Responsive image

Thursday, 17 Jul 2025

หน้าแรก > INSURANCE / ประกันภัย - ประกันชีวิต


กรุงเทพประกันชีวิต ปักธงสร้างการเติบโต 2 เท่าใน 5 ปี เผย 3 กลยุทธ์ SML เน้นการมอบประสบการณ์ที่ดี วางเป้าเบี้ยปีแรกแตะ 10,000 ล้านใน 3 ปี

Sun 04/02/2567


กรุงเทพประกันชีวิต ประกาศขอเติบโตเบี้ยรับปีแรกและรายได้ตัวแทนเพิ่ม 2 เท่า ใน 5 ปี ตอกย้ำนโยบาย “ใส่ใจ” ในทุกมิติ ทั้งลูกค้า ตัวแทน ผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้าทุกกลุ่ม เผย 3 กลยุทธ์ SML เพิ่มศักยภาพตัวแทน และพัฒนาช่องทางการขายที่หลากหลายทั้งธนาคาร พันธมิตรและออนไลน์ พร้อมวางเป้าหมายท้าทายใน 3 ปี 2567 2569 เบี้ยประกันรับปีแรกรวมแตะ 10,000 ล้านบาท

นายโชน โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าที่บริหาร บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงกลยุทธ์การดำเนินงานในปี 2567 ว่า  บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน เน้นปรัชญาการทำงานบนความ “ใส่ใจ” ในทุกมิติ ด้วยความเข้าใจ จริงใจ และ การดูแลด้วยใจ พร้อมปลูกฝังทัศนคติให้กับบุคลากรและตัวแทนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป้าหมายในการเป็นแบรนด์ที่เข้าใจ จริงใจ ใส่ใจ (The Most Caring Brand) ที่ดูแลลูกค้ามากกว่าแค่การประกันชีวิต

นายโชนกล่าวว่า ในปีนี้ กรุงเทพประกันชีวิตจะขับเคลื่อน 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 บริษัทฯ จะยกระดับการให้ความคุ้มครองและการบริการแก่ผู้ถือกรมธรรม์ให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีตลอดอายุสัญญา ตั้งแต่การรับฟังรายละเอียดแบบประกันที่ตรงความต้องการ การตัดสินใจทำประกัน การดูแลในช่วงความคุ้มครอง ไปจนถึงการเรียกร้องสินไหม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับลูกค้าของกรุงเทพประกันชีวิต รวมไปถึงการพัฒนาบริการและบริการเสริมด้านสุขภาพ BLA Every Care ที่กรุงเทพประกันชีวิตให้มากกว่าความคาดหวังของผู้ถือกรมธรรม์ โดยในปี 2567 นี้ บริษัทฯ ได้จัดเตรียมบริการเสริมด้านสุขภาพอื่นๆ ให้แก่ลูกค้า  โดยมีการทำงานร่วมกับโรงพยาบาลพันธมิตรต่าง ๆ รวมทั้งยังเพิ่มสิทธิประโยชน์ใหม่ 5 ด้านตามไลฟ์สไตล์ของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นด้าน สุขภาพ, การท่องเที่ยว, ของขวัญในโอกาสพิเศษ, คอร์สอบรมสัมมนา และ การสร้างประสบการณ์พิเศษตามไลฟ์สไตล์ 

ด้านที่ 2 บริษัทฯ จะให้การสนับสนุนและเพิ่มศักยภาพของตัวแทนขายและที่ปรึกษาการเงิน รวมถึงการเพิ่มช่องทางจำหน่าย โดยบริษัทฯ ได้ประกาศเป้าหมายกับผู้บริหารตัวแทนทั่วประเทศในการสร้างเป้าหมายการเติบโตของเบี้ยรับประกันภัยปีแรกและรายได้ตัวแทนเป็น 2 เท่า โดยวางแผนการเติบโตปีละ 15% ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 5 ปี โดยมีกลยุทธ์ขับเคลื่อน 3 ด้าน หรือ SML คือ Special Campaign เพื่อสร้างและสนับสนุนให้เกิดการทำงานที่มีศักยภาพ  Modernization พัฒนาการทำงานให้ทันสมัยเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานอย่างไร้ความกังวล อาทิ เครื่องมือ AAM (Agent Activity Management) ที่ทันสมัย เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้เข้าถึงแบบประกันของกรุงเทพประกันชีวิตสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น และ Localization สนับสนุนกิจกรรมในพื้นที่ต่างๆของตัวแทน

“ในปีนี้ บริษัทฯ ยังได้พัฒนาการขายผ่านช่องทางจำหน่ายอื่นๆ ทั้งช่องทางของพันธมิตร และ ช่องทางออนไลน์ โดยในปี 2567 เรามีเป้าหมายสร้างการเติบโตในช่องทางธนาคาร ด้วยการเพิ่มจำนวนผู้ถือกรมธรรม์ของกรุงเทพประกันชีวิตให้มากขึ้น นอกจากนี้ จะมีการเพิ่มการทำงานร่วมกับกลุ่มคู่ค้าที่มีศักยภาพสูง เพื่อให้เข้าใจความต้องการและการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการเสริมความแข็งแกร่งเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ซึ่งทั้งหมด คือสิ่งที่กรุงเทพประกันชีวิตมุ่งมั่น และพร้อมจะก้าวไป โดยวางเป้าหมายที่ท้าทายใน 3 ปีนี้ คือ ปี 2567 – 2569 ที่คาดว่าเราจะมีเบี้ยประกันรับปีแรกรวมแตะ 10,000 ล้านบาท” นายโชนกล่าว พร้อมเพิ่มเติมว่า

ในปี 2566 กรุงเทพประกันชีวิตประสบความสำเร็จจากการยกระดับคุณภาพการให้บริการด้านต่างๆ ด้วยความใส่ใจจนสร้างความประทับใจจากลูกค้าในหลายด้าน อาทิ การได้รับคะแนน Net Promotor Scores หรือ NPS Score ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความพึงพอใจลูกค้าสำหรับ Fax Claim มากถึง 71% การได้รับการตอบรับจากลูกค้าในการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน BLA Happy Life เพื่อใช้งานมากกว่า 200,000 คน และยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งแอปพลิเคชันดังกล่าวได้รับการพัฒนาให้มีความรวดเร็ว ง่ายต่อการใช้งาน เพื่อให้ผู้ถือกรมธรรม์ได้รับความสะดวกในการติดต่อและทำธุรกรรมได้ด้วยตนเอง ทำให้สามารถสื่อสารและให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

“นอกจากนี้ ยังมีการเติบโตด้านของช่องทางจำหน่ายทั้งธนาคารและพันธมิตร โดยเฉพาะช่องทางธนาคารกรุงเทพสามารถสร้างยอดขายได้ถึง 68 ล้านบาท ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเนื่องจากเราเพิ่งเปิดให้ลูกค้าสามารถซื้อประกันสะสมทรัพย์ Gain1st ผ่านโมบายแบงก์กิ้งของธนาคารกรุงเทพเมื่อปีที่ผ่านมา และในปีนี้ยังจะเพิ่มแบบประกันใหม่ๆเพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือกที่ตรงใจมากขึ้น และยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรกว่า 15 ราย เพื่อมอบความคุ้มครองให้กับลูกค้าทุกคนได้อย่างทั่วถึง” นายโชนกล่าว

 

ในปีที่ผ่านมา กรุงเทพประกันชีวิตประสบความสำเร็จในการสร้างตัวแทนประกันชีวิตใหม่เพิ่มขึ้นถึง 28%  ซึ่งช่วยสร้างความแข็งแกร่งช่องทางตัวแทนและทำให้สามารถบริการลูกค้าได้ทั่วถึงและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยบริษัทฯยังได้ให้การสนับสนุนการทำงานของตัวแทน ภายใต้แคมเปญ “ใส่ใจสตอรี่” โดยเป็นการนำเสนอคลิปวีดิโอเรื่องราวดีๆระหว่างตัวแทนประกันชีวิตกับลูกค้าในแง่มุมต่างๆที่เป็นเรื่องจริง ซึ่งได้เผยแพร่ไปแล้ว 4 ตอน และมีผู้เข้าชมไปกว่า 5.7 ล้านครั้ง ซึ่งในปีนี้ ยังได้ขยายผลกับโครงการมอบรางวัล “Best Caring Award เพื่อเชิดชูเกียรติแก่บุคลากรของกรุงเทพประกันชีวิต และส่งต่อเรื่องราวในการทำงานอันเป็นแบบอย่างที่ดีของความทุ่มเทและใส่ใจ สร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้าอย่างเป็นเลิศ

ทั้งนี้ ในปี 2566  กรุงเทพประกันชีวิตประสบความสำเร็จด้วยรางวัลต่างๆ มากมายซึ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงพัฒนาการและความตั้งใจของบริษัท สร้างความน่าเชื่อถือและช่วยยกระดับการให้ความคุ้มครองและบริการแก่ผู้ถือกรมธรรม์ อาทิ

  • รางวัลด้านบริการ ได้แก่รางวัล Best Customer Services Life Insurance Company Thailand 2023 จาก International Finance Magazine และ Most Trusted Insurance Service Provider Thailand 2023 จาก World Business Outlook Magazine ตอกย้ำความสำเร็จตามเป้าหมายในการเป็นบริษัทประกันชีวิตชั้นนำที่ให้ความใส่ใจกับลูกค้าและสังคม พร้อมพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อมอบการบริการที่ดีที่สุด 
  • รางวัลด้านองค์กร ได้แก่รางวัล สุดยอดองค์กรธุรกิจไทย “Most Admired Company Awards จากThailand Top Company Awards/Business+ Magazine รางวัลด้านความปลอดภัยของระบบสารสนเทศและดิจิทัล ได้แก่รางวัลความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ยอดเยี่ยมระดับประเทศ Thailand Cybersecurity Excellence Awards 2023
  • รางวัลด้านผลิตภัณฑ์ ในปี 2566 กรุงเทพประกันชีวิตได้รับรางวัลจากประกันสุขภาพสำหรับเด็ก จากผลิตภัณฑ์ แวลู เฮลธ์ (คิดส์) “Value Health Kids” ถึง 2 รางวัล คือ รางวัลประกันสุขภาพเด็กที่น่าจับตามองที่สุดในอาเซียน “Best Health Insurance For Family” จัดโดย The Asian Parent คอมมูนิตี้ออนไลน์ของครอบครัวอันดับ 1 ในอาเซียน และ รางวัล “Best Health Insurance for Kids” จากงาน Amarin Baby & Kids Awards 2023 

Tags : กรุงเทพประกันชีวิต โชน โสภณพนิช กรุงเทพประกันชีวิตเปิดแผนงานปี 2567


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อเร็ว ๆ นี้      

14 Jul 2025

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner