงเงินสินเชื่อโครงการจะหมด แล้วแต่อย่างหนึ่งอย่างใดจะถึงก่อน “ทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ ครอบคลุมการสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทุกกลุ่ม และทุกประเภทในภาคการผลิต บริการ ค้าปลีกและค้าส่ง ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง ร้านค้าออนไลน์  ธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่อง เช่น ร้านขายของฝาก ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ฯลฯ เพื่อให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน  นำไปเสริมสภาพคล่อง  หรือมีไว้สำรองเป็นค่าใช้จ่าย ช่วยให้สามารถรับมือกับภาวะเศรษฐกิจได้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ธุรกิจยืนหยัดและปรับตัวได้” นายพิชิต กล่าวเสริม นอกจากนี้ SME D Bank ยังให้บริการด้านการพัฒนาธุรกิจครบวงจรควบคู่ด้วย ผ่านแพลตฟอร์ม DX by SME D Bank (dx.smebank.co.th) ใช้บริการได้สะดวกสบาย ตลอด 24 ชม. มีฟีเจอร์สำคัญ ๆ  เช่น ระบบ  “Business Health Check”  ตรวจสุขภาพทางธุรกิจ  ระบบ E-Learning รวบรวมหลักสูตรความรู้สำคัญ ช่วยเพิ่มศักยภาพการประกอบธุรกิจ เรียนรู้ได้ด้วยตัวเองตลอด 24 ชั่วโมง ระบบ SME D Activity จองเข้าร่วมกิจกรรมเติมความรู้ได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี ระบบ SME D Coach มีโค้ชมืออาชีพคอยเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำธุรกิจ  ระบบ SME D Market ช่วยขยายตลาดด้วย E-marketplace หนุนจับคู่ธุรกิจ  และระบบ SME D Privilege  ที่มอบสิทธิประโยชน์พิเศษมากมาย เป็นต้น  ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี สามารถแจ้งความประสงค์เข้ารับบริการด้านการเงิน และการพัฒนาจาก SME D Bank ได้ผ่านสาขา SME D Bank ทั่วประเทศ หรือช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เช่น LINE Official Account : SME Development Bank  และ www.smebank.co.th เป็นต้น  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

26 Jun 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner