Responsive image

Wednesday, 16 Jul 2025

หน้าแรก > ECONOMY- FINANCE / เศรษฐกิจ - การเงิน


ออมสิน เปิดให้กู้โครงการ “สินเชื่อออมสินรีไฟแนนซ์เพื่อสังคม”ลดดอกเบี้ย 4 กลุ่มสินเชื่อ ช่วยลูกหนี้บัตรเครดิต ลูกหนี้ P-Loan ลูกหนี้นาโนไฟแนนซ์ ลูกหนี้สินเชื่อบ้าน

Sun 21/04/2567


ตามที่รัฐบาลภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีนโยบายเร่งรัดการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน และได้สั่งการให้ธนาคารออมสินหาแนวทางในการช่วยเหลือประชาชนลดภาระการผ่อนชำระหนี้ที่มีอยู่เดิม โดยเฉพาะผู้มีหนี้ที่เป็นกลุ่มเปราะบาง ตลอดจนผู้ที่ประสบปัญหาสภาพคล่องอันเป็นผลกระทบจากปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ดังนั้น เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายรัฐ และสอดรับกับบทบาทธนาคารเพื่อสังคม ธนาคารจึงพิจารณาออกมาตรการรีไฟแนนซ์ ภายใต้โครงการ “สินเชื่อออมสินรีไฟแนนซ์เพื่อสังคม” รับรีไฟแนนซ์หนี้เดิม (ไม่ใช่การปล่อยสินเชื่อใหม่) เพื่อช่วยลดภาระแก่ลูกหนี้ 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) ลูกหนี้บัตรเครดิต 2) ลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล หรือ Personal Loan (P-Loan) 3) ลูกหนี้สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ (Nano Finance) 4) ลูกหนี้สินเชื่อบ้าน ซึ่งการเปิดให้รีไฟแนนซ์สินเชื่อด้วยหลักเกณฑ์ดอกเบี้ยต่ำ พร้อมเงื่อนไขพิเศษอื่นครั้งนี้ ตั้งเป้าช่วยเหลือประชาชนลดภาระการชำระหนี้ ผ่อนสบายมากขึ้น หรือผู้ที่รีไฟแนนซ์แล้วแต่ประสงค์ผ่อนชำระเงินงวดเท่าเดิม ก็จะตัดเงินต้นมากขึ้นเพราะดอกเบี้ยลดลง ทำให้ปิดหนี้ได้เร็วขึ้น โดยมีรายละเอียดหลักเกณฑ์ทั้ง 4 มาตรการ ดังนี้   

1. Re-Card : รับรีไฟแนนซ์สำหรับลูกหนี้บัตรเครดิต ที่ต้องการกู้เงินเพื่อไปชำระหนี้บัตรเครดิตของสถาบันการเงิน หรือ Non-Bank อื่น โดยการรีไฟแนนซ์/รวมหนี้บัตรเครดิตมาผ่อนชำระกับธนาคารออมสินในรูปแบบเงินกู้ระยะยาว (Long Term Loan) ช่วยลดภาระดอกเบี้ยจากเดิม 16% ต่อปี ลงเหลือ 8.99% ต่อปี (อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น) วงเงินกู้ไม่เกิน    5 เท่าของรายได้รวม สูงสุดไม่เกินรายละ 500,000 บาท และไม่ต้องมีหลักประกัน ซึ่งการรีไฟแนนซ์จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ลูกหนี้ ยกตัวอย่างกรณีเป็นหนี้บัตรเครดิต 100,000 บาท ปัจจุบันต้องจ่ายดอกเบี้ย 16% ต่อปี และผ่อนชำระขั้นต่ำ 8% ซึ่งเท่ากับ 8,000 บาทต่อเดือน เมื่อรีไฟแนนซ์มาเป็นเงินกู้ระยะยาว ธนาคารให้ผ่อนชำระได้สูงสุดไม่เกิน 7 ปี ที่อัตราดอกเบี้ย 8.99% ต่อปี ทำให้ลดเงินงวดเหลือ 1,700 บาทต่อเดือนเท่านั้น    

2. Re P-Loan : รับรีไฟแนนซ์สำหรับลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล (Personal Loan : P-Loan) ที่ต้องการกู้เงินเพื่อไปชำระหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล P-Loan ของสถาบันการเงิน หรือ Non-Bank อื่น ซึ่งเมื่อรีไฟแนนซ์/รวมหนี้มาผ่อนชำระกับธนาคาร จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยจากเดิมประมาณ 25% ต่อปี ลงเหลือ 15% ต่อปี วงเงินให้กู้ตามภาระหนี้คงเหลือของสัญญากู้เดิม สูงสุดไม่เกินรายละ 100,000 บาท และไม่ต้องมีหลักประกัน ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 5 ปี

3. Re-Nano : รับรีไฟแนนซ์สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อย ที่ต้องการปลดหนี้สินเชื่อ Nano Finance ที่กู้ไปเพื่อลงทุนในการประกอบอาชีพ ซึ่งเมื่อรีไฟแนนซ์/รวมหนี้มาผ่อนชำระกับธนาคาร จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยจากเดิม 33% ต่อปี ลงเหลือ 18% ต่อปี วงเงินให้กู้ตามภาระหนี้คงเหลือของสัญญากู้เดิม สูงสุดไม่เกินรายละ 200,000 บาท ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 8 ปี โดยธนาคารออมสินร่วมกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ในการค้ำประกันการกู้

4. Re-Home : รับรีไฟแนนซ์สำหรับลูกหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัย ที่ต้องการกู้เงินเพื่อไถ่ถอนจำนองที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินอื่น วงเงินกู้ 1-5 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรีไฟแนนซ์มาผ่อนชำระกับธนาคาร จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมที่ประมาณ 6 - 7% ต่อปี ลงเหลือ 1.95% ในปีที่ 1 (ปีที่ 2 = 2.95% ปีที่ 3 = 3.95%) คิดเป็นอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกอยู่ที่ 2.95% ต่อปี พร้อมเงื่อนไขผ่อนต่ำ ปีที่ 1 ผ่อนชำระเงินงวดล้านละ 3,000 บาท/เดือน ปีที่ 2 ล้านละ 4,000 บาท/เดือน และปีที่ 3 ล้านละ 5,000 บาท/เดือน

อนึ่ง ธนาคารสนับสนุนนโยบายรัฐในการแก้ปัญหาหนี้สินครัวเรือนของประชาชน ให้สามารถมีเงินเหลือใช้สอยดำรงชีพโดยไม่ต้องพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบ รวมถึงส่งเสริมการปลูกฝังทัศนคติการกู้เงินเท่าที่จำเป็นและผ่อนไหว ทั้งนี้ มาตรการสินเชื่อรีไฟแนนซ์ “โครงการสินเชื่อออมสินรีไฟแนนซ์เพื่อสังคม” เพื่อแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน เปิดให้ยื่นขอกู้ได้ที่ธนาคารออมสินทุกสาขา ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 และจัดทำนิติกรรมสัญญาภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2567  


Tags : ออมสิน ธนาคารออมสิน สินเชื่อออมสินรีไฟแนนซ์เพื่อสังคม สินเชื่อออมสินรีไฟแนนซ์


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2568 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT HD เมื่อเร็ว ๆ นี้      

14 Jul 2025

...

  นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เห็นชอบให้ธนาคารออมสินจัดทำมาตรการแก้ไขหนี้รายย่อยในโครงการของรัฐบาลที่ออกมาช่วยประชาชนในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน ที่มีสถานะหนี้เสีย (NPLs) จำนวนรวมกว่า 500,000 บัญชี ให้สามารถหลุดพ้นจากประวัติหนี้เสีย โดยธนาคารจะดำเนินการทันทีเพื่อที่ในอนาคตลูกหนี้จะมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เร็วขึ้นเมื่อมีความจำเป็น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ดำเนินการปิดบัญชีหนี้ ตัดหนี้สูญ และไม่ติดตามหนี้ ของลูกหนี้ NPLs จำนวนกว่า 200,000 บัญชี ในโครงการสินเชื่อตามนโยบายรัฐที่ได้รับงบประมาณชดเชยแล้ว ระยะที่ 2 ธนาคารจะทยอยดำเนินการปิดบัญชีหนี้แก่ลูกหนี้ NPLs โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวนกว่า 300,000 บัญชี ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับมาตรการปลดหนี้สินเชื่อตามโครงการของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 1.3 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย และช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถประคับประคองสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวให้เดินต่อได้ มุ่งเน้นดำเนินการเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ลูกหนี้ต้องเสียวินัยทางการเงิน และยังสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้อีกในอนาคต  

07 Jul 2025

...

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ปรับปรุงแนวทางการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะสั้น พร้อมทั้งทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินกองทุนด้านความเสี่ยง เพื่อยกระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูลในระดับประเภทการรับประกันภัยแทนการพิจารณาภาพรวมทั้งบริษัท เพื่อให้การประเมินภาระผูกพันและการจัดสรรเงินกองทุนมีความละเอียด แม่นยำ และสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงยิ่งขึ้น โดยระหว่างวันที่ 6-21 มีนาคม 2568 สำนักงาน คปภ. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 รวมทั้งได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเชิงเทคนิค (Focus Group) เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องกับสำรองเบี้ยประกันภัย ได้แก่ 1. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย 2. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต และ 3. ประกาศ คปภ. เรื่องกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย สำหรับหลักการที่ได้มีการปรับปรุง คือ ปรับปรุงวิธีการคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย จากเดิม พิจารณาที่ระดับผลรวมทั้งหมดของสัญญาประกันภัยระยะสั้น เปลี่ยนเป็น พิจารณาที่ระดับประเภทการรับประกันภัย  ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการในลำดับถัดไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ดังนั้น บริษัทประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันเริ่มมีผลบังคับใช้

07 Jul 2025

...

  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  ร่วมงาน “มหกรรมการเงินหาดใหญ่” ครั้งที่ 15 (MONEY EXPO 2025 HATYAI) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2568 ณ บูธ F3 หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ยกขบวนผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไฮไลท์ คือ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก ผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท ครอบคลุมทุกกลุ่มและทุกความต้องการเอสเอ็มอีไทย ควบคู่บริการพัฒนาธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์ม “DX by SME D Bank” (dx.smebank.co.th)   ช่วยเสริมศักยภาพกิจการ ครบถ้วนในจุดเดียว ห้ามพลาด! พิเศษเฉพาะภายในงาน เมื่อยื่นขอสินเชื่อ และได้รับอนุมัติทุกวงเงิน รับโปรโมชันเสริมอีก 2 ต่อ ได้แก่ ต่อที่ 1 : ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์สินเชื่อ (Front End Fee) สูงสุด 0.25% และต่อที่ 2 : รับบัตรกำนัล มูลค่า 500 บาท พร้อมเล่นเกม ลุ้นรับของที่ระลึกมากมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

03 Jul 2025

Banner Banner Banner Banner

Banner
  เทียบจุดแข็งแกร่ง “วิริยะ-ทิพย-กรุงเทพ” ประกันภัย   เมื่อพูดถึงวงการประกันภัย-วินาศภัยเมืองไทย มี 3 บริษัทใหญ่ของวงการและของประเทศไทย ที่ถือว่าเป็น”ขาใหญ่”หรือขาประจำที่แต่ละปี บริษัททั้ง 3 บริษัท มีกลยุทธ์การตลาด และจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท และบริษัททั้ง 3 บริษัทนี้กำลังจะแย่งชิงเบี้ยประกันภัยเพื่อเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเทียบสัดส่วนในเรื่องยอดขาย และในแง่ของผลกำไร            ในแง่ยอดขายต่อปี          เบอร์ 1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการทำประกันภัยรถยนต์ ที่มีเบี้ยประกันภัยสูงขายง่าย แต่ละปีสร้างยอดขายได้มีเบี้ยประกันภัยรับตรงรวม 40,879 ล้านบาท          เบอร์ 2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งงานประกันภัย Non Motor ประเภทขนส่งสินค้า Marin รวมทั้งลูกค้าของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำให้มียอดขายรับประกันภัยตรงอยู่ที่ 31,736.1 ล้านบาทแซงหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปเรียบร้อย          เบอร์ 3 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยจุดแข็งการเป็นบริษัท ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ สามารถขยายตลาดผ่านพันธมิตรหรือผู้ถือหุ้นได้ง่าย และทำตลาดประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐจึงทำให้มีเบี้ยประกันภัยต่อปี มีเบี้ยประกันภัยรวม 22,439 ล้านบาท จะกลับไล่บี้เบอร์ 1และ 2 ได้ต่อไป         ในแง่ผลกำไรต่อปี         เบอร์ 1 คงต้องให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากได้งานจากหน่วยงานภาครัฐ และมีพันธมิตรที่หลากหลาย ด้วยยอดขายที่สูง และมีการบริหารการลงทุนที่พร้อม เพราะมีธนาคารออมสิน, กบข. , ธนาคารกรุงไทย, ปตท., บางจาก  ทำให้มีผลกำไรมาเป็นอันดับ 1  ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการรับประกันได้ 2,631 ล้านบาท        เบอร์ 2  ต้องยกให้เป็นของบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการบริหารเงินลงทุนโดยธนาคารกรุงเทพ ทำให้มีผลกำไรมาเป็นที่ 2 และมีเบี้ยประกันภัยเป็นอันดับที่ 2        เบอร์ 3 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) มียอดขายเป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเน้นประกันภัยรถยนต์ยอดขายสูงก็มีความเสี่ยงสูง ผลกำไรน้อย จึงวางไว้เป็นเบอร์ 3 ในด้านผลกำไร                                                 นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา)                                               บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner