Responsive image

Wednesday, 23 Oct 2024

หน้าแรก > INSURANCE/ประกันภัย-ประกันชีวิต


คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ ระดมสมองกูรูด้านกฎหมาย ยกกรณีศึกษาบริษัทประกันภัยเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ

Wed 10/07/2567


  • เปิดช่องเลี่ยงการบังคับใช้กฎหมาย ควรเร่งแก้ไขด่วนก่อนกระทบต่อกลไกการกำกับดูแลเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ  คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ที่สังคมไทยอยู่ในยุคของพัฒนาการต่าง ๆ  อย่างก้าวกระโดดทำให้กฎหมายตามไม่ทันและบ่อยครั้งเกิดช่องโหว่ของกฎหมาย ดังนั้นคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ จึงได้จัดงานเสวนาวิชาการและการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 เรื่อง “Legal Innovation for Sustainable Justice in the Next Normal”  เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมสนม สุทธิพิทักษณ์ อนุสรณ์

โดยได้รับเกียรติจาก นายธสรณ์อัฑฒ์ ธนิทธิพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เป็นประธานเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “กฎหมายยุค Next Normal กับการขับเคลื่อนนวัตกรรม” โดยกล่าวในตอนหนึ่งว่า หากจะสร้างความเข้มแข็งให้กับหลักนิติธรรมและสังคมที่เป็นธรรม ต้องอาศัยการบูรณาการจากหลายศาสตร์การเรียนรู้ ไม่ใช่แค่นักกฎหมายและผู้บังคับใช้กฎหมายเท่านั้น ยังต้องอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมการออกแบบนโยบาย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและจะต้องมีกลไกที่ดูแลคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคให้เกิดประสิทธิภาพ โดยการพัฒนากฎหมายยุคดิจิทัลควรจะมีลักษณะยืดหยุ่นทันสมัย และต้องคำนึงถึงว่ากฎหมายอาจจะถูกใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบได้ กฎหมายจึงควรต้องได้รับการตรวจสอบและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้ใช้งานด้วย

นอกจากนี้ในเวทีการประชุมวิชาการดังกล่าว ยังมีการจัดเสวนาวิชาการ ในหัวข้อ “การฟื้นฟูกิจการ-ทางรอดของธุรกิจหรือทางเลี่ยงกฎหมายกำกับดูแล : ทางออกและแนวทางการแก้ไขเพื่อความยุติธรรมที่ยั่งยืน” โดยวัตถุประสงค์ เพื่อร่วมกันพัฒนากฎหมายและแนวทางการบังคับใช้กฎหมายให้ทันสมัย หาทางออกและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายล้มละลายและการฟื้นฟูกิจการ เพื่อส่งเสริมความยุติธรรมที่ยั่งยืนในสังคม หลังเทคโนโลยีเข้ามีมาบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกภาคส่วนแบบก้าวกระโดด “กฎหมาย” ในฐานะที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างเสถียรภาพและการเปลี่ยนแปลงในสังคมให้ยั่งยืน จำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้เท่าทันสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเข้าใจถึงบริบทของสังคม นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับหลักนิติธรรมและสังคมที่เป็นธรรม  โดยมีคณะวิทยากรร่วมเสวนา ได้แก่ ศ.ดร. สหธน รัตนไพจิตร อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นางสาวรังสิมา รัตนะ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสระแก้ว ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลาง และนายอดิศร พิพัฒน์วรพงศ์ รองเลขาธิการด้านกฎหมายและตรวจสอบ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) โดยมี ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ท่ามกลางคณาจารย์และนักศึกษาเข้ารับฟังกว่า 100 คน

ศ.ดร.สหธน รัตนไพจิตร อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้สะท้อนประสบการณ์จากการเป็นกรรมการยกร่าง พ.ร.บ. ล้มละลาย ว่า ขณะที่ร่างกฎหมายมีเจตนารมณ์ที่ดี แต่ไม่สามารถทราบล่วงหน้าว่าจะเกิดปัญหาในทางปฏิบัติภายหลัง ซึ่งเมื่อทราบแล้วก็เห็นด้วยว่าจำเป็นต้องหาทางแก้ไข โดยควรให้น้ำหนักกับบทบาทในเรื่อง Regulator Control มากขึ้น

ส่วนมุมมองของ นายอดิศร พิพัฒน์วรพงศ์ รองเลขาธิการด้านกฎหมายและตรวจสอบ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง และชี้ให้เห็นสภาพปัญหาของบริษัทประกันภัยที่วิเคราะห์ความเสี่ยงผิดพลาด การบริหารจัดการความเสี่ยงที่ไม่ดีพอ แล้วพอเกิดปัญหา ก็นำเรื่องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งแม้เห็นว่ากระบวนการฟื้นฟูกิจการมีประโยชน์ แต่ในทางปฏิบัติ ทำให้เกิดการลักลั่นระหว่างกลไกในการฟื้นฟูกิจการ กับกลไกในการกำกับดูแลบริษัทประกันภัยของสำนักงาน คปภ. ทำให้การกำกับดูแลตามกฎหมายประกันภัยไม่สามารถดำเนินการได้ จึงกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของประชาชน จำเป็นต้องทบทวนกฎหมาย เพื่อให้การทำงานของหน่วยงานกำกับดูแลเกิดประสิทธิภาพและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายประกันภัย ซึ่งมีศักดิ์ทางกฎหมายเท่ากับกฎหมายล้มละลาย

ด้านนางสาวรังสิมา รัตนะ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสระแก้ว ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลาง ให้ข้อคิดเห็นส่วนตัวในทางวิชาการว่า แม้การฟื้นฟูกิจการเป็นเจตนารมณ์ที่ดี การให้โอกาสสำหรับกฎหมายฉบับนี้ไม่ใช่เป็นการให้โอกาสกับลูกหนี้ทุกรายที่ธุรกิจไม่สามารถไปต่อได้แล้ว และไม่ควรให้โอกาสลูกหนี้ใช้ช่องทางนี้เพื่อประวิงคดี ซึ่งเป็นไปตามหลักการสากลของคณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการแก้ไขกฎหมายในส่วนของกฎหมายล้มละลาย และแก้ไขในส่วนของกฎหมายขององค์การกำกับดูแลเพื่อให้สามารถเข้าไปกำกับดูแลได้เข้มข้นขึ้น ซึ่งเปรียบเทียบกับ Chapter 11 ของกฎหมายล้มละลายของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งกำหนดว่ากรณีธนาคารหรือบริษัทประกันภัยที่มีหน่วยงานกำกับดูแลอยู่แล้ว ไม่สามารถยื่นขอฟื้นฟูกิจการได้

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในฐานะผู้ดำเนินการเสวนากล่าวแสดงความเห็นว่า การจะแก้ไขปรับปรุงกฎหมายใช้เวลานาน ทำให้กฎหมายไม่สามารถตามทันพัฒนาการทางสังคมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการเฉพาะหน้าคือการบังคับใช้และการตีความกฎหมายที่มีอยู่ ให้เกิดความเป็นธรรม  โดยคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มุ่งเน้นให้นักศึกษาคิดไกล คิดเป็น คิดให้ปฏิบัติได้ ไม่เน้นท่องจำ พร้อมกับปลูกฝังสร้าง DNA ให้นักศึกษามีใจที่ยุติธรรม

 

เวทีการเสวนาในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะนําเอาประเด็นที่เป็นปัญหาร่วมสมัย อันเกิดจากการบังคับใช้กฎหมายที่ในปัจจุบันยังไม่มีคำตอบเกี่ยวกับการแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน มาเปิดเวทีให้มีการพูดคุยเสวนา อภิปราย ระดมความคิดเห็นกัน ในประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายล้มละลายและการฟื้นฟูกิจการของประเทศไทย ซึ่งในทางปฏิบัติเกิดการลักลั่นกันกับกฎหมายของหน่วยงานที่กำกับดูแล เพราะเกิดช่องโหว่ในเรื่องสภาวะการพักชำระหนี้ ทำให้มีโอกาสที่จะเลี่ยงกฎหมายของหน่วยงานที่กำกับดูแลจึงจำเป็นต้องหาทางออกเพื่อมิให้กระทบต่อสิทธิประโยชน์ของประชาชน ซึ่งจากการเสวนาครั้งนี้ วิทยากรทุกท่านเห็นตรงกันว่าจำเป็นต้องมีการปรับปรุงกฎหมาย โดยอาจกำหนดเป็นข้อยกเว้นว่าในกรณีที่มีหน่วยงานกำกับดูแลอยู่แล้ว ห้ามมิให้ยื่นขอฟื้นฟูกิจการ เช่นเดียวกับ Chapter 11 ของประเทศสหรัฐอเมริกา และปรับปรุงกฎหมายในส่วนของหน่วยงานกำกับดูแลให้รองรับในเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาในรายละเอียดต่อไป


Tags : ดร.สุทธิพลทวีชัยการ คณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ เสวนาวิชาการ กฎหมาย อดิศรพิพัฒน์วรพงศ์ คปภ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กฎหมายยุคNextNormal


Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner

...

  บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดตัวแคมเปญสุดพิเศษ "Saving Fest เทศกาลสุดเซฟ...แห่งปี" เพื่อมอบส่วนลดพิเศษสูงสุดถึง 30% แก่ลูกค้าใหม่ที่ซื้อประกันออนไลน์ แคมเปญนี้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ประกันภัยหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ประกันภัยรถยนต์ ประกันภัยสุขภาพ ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย ประกันภัยสัตว์เลี้ยง และประกันภัยอื่น ๆ อีกมากมาย สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ตอบโจทย์ความต้องการได้ง่าย ๆ เพียงกรอกโค้ด SAVE24 ก่อนการชำระเงินที่เว็บไซต์ www.tipinsure.com หรือคลิกที่ลิงก์ https://bit.ly/_SAVE24 เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมและซื้อประกันภัยออนไลน์  ได้ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน - 15 พฤศจิกายน 2567   #ทิพยประกันภัย #Dhipaya #Savingfest24  

08 Oct 2024

...

ตามที่ นางสาวเเพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มอบหมายสั่งการให้หน่วยงานของรัฐ เร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย ตามประกาศของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ณ วันที่ 26 กันยายน 2567 โดยนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มอบหมายให้ธนาคารออมสินดำเนินการ ธนาคารจึงออก มาตรการช่วยเหลือโดยการพักหนี้อัตโนมัติ – พักจ่ายเงินต้นและไม่คิดดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 3 เดือน ช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2567 ซึ่งจะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและแบ่งเบาภาระของลูกหนี้ธนาคารออมสินในพื้นที่ประสบภัยตามประกาศฯ จำนวนกว่า 110,000 บัญชี คิดเป็นเงินต้นรวมกว่า 43,000 ล้านบาท มาตรการพักหนี้อัตโนมัติ - พักจ่ายเงินต้นและไม่คิดดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อพักชำระหนี้ให้กับสินเชื่อ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 10 ล้านบาท และสินเชื่อรายย่อยทุกประเภทซึ่งรวมถึงสินเชื่อพัฒนากลุ่มอาชีพ และสินเชื่อสวัสดิการ (ยกเว้นสินเชื่อชีวิตสุขสันต์ และ สินเชื่อตามนโยบายรัฐ หรือ Public Service Account - PSA) โดยลูกหนี้ที่ได้รับสิทธิ์ให้เข้ามาตรการฯ ต้องมีภูมิลำเนา ที่อยู่ หรือที่ประกอบอาชีพ ในพื้นที่ประสบภัยตามประกาศของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ณ วันที่ 26 กันยายน 2567 ทั้งนี้ ธนาคารจะส่ง SMS หรือจดหมายแจ้งการพักชำระหนี้อัตโนมัติให้ลูกหนี้ทราบ ซึ่งจะมีผลในงวดเดือนตุลาคม - งวดเดือนธันวาคม 2567 หลังจากนั้นลูกหนี้จะต้องกลับมาชำระหนี้ตามปกติตั้งแต่งวดเดือนมกราคม 2568 เป็นต้นไป กรณีไม่ต้องการพักหนี้อัตโนมัติ สามารถชำระหนี้ได้เช่นเดิม โดยผู้เป็นลูกหนี้ปกติที่ชำระหนี้ในช่วงเวลา 3 เดือนของมาตรการฯ ธนาคารจะนำไปตัดต้นเงิน ส่วนผู้ที่ได้เข้าร่วมมาตรการพักหนี้ ลดดอกเบี้ยครึ่งหนึ่งมาแล้วก่อนหน้านี้ จะได้รับการพิจารณาเข้ามาตรการนี้โดยอัตโนมัติด้วยเช่นกัน สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินกู้เพื่อนำไปบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยพิบัติ สามารถยื่นขอสินเชื่อฉุกเฉิน หย่อนเกณฑ์อนุมัติ ให้กู้สูงสุดรายละไม่เกิน 10,000 บาท ไม่ต้องมีหลักประกันและไม่มีผู้ค้ำประกัน อัตราดอกเบี้ยคงที่ 0% สำหรับ 3 เดือนแรก หลังจากนั้นเดือนที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย 0.60% หรืออาจยื่นขอสินเชื่อวงเงินสูงขึ้นเป็นรายละไม่เกิน 50,000 บาท แบบมีหลักประกัน อัตราดอกเบี้ย 3 เดือนแรก 0% ต่อเดือนเช่นกัน รวมถึงมาตรการสินเชื่อเคหะสำหรับผู้ที่ต้องการซ่อมแซมฟื้นฟูที่อยู่อาศัยที่เสียหาย ธนาคารให้วงเงินกู้สูงถึง 100% ของราคาประเมิน อัตราดอกเบี้ยพิเศษเฉลี่ย 3 ปีแรกอยู่ที่ 3.233% ต่อปี ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.gsb.or.th หรือที่ GSB Contact Center โทร.1115 และติดต่อขอสินเชื่อได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปที่สาขาธนาคารออมสิน ภายใน 30 วัน นับจากวันที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัย    

30 Sep 2024

...

เอไอเอ ประเทศไทย สานต่อโครงการ “สุดยอดโรงเรียนสุขภาพดี - AIA Healthiest Schools” ซึ่งจัดขึ้นติดต่อเป็นปีที่ 3 โดยได้รับความร่วมมืออย่างต่อเนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดรับสมัครโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการเพื่อชิงรางวัลรวมกว่า 2 ล้านบาท และได้เป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติ เพื่อชิงรางวัลอีกกว่า 1.5 ล้านบาท รวมมูลค่ารางวัลถึง 3.5 ล้านบาท ตอกย้ำถึงพันธกิจสำคัญของเอไอเอ ที่มุ่งสนับสนุนเยาวชนและผู้คนในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก กว่าหนึ่งพันล้านคนให้มีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ตามคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives’     โครงการ “สุดยอดโรงเรียนสุขภาพดี - AIA Healthiest Schools” เป็นโครงการที่กลุ่มบริษัทเอไอเอ และเอไอเอ ประเทศไทย ริเริ่มขึ้นเพื่อมุ่งเสริมสร้างและปลูกฝังพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพของนักเรียนที่มีอายุระหว่าง 5 - 16 ปี โดยมุ่งเน้นใน 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การทำกิจกรรมที่แอคทีฟ การมีสุขภาพใจที่ดี และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยเมื่อปีที่ผ่านมา ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากโรงเรียนทั่วประเทศที่เข้าร่วมโครงการมากกว่า 600 โรงเรียน และส่งผลงานเข้าประกวดถึง 91 โรงเรียน ซึ่งโรงเรียนที่ชนะระดับประถมศึกษา ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 2 วัดดอนมูลชัย จังหวัดตาก และโรงเรียนที่ชนะระดับมัธยมศึกษา ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 1 กิตติขจร จังหวัดตาก สำหรับโรงเรียนระดับประถมและมัธยมศึกษาที่สนใจ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ “สุดยอดโรงเรียนสุขภาพดี - AIA Healthiest Schools” ปีที่ 3 ได้แล้วที่เว็บไซต์ ahs.aia.com/th/th/ ตั้งแต่วันนี้ ถึง 8 มีนาคม 2568  

29 Sep 2024

...

ตามที่รัฐบาลได้มอบหมายสั่งการให้ธนาคารออมสิน เร่งให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดเชียงรายที่ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่อยู่ขณะนี้ โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอแม่สาย ที่ธนาคารออมสินภาค 9 ได้รับมอบนโยบายลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้า อาทิ ถุงยังชีพเครื่องอุปโภคบริโภค และสิ่งของจำเป็น เพื่อใช้บรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น   ทั้งนี้ ธนาคารออมสินได้ออกชุดมาตรการทางการเงินเพื่อลดภาระของผู้ประสบภัย ประกอบด้วย มาตรการพักหนี้และลดดอกเบี้ย โดยให้พักชำระเงินต้นและจ่ายดอกเบี้ยครึ่งหนึ่ง ส่วนดอกเบี้ยที่เหลืออีกครึ่งธนาคารลดให้ เป็นระยะเวลา 3 เดือน สำหรับลูกค้าสินเชื่อรายย่อย ทั้งบุคคล และ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 10 ล้านบาท ไม่รวมลูกค้าสินเชื่อตามธุรกรรมนโยบายรัฐ (PSA) หรือโครงการผ่อนปรนอื่น ๆ โดยแจ้งความประสงค์ขอเข้ามาตรการผ่านทางเว็บไซต์ธนาคารออมสิน หรือติดต่อธนาคารออมสินในพื้นที่ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป     นอกจากนี้ ยังมีมาตรการสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ผ่อนเกณฑ์อนุมัติ แบบไม่ต้องมีหลักประกันและไม่มีผู้ค้ำประกัน วงเงินกู้สูงสุดไม่เกินรายละ 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 0% ใน 3 เดือนแรก และปลอดชำระเงินงวดนาน 3 เดือน จากนั้นเดือนที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย 0.60% และสินเชื่อเคหะแก่ผู้ประสบภัย สำหรับลูกค้าธนาคารออมสินและประชาชนทั่วไป ที่จำเป็นต้องซ่อมแซมบ้านเรือนที่อยู่อาศัยซึ่งได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม วงเงินกู้สูงถึง 100% ของราคาประเมิน อัตราดอกเบี้ยลดพิเศษเฉลี่ย 3 ปีแรกอยู่ที่ 3.233% ต่อปี ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 2% ปีที่ 2 - 3 = 3.85% ต่อปี (MRR-2.745%) และปีที่ 4 เป็นต้นไป = 5.845% ต่อปี (MRR-0.750%)     นอกเหนือจากมาตรการทางการเงินแล้ว ยังมีมาตรการช่วยเหลือและฟื้นฟูเยียวยาหลังน้ำลด โดยร่วมกับภาคีเครือข่าย อาทิ วิทยาลัยเทคนิคในพื้นที่ เปิด “คลินิกสารพัดซ่อม” เพื่อปรับปรุงซ่อมแซมบ้านเรือนที่อยู่อาศัย รถจักรยานยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับความเสียหาย เป็นต้น และยังได้มอบหมายให้ธนาคารออมสินในพื้นที่ออกเยี่ยมเยียนและให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าประชาชนที่ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งขยายผลความช่วยเหลือไปยังพื้นที่รับน้ำอื่น ๆ ด้วย ธนาคารออมสินขอร่วมส่งกำลังใจให้ผู้ประสบภัยและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการช่วยเหลือในทุกพื้นที่ให้มีความปลอดภัยและขอให้ผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้โดยเร็ว  

16 Sep 2024

Banner Banner Banner Banner

Banner
  ทิศทาง ceothailand.net ในปี 2567  “สื่อออนไลน์ CEO THAILAND”   ในปี 2567 จะเป็นปีที่ผม “นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์” จะมาทำหน้าที่บรรณาธิการบริหารสื่อ CEO THAILAND และผู้บริหารสื่อออนไลน์ ceothailand.net อย่างเต็มที่ หลังจากที่ผ่านมาได้ไปเดินแผนงานทางด้านการเมือง แต่หลังจากผ่านพ้นช่วงการเลือกตั้งไปแล้วที่ผ่านมา จึงทำให้ช่วงเวลานี้มีเวลาที่จะมาวางแผนในการเดินหน้าธุรกิจสื่อได้มากขึ้น และในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนับจากนี้ จึงขอเข้ามารับหน้าที่สื่อมวลชน ในการเขียนบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ เรื่องราวในแวดวงเศรษฐกิจ-การเงิน และการประกันภัย ในฐานะของคอลัมนิสต์ ตลอดเวลาที่ผมเข้าไปทำงานทางการเมือง ต้องยอมรับว่าวงการข่าวและสื่อสารมวลชนเปลี่ยนไปเร็ว ตลอดเวลา 5 ปี  สื่อออนไลน์ที่รวดเร็วเข้ามาแทนที่สื่อหลักอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ (ออฟไลน์)  เราต้องยอมรับในเรื่องความรวดเร็ว แต่ต้องไม่ลืมจุดด้อยของสื่อออนไลน์ คือข้อผิดพลาดในการกลั่นกรองข่าวสาร รวมทั้งบทวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ที่หายไป และข่าวที่ออกมามีความเหมือนกัน  ไม่แตกต่าง และเป็นเชิงภาพข่าว และกิจกรรมเท่านั้น ดังนั้นในปี 2567 นี้  ในหน้าสื่อออนไลน์ CEO THAILAND ท่านผู้อ่านจะได้สัมผัสกับข่าวสารเชิงวิเคราะห์ เจาะลึกแบบออนไลน์ต่อเนื่องในสื่อ CEO THAILAND รวมทั้งการจัดทำเป็น E-Magazine ใน www.ceothailand.net รวมทั้งการจัดทำเป็นรูปเล่มฉบับพิเศษสลับไปบ้างในเรื่องที่สำคัญๆ น่าสนใจ และเป็นประโยชน์กับประชาชนและสังคม ขอขอบพระคุณท่านลูกค้าและผู้สนับสนุนสื่อด้วยดีเสมอมา ตลอดระยะเวลา 19 ปีที่ผ่านมา และขอขอบพระคุณทุกท่าน รวมทั้งผู้อ่านที่ติดตามสื่อ CEO THAILAND ด้วยดีเสมอมาใน www.ceothailand.net   นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ (เอก-วรา) บรรณาธิการบริหาร สื่อ CEO THAILAND  
อ่านต่อ...
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner
Banner