Responsive image

Wednesday, 16 Jul 2025

หน้าแรก > ECONOMY- FINANCE / เศรษฐกิจ - การเงิน


TIDLOR โชว์ผลงานปี 66 แกร่ง กำไรนิวไฮ 3,790 ล้านบาท พร้อมคง NPL ในระดับต่ำที่ 1.45% พร้อมใช้ความแข็งแกร่งด้านเทคโนโลยี สร้างการเติบโตต่อเนื่อง ทั้งสินเชื่อ-นายหน้าประกัน

Sun 10/03/2567


บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR เปิดเผยผลการดำเนินงานประจำปี 2566 โดยบริษัทยังคงมุ่งเน้นการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการด้านการเงิน (Financial Inclusion) ผ่านธุรกิจหลักของบริษัท ได้แก่ ธุรกิจสินเชื่อและนายหน้าประกัน โดยผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่งผลให้บริษัทมีผลประกอบการเติบโต ทำนิวไฮ ทั้งด้านรายได้รวม 18,972 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.2% และมีกำไรสุทธิ 3,790 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.1% จากปีก่อน

โดยพอร์ตสินเชื่อคงค้างยังคงขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ มียอดสินเชื่อรวม 97,456 ล้านบาท ขยายตัว 19.9% (YoY) ซึ่งคุณภาพพอร์ตสินเชื่อรวมอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ดี โดยหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (%NPL) ปรับตัวลดลงจากปีก่อนหน้าและยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ 1.45% ในส่วนของธุรกิจนายหน้าประกันยังคงการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขยายตัวตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยยอดเบี้ยประกันวินาศภัยรวมสำหรับปี 2566 มีมูลค่า 8,743 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.3% (YoY)  นอกจากนี้ อัตราส่วน Cost to Income มีการปรับตัวดีขึ้น ลดลงมาอยู่ที่ 54.9% สะท้อนถึงการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่สนับสนุนการเติบโตของธุรกิจมาจากกลยุทธ์การลงทุนและพัฒนาด้านเทคโนโลยี สะท้อนจากความสำเร็จของ “บัตรติดล้อ” (Tidlor Card) และ “แอปพลิเคชันเงินติดล้อ” ที่ปริมาณการใช้งานยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นปี 2566 ได้มีการส่งมอบบัตรติดล้อแล้วกว่า 644,000 ใบ มีจำนวนผู้ใช้บัตรเพิ่มขึ้น 29.6% (YoY) รวมถึงบริการ “โอนเงินสินเชื่อเข้าบัญชี” ผ่านแอปพลิเคชันเงินติดล้อ ที่เพิ่งเปิดให้บริการในช่วงปลายปี 2566 ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางหลักในการใช้งานของลูกค้า และยังมีช่องทางให้บริการลูกค้าที่หลากหลาย (Omni-Channel) ทั้งช่องทางออฟไลน์ผ่านช่องทางสาขากว่า 1,678 สาขา, ช่องทางออนไลน์ และแพลตฟอร์มดิจิทัล

นอกจากนี้ ธุรกิจนายหน้าประกันของบริษัทฯ ซึ่งถือเป็นเบอร์ 1 ในการให้คำปรึกษาและเสนอขายประกันอย่างมืออาชีพอย่างใกล้ชิด Face to Face และยังเป็นอีกธุรกิจหลักที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตด้านผลการดำเนินงานของบริษัทฯ อีกด้วย โดยในปี 2566 ภาพรวมการดำเนินธุรกิจนายหน้าประกันยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง มียอดเบี้ยประกันวินาศภัยคิดเป็นมูลค่า 8,743 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.3% (YoY) มีการเติบโตที่ดีจากทั้งช่องทางสาขา และแพลตฟอร์มอารีเกเตอร์ (Areegator) รวมถึงโบรกเกอร์ประกันออนไลน์ (heygoody) ที่มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งผ่านช่องทางการให้บริการที่ครอบคลุม สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงประกันอย่างมีนัยสำคัญ

สำหรับภาพรวมผลการดำเนินงานปี 2566 บริษัทมีการเติบโตของรายได้ที่แข็งแกร่ง มีการจัดการต้นทุนและการบริหารคุณภาพสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการตั้งสำรองในระดับที่เหมาะสมและเพียงพอเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจและความเสี่ยงจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงยังคงมุ่งเน้นการเติบโตพอร์ตอย่างมีคุณภาพ ภายใต้กรอบนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่มีความรัดกุมและมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้บริษัทสามารถสร้างผลกำไรที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ยังคงรักษาสถานะทางการเงินที่ดี

ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมา บริษัทยังคงได้รับการจัดอันดับเครดิตองค์กรและอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ที่ระดับ “A” แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” จากทริสเรทติ้ง ซึ่งถือว่าเป็นอันดับสูงสุดในกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน และยังได้รับการจัดอันดับบริษัทจดทะเบียนที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีในระดับ 5 ดาว หรือ “ดีเลิศ” (Excellent CG Scoring) สะท้อนถึงการดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาล มีมาตรฐาน โปร่งใส และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานภาครัฐ

 

นายปิยะศักดิ์ อุกฤษฎ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า ภาพรวมการดำเนินธุรกิจในปี 2566 ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์ของกลยุทธ์การลงทุนในธุรกิจที่มีศักยภาพอย่างธุรกิจนายหน้าประกัน และผลลัพธ์จากการลงทุนด้านเทคโนโลยีซึ่งสะท้อนผ่านความสำเร็จของบัตรติดล้อ และการพัฒนาฟีเจอร์การใช้งานในแอปพลิเคชันเงินติดล้อที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น บริษัทจะยังคงมุ่งเน้นการลงทุนด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการเติบโตในระยะยาว ซึ่งปัจจุบันเราเริ่มเห็นผลตอบแทนจากการลงทุนในช่วงที่ผ่านมา ผ่านประสบการณ์ที่ดีขึ้นของลูกค้าและผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งแม้จะอยู่ในช่วงสภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ก็ตาม และที่สำคัญมากไปกว่านั้น ในปีที่ผ่านมาเรายังคงเดินหน้าลงทุนอย่างต่อเนื่องและยังได้ขยายธุรกิจใหม่ๆ อย่างแบรนด์ “heygoody” โบรกเกอร์ประกันออนไลน์ รวมถึงการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการดำเนินธุรกิจหลักของเราอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เรามีพอร์ตสินเชื่อคงค้างเฉลี่ยต่อสาขาสูงถึง 58 ล้านบาท นอกจากนี้เรายังเป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-Bank) เพียงไม่กี่แห่งที่ยังคงมีวงเงินสินเชื่อที่เพียงพอ และมีฐานะทางการเงินที่มั่นคงจากการตั้งสำรองที่เพียงพอ นั่นทำให้เรายังคงสามารถสร้างโอกาสทางการเงินและส่งเสริมการเข้าถึงประกันให้ประชาชน ตามเจตนาที่เรายึดมั่นได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับเป้าหมายการดำเนินงานในปี 2567 นี้ ตั้งเป้าการเติบโตที่ระดับ 10-20% ทั้งธุรกิจสินเชื่อและนายหน้าประกันวินาศภัย สำหรับท่านนักลงทุนและผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารของ TIDLOR ได้ที่เว็บไซต์ www.tidlorinvestor.com


Tags : TIDLOR เงินติดล้อ เงินติดล้อเผยผลการดำเนินงานปี 66 ปิยะศักดิ์ อุกฤษฎ์นุกูล ธุรกิจนายหน้าประกัน ธุรกิจสินเชื่อและนายหน้าประกัน


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อเร็ว ๆ นี้      

14 Jul 2025

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner