Responsive image

Friday, 04 Apr 2025

หน้าแรก > ECONOMY-FINANCE/เศรษฐกิจ-การเงิน


“Krungsri SME Trade Power Up” ขานรับสัญญาณส่งออกฟื้น ด้วยวงเงินสินเชื่อเต็มศักยภาพธุรกิจ พร้อมอัดฉีดสิทธิพิเศษเพิ่ม

Thu 29/02/2567


กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการ SME ในธุรกิจนำเข้าและส่งออก เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ “Krungsri SME Trade Power Up” (กรุงศรี เอสเอ็มอี เทรด พาวเวอร์อัพ) สินเชื่อและบริการเพื่อการค้าระหว่างประเทศที่ช่วยเสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อได้ ให้วงเงินสูงเต็มศักยภาพธุรกิจตามความต้องการเงินทุนหมุนเวียนที่มากเพียงพอแก่กิจการ พร้อมสิทธิประโยชน์จากบริการเสริมด้านธุรกรรมการค้าต่างประเทศ ช่วยลดต้นทุนและความเสี่ยงธุรกิจจากการนำเข้า-ส่งออก ให้ธุรกิจสามารถบริการจัดการการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมคว้าโอกาสธุรกิจเติบโตได้เต็มศักยภาพ โดยธนาคารตั้งเป้ายอดขอสินเชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อ SME ในปี 2567 อยู่ที่ 15,000 ล้านบาท

นางสาวดวงกมล ลิมป์พวงทิพย์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจ SME ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “จากที่มีการคาดการณ์ว่าในปี 2567 ภาคการส่งออกไทยจะมีการกลับมาขยายตัวอันเป็นผลจากการฟื้นตัวของการค้าโลก โดยข้อมูลจากสภาพัฒน์ มีการคาดการณ์ว่าจะขยายตัว 2.9% เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง 1.7% กรุงศรีเล็งเห็นถึงโอกาสในการสนับสนุนธุรกิจ SME โดยเฉพาะในภาคส่งออกของไทยให้มีเงินทุนที่เพียงพอต่อการเติบโต รับการขยายตัวของภาคส่งออกที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น อีกทั้งสอดคล้องกับแนวนโยบายในการสนับสนุนโอกาสธุรกิจการค้าระหว่างประเทศให้กับลูกค้าผ่านผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ จึงเป็นที่มาของผลิตภัณฑ์สินเชื่อ Krungsri SME Trade Power Upมีจุดเด่นอยู่ที่วงเงินกู้ไม่จำกัด เพียงมีหลักฐานแสดงถึงศักยภาพของธุรกิจ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการนำเข้าและส่งออก เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้สามารถผลิตหรือจำหน่ายสินค้าได้อย่างคล่องตัว นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังมาพร้อมบริการและสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมการค้าต่างประเทศมากมายที่ช่วยอำนวยความสะดวก ลดภาระค่าใช้จ่ายของค่าธรรมเนียม รวมถึงลดความเสี่ยงความผันผวนของค่าเงิน ช่วยยกระดับการบริหารจัดการธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ และสามารถคว้าโอกาสเติบโตได้ต่อไป”

ทั้งนี้ Krungsri SME Trade Power Upเป็นสินเชื่อเพื่อการค้าต่างประเทศสำหรับการส่งออกและนำเข้า โดยพิจารณาอนุมัติวงเงินตามความต้องการเงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจและความสามารถในการชำระหนี้  ซึ่งจะทำให้ธุรกิจได้รับวงเงินมากเพียงพอตามศักยภาพของธุรกิจ พร้อมให้วงเงิน FX ตามวงเงิน Trade Finance และส่วนลด 7 สตางค์ สำหรับการโอนเงินต่างประเทศขาออก 9 สกุลเงิน ผ่านบริการ Krungsri Biz Online ได้แก่ USD, JPY, EUR, GBP, AUD, SGD, CAD, CHF และ NZD สำหรับลูกค้าที่สมัครใช้บริการ Krungsri Biz Online ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม- 31 ธันวาคม 2567 และสามารถรับสิทธิ์ได้จนถึง 31 มีนาคม 2568 เพิ่มความสะดวกในการรับ-จ่ายเงินได้ทั่วโลก นอกจากนี้ยังมาพร้อมสิทธิประโยชน์ด้านผลิตภัณฑ์และบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมการค้าต่างประเทศ อาทิ ค่าธรรมเนียมพิเศษสำหรับบริการ LC Advising & Amendment, Collection under LC, Collection under BC/OA, Communication charge SWIFT/TELEX, Outward Transaction fee และ Inward Transaction fee ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธันวาคม 2567 รวมถึงอัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับบัญชีเงินฝากประจำสกุลเงิน USD ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 พฤษภาคม 2567 โดยผู้ขอสินเชื่อต้องเป็นนิติบุคคลธุรกิจนำเข้า และ/หรือส่งออกที่จดทะเบียนในประเทศไทย ประกอบกิจการในประเทศไทยมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ปี มีผลประกอบการและประวัติการเงินดี มีรายได้ต่อปี 100 ล้านบาทขึ้นไป โดยจะต้องไม่มีสินเชื่อ Trade Finance และไม่มีธุรกรรม Trade กับธนาคารกรุงศรีอยุธยามาก่อน

“กรุงศรีตั้งเป้ายอดการขอสินเชื่อดังกล่าวในปี 2567 ที่ 15,000 ล้านบาท โดยหวังว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะเป็นตัวช่วยเสริมทัพธุรกิจให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น พร้อมที่จะช่วยขับเคลื่อนภาคการส่งออกและเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไป ซึ่งนอกเหนือจากผลิตภัณฑ์ทางการเงินแล้ว กรุงศรียังพร้อมสร้างโอกาสทางธุรกิจในต่างประเทศให้กับลูกค้าของธนาคารผ่านกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ ตลอดจนให้บริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจสำหรับลูกค้าที่ต้องการขยายธุรกิจสู่อาเซียนอีกด้วยเช่นกัน” นางสาวดวงกมล กล่าวสรุป

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจ สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สาขาของธนาคาร หรือติดต่อผู้ดูแลความสัมพันธ์ลูกค้าของธนาคาร หรือศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจกรุงศรี โทร. 02-626-6262 โดยเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

 


Tags : ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กรุงศรี กรุงศรีอยุธยา กรุงศรีเอสเอ็มอีเทรดพาวเวอร์อัพ ดวงกมลลิมป์พวงทิพย์ KrungsriSMETradePowerUp สินเชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อSME


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

SME D Bank ออกมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว  ได้แก่ พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย  สูงสุด 12 เดือน  และเติมทุนฉุกเฉิน เพื่อซ่อมแซมฟื้นฟูกิจการ       นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  กล่าวว่า จากการเกิดเหตุแผ่นดินไหวในช่วงบ่ายของวันที่ 28 มีนาคม 2568  ธนาคารห่วงใยลูกค้าและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างยิ่ง  จึงออกมาตรการช่วยเหลือเร่งด่วนให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถกลับมาเดินหน้าธุรกิจได้ในเร็ววัน   ได้แก่  มาตรการ “พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย” สำหรับลูกค้าธนาคารที่ได้รับผลกระทบทางตรงและทางอ้อม ในพื้นที่ประสบภัยพิบัติตามที่ราชการกำหนด  เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย ด้วยการพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย  สำหรับกลุ่มเงินกู้ยืมแบบมีระยะเวลา (Term loan) สูงสุดไม่เกิน 12 เดือน สัญญาเบิกเงินทุนหมุนเวียนประเภทตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N) และสินเชื่อแฟคตอริ่ง ขยายระยะเวลาชำระตั๋วสัญญาใช้เงินออกไปอีกสูงสุด 180 วัน และสามารถพักชำระดอกเบี้ยได้ มาตรการ “เติมทุนฉุกเฉิน เพื่อซ่อมแซมฟื้นฟูกิจการ”  สำหรับลูกค้าเดิมได้รับผลกระทบทางตรง ที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ภัยพิบัติตามที่ราชการกำหนด  เพื่อให้มีวงเงินกู้ฉุกเฉิน นำไปฟื้นฟูธุรกิจเฉพาะหน้า วงเงินกู้ 10% ของวงเงินเดิม ขั้นต่ำ 30,000 บาท สูงสุด 200,000 บาท (บุคคลธรรมดา สูงสุด 100,000 บาท และนิติบุคคล สูงสุด 200,000 บาท)  อัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี  ระยะเวลากู้ 3 ปี ปลอดชำระเงินต้น 12 เดือน ไม่ต้องมีหลักประกัน    ยกเว้นค่าธรรมเนียม ลดกระบวนการนำส่งเอกสารในการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางตรงเป็นการเร่งด่วน มาตรการช่วยเหลือครั้งนี้เป็นทางเลือกโดยสมัครใจ  ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องการรับบริการ    แจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป  ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น สาขาของ SME D Bank ทุกแห่งทั่วประเทศ  ,  LINE Official Account : SME Development Bank  และเว็บไซต์  www.smebank.co.th เป็นต้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

02 Apr 2025

...

ธนาคารออมสิน ห่วงใยผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา โดยได้ส่งมอบความช่วยเหลือเบื้องต้นในทันที เพื่อสนับสนุนภารกิจของโรงพยาบาลและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในจุดต่าง ๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ธนาคารขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อความสูญเสีย และขอส่งแรงใจไปยังผู้ที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ โดยธนาคารพร้อมสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการส่งมอบมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ ผ่าน 2 มาตรการหลัก คือ 1) มาตรการบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ลูกค้าเดิม โดยให้พักชำระเงินต้นทั้งหมด และลดดอกเบี้ยเป็น 0% เป็นระยะเวลา 3 เดือน สำหรับลูกค้าสินเชื่อธนาคารออมสิน 3 กลุ่ม ที่เดือดร้อนทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หรือคุณภาพชีวิตและการดำเนินธุรกิจได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ได้แก่ ลูกค้าสินเชื่อธนาคารประชาชน ลูกค้าสินเชื่อเคหะที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 5 ล้านบาท และลูกค้าสินเชื่อ SME ที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 10 ล้านบาท 2) มาตรการสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูสำหรับบุคคลทั่วไป ธนาคารมอบสินเชื่อเงื่อนไขพิเศษ ได้แก่ 2.1 สินเชื่อฉุกเฉินผู้ประสบภัยพิบัติ วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท/ราย ระยะเวลาผ่อนชำระ 24 เดือน ปลอดชำระเงินงวด 3 เดือนแรก อัตราดอกเบี้ย 0% สำหรับเดือนที่ 1 - 3 และเดือนที่ 4 เป็นต้นไป คิดอัตราดอกเบี้ย 0.60% ต่อเดือน 2.2 สินเชื่อซ่อมแซมบ้าน วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท/ราย ระยะเวลาผ่อนชำระ 10 ปี สำหรับลูกค้าใหม่ ส่วนลูกค้าปัจจุบันใช้ระยะเวลาผ่อนชำระตามสัญญาเดิม ปีที่ 1 คิดอัตราดอกเบี้ย 0% สำหรับ 3 เดือนแรก และเดือนที่ 4 - 12 = 2% ปีที่ 2 = 2% ปีที่ 3 = MRR-3.35% ปีที่ 4 เป็นต้นไป = MRR-0.75% 2.3 สินเชื่อ SME ฟื้นฟูแผ่นดินไหว วงเงินกู้ไม่เกิน 40 ล้านบาท/ราย ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 10 ปี (ปลอดชำระเงินต้นสูงสุด 9 เดือน) คิดอัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1 - 2 = 2.99% ปีที่ 3 - 4 = MLR/MOR-0.5% และปีที่ 5 เป็นต้นไป = MLR/MOR+0.5% ทั้งนี้ สำหรับวงเงินกู้ไม่เกิน 10 ล้านบาท ธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ย 3 เดือนแรก = 0% หลังจากนั้น เดือนที่ 4 - 24 = 2.99% ปีที่ 3 - 4 = MLR/MOR-0.5% และปีที่ 5 เป็นต้นไป = MLR/MOR+0.5% โดยลูกค้าและบุคคลทั่วไปสามารถติดต่อได้ที่สาขาธนาคารออมสินหรือสาขาที่มีบัญชีเงินกู้อยู่ เพื่อแจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนได้ตั้งแต่วันที่ 1-31 พฤษภาคม 2568 และยื่นขอสินเชื่อได้ตั้งแต่วันที่1 เมษายน – 30 กันยายน 2568 เงื่อนไขเป็นไปตามประกาศของธนาคาร หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมหรือความช่วยเหลืออื่นใด โปรดติดต่อ GSB Contact Center โทร. 1115 และที่เว็บไซต์ www.gsb.or.th       

01 Apr 2025

...

ตามที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ในประเทศพม่านั้น ในเหตุการณ์ครั้งนี้ มี “อาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแห่งใหม่” (อาคาร สตง.) ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างได้ถล่มลงมาทั้งหลัง โดยโครงการก่อสร้างดังกล่าว ได้มีการทำประกันภัยไว้กับบริษัทผู้รับประกันภัยร่วมจำนวน 4 บริษัท ได้แก่ บมจ. ทิพยประกันภัย สัดส่วน 40% บมจ. กรุงเทพประกันภัย 25%  บมจ.อินทรประกันภัย 25%  บมจ.วิริยะประกันภัย 10% โดยมีทุนประกันภัยเป็น 3 หมวด ดังนี้ 1) มูลค่างานก่อสร้างตามสัญญา 2,136 ล้านบาท 2) ทรัพย์สินเดิมของผู้ว่าจ้าง 5 ล้านบาท 3) ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก 30 ล้านบาทต่อครั้ง และ 100 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย โดยมีเงื่อนไขความรับผิดส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอง 20% ของความเสียหายสำหรับแต่ละเหตุการณ์ ซึ่งในส่วน 40% ของทิพยประกันภัยนั้น บริษัทฯ ได้มีการจัดทำประกันภัยต่อไว้ในสัดส่วน 95% ของทุนเอาประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัยต่อชั้นนำของโลกที่มีระดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Credit Rating) ไม่ต่ำกว่า A นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้จัดทำสัญญาประกันภัยต่อเพื่อความเสียหายส่วนเกินสำหรับความเสียหายจากภัยพิบัติหรือมหันตภัย (XOL) ไว้อีกด้วย ดังนั้น ทิพยประกันภัยยืนยันว่า แม้จะมีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนในกรณีนี้ บริษัทฯ ยังคงมีความมั่นคงทางการเงิน และไม่มีผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของบริษัทฯ อย่างมีนัยสำคัญ อนึ่งในการพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีอาคาร สตง. นั้น จะต้องพิจารณาถึงมูลค่าของอาคาร ณ เวลาที่เกิดเหตุ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีการพิจารณาว่าอาคารดังกล่าว ได้มีการดำเนินการก่อสร้างไปแล้วเป็นร้อยละเท่าไรของมูลค่าโครงการทั้งหมด เช่น หากการก่อสร้างแล้วเสร็จ 50% ความเสียหายที่จะได้รับความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยก็จะเป็นเพียง 50% ของทุนเอาประกันภัยเท่านั้น ทั้งนี้ มูลค่าของโครงการนี้ ณ วันเวลาที่เกิดเหตุจะถูกประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญต่อไป นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้มีการจัดเตรียมทีมงานและความพร้อมในการรับแจ้งเคลมตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเพื่อตอบข้อซักถาม และอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า โดยพร้อมที่จะพิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างรวดเร็ว ผู้เอาประกันภัยที่ได้รับผลกระทบสามารถติดต่อแจ้งเคลมและขอรับความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าของทิพยประกันภัย โทร. 1736 กด 5199 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ Line : dhipayainsurance  หรือ อีเมล : general-claim@dhipaya.co.th    ทิพยประกันภัย มุ่งมั่นในการให้บริการที่เป็นเลิศ และจะเดินหน้าดูแลลูกค้าทุกท่านด้วยความรับผิดชอบ โปร่งใส และเป็นธรรม โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดและความมั่นใจให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่องต่อไป  

31 Mar 2025

...

  นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่า จากเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน สำนักงาน คปภ. ร่วมกับ สมาคมประกันชีวิต และสมาคมประกันวินาศภัย เร่งติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด พร้อมสั่งการให้บริษัทประกันภัยเตรียมพร้อมดำเนินการช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ สำนักงาน คปภ. ขอแสดงความห่วงใยต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้ และขอให้ผู้เอาประกันภัยที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวตรวจสอบกรมธรรม์ของตนเอง หรือติดต่อบริษัทประกันภัยที่ได้ทำประกันภัยไว้ และขอย้ำว่าทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องพร้อมดูแลและให้ความช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยอย่างใกล้ชิด เพื่อเร่งฟื้นฟูความเสียหายให้กลับคืนโดยเร็ว ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน คปภ. 1186 หรือ ช่องทาง Chatbot @oicconnect

30 Mar 2025

Banner Banner Banner Banner Banner

Banner
  ทิศทาง ceothailand.net ในปี 2567  “สื่อออนไลน์ CEO THAILAND”   ในปี 2567 จะเป็นปีที่ผม “นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์” จะมาทำหน้าที่บรรณาธิการบริหารสื่อ CEO THAILAND และผู้บริหารสื่อออนไลน์ ceothailand.net อย่างเต็มที่ หลังจากที่ผ่านมาได้ไปเดินแผนงานทางด้านการเมือง แต่หลังจากผ่านพ้นช่วงการเลือกตั้งไปแล้วที่ผ่านมา จึงทำให้ช่วงเวลานี้มีเวลาที่จะมาวางแผนในการเดินหน้าธุรกิจสื่อได้มากขึ้น และในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนับจากนี้ จึงขอเข้ามารับหน้าที่สื่อมวลชน ในการเขียนบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ เรื่องราวในแวดวงเศรษฐกิจ-การเงิน และการประกันภัย ในฐานะของคอลัมนิสต์ ตลอดเวลาที่ผมเข้าไปทำงานทางการเมือง ต้องยอมรับว่าวงการข่าวและสื่อสารมวลชนเปลี่ยนไปเร็ว ตลอดเวลา 5 ปี  สื่อออนไลน์ที่รวดเร็วเข้ามาแทนที่สื่อหลักอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ (ออฟไลน์)  เราต้องยอมรับในเรื่องความรวดเร็ว แต่ต้องไม่ลืมจุดด้อยของสื่อออนไลน์ คือข้อผิดพลาดในการกลั่นกรองข่าวสาร รวมทั้งบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ที่หายไป และข่าวที่ออกมามีความเหมือนกัน  ไม่แตกต่าง และเป็นเชิงภาพข่าว และกิจกรรมเท่านั้น ดังนั้นในปี 2567 นี้  ในหน้าสื่อออนไลน์ CEO THAILAND ท่านผู้อ่านจะได้สัมผัสกับข่าวสารเชิงวิเคราะห์ เจาะลึกแบบออนไลน์ต่อเนื่องในสื่อ CEO THAILAND รวมทั้งการจัดทำเป็น E-Magazine ใน www.ceothailand.net รวมทั้งการจัดทำเป็นรูปเล่มฉบับพิเศษสลับไปบ้างในเรื่องที่สำคัญๆ น่าสนใจ และเป็นประโยชน์กับประชาชนและสังคม ขอขอบพระคุณท่านลูกค้าและผู้สนับสนุนสื่อด้วยดีเสมอมา ตลอดระยะเวลา 19 ปีที่ผ่านมา และขอขอบพระคุณทุกท่าน รวมทั้งผู้อ่านที่ติดตามสื่อ CEO THAILAND ด้วยดีเสมอมาใน www.ceothailand.net   นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา) บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner