Responsive image

Wednesday, 06 Nov 2024

หน้าแรก > ECONOMY-FINANCE/เศรษฐกิจ-การเงิน


สำนักวิจัย CIMB Thai ห่วง อย่าให้สงครามค่าเงินเป็นคำตอบ

Fri 23/02/2567


ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า นับเป็นประเด็นการเมืองและเศรษฐกิจที่น่าติดตาม ระหว่างรัฐบาลที่คาดหวังการลดดอกเบี้ยเพื่อพยุงเศรษฐกิจกับแบงก์ชาติที่ยังตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ ความขัดแย้งด้านทิศทางดอกเบี้ยมีส่วนกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ โดยในช่วงสัปดาห์การประชุมกนง. เงินบาทอ่อนค่าที่สุดในภูมิภาค และโดยเฉพาะหลังตัวเลขเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปี 2566 ขยายตัวต่ำจากปีก่อนหน้า และหดตัวเทียบไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งย้ำถึงแรงกดดันในการลดดอกเบี้ยในวันที่ 10 เมษายนนี้ มากขึ้น

อย่างไรก็ดี ดอกเบี้ยไม่ใช่ยารักษาทุกโรค หากหวังพึ่งพาดอกเบี้ยนโยบาย การลดดอกเบี้ยเพียง 0.25 หรือ 0.50% ไม่เพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ต้องลดลงถึง 1.25% จึงจะมากพอ ซึ่งเป็นการปรับลดในระดับวิกฤติการเงิน และเป็นระดับเดียวกับก่อนเกิดวิกฤติโควิด ผลข้างเคียงของการลดดอกเบี้ยเช่นนี้ จะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่า และอาจเป็นการประกาศสงครามค่าเงินกับเพื่อนบ้าน เพราะบาทที่อ่อนจะแย่งชิงความสามารถในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง และอาจลามเป็นการอ่อนค่าของค่าเงินในภูมิภาคได้ในภายหลัง

“ผมมองว่า หนทางแก้เกมที่ดีที่สุด คือ ประสานนโยบายการเงินและการคลัง ตอนนี้เหมือนเรากำลังดูทีมฟุตบอลที่กองหน้าเขี่ยบอลให้กองหลังวิ่งขึ้นมาทำประตู อาจเพราะมีผู้เล่นบาดเจ็บ (งบประมาณยังไม่ออกจนเดือนพฤษภาคม) แต่กองหลังก็ไม่ขยับมาเล่นกองกลาง ยังเตะบอลให้กองหน้า เพราะห่วงรักษาประตู (เน้นดูแลเสถียรภาพของตลาดเงินและเศรษฐกิจ) คนดูก็เชียร์กันไปคนละข้าง เศรษฐกิจไทยก็ยากที่จะเดินหน้าได้ คงต้องหาทางแก้เกมกันว่าจะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อประสานผู้เล่นในทีมนี้” ดร. อมรเทพ กล่าว

ทำไมยังไม่ถึงเวลาลดอัตราดอกเบี้ย

หากพิจารณาถ้อยแถลงและการสื่อสารของคณะกรรมการนโยบายการเงิน จะพบหลากหลายปัจจัยที่บ่งบอกว่าทำไมยังไม่ถึงเวลาลดอัตราดอกเบี้ย ผมลองตีความได้สามปัจจัยดังนี้

1. เศรษฐกิจไทยเติบโตช้า มาจากปัญหาเชิงโครงสร้าง ไม่ได้มาจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไป

ปัญหาเชิงโครงสร้างมาจากการขาดความเชื่อมโยงของภาคการผลิตไทยในห่วงโซ่อุปทานโลก การส่งออกขยายตัวต่ำแม้อุปสงค์ตลาดโลกกำลังฟื้นตัวได้ดี การขาดความสามารถในการแข่งขันหรือขาดสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาดโลก ยกตัวอย่าง ไทยเป็นแหล่งผลิต Hard Disk Drive (HDD) แต่โลกกำลังเปลี่ยนไปใช้ Solid State Drive (SSD) หรือ การนำเข้าสินค้าจากจีนทำให้ SME ไทยต้องทยอยปิดกิจการไป ขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐก็น้อยและล่าช้า กระทบเศรษฐกิจไทยช่วงที่ผ่านมา

2. อัตราเงินเฟ้อต่ำ ไม่ได้มาจากอุปสงค์ที่อ่อนแอ

อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลง ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการภาครัฐ ที่ส่งผลต่อราคาพลังงานในประเทศปรับลดลง แต่เป็นการบรรเทาปัญหาชั่วคราว และไม่ได้มาจากอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอ (อันนี้ผมเห็นต่าง ผมว่ามีส่วนบ้างที่อุปสงค์ในประเทศอ่อนแอทำให้การปรับราคาขึ้นทำได้ยาก) ทางแบงก์ชาติยังย้ำว่าระดับราคาสินค้าและบริการที่ปรับลดลงมาแต่ยังสูงเมื่อเทียบช่วงก่อนโควิด และมองว่าหากอุปสงค์ในประเทศยังดี การใช้นโยบายการเงินมากระตุ้นก็อาจไม่ตรงจุด น่าไปแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างภาคการผลิตและการส่งออกมากกว่า

3. ผลข้างเคียงจากการลดดอกเบี้ยที่เร็วเกินไป

การลดดอกเบี้ยช่วงที่อุปสงค์ในประเทศยังแข็งแรง การบริโภคยังเติบโตได้ อาจส่งผลข้างเคียงให้ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ปรับตัวขึ้นมารวดเร็วช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น ปรับเพิ่มสูงขึ้นไปอีก ส่งผลเสียต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว การคงอัตราดอกเบี้ยไว้ก่อน เพื่อรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย หรือเก็บ policy space ไว้ใช้ยามจำเป็น

ดอกเบี้ยไม่ใช่ยารักษาทุกโรค

ต่อให้ลดดอกเบี้ยลง ก็ทำได้เพียงพยุงเศรษฐกิจ ไม่ได้กระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวเหนือ 4% และการลดดอกเบี้ยนโยบายเพียง 0.25-0.50% ก็ไม่ช่วยลดรายจ่ายด้านดอกเบี้ยลงอย่างมีนัยะสำคัญ อาจพอลดความตึงเครียดได้บ้าง สร้างแรงจูงใจให้คนมาใช้จ่ายและลงทุนได้มากขึ้น แต่การส่งผ่านของการลดอัตราดอกเบี้ยต่อเศรษฐกิจจริงอาจใช้เวลาถึง 6 เดือน ต่างกับมาตรการทางการคลังที่อัดฉีดเงินเข้ากระเป๋าคนเพื่อนำไปใช้จ่ายได้ทันที และสามารถดูแลผู้เดือดร้อนได้ตรงกลุ่ม มากกว่านโยบายการเงินที่หว่านแหในวงกว้าง และการลดดอกเบี้ยก็มีผลข้างเคียงที่เปรียบเหมือนยา อาจทำให้เกิดอาการหนี้ครัวเรือนที่เพิ่ม สินทรัพย์ไทยขาดความน่าสนใจจนต่างชาติเทขาย ทำเงินบาทอ่อนค่า กระทบสินค้านำเข้าให้มีราคาสูงขึ้นได้

อย่าให้สงครามค่าเงินเป็นคำตอบ

ผมกังวลว่า ผู้กำหนดนโยบายจะเห็นว่าหนทางที่เร็วที่สุด (quick win) อาจจะเป็นการปล่อยให้เงินบาทอ่อนค่า ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม การลดดอกเบี้ยในระด้บมากพอจะกระตุ้นเศรษฐกิจ กำลังซื้อ การลงทุน และทำให้บาทอ่อนค่าแรงพอจะสร้างความสามารถการแข่งขัน แต่ต้องระวังผลข้างเคียง ต้นทุนนำเข้าเพิ่มสูง โดยเฉพาะราคาน้ำมัน หรือกลุ่มที่มีสัดส่วนการนำเข้าเพื่อการผลิตสูง เช่น อาหารทะเลกระป๋อง เครื่องจักรอุตสาหกรรม และเครื่องมือแพทย์ แต่ก็พอจะมีกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากบาทอ่อน เช่น กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร และกลุ่มส่งออก เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง สินค้าเกษตรอื่นๆ ยานยนต์และส่วนประกอบ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ และนิคมอุตสาหกรรม การลดดอกเบี้ยของไทย จะเป็นการประกาศสงครามค่าเงินกับเพื่อนบ้านหรือไม่ และอาจลามเป็นการอ่อนค่าของค่าเงินในภูมิภาคได้ในภายหลัง แม้ไม่ได้รุนแรงเหมือนวิกฤติต้มยำกุ้ง แต่หากเงินบาทวิ่งไปที่ระดับ 40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อาจมีคนบางกลุ่มได้รับผลกระทบ

“ผมมองว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่อ่อนแอและปราศจากมาตรการทางการคลังในการสนับสนุนเช่นนี้ คงต้องอาศัยการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อสร้างความเชื่อมั่น เสริมสภาพคล่อง และกดดันเงินบาทให้อ่อนค่า แต่ก็หวังว่า แบงก์ชาติยังมีหนทางอื่นในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยมาตรการทางการเงินอื่นๆ มาเสริมได้อีก เช่น การลดข้อจำกัดในการปล่อยสินเชื่อ ลดวงเงิน LTV และยืดระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้สำหรับลูกหนี้ที่มีปัญหา อย่างไรก็ดี มาตรการเหล่านี้ก็ทำได้เพียงประคองเศรษฐกิจให้มีความหวังว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้เหนือระดับ 2% แต่จะกระตุ้นให้ถึง 3% ได้หรือไม่ก็คงต้องรอดูมาตรการต่างๆ จากรัฐบาลอีกที” ดร.อมรเทพ กล่าว

 

           

 


Tags : สำนักวิจัย CIMB Thai ซีไอเอ็มบี ไทย ดร.อมรเทพ จาวะลา ซีไอเอ็มบี ไทย วิเคราะห์เศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ย


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดกิจกรรมพิเศษ ในโอกาสครบรอบวันสถาปนา ธ.ก.ส. ปีที่ 59 เพื่อเพิ่มโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อสินค้าเกษตรกรได้มากขึ้น พร้อมกับร่วมเป็นกำลังใจให้แก่เกษตรกรวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ SME ในการผลิตสินค้าคุณภาพเพื่อต่อยอดโอกาสทางธุรกิจของภาคเกษตรไทยไปสู่สากล โดยมอบโค้ด “BAAC59” สำหรับเป็นส่วนลดพิเศษจำนวน 590 บาท เมื่อสั่งซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์จากเกษตรกรลูกค้าของ ธ.ก.ส. บนเว็บไซต์ thailandpostmart.com รวมขั้นต่ำ 1,000 บาท โดย 1 บัญชี ผู้ซื้อที่ลงทะเบียนเข้าใช้บริการทางเว็บไซต์ดังกล่าว สามารถใช้โค้ดส่วนลดได้ 1 ครั้ง จำกัดสำหรับ 59 สิทธิ์ท่านแรกที่ใช้  ส่วนลด ระหว่าง 1-30 พฤศจิกายนนี้เท่านั้น ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center  02 555 0555     

04 Nov 2024

...

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน รับ 3 รางวัลสุดยอดซีอีโอ “CEO Econmass Awards 2024” จากนางสาวเเพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประธานมอบรางวัลสุดยอดซีอีโอ “CEO Econmass Awards 2024” ซึ่งสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 3   โดยรางวัลที่ได้รับ ประกอบด้วย รางวัลสุดยอดซีอีโอรัฐวิสาหกิจ สาขา Social และสาขา Governance และรางวัลสุดยอดซีอีโอขวัญใจสื่อมวลชน (Popular Vote) ด้วยนายวิทัยเป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กรรัฐวิสาหกิจที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในการขับเคลื่อนธนาคารออมสินด้วยยุทธศาสตร์ธนาคารเพื่อสังคม สร้าง Social Impact อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยหลักธรรมาภิบาลในการนำองค์กร ทั้งนี้ รางวัล CEO Econmass Awards 2024 เป็นรางวัลที่ยกย่อง เชิดชูเกียรติผู้บริหารที่นำพาองค์กรจนประสบความสำเร็จ และเติบโตไปพร้อมกับการให้ความสำคัญกับความอย่างยั่งยืน ตามแนวทาง ESG     ตลอดจนเป็นส่วนสำคัญที่จะเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศ และช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคง ซึ่งผ่านกระบวนการคัดเลือกตามหลักวิชาการที่เป็นมาตรฐานสากล จากคณะกรรมการคัดเลือกที่มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญ เป็นตัวแทนจาก กกร. สคร. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน ส่วนรางวัลสุดยอดซีอีโอขวัญใจสื่อมวลชน เป็นการโหวตโดยสมาชิกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ โดยมีผู้บริหารธนาคารออมสินร่วมแสดงความยินดี ณ โรงละครอักษรา คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2567  

03 Nov 2024

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งรัดการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนในการช่วยเหลือประชาชนลดภาระหนี้ โดยเฉพาะผู้มีหนี้ที่เป็นกลุ่มเปราะบาง จึงมอบหมายให้ธนาคารออมสินช่วยเหลือลูกหนี้โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่มีสถานะเป็นหนี้เสีย หรือ NPLs เพื่อไม่ให้เสียประวัติเครดิต และเข้าถึงการกู้เงินในระบบสถาบันการเงินได้เป็นปกติ ซึ่งที่ผ่านมาได้ทยอยจัดสรรงบประมาณชดเชยค่าเสียหายจากหนี้เสียให้ธนาคารมาชำระหนี้แทนลูกหนี้ โดยในปี 2567 ดำเนินการชำระหนี้แทนลูกหนี้แล้ว 2 ครั้ง ช่วยปลดหนี้ให้ลูกหนี้จำนวนกว่า 720,000 ราย และล่าสุด ธนาคารได้รับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมจากรัฐบาล จึงดำเนินการชำระหนี้และปิดบัญชีให้ลูกหนี้เพิ่มเติมทันที อีกกว่า 110,000 ราย รวมดำเนินการทั้งสิ้น 3 ครั้ง สามารถปลดหนี้ให้ลูกหนี้ได้แล้วกว่า 830,000 ราย คิดเป็นมูลค่าเงินต้นรวมกว่า 5,800 ล้านบาท ทั้งนี้ ขอขอบคุณรัฐบาลที่ได้สนับสนุนงบประมาณให้ดำเนินการดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและกระทรวงการคลังที่ให้ธนาคารออมสินดำเนินงานโดยไม่เน้นกำไรสูงสุด มีกำไรในระดับที่เหมาะสม (Responsible Profit) และขยายการช่วยเหลือสังคมได้มากขึ้นในทุกมิติ อนึ่ง มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สถานะ NPLs ของโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ซึ่งเป็นการช่วยเหลือที่ดำเนินการเพียงครั้งเดียวเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เสียวินัยทางการเงิน โดยรัฐบาลมีนโยบายผลักดันการแก้ปัญหาหนี้ประชาชนทุกกลุ่มให้ประสบความสำเร็จและยั่งยืนเป็นวาระแห่งชาติ  

30 Oct 2024

...

  เอไอเอ ประเทศไทย นำโดย นายนิคฮิล แอดวานี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป็นตัวแทนรับรางวัล Insurance Asia Awards 2024 ในสาขา International Life Insurer of the Year - Thailand จากนิตยสาร Insurance Asia ซึ่งได้คัดเลือกบริษัทประกันชีวิตจากทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีความโดดเด่นในการดำเนินงาน ทั้งในด้านการบริการลูกค้าที่ยอดเยี่ยม ตลอดจนการคิดค้นนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และโซลูชันด้านประกันชีวิตและสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ รางวัล Insurance Asia Award 2024 ถือเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของเอไอเอ ประเทศไทย ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการให้บริการและความเป็นผู้นำในด้านนวัตกรรม เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้แก่ลูกค้าทั่วประเทศ อีกทั้งยังตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของเอไอเอที่ต้องการสนับสนุนผู้คนกว่าหนึ่งพันล้านคนให้มีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ตามคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives’

29 Oct 2024

Banner Banner Banner Banner

Banner
  ทิศทาง ceothailand.net ในปี 2567  “สื่อออนไลน์ CEO THAILAND”   ในปี 2567 จะเป็นปีที่ผม “นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์” จะมาทำหน้าที่บรรณาธิการบริหารสื่อ CEO THAILAND และผู้บริหารสื่อออนไลน์ ceothailand.net อย่างเต็มที่ หลังจากที่ผ่านมาได้ไปเดินแผนงานทางด้านการเมือง แต่หลังจากผ่านพ้นช่วงการเลือกตั้งไปแล้วที่ผ่านมา จึงทำให้ช่วงเวลานี้มีเวลาที่จะมาวางแผนในการเดินหน้าธุรกิจสื่อได้มากขึ้น และในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนับจากนี้ จึงขอเข้ามารับหน้าที่สื่อมวลชน ในการเขียนบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ เรื่องราวในแวดวงเศรษฐกิจ-การเงิน และการประกันภัย ในฐานะของคอลัมนิสต์ ตลอดเวลาที่ผมเข้าไปทำงานทางการเมือง ต้องยอมรับว่าวงการข่าวและสื่อสารมวลชนเปลี่ยนไปเร็ว ตลอดเวลา 5 ปี  สื่อออนไลน์ที่รวดเร็วเข้ามาแทนที่สื่อหลักอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ (ออฟไลน์)  เราต้องยอมรับในเรื่องความรวดเร็ว แต่ต้องไม่ลืมจุดด้อยของสื่อออนไลน์ คือข้อผิดพลาดในการกลั่นกรองข่าวสาร รวมทั้งบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ที่หายไป และข่าวที่ออกมามีความเหมือนกัน  ไม่แตกต่าง และเป็นเชิงภาพข่าว และกิจกรรมเท่านั้น ดังนั้นในปี 2567 นี้  ในหน้าสื่อออนไลน์ CEO THAILAND ท่านผู้อ่านจะได้สัมผัสกับข่าวสารเชิงวิเคราะห์ เจาะลึกแบบออนไลน์ต่อเนื่องในสื่อ CEO THAILAND รวมทั้งการจัดทำเป็น E-Magazine ใน www.ceothailand.net รวมทั้งการจัดทำเป็นรูปเล่มฉบับพิเศษสลับไปบ้างในเรื่องที่สำคัญๆ น่าสนใจ และเป็นประโยชน์กับประชาชนและสังคม ขอขอบพระคุณท่านลูกค้าและผู้สนับสนุนสื่อด้วยดีเสมอมา ตลอดระยะเวลา 19 ปีที่ผ่านมา และขอขอบพระคุณทุกท่าน รวมทั้งผู้อ่านที่ติดตามสื่อ CEO THAILAND ด้วยดีเสมอมาใน www.ceothailand.net   นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา) บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner