Responsive image

Tuesday, 15 Jul 2025

หน้าแรก > INSURANCE / ประกันภัย - ประกันชีวิต


“คปภ. – ภาคธุรกิจประกันภัย” ร่วมใจส่งความสุขความปลอดภัยในเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 ด้วย 2 กรมธรรม์สุดพิเศษ กรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มสงกรานต์คลายร้อน (ไมโครอินชัวรันส์) และกรมธรรม์ประกันภัยสงกรานต์สุขใจบ้านปลอดภัย (ไมโครอินชัวรันส์)

Tue 16/04/2567


นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิด “โครงการรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ประจำปี 2567 ของสำนักงาน คปภ. และภาคอุตสาหกรรมประกันภัย” ภายใต้แนวคิด ขับขี่อุ่นใจด้วย 5 กัน ได้แก่ กันน็อก (สวมหมวกป้องกัน คาดเข็มขัดนิรภัย) กันหลง (เช็กเส้นทาง เพื่อความรวดเร็วและปลอดภัย) กันพัง (ตรวจสอบสภาพรถยนต์ก่อนเดินทางไกล) กันพลาด (ขับขี่ตามกฎจราจร) และกันภัย โดยมีประกันภัยการเดินทางช่วงสงกรานต์ สำหรับกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์ในครั้งนี้เพื่อสร้างกระแสให้เกิดการรับรู้และกระตุ้นจิตสำนึกในการขับขี่ปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน อีกทั้งให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารตระหนักถึงความปลอดภัย รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงระบบประกันภัยให้มากยิ่งขึ้น โดยมีภาคธุรกิจประกันภัย ผู้บริหารสำนักงาน คปภ. หน่วยงานเครือข่าย ประชาชน และสื่อมวลชน เข้าร่วมการจัดกิจกรรมดังกล่าว ณ บริเวณเกาะพหลโยธิน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

ในโอกาสนี้ สำนักงาน คปภ. ภาคธุรกิจประกันภัย และเครือข่ายพันธมิตรภาคธุรกิจ ได้ร่วมใจกันส่งมอบของขวัญในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 ให้กับประชาชนผ่านกรมธรรม์ 2 กรมธรรม์ คือ กรมธรรม์แรก กรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มสงกรานต์คลายร้อน (ไมโครอินชัวรันส์) เบี้ยประกันภัย 10 บาท โดยผู้เอาประกันภัยต้องมีอายุตั้งแต่ 15 ถึง 70 ปีบริบูรณ์ ณ วันที่ทำประกันภัย ระยะเวลาคุ้มครอง 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 โดยให้ความคุ้มครองหลัก ได้แก่ 1. กรณีเสียชีวิต การสูญเสียมือ เท้า การสูญเสียสายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง เนื่องจากอุบัติเหตุ ไม่รวม การถูกฆาตกรรมลอบทำร้ายร่างกาย และ/หรือ อุบัติเหตุขณะขับขี่ หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท 2. กรณีเสียชีวิต การสูญเสียมือ เท้า การสูญเสียสายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จากการถูกฆาตกรรมลอบทำร้ายร่างกาย และ/หรือ อุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ จำนวนเงินเอาประกันภัย 50,000 บาท 3. กรณีเสียชีวิต การสูญเสียมือ เท้า การสูญเสียสายตาหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงเนื่องจากอุบัติเหตุสาธารณะ จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท 4. ผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่รวม ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการจ้างพยาบาลพิเศษอุปกรณ์ค้ำยันต่าง ๆ (ยกเว้นไม้ค้ำยัน) รถเข็นผู้ป่วย อวัยวะเทียมภายนอกร่างกาย ค่ารักษาพยาบาลโดยแพทย์ทางเลือก (Alternative medicine) การฝังเข็ม จำนวนเงินเอาประกันภัย 5,000 บาท

 

กรมธรรม์ที่สอง คือ กรมธรรม์ประกันสงกรานต์สุขใจบ้านปลอดภัย (ไมโครอินชัวรันส์) เบี้ยประกันภัย 10 บาท โดยมีระยะเวลาคุ้มครอง 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 สำหรับรายละเอียดความคุ้มครอง ได้แก่ 1. กรณีที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายจากไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด ในกรณีที่สิ่งปลูกสร้างเป็นคอนกรีต (มีผนังก่ออิฐถือปูนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ผนังทั้งหมด) ได้รับความคุ้มครอง 30,000 บาท 2. กรณีที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายจากไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด ในกรณีที่สิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ (มีผนังก่ออิฐถือปูนร้อยละ 50-80 ของพื้นที่ผนังทั้งหมด) ได้รับความคุ้มครอง 15,000 บาท 3. กรณีที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายจากไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด ในกรณีที่สิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารที่ไม่ใช่ตึกหรือครึ่งตึกครึ่งไม้และไม่เป็นห้องแถวไม้ (มีผนังเป็นวัสดุอื่น ๆ เช่น ไม้ สังกะสี กระเบื้องแผ่นเรียบมากกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ผนังทั้งหมด) ได้รับความคุ้มครอง 10,000 บาท 4. กรณีที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายจากไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด ในกรณีที่สิ่งปลูกสร้างเป็นห้องแถวไม้ ได้รับความคุ้มครอง 5,000 บาท 5. กรณีที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายจากลมพายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด หรือคลื่นใต้น้ำ หรือสึนามิ หรือภัยจากลูกเห็บ ได้รับความคุ้มครองทุกภัยรวมกันแล้วไม่เกิน 1,000 บาท 6. กรณีการขยายความคุ้มครองค่าเช่าที่อยู่อาศัยชั่วคราว ให้ความคุ้มครองค่าเช่าที่อยู่อาศัยชั่วคราวเป็นจำนวนเงินไม่เกินวันละ 300 บาท และรวมแล้วไม่เกิน 30 วัน ตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย 7. กรณีการประกันภัยโจรกรรม คุ้มครองการลักทรัพย์ที่ปรากฏร่องรอยงัดแงะ การชิงทรัพย์ การปล้นทรัพย์ (จร.2) ที่อยู่อาศัยปัจจุบันของผู้เอาประกันภัย ความเสียหายต่อทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้างที่ระบุร่องรอย ความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างและ/หรือค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนล็อคประตูหน้าต่าง ให้ความคุ้มครอง 5,000 บาท

“สำนักงาน คปภ. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ประชาชนที่จะเดินทางกลับภูมิลำเนาหรือท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย มีความสุข และอุ่นใจกับความคุ้มครองแบบจุใจ กับ 2 กรมธรรม์สุดพิเศษ กรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มสงกรานต์คลายร้อน (ไมโครอินชัวรันส์) และ กรมธรรม์ประกันสงกรานต์สุขใจบ้านปลอดภัย (ไมโครอินชัวรันส์) ด้วยเบี้ยประกันภัยเพียง 10 บาท เท่านั้น โดยผู้เอาประกันภัยแต่ละรายมีสิทธิได้รับกรมธรรม์ประกันภัยจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 1 กรมธรรม์ ต่อผู้ประกอบการ 1 ราย เท่านั้น ผู้สนใจสามารถรับสิทธิได้จากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการหรือซื้อได้ที่บริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 หรือท่านสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.oic.or.th สายด่วน คปภ. 1186 และ Line Official : @oicconnect” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย


Tags : คปภ. สำนักงาน คปภ. เลขาธิการ คปภ. โครงการรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ชูฉัตร ประมูลผล กรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มสงกรานต์


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อเร็ว ๆ นี้      

14 Jul 2025

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner